พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาอัคคัญญสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ก.ค. 2564
หมายเลข  34647
อ่าน  936

[เล่มที่ 15] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 166

๔. อัคคัญญสูตร

อรรถกถาอัคคัญญสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 15]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 166

อรรถกถาอัคคัญญสูตร

อัคคัญญสูตร มีคําขึ้นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.

ในอัคคัญญสูตรนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังมีเนื้อความไม่ชัด ดังต่อไปนี้. ในคําว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท นี้ มีอนุปุพพีกถา ดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในที่สุดแสนกัลป อุบาสิกาคนหนึ่ง นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ แล้วถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์แสนหนึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว หมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ตั้งความปรารถนาว่า ในอนาคตกาล ดิฉันจงได้เป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศของพระพุทธเจ้า ผู้เช่นกับพระองค์. อุบาสิกานั้นท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ตลอดแสนกัลป แล้วได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนาเทวี ในเรือนของธนญชัยเศรษฐีผู้เป็นบุตรของเมณฑกะเศรษฐี ในภัททิยนคร ในกาลของพระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย. ในเวลาที่นางเกิดแล้ว หมู่ญาติได้ตั้งชื่อให้นางว่า วิสาขา. นางวิสาขานั้น เมื่อใดที่พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปยังเมืองภัททิยนคร เมื่อนั้นนางไปทําการต้อนรับพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยเด็กหญิงอีก ๕๐๐ คน ในการได้เห็นพระผู้มีพระภาค เพียงครั้งแรกเท่านั้น นางก็ได้เป็นพระโสดาบัน ในกาลต่อมา นางได้ไปสู่เรือนของปุณณวัฒนกุมาร บุตรของมิคารเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี. มิคารเศรษฐีตั้งนางไว้ในตําแหน่งมารดาในเรือนนั้น. ฉะนั้น เขาจึงเรียกนางว่า มิคารมารดา. ก็เมื่อนางไปสู่ตระกูลสามี บิดาให้นายช่างทําเครื่องประดับ ชื่อว่า มหาลดาประสาธน์. เพชร ๓ ทะนาน แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน แก้วประพาฬ ๒๒ ทะนาน แก้วมณี ๓๓ ทะนาน ได้ถึงการประกอบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 167

เข้าในเครื่องประดับนั้น. เครื่องประดับนั้นได้สําเร็จลงด้วยรัตนะทั้งหลายเหล่านี้ ดังกล่าวมานี้ และด้วยรัตนะ ๗ สีเหล่าอื่นอีก. เครื่องประดับนั้นสวมบนศีรษะย่อมย้อยคลุมจนจดหลังเท้า. หญิงที่ทรงพลังช้างสาร ๕ เชือกได้เท่านั้น จึงจะสามารถทรงเครื่องประดับนั้นไว้ได้.

    ในกาลต่อมา นางวิสาขานั้นได้เป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศของพระทศพล นางได้สละเครื่องประดับนั้นแล้ว ให้สร้างวิหาร ถวายพระผู้มีพระภาคด้วยทรัพย์เก้าโกฏิแล้ว ให้สร้างปราสาทบนภูมิภาคประมาณกรีสหนึ่ง. ปราสาทนั้นประดับด้วยห้องพันห้องอย่างนี้ คือที่พื้นชั้นบนมี๕๐๐ห้อง ที่พื้นชั้นล่างก็มี ๕๐๐ ห้อง. นางคิดว่า ปราสาทล้วนอย่างเดียวย่อมไม่งาม ดังนี้ จึงให้สร้างเรือน ๒ ชั้น ๕๐๐ หลัง ปราสาทเล็ก ๕๐๐ หลัง ศาลายาว ๕๐๐ หลัง แวดล้อมปราสาทนั้น. การฉลองวิหารได้เสร็จสิ้นลง โดยใช้เวลา ๔ เดือน. ขึ้นชื่อว่าการบริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนาของหญิงอื่น เหมือนการบริจาคของนางวิสาขา ผู้ดํารงอยู่ในภาวะความเป็นมาตุคาม หามีไม่. การบริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนาของชายอื่น เหมือนการบริจาคของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้ดํารงอยู่ในความเป็นบุรุษ ก็หามีไม่. เพราะอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น สละทรัพย์ ๕๔ โกฎิ แล้วให้สร้างมหาวิหารชื่อว่า เชตวัน ในที่เช่นกับมหาวิหารของเมืองอนุราธบุรี ในด้านทิศทักษิณของเมืองสาวัตถี. นางวิสาขาให้สร้างวิหารชื่อว่าบุพพารามในที่เช่นกับวิหารของนางอุตตมเทวี ในด้านทิศปราจีนแห่งเมืองสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี อยู่ประจําในวิหารทั้ง ๒ นี้ ด้วยความอนุเคราะห์ตระกูลทั้ง ๒ เหล่านี้. ภายในพรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร. ภายในพรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ในปุพพารามวิหาร. ก็ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 168

ปุพพาราม. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปุพพาราเม มิคารมาตุปาสาเท ดังนี้.

    บทว่า วาเสฏฺภารทฺวาชา ได้แก่ วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณร. ด้วยสองบทว่า ภิกฺขูสุปริวสนฺติ ความว่า สามเณรทั้งสองอยู่ปริวาสอย่างเดียรถีย์ หาอยู่ปริวาสเพื่อพ้นอาบัติไม่. แต่สามเณรเหล่านั้น เพราะมีอายุยังไม่บริบูรณ์ จึงปรารถนาความเป็นภิกษุอยู่. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกฺขุภาวํ อากงฺขมานา. แท้จริง สามเณรแม้ทั้งสองเหล่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลชื่อ อุทิจจะ มีทรัพย์สมบัติฝ่ายละ ๔๐ โกฏิ บรรลุถึงฝังแห่งไตรเพท ได้ฟังวาเสฏฐสูตรในมัชฌิมมนิกาย ได้ถึงสรณะ ฟังเตวิชชสูตรแล้วได้บรรพชา ในเวลานี้ ปรารถนาความเป็นภิกษุ จึงอยู่ปริวาส. บทว่า อพฺโภกาเส จงฺกมติ ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงงดงามด้วยพระรัศมี อันมีวรรณะ ๖ ซึ่งแผ่ซ่านออกไปในกลางหาว เปรียบเสมือนทองคําอันมีค่าสูง ๑๑ ศอก ซึ่งบุคคลดึงมาด้วยเชือกยนต์ ฉะนั้น เสด็จจงกรม ไปๆ มาๆ อยู่ที่เงาของปราสาท ในส่วนทิศบูรพาของปราสาท ซึ่งติดต่อกันกับทางด้านทิศอุดรและทิศทักษิณ. บทว่า อนุจงฺกมิํสุ ความว่า สามเณรทั้งสองประคองอัญชลี น้อมสรีระลง แล้วจงกรมตามพระผู้มีพระภาค.

    บทว่า วาเสฏฺํ อามนฺเตสิ ความว่า วาเสฏฐะและภารทวาชะ สามเณรเหล่านั้น วาเสฏฐสามเณรฉลาดกว่า ย่อมรู้ถึงสิ่งที่ควรยึดถือเอา และสิ่งที่ควรสละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกวาเสฏฐสามเณร นั้นมา. บทว่า ตุมฺเห ขฺวตฺถ ตัดบทเป็น ตุมฺเห โข อตฺถ. บทว่า พฺราหฺมณชจฺจา ความว่า เป็นพราหมณ์โดยเชื้อชาติ. บทว่า พฺราหฺมณกุลีนา ความว่า มีตระกูล คือสมบูรณ์ด้วยตระกูลในหมู่พราหมณ์. บทว่า พฺราหฺมณกุลา ความว่า จากตระกูลพราหมณ์ อธิบายว่า ละตระกูลพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 169

ซึ่งสมบูรณ์ด้วยโภคะเป็นต้น. บทว่า น อกฺโกสนฺติ ความว่า ย่อมไม่ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐. บทว่า น ปริภาสนฺติ ความว่า ย่อมไม่บริภาษ ด้วยการกล่าวถึงความเสื่อมซึ่งมีวิธีต่างๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมด่า ย่อมบริภาษสามเณรเหล่านี้ ดังนี้แท้ จึงได้ตรัสถาม ด้วยประการฉะนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถาม. ตอบว่า พระองค์ทรงดําริว่า สามเณรเหล่านี้ เราไม่ถามจะไม่พูดขึ้นก่อน เมื่อเราไม่กล่าว ถ้อยคําก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนี้ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสถามเพื่อให้ถ้อยคําตั้งขึ้น.

    บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตใช้ในคําอย่างเดียวกัน. อธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมด่า ย่อมบริภาษข้าพระองค์ทั้งสอง โดยส่วนเดียวแท้. บทว่า อตฺตรูปาย ความว่า ตามสมควรแก่ตน. บทว่า ปริปุณฺณาย ความว่า ที่ยกบทและพยัญชนะมากล่าวบริบูรณ์ตามความชอบใจของตน. บทว่า โน อปริปุณฺณาย ความว่า ที่ไม่หยุดอยู่ในระหว่าง กล่าวติดต่อไปตลอด. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พวกพราหมณ์จึงด่าสามเณรเหล่านี้. ตอบว่า เพราะไม่ตั้งอยู่ (ในฐานะของตน). สามเณรเหล่านี้เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้เลิศ บรรลุถึงฝังไตรเพท มีชื่อเสียงปรากฏ ได้รับยกย่องในระหว่างพราหมณ์ทั้งหลาย ในชมพูทวีป. เพราะข้อที่สามเณรทั้งสองนั้นบวช บุตรของพราหมณ์อื่นเป็นอันมาก ก็ได้บวชตาม. ลําดับนั้น พวกพราหมณ์ทั้งหลายคิดว่า เราทั้งหลายหมดที่พึ่งพาอาศัย ดังนี้ เพราะข้อที่ตนเองไม่มีที่พึ่งนี้เอง พบสามเณรเหล่านั้นที่ประตูบ้านก็ดี ภายในบ้านก็ดี จึงกล่าวว่า พวกท่านทําลายลัทธิของพราหมณ์ พวกท่านเป็นผู้ติดในรส จึงท่องเที่ยวตามหลังสมณะโล้น ดังนี้ เป็นต้น และกล่าวคําเป็นต้นว่า พราหมณ์เท่านั้นมีวรรณะประเสริฐสุด ดังนี้ อันมาใน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 170

พระบาลีแล้ว จึงด่า. ถึงแม้เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นจะพากันด่า สามเณรทั้งหลายก็ไม่ได้ทําความโกรธหรือความอาฆาต เพราะข้อที่ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมพากันด่า พากันบริภาษ พวกข้าพระองค์ ดังนี้. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามอาการ คือการด่า จึงตรัสถามว่า ก็เธอกล่าวว่าอย่างไร ดังนี้. สามเณรเหล่านั้น เมื่อจะกราบทูลอาการ คือการด่า จึงกราบทูลว่า พฺราหฺมณา ภนฺเต ดังนี้ เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสฏฺโ วณฺโณ ดังนี้ ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมแสดงว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐที่สุด ดังนี้ ในฐานะเป็นที่ปรากฏแห่งชาติและโคตรเป็นต้น. บทว่า หีนา อฺเ วณฺณา ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า วรรณะสามนอกนี้ เลวทรามต่ําช้า ดังนี้. บทว่า สุกฺโก แปลว่า ขาว. บทว่า กณฺโห แปลว่า ดํา. บทว่า สุชฺฌนฺติ ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ ในฐานะมีชาติและโคตรเป็นต้นปรากฏ. บทว่า พฺรหฺมุโน ปุตฺตา ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของท้าวมหาพรหม. บทว่า โอรสา มุขโต ชาตา ความว่า อยู่ในอก ออกจากปาก (ของท้าวมหาพรหม). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นโอรส เพราะอันท้าวมหาพรหมกระทําไว้ในอกแล้วให้เจริญแล้ว. บทว่า พฺรหฺมชา ความว่า บังเกิดแล้วจากท้าวมหาพรหม. บทว่า พฺรหฺมนิมฺมิตา ความว่า อันท้าวมหาพรหมนิรมิตขึ้น. บทว่า พฺรหฺมทายาทา ความว่า เป็นทายาทของพระพรหม. บทว่า หีนมตฺถวณฺณํ อชฺฌูปคตา ความว่า พวกท่านได้เป็นผู้เข้าถึงวรรณะที่เลว. บทว่า มุณฺฑเก สมณเก ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายนินทา รังเกียจ จึงกล่าว. หากล่าวหมายเอาความเป็นคนโล้นและความเป็นสมณะไม่. บทว่า อิพฺเภ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 171

ได้แก่คหบดีทั้งหลาย. บทว่า กณฺเห คือดํา. บทว่า พนฺธู แปลว่า เป็นเผ่าพันธุ์ของมาร คือเป็นฝักฝ่ายของมาร. บทว่า ปาทาปจฺเจ ความว่า ผู้เป็นเหล่ากอแห่งพระบาทของท้าวมหาพรหม. อธิบายว่า เกิดจากพระบาท.

    คําว่า โว ในคําว่า ตคฺฆ โว วาเสฏฺ พฺราหฺมณา โปราณํ อสรนฺตา เอวมาหํสุ นี้ เป็นเพียงนิบาต อีกอย่างหนึ่ง เป็นฉัฏฐีวิภัติ. อธิบายว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ระลึกเรื่องเก่าของท่านไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า โปราณํ ความว่า วงศ์แห่งความประพฤติ ผู้อุบัติขึ้นในโลกที่รู้กันว่าเลิศ เป็นของเก่า. บทว่า อสรนฺตา แปลว่ารู้ไม่ได้. มีคําอธิบายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วาเสฏฐะ พราหมณ์ทั้งหลายระลึกไม่ได้ รู้ไม่ได้ ซึ่งการอุบัติขึ้นในโลกอันเป็นของเก่าของท่าน จึงพากันกล่าวอย่างนี้. คําว่า ทิสฺสนฺติ โข ปน ดังนี้ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้เพื่อประโยชน์ แก่การทําลายความเห็นของพราหมณ์เหล่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณิโย ความว่า นางพราหมณีทั้งหลาย ที่พวกพราหมณ์นํามาสู่ตระกูลด้วยอํานาจการอาวาหมงคลและวิวาหมงคล เพื่อประโยชน์แก่การได้บุตร ก็ปรากฏอยู่. ก็โดยสมัยต่อมา นางพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นแล ก็เป็นหญิงมีระดู. อธิบายว่า มีระดูเกิดขึ้น. บทว่า คพฺภินิโย แปลว่า มีครรภ์. บทว่า วิชายมานา แปลว่า คลอดบุตรและธิดาอยู่. บทว่า ปายมานา ความว่า ให้เด็กทารกดื่มน้ำนมอยู่. บทว่า โยนิชาว สมานา ความว่า เป็นผู้เกิดแล้วโดยทางช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งหลายแท้. บทว่า เอวมาหํสุ ความว่า ย่อมกล่าวอย่างนี้. ถามว่า กล่าวว่า อย่างไร. ตอบว่า กล่าวว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐที่สุด ฯลฯ เป็นทายาทของพระพรหม. ถามว่า ก็ถ้าคําพูดของ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 172

พราหมณ์เหล่านั้น พึงเป็นคําจริงแล้วไซร้ ท้องของนางพราหมณี พึงเป็นอกของท้าวมหาพรหม ช่องคลอดของนางพราหมณี ก็พึงเป็นพระโอษฐ์ของท้าวมหาพรหมละซิ. ตอบว่า ก็ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดํารัสเป็นต้นว่า เต จ พฺรหฺมมานฺเจว อพฺภาจิกฺขนฺติ ดังนี้.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมุขเฉทกวาทะนี้ ด้วยประสงค์ว่า ขอพราหมณ์ทั้งหลาย อย่าได้เพื่อกล่าวว่า พวกเราอยู่ในพระอุระ ออกมาจากพระโอษฐ์ของท้าวมหาพรหม ดังนี้ ด้วยพระดํารัสเพียงเท่านี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า วรรณะแม้ทั้งสี่ สมาทานประพฤติกุศลธรรมแท้ จึงบริสุทธิ์ได้ ดังนี้อีก จึงตรัสว่า จตฺตาโรเม วาเสฏฺ วณฺณา เป็นต้น. บทว่า อกุสลสํขาตา ความว่า นับว่าเป็นอกุศล ดังนี้ หรือเป็นส่วนแห่งอกุศล. ในทุกๆ บท ก็นัยนี้. บทว่า น อลมริยา ความว่า ไม่สามารถในความเป็นพระอริยะได้. บทว่า กณฺหา แปลว่า มีปกติดํา. บทว่า กณฺหวิปากา ความว่า วิบากของธรรมเหล่านั้น ดํา อธิบายว่า เป็นทุกข์. บทว่า ขตฺติเยปิ เต ความว่า ธรรมเหล่านั้น มีอยู่แม้ในพระมหากษัตริย์. บทว่า เอกจฺเจ ได้แก่ เอกสฺมิํ. ในทุกๆ บท ก็นัยนี้.

    บทว่า สกฺกา แปลว่า ขาว ด้วยภาวะที่หมดกิเลส. บทว่า สุกฺกวิปากา ความว่า แม้วิบากของธรรมเหล่านั้น เป็นของขาว อธิบายว่า ให้ผลเป็นสุข. บทว่า อุภยโพยฺกิณฺเณสุ ความว่า รวมกัน คือเจือปนกันในชน ๒ จําพวก. ถามว่า ในชน ๒ จําพวกเหล่าไหน. ตอบว่า ในธรรมฝ่ายดํา ที่วิญูชนติเตียนพวกหนึ่ง และในธรรมฝ่ายขาว ที่วิญูชนสรรเสริญพวกหนึ่ง. ในบทว่า ยเทตฺถ พฺราหฺมณา เอวมาหํ สุ นี้มีวินิจฉัยว่าพราหมณ์ทั้งหลาย แม้ประพฤติในธรรมทั้งฝ่ายดําและฝ่ายขาวนั้น ย่อม

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 173

กล่าวอย่างนี้ว่า พฺราหฺมโณว เสฏฺโ วณโณ เป็นต้น. หลายบทว่า ตํ เนสํ วิู นาชานนฺติ ความว่า ชน ผู้เป็นบัณฑิตในโลก ย่อมไม่ยินดี อธิบายว่า ย่อมไม่สรรเสริญ. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร. ในคําว่า อิเมสฺหิ วาเสฏฺา เป็นต้นนี้ มีความสังเขป ดังนี้. หากมีคําถามว่า ท่านกล่าวคําว่า นานุชานนฺติ ดังนี้ไว้ เพราะเหตุไร. พึงตอบว่า เพราะบรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ วรรณะใดเป็นภิกษุผู้อรหันต์ ฯลฯ พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ วรรณะนั้น ย่อมปรากฏว่าเป็นเลิศกว่าวรรณะทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้น หาเป็นเช่นนั้นไม่เลย ฉะนั้น บัณฑิตผู้รู้ทั้งหลาย จึงไม่รับรองคําพูดของพราหมณ์เหล่านั้น.

    พึงทราบวินิจฉัยในบท อรหํ เป็นต้นต่อไป ที่ชื่อว่า อรหันต์ เพราะเหตุมีความที่กิเลสทั้งหลายอยู่ห่างไกล ที่ชื่อว่า ขีณาสพ เพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป. พระเสขะ ๗ จําพวก และกัลยาณปุถุชน ชื่อว่า ย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. ก็ภิกษุนี้ ผู้มีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่จบแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้อยู่แล้ว. กิจที่จะพึงกระทํา มีการกําหนดรู้ในสัจจะทั้ง ๔ เป็นต้น ด้วยมรรค ๔ อันภิกษุนั้นทําแล้ว ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า มีกิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว. กิเลสภาระและขันธภาระอันภิกษุนั้นปลงลงแล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่า ปลงภาระได้แล้ว. บทว่า โอหิโต แปลว่า ปลงลงแล้ว. ประโยชน์อันดี หรือประโยชน์อันเป็นของตน ฉะนั้น จึงชื่อว่า ประโยชน์ตน. ประโยชน์ของตนอันภิกษุนั้นตามบรรลุได้แล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่า ตามบรรลุประโยชน์ตนแล้ว. ตัณหา ท่านเรียกว่า สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ. ตัณหานั้นของภิกษุนั้นสิ้นแล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่ามีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว. บทว่า สมฺมทฺา วิมุตฺโต ความว่า พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ คือโดยเหตุโดยการณ์ บทว่า ชเนตสมิํ ตัดบทเป็น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 174

ชเน เอตสฺมิํ อธิบายว่า ในโลกนี้ หลายบทว่า ทิฏฺเ เจว ธมฺเม อภิสมฺปรายฺจ ความว่า ในอัตภาพนี้ และในอัตภาพอันสัตว์จะพึงถึงในโลกหน้า.

    บทว่า อนนฺตรา ความว่า เว้นแล้วจากระหว่าง. อธิบายว่า เป็นเช่นเดียวกัน ด้วยตระกูลของตน. บทว่า อนุยนฺตา ความว่า เป็นไปในอํานาจ. บทว่า นิปจฺจการา ความว่า พวกศากยะทั้งหลายที่แก่กว่าย่อมแสดงการนอบน้อม ที่หนุ่มกว่า ย่อมทํากิจมีการอภิวาทเป็นต้น. บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า สามีจิกมฺมํ ดังนั้น คือกรรมอันสมควร มีการกระทําวัตรต่อพระเจ้าปเสนทินั้น เป็นต้น.

    บทว่า นิวิฏฺา ความว่า ตั้งมั่นแล้ว คือดํารงอยู่อย่างไม่หวั่นไหว. ถามว่า ก็ศรัทธาเห็นปานนี้ย่อมมีแก่ใคร. ตอบว่า ย่อมมีแก่พระโสดาบัน. ก็พระโสดานั้น มีศรัทธาตั้งมั่น แม้เมื่อจะถูกเขาเอาดาบตัดศีรษะ ก็ยังไม่กล่าวว่า พระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า ดังนี้บ้าง พระธรรมไม่ใช่พระธรรม ดังนี้บ้าง พระสงฆ์ไม่เป็นพระสงฆ์ ดังนี้บ้าง. พระโสดาบันย่อมเป็นผู้มีศรัทธาดํารงมั่นแท้ เปรียบเสมือนสูรอัมพัฏฐอุบาสก ฉะนั้น.

    นัยว่า อุบาสกนั้น ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เป็นพระโสดาบัน ได้กลับไปเรือน. ที่นั้น มารเนรมิตพระพุทธรูปอันประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของอุบาสกนั้น แล้วส่งสาส์นไปว่า พระศาสดาเสด็จมาดังนี้. สูรอุบาสกคิดว่า เราฟังธรรมในสํานักของพระศาสดา มาเดี๋ยวนี้เอง อะไรจักมีอีกหนอ ดังนี้แล้ว เข้าไปหา ไหว้ด้วยสําคัญว่าเป็นพระศาสดา แล้วจึงได้ยืนอยู่. มารกล่าวว่า อัมพัฏฐะ คําใดที่เรากล่าวแก่ท่านว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้ คํานั้นเรากล่าวผิดไป เพราะเรายังไม่พิจารณาจึงกล่าวคํานั้นไป ฉะนั้นเธอจง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 175

ถือเอาว่า รูปเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเที่ยง ดังนี้เถิด. สูรอุบาสกคิดว่า ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่พิจารณาไม่ทําการตรวจตราอย่างประจักษ์แล้ว พึงตรัสอะไรไปนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ มารนี้มาเพื่อมุ่งทําลายเราอย่างแน่นอน. ลําดับนั้น สูรอุบาสกจึงกล่าวกะมารนั้นว่า ท่านเป็นมารใช่ไหม ดังนี้. มารนั้นไม่อาจที่จะกล่าวมุสาวาทได้ จึงรับว่า ใช่เราเป็นมาร ดังนี้. อุบาสกถามว่าเพราะเหตุไร ท่านจึงมา. มารตอบว่า เรามาเพื่อทําศรัทธาของท่านให้หวั่นไหว. อุบาสกกล่าวว่า ดูก่อนมาร ผู้ใจบาปอํามหิต ท่านผู้เดียวนั้น จงหยุดอยู่ก่อน พวกมารเช่นท่าน ร้อยก็ดี พันก็ดี แสนก็ดี ไม่สามารถจะทําศรัทธาของเราให้หวั่นไหวได้ ชื่อว่า ศรัทธา อันมาแล้วด้วยมรรค เป็นของมั่นคง ไม่หวั่นไหว เหมือนภูเขาสิเนรุซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินอันล้วนแล้วด้วยศิลา ท่านจะทําอะไรในการมานี้ ดังนี้ แล้วปรบมือขึ้น. มารนั้น เมื่อไม่สามารถจะดํารงอยู่ได้ จึงหายไปในที่นั้นนั่นเอง. คําว่า นิวิฏฺา นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาสัทธาอย่างนั้น.

    บทว่า มูลชาตา ปติฏฺิตา ความว่า ดํารงมั่นแล้วด้วยมรรคนั้น อันเป็นมูล เพราะมูลราก คือมรรคเกิดพร้อมแล้ว. บทว่า ทฬฺหา แปลว่ามั่นคง. บทว่า อสํ หาริยา ความว่า อันใครๆ ไม่พึงอาจเพื่อจะให้หวั่นไหวได้เปรียบเหมือนเสาเขื่อนที่เขาฝังไว้อย่างแน่น. บทว่า ตสฺเสตํ กลฺลํ วจนาย นั้น ความว่า คํานั้น ควรที่จะเรียกพระอริยสาวก. ท่านกล่าวว่าอย่างไร. ท่านกล่าวคําเป็นต้นว่า เราเป็นบุตรเกิดแต่อกของพระผู้มีพระภาค ดังนี้. ความจริง พระอริยสาวกนั้น อาศัยพระผู้มีพระภาค จึงเกิดขึ้นในภูมิของพระอริยะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค และชื่อว่า เป็นโอรสเกิดแต่พระโอษฐ์ เพราะอยู่ในอกแล้วดํารงอยู่ในมรรคและผล ด้วยอํานาจการกล่าวธรรม อันออกมาจากพระโอษฐ์ ชื่อว่า เกิดแต่ธรรม เพราะ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 176

เกิดจากอริยธรรม และชื่อว่า อันธรรมเนรมิตขึ้น เพราะถูกอริยนิรมิตขึ้น ชื่อว่า ธรรมทายาท เพราะควรรับมรดก คือนวโลกุตตรธรรม.

    บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ ความว่า หากมีคําถามว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภควโตมฺหิ ปุตฺโต ดังนี้แล้ว ตรัสอีกว่า ธมฺมโช ธมฺมนิมฺมิโต ดังนี้อีก คํานั้น พระองค์ตรัสเพราะเหตุไร. บัดนี้ เมื่อจะแสดงเนื้อความของคํานั้น ท่านจึงกล่าวคําเป็นต้นว่า ตถาคตสฺส เหตํ ดังนี้เป็นต้น. ในบาลีประเทศนั้น คําว่า ธมฺมกาโย อิติปิ ความว่า เพราะเหตุไร พระตถาคตจึงได้รับขนานนามว่า ธรรมกาย. เพราะพระตถาคตทรงคิดพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก ด้วยพระหทัยแล้ว ทรงนําออกแสดงด้วยพระวาจา. ด้วยเหตุนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาค จึงจัดเป็นธรรมแท้ เพราะสําเร็จด้วยธรรม. พระธรรม เป็นกายของพระผู้มีพระภาคนั้น ดังพรรณนามานี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงชื่อว่า ธรรมกาย. ชื่อว่า พรหมกาย เพราะมีธรรมเป็นกายนั่นเอง แท้จริง พระธรรม ท่านเรียกว่า พรหม เพราะเป็นของประเสริฐ. บทว่า ธมฺมภูโต ได้แก่สภาวธรรม. ชื่อว่า พรหมภูต เพราะเป็นผู้เกิดจากพระธรรม นั่นเอง.

    พระผู้มีพระภาค ครั้นทรงแสดงวาทะอันเป็นเครื่องทําลายความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยพระดํารัสมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวาทะอันเป็นเครื่องทําลายความเป็นผู้ประเสริฐ โดยนัยอื่นอีก จึงตรัสว่า โหติโข โสวาเสฏฺา สมโย ดังนี้เป็นต้น บรรดาถ้อยคําเหล่านั้น กถาว่าด้วย สังวัฏฏะและวิวัฏฏะ ได้พรรณนาโดยพิสดารแล้วในพรหมชาลสูตร. บทว่า อิตฺถตฺตํ อาคจฺฉนฺติ ความว่า ย่อมมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือสู่ความเป็นมนุษย์. บทว่า เต จ โหนฺติ มโนมยา ความว่า สัตว์เหล่านั้นแม้บังเกิดในมนุษยโลกนี้ ก็เป็นพวกโอปปาติกกําเนิด บังเกิด

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 177

ขึ้นด้วยใจเท่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีความสําเร็จทางใจ. ปีติเท่านั้น ย่อมให้สําเร็จกิจด้วยอาหารแก่สัตว์เหล่านั้น แม้ในมนุษยโลกนี้ เหมือนในพรหมโลก ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงชื่อว่า มีปีติเป็นภักษา. พึงทราบเหตุมีรัศมีเองเป็นต้นโดยนัยนี้. บทว่า เอโกทกีภูตํ ความว่า จักรวาลทั้งหมด เป็นที่ที่มีน้ำเหมือนกัน. บทว่า อนฺธกาโร แปลว่า ความมืด. บทว่า อนฺธการติมิสา ความว่า กระทําความมืด คือมีความมืดมิด ด้วยการห้ามการบังเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ.

    บทว่า สมนฺตานิ ความว่า ดํารงอยู่ คือแผ่ไปรอบ. บทว่า ปยตตฺตสฺส แปลว่า น้ำนมที่เคี่ยวให้งวด. บทว่า วณฺณสมฺปนฺนา ความว่า ถึงพร้อมด้วยสี. ก็สีของง้วนดินนั้น ได้เป็นเหมือนดอกกรรณิการ์. บทว่า คนฺธสมฺปนฺนา ความว่า ถึงพร้อมด้วยกลิ่น คือกลิ่นอันเป็นทิพย์ย่อมฟุ้งไป. บทว่า รสสมฺปนฺนา ความว่า ถึงพร้อมด้วยรส เหมือนใส่โอชาทิพย์ลงไป ฉะนั้น. บทว่า ขุทฺทกมธุํ ความว่า น้ำผึ้งอันแมลงผึ้งตัวเล็กๆ ทําไว้. บทว่า อุเนฬกํ ความว่า มีโทษออกแล้ว คือเว้นจากไข่แมลงวัน. บทว่า โลภชาติโก ความว่า มีความโลภเป็นสภาพ. แม้ในกัลปถัดไปที่ล่วงไปแล้ว ก็มีความโลภเหมือนกัน เราเกิดอัศจรรย์จึงกล่าวว่า อมฺโภ ดังนี้. บทว่า กิเมวิทํ ภวิสฺสติ ความว่า สีก็ดี กลิ่นก็ดี ของง้วนดินนั้น น่าชอบใจ แต่รสของง้วนดินนั้น จักเป็นอย่างไรหนอ. ผู้มีเกิดความโลภในง้วนดินนั้น ก็เอานิ้วมือจับง้วนดินนั้นมาชิมดู ครั้นเอามือจับแล้วเอามาไว้ที่ลิ้น. บทว่า อจฺฉาเทสิ ความว่า ง้วนดินนั้นพอเขาเอามาวางไว้ที่ปลายลิ้นก็แผ่ซ่านไปทั่ว เส้นเอ็นรับรสอาหาร ๗,๐๐๐ เส้น เป็นของน่าชอบใจตั้งอยู่. บทว่า ตณฺหา จสฺส โอกฺกมิ ความว่า ก็ความอยากในรสในง้วนดินนั้น ก็เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความโลภนั้น. หลายบทว่า อาลุปฺป

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 178

กากรํ อุปกฺกมิํสุ ปริภุญชิตุํ ความว่า เขาปั้นเป็นคํา คือแบ่งออกเป็นก้อน แล้วเริ่มที่จะบริโภค.

พระจันทร์และพระอาทิตย์ ชื่อว่า จนฺทิมสุริยา. บทว่า ปาตุรเหสุํ แปลว่า ปรากฏขึ้น. ก็บรรดาพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้น อย่างไหนปรากฏก่อน ใครอยู่ในที่ไหน ประมาณของใครเป็นอย่างไร ใครอยู่สูง ใครหมุนเร็ว วิถีทางของพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้นเป็นอย่างไร เที่ยวไปได้อย่างไร ทําแสงสว่างในที่มีประมาณเท่าใด.

พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองไม่ปรากฏพร้อมกัน. พระอาทิตย์ปรากฏขึ้นก่อน. ก็เมื่อรัศมีเฉพาะตัวของสัตว์เหล่านั้น ได้หายไป ความมืดมนจึงได้มีขึ้น. สัตว์เหล่านั้นทั้งกลัวทั้งสะดุ้ง คิดกันว่า คงจะดีหนอ ถ้าแสงสว่างปรากฏขึ้นมา ดังนี้ ต่อแต่นั้น ดวงอาทิตย์อันให้ความกล้าเกิดขึ้นแก่มหาชนก็ได้ตั้งขึ้น. ด้วยเหตุนั้น ดวงอาทิตย์นั้น จึงได้นามว่า สุริโย ดังนี้. เมื่อดวงอาทิตย์นั้น ทําแสงสว่างตลอดวันแล้วอัสดงคตไป ความมืดมนก็กลับมีขึ้นอีก. สัตว์เหล่านั้น พากันคิดว่า คงจะเป็นการดีหนอ ถ้าหากว่าพึงมีแสงสว่างอย่างอื่นเกิดขึ้น ดังนี้. ที่นั้น ดวงจันทร์รู้ความพอใจของสัตว์เหล่านั้น จึงเกิดขึ้นมา. ด้วยเหตุนั้น นั่นแล ดวงจันทร์ จึงได้นามว่า จนฺโท ดังนี้. บรรดาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น ดวงจันทร์อยู่ในวิมานภายในล้วนแล้วด้วยแก้วมณี วิมานภายนอกล้วนแล้วด้วยเงิน ทั้งภายในและภายนอกนั้นเย็นแท้. ดวงอาทิตย์อยู่ในวิมานภายในล้วนแล้วด้วยทอง วิมานภายนอกล้วนแล้วด้วยแก้วผลึก. ทั้งภายในเละภายนอกร้อนจัด.

ว่าโดยประมาณ ดวงจันทร์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๙ โยชน์ เส้น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 179

รอบวงยาว ๒๕๐ โยชน์. ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ โยชน์ เส้นรอบวงยาว ๒๕๐ โยชน์.

ดวงจันทร์อยู่ข้างล่าง พระอาทิตย์อยู่ข้างบน. ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นอยู่ห่างกันโยชน์หนึ่ง. จากส่วนล่างของพระจันทร์ถึงส่วนบนของดวงอาทิตย์ มีระยะ ๑๐๐ โยชน์.

ดวงจันทร์หมุนไปทางด้านตรงช้า แต่หมุนไปทางด้านขวางเร็ว หมู่ดาวนักษัตรก็หมุนไปในสองด้าน ดวงจันทร์หมุนไปใกล้หมู่ดาวนั้นๆ เหมือนแม่โคเข้าไปหาลูกโค ฉะนั้น. ส่วนหมู่ดาว ไม่ทิ้งที่อยู่ของตนเลย. การหมุนไปของดวงอาทิตย์ทางตรงเร็ว ไปทางขวางช้า. ดวงอาทิตย์นี้โคจรห่างดวงจันทร์แสนโยชน์ ในวันปาฏิบทจากวันอุโบสถกาฬปักษ์. เวลานั้น ดวงจันทร์ปรากฏเหมือนรอยเขียน ฉะนั้น. ดวงอาทิตย์โคจรห่างไปเป็นระยะแสนโยชน์ ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์ได้โคจรห่างไป ดังที่กล่าวแล้วนี้ เป็นระยะแสนๆ โยชน์จนถึงวันอุโบสถ. ลําดับนั้น ดวงจันทร์ก็ใหญ่ขึ้นโดยลําดับ ไปเต็มดวงในวันอุโบสถ.

ดวงอาทิตย์โคจรห่างดวงจันทร์ออกไปแสนโยชน์ ในวันปาฏิบทอีก. โคจรห่างออกไปเป็นระยะแสนโยชน์ ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์โคจรห่างไป ดังกล่าวแล้วนี้ เป็นระยะแสนๆ โยชน์จนถึงอุโบสถ. ทีนั้นดวงจันทร์อับแสงลงโดยลําดับแล้ว ไม่ปรากฏทั้งดวงในวันอุโบสถ. ดวงอาทิตย์ลอยอยู่เบื้องบนให้ดวงจันทร์อยู่เบื้องล่างย่อมปกปิดดวงจันทร์ไว้ได้ เหมือนภาชนะเล็กถูกถาดใหญ่ปิดไว้ฉะนั้น. เงาของดวงจันทร์ไม่ปรากฏเหมือนเงาเรือนไม่ปรากฏในเวลาเที่ยง. ดวงจันทร์นั้น เมื่อเงาไม่ปรากฏ แม้ตัวเองก็ไม่ปรากฏ เหมือนประทีปในกลางวัน ไม่ปรากฏแก่หมู่ชนผู้ยืนอยู่ไกลฉะนั้น.

ก็พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า วิถีของอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นอย่างไร ต่อไปนี้วิถีมีดังนี้ คือวิถีแพะ วิถีช้าง วิถีของโค. บรรดาวิถี

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 180

เหล่านั้น น้ำเป็นของปฏิกูลสําหรับแพะทั้งหลาย แต่น้ำนั้นเป็นที่ชอบใจของช้างทั้งหลาย เป็นที่ผาสุกของฝูงโค เพราะมีความเย็นและความร้อนเสมอกัน. ฉะนั้น ในเวลาใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของแพะ เวลานั้น ฝนไม่ตกเลยแม้สักเม็ดเดียว เมื่อใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของช้าง เมื่อนั้นฝนจะตกแรงเหมือนท้องฟ้ารั่ว. เมื่อ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของโค เมื่อนั้นความสม่ําเสมอของฤดูก็ย่อมถึงพร้อม.

ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมเคลื่อนอยู่ภายนอกภูเขาสิเนรุ เป็นเวลา ๖ เดือน และโคจรอยู่ภายในอีก ๖ เดือน. ความจริง ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น ย่อมโคจรไปใกล้ภูเขาสิเนรุในเดือน ๘. แต่นั้นเคลื่อนออกไป โคจรอยู่ในภายนอก ๒ เดือน แล้วเคลื่อนไปอยู่โดยท่ามกลาง ในต้นเดือน ๑๒. แต่นั้น เคลื่อนมุ่งหน้าต่อจักรวาล แล้วโคจรอยู่ใกล้ๆ จักรวาล เป็นเวลา ๓ เดือน แล้วเคลื่อนออกห่างมาอีก ไปอยู่ตรงกลางจักรวาล ในเดือน ๕ ต่อแต่นั้น ในเดือนอื่น ก็เคลื่อนมุ่งหน้าต่อภูเขาสิเนรุ แล้วไปโคจรอยู่ใกล้ๆ ภูเขาสิเนรุ ในเดือน ๘ อีก.

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ทําแสงสว่างในที่นี้ประมาณเท่าใด ดังนี้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมทําแสงสว่างในทวีปทั้ง ๓ โดยพร้อมกัน. กระทําได้อย่างไร. ก็เวลาพระอาทิตย์ขึ้นในทวีปนี้ (ชมพูทวีป) เป็นเวลาเที่ยงในปุพพวิเทหทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในอุตตรกุรุทวีป เป็นมัชฌิมยามในอมรโคยานทวีป. เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในปุพพวิเทหทวีป เป็นเวลาเที่ยงในอุตตรกุรุทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในอมรโคยานทวีป เป็นมัชฌิมยามในทวีปนี้. เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นในอุตตรกุรุทวีป เป็นเวลาเที่ยงในอมรโคยานทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในทวีปนี้ เป็นเวลา

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 181

มัชฌิมยามในปุพพวิเทหทวีป. เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นในอมรโคยานทวีป เป็นเวลาเที่ยงในทวีปนี้ เวลาที่พระอาทิตย์ตกในปุพพวิเทหทวีป เป็นเวลามัชฌิมยามในอุตตรกุรุทวีป ฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยในสองบทว่า นกฺขตฺตานิ ตารกรูปานิ ต่อไป ดาวนักษัตรมีดาวฤกษ์เป็นต้น และหมู่ดาวทั้งหลายที่เหลือ ย่อมปรากฏพร้อมกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. บทว่า รตฺตินฺทิวา ความว่า ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงอรุณขึ้น เป็นเวลากลางคืน ตั้งแต่เวลาอรุณขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก จัดเป็นเวลากลางวัน กลางคืนและกลางวัน ย่อมปรากฏอย่างว่ามานี้. ต่อแต่นั้น ๑๕ ราตรี จัดเป็นกึ่งเดือน ๒ กึ่งเดือน เป็นเดือน กึ่งเดือนและเดือนหนึ่ง ปรากฏอย่างว่ามานี้. ที่นั้น ๔ เดือน จัดเป็น ๑ ฤดู ๓ ฤดู เป็น ๑ ปี ทั้งฤดูและปี จึงปรากฏอย่างว่ามานี้.

คําว่า วณฺณเววณฺณตา จ ได้แก่ ความมีผิวพรรณต่างกัน. บทว่า เตสํ วณฺณาติมานปจฺจยา ความว่า เพราะการถือตัวจัดซึ่งเกิดขึ้น เพราะปรารภวรรณะของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นปัจจัย. บทว่า มานาติมานชาติกานํ ความว่า ผู้มีมานะและอติมานะเกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นสภาพ. บทว่า รสปวียา ความว่า อันได้นามว่า รส เพราะสมบูรณ์ด้วยรส. บทว่า อนุตฺถุนิํสุ ความว่า พากันบ่นถึง. บทว่า อโห รสํ ความว่า โอ รสอร่อยมีแก่พวกเรา. คําว่า อคฺคฺํ อกฺขรํ นี้เป็นคํากล่าวถึงวงศ์ ซึ่งบังเกิดขึ้นในโลก. บทว่า อนุปทนฺติ ความว่า ย่อมไปตาม.

บทว่า เอวเมว ปาตุรโหสิ ความว่า ได้เป็นเช่นนี้ตั้งขึ้น และได้ตั้งขึ้นเหมือนพื้นเปือกตมอันแห้งเกิดขึ้น ในเมื่อน้ำภายในสระแห้งไป ฉะนั้น. เครืออันเจริญมีรสหวานอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เครือดิน. บทว่า กลมฺพกา ได้แก่ ต้นมะพร้าว. บทว่า อหุ วต โน ความว่า เครือดิน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 182

มีรสหวาน ได้มีแก่เราทั้งหลายแล้วหนอ. บทว่า อหายิ วต โน ความว่า เครือดินนั้นของพวกเรา ได้หายไปแล้วในบัดนี้.

บทว่า อกฏฺ ปาโก ความว่า เกิดขึ้นในภูมิภาคซึ่งไม่ได้ไถเลย. บทว่า อกโณ แปลว่า ไม่มีรําเจือปน. บทว่า อถุโส แปลว่า ไม่มีแกลบ. บทว่า สุคนฺโธ ความว่า กลิ่นทิพย์ ย่อมฟุ้งขจายไป. บทว่า ตณฺฑุลปฺผโล ความว่า ย่อมเผล็ดผลเป็นเมล็ดข้าวสารขาวบริสุทธิ์. บทว่า ปกฺกํ ปฏิวิรุฬฺหํ ความว่า ที่ที่เขาเก็บในเวลาเย็น ก็ได้สุกแทนในตอนเช้า งอกงามขึ้นตามปกติอีก ที่ที่เขาเก็บไปหาปรากฏไม่. บทว่า นาปทานํ ปฺายติ ความว่า ย่อมปรากฏเป็นพืชที่ไม่ถูกเก็บเกี่ยว ไม่มีบกพร่องเลย บทว่า อิตฺถิยา จ ความว่า เพศหญิงของหญิงในเวลาเป็นมนุษย์ ในชาติก่อนๆ ก็ปรากฏ เพศชายของชายในกาลก่อนๆ นั้นก็ปรากฏ. ความจริง มาตุคาม เมื่อต้องการได้ความเป็นบุรุษ ก็พยายามบําเพ็ญธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งความเป็นบุรุษโดยลําดับ ก็ย่อมสําเร็จได้. บุรุษ เมื่อต้องการเป็นหญิง ก็ประพฤติกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมสําเร็จได้. ก็ในเวลานั้น ตามปกติ เพศหญิงย่อมปรากฏขึ้นแก่มาตุคาม เพศชายก็ปรากฏขึ้นแก่บุรุษ. บทว่า อุปนิชฺฌายตํ ความว่า เพ่งอยู่ คือแลดูอยู่. บทว่า ปริฬาโห ได้แก่ความเร่าร้อนด้วยอํานาจราคะ. บทว่า เสฏฺฐิํ ได้แก่เถ้าถ่าน. บทว่า นิพฺพุยฺหมานาย ความว่า นําออกไป.

บทว่า อธมฺมสมฺมตํ ความว่า การโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้น สมมติกันว่าไม่เป็นธรรม. บทว่า ตเทตรหิ ธมฺมสมฺมตํ ความว่า แต่ในบัดนี้ การโปรยฝุ่นเป็นต้นนี้ สมมติกันว่าเป็นธรรม. พวกพราหมณ์ทั้งหลาย พากันถือเอาการโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้น ว่าเป็นธรรม เที่ยวไป. จริงอย่างนั้น ในชนบทบางแห่ง พวกหญิงทั้งหลายทะเลาะกันย่อมกล่าวว่า เพราะเหตุไร

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 183

เธอจึงกล่าว ท่านจักไม่ได้อะไรแม้เพียงก้อนโคมัยสด. บทว่า ปาตพฺยตํ ได้แก่ความส้องเสพ. บทว่า สนฺนิธิการกํ ได้แก่ทําการสั่งสม. บทว่า อปาทานํ ปฺายิตฺถ ความว่า ที่ที่เขาเก็บไปแล้ว ได้ปรากฏเป็นของพร่องไป. บทว่า สณฺฑสณฺฑา ความว่า เป็นกลุ่มๆ เหมือนจัดไว้เป็นพวกหมู่ ในที่หนึ่งๆ.

บทว่า มริยาทํ เปยฺยาม ความว่า พวกเราจะตั้งเขตแบ่งกัน.

บทว่า ยตฺร หิ นาม ได้แก่ โย หิ นาม (ก็ขึ้นชื่อว่า สัตว์ใด). สองบทว่า ปาณินา ปหริํสุ ความว่า สัตว์เหล่านั้นเอามือตีคนที่ไม่เชื่อคําตน ถึง ๓ ครั้ง บทว่า ตทคฺเค โข ปน แปลว่า เพราะทําเหตุนั้น เป็นสิ่งสําคัญ. บทว่า ขียิตพฺพํ ขีเยยฺย อธิบายว่า พึงประกาศบอกบุคคลผู้ควรประกาศ คือติเตียนบุคคลที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่. บทว่า โย เนสํ สตฺโต ความว่า บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ผู้ใด. ถามว่า ก็สัตว์นั้นเป็นใคร. ตอบว่า คือพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย. หลายบทว่า สาลีนํ ภาคํ อนุปฺปทสฺสาม ความว่า เราจักนําข้าวสาลีมาจากไร่ของแต่ละคนๆ ละทะนาน แล้วจะให้ส่วนข้าวสาลีแก่ท่าน ท่านไม่ต้องทํางานอะไร ขอท่านจงตั้งอยู่ในฐานะ เป็นหัวหน้าของเราทั้งหลายเถิด.

บทว่า อกฺขรํ อุปนิพฺพตฺตํ ความว่า เกิดบัญญัติโวหาร ซึ่งเข้าใจกันได้ด้วยการนับ. คําว่า ขตฺติโย ขตฺติโย ดังนี้ เป็นคําที่เกิดขึ้นคําที่สอง. บทว่า อกฺขรํ ความว่า ไม่ใช่เฉพาะอักษรอย่างเดียวเท่านั้น แต่พวกสัตว์เหล่านั้น ยังได้ทําการอภิเษกบุคคลนั้น ด้วยการยกย่อง ถึง ๓ ครั้งว่า ขอให้ท่านจงเป็นใหญ่ในนาของพวกเรา ดังนี้. บทว่า รฺเชติ แปลว่า ย่อมยังผู้อื่นให้มีความสุขเอิบอิ่ม บทว่า อคฺคฺเน ความว่า การบังเกิดขึ้นด้วยอักษร อันเกิดขึ้นในสมัยแห่งโลกเกิดขึ้น ที่รู้กันว่าเลิศ หรือรู้จักกันในส่วนเลิศ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 184

บทว่า วีตงฺคารา วีตธูมา ความว่า ปราศจากควันและถ่านเพลิง เพราะไม่มีอาหารที่จะพึงหุงต้มแล้วเคี้ยวกิน. บทว่า ปณฺณมุสลา ความว่า ไม่มีการซ้อม เพราะไม่มีอาหารที่พึงซ้อมตําแล้วหุงต้ม. บทว่า ฆาสเมสนา ความว่า แสวงหายาคูและภัตด้วยอํานาจภิกขาจาร. บทว่า ตเมนํ มนุสฺสา ความว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้นได้เห็นบุคคลเหล่านั้น. บทว่า อนภิสมฺภุนฺมานา แปลว่า อดกลั้นไว้ไม่ได้ คือไม่สามารถจะอดกลั้นไว้ได้. บทว่า คนฺเถ กโรนฺตา ความว่า แต่ง คือบอกสอนไตรเพท. บทว่า อจฺฉนฺติ แปลว่า ย่อมอยู่อาศัย. บาลีว่า อจฺเฉนฺติ ดังนี้บ้าง. เนื้อความเช่นเดียวกัน. บทว่า หีนสมฺมตํ ความว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ โดยสมัยนั้น คําว่า หมู่พราหมณ์ย่อมทรงจํามนต์ ย่อมบอกมนต์ ดังนี้ เป็นคําสมมติว่าต่ําช้า บทว่า ตเทตรหิ เสฏฺสมฺมตํ ความว่า บัดนี้คําว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมทรงจํามนต์มีประมาณเท่านี้ ย่อมบอกกล่าวมนต์มีประมาณเท่านี้ เป็นคําสมมติว่าประเสริฐ. บทว่า พฺราหฺมณมณฺฑลสฺส ได้แก่ หมู่พราหมณ์.

บทว่า เมถุนํธมฺมํ สมาทาย แปลว่า ยึดถือเมถุนธรรม. หลายบทว่า วิสุํ กมฺมนฺเต ปโยเชสุํ ความว่า หมู่สัตว์ต่างพากันประกอบการงานที่มีชื่อเสียง คือได้รับยกย่อง มีการเลี้ยงโคและการค้าขายเป็นต้น. คําว่า สุทฺทา สุทฺทา นี้ อธิบายว่า พวกศูทร ไปอย่างน่ารังเกียจ คือเสื่อมเร็วๆ เรียกว่า สุทฺทํ สุทฺทํ เพราะการงานที่ประพฤติต่ํา และการงานที่ประพฤติเล็กน้อยนั้น.

บทว่า อหุ โข ได้แก่ โหติ โข. บทว่า สกํ ธมฺมํ ครหมาโน ความว่า กษัตริย์บางพระองค์ ติเตียนขัตติยธรรมของตนเองอย่างนี้ว่า ใครไม่อาจจะบริสุทธิ์ได้ด้วยเพียงแต่ให้ยกเศวตฉัตรขึ้น. ในทุกบทก็นัยนี้. ด้วยคํานี้ว่า อิเมหิ โข วาเสฏฺา จตูหิ มณฺฑเลหิ นี้ พระผู้มีพระภาคย่อม

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 185

ทรงแสดงคํานี้ว่า เหล่าสมณะย่อมไม่มีการแบ่งแยก. แต่เพราะใครๆ ไม่อาจจะบริสุทธิ์ด้วยชาติได้ ความบริสุทธิ์จะมีได้ก็ด้วยการปฏิบัติชอบของตนเอง ฉะนั้น การบังเกิดของพระสมณะ จึงเกิดมีขึ้นได้ด้วยหมู่ทั้ง ๔ เหล่านี้ หมู่ทั้งหลายเหล่านี้ย่อมอนุวัตตามหมู่สมณะ และหมู่ที่อนุวัตตามเหล่านั้น ก็ย่อมอนุวัตตามธรรมเท่านั้น หาอนุวัตตามอธรรมไม่ ความจริง เหล่าสัตว์ทั้งหลาย อาศัยหมู่สมณะบําเพ็ญสัมมาปฏิบัติ ย่อมถึงความบริสุทธิ์ได้ ดังนี้. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงทําข้อความนั้นว่า ใครๆ ไม่อาจที่จะบริสุทธิ์ตามชาติได้ แต่เหล่าสัตว์จะบริสุทธิ์ได้ ก็ด้วยการประพฤติชอบเท่านั้น ดังนี้ อย่างชัดเจน จึงเริ่มเทศนาว่า ขตฺติโยปิ โข วาเสฏฺา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิจฉาทิฏฺิกมฺมสมาทานเหตุ ความว่าเพราะเหตุคือการสมาทานกรรม ด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฺฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เพราะเหตุที่สมาทานมิจฉาทิฏฺฐิกรรม.

บทว่า ทฺวฺยการี ความว่า มักทํากรรมทั้งสองฝ่าย อย่างนี้ คือบางเวลาทํากุศลกรรม บางเวลาทําอกุศลกรรม. บทว่า สุขทุกฺขปฏิสํ เวที ความว่า ธรรมดาว่าสถานที่ที่ให้ผลพร้อมกันทั้งสองฝ่าย ในเวลาพร้อมกัน หามีไม่. ก็ผู้ใดได้ทําอกุศลกรรมไว้มาก ทํากุศลกรรมไว้น้อย เขาอาศัยกุศลกรรมนั้น ไปบังเกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์. ที่นั้น อกุศลกรรมนั้น ย่อมทําเขาให้เป็นผู้บอดบ้าง ผู้ง่อยบ้าง ผู้เปลี้ยบ้าง เขาย่อมไม่ควรแก่ราชสมบัติ หรือเขาเป็นอย่างนี้แล้ว ในเวลาที่ได้รับการอภิเษกแล้ว ก็ไม่อาจที่จะใช้โภคทรัพย์สมบัติได้. ต่อมา ในเวลาตายของเขา ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งสองนั้น ก็ปรากฏเหมือนนักมวยปล้ำ ที่มีกําลังมาก ๒ คน. บรรดากรรมทั้งสองนั้น อกุศลกรรมมีกําลังมากกว่า จึงห้ามกุศลกรรมไว้เสีย แล้วให้สัตว์นั้นบังเกิดในกําเนิดสัตว์ดิรัจฉาน. ฝ่ายกุศลกรรม

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 186

เป็นกรรมที่สัตว์จะต้องเสวยในปวัตติกาล. กุศลกรรมนั้น ย่อมสร้างช้างมงคลบ้าง ม้ามงคลบ้าง โคมงคลบ้าง เขาย่อมได้เสวยสมบัตินั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอากุศลกรรมนี้ จึงตรัสว่า สุขทุกฺขปฏิสํเวที โหติ ดังนี้.

บทว่า สตฺตนฺนํ โพธิปกฺขิยานํ ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งแบ่งเป็น ๗ หมวดตามลําดับ ด้วยอํานาจส่วนธรรมข้อต้นว่า สติปัฏฐาน ๔. บทว่า ภาวนมนฺวาย ความว่า ไปตามภาวนา อธิบายว่า ปฏิบัติ ภาวนา. บทว่า ปรินิพฺพาติ ความว่า ย่อมดับ ด้วยการดับกิเลส. พระผู้มีพระภาคทรงแสดงวรรณะ ๔ ดังพรรณนามา ฉะนี้แล้ว กลับมาแสดง ยกเอาพระขีณาสพผู้บรรลุสัจจะทั้ง ๔ ได้แล้ว ว่าเป็นผู้ประเสริฐในหมู่ เทวดาและมนุษย์.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น ทําให้มั่น ตามทํานองการแสดงถ้อยคําแม้ของพรหม ซึ่งโลกยกย่อง จึงตรัสพระดํารัสว่า อิเมสํ หิ วาเสฏฺา จตุนฺนํ วณฺณานํ เป็นต้น. คําว่า พฺราหฺมโณ เวสฺโส เป็นต้น ได้อธิบายพิสดารในอัมพัฏฐสูตรแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวาทะอันเป็นเครื่องทําลายความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยกถามรรคนี้ เพียงเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงหันกลับมาทรงแสดงเทศนา ให้จบลงด้วยธรรมอันเป็นยอด คือพระอรหัต. บทว่า อตฺตมนา วาเสฏฐภารทฺวาชา ความว่า ก็วาเสฎฐะและภารทวาชสามเณร พากันชื่นชมยินดี ได้ชมเชยภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า สาธุ สาธุ ดังนี้. สามเณรทั้งสองนั้นกําลังน้อมระลึกถึง รู้ตามพระสูตรนี้ นั่นเอง ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอัคคัญญสูตรที่ ๔