พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อัมพัฏฐสูตร เรื่องอัมพัฏฐมาณพ

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 497

๓. อัมพัฏฐสูตร

(๑๔๑) ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป บรรลุถึงพราหมณคามแห่งชาวโกศล ชื่ออิจฉานังคละ ได้ยินว่า สมัยนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน ในอิจฉานังคลคาม

(๑๔๒) ก็สมัยนั้นพราหมณ์โปกขรสาติอยู่ครองนครอุกกัฏฐะ ซึ่งคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า ด้วยไม้ ด้วยน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร เป็นส่วนราชสมบัติ อันพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทาน เป็นการปูนบําเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย พราหมณ์โปกขรสาติได้สดับ ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุลแล้ว เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงอิจฉานังคลคามโดยลําดับ ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน ในอิจฉานังคลคาม ก็เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้จําแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทําโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 498

แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้นย่อมเป็นการดีแล.

เรื่องอัมพัฏฐมาณพ

(๑๔๓) ก็สมัยนั้นแล อัมพัฏฐมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติ เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจํามนต์ได้ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ (๑) และคัมภีร์เกตุภะ (๒) พร้อมทั้งประเภทแห่งอักษร มีคัมภีร์อิติหาส (๓) เป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท ช่ําชองในไวยากรณ์ ชํานาญในคัมภีร์โลกายตะ (๔) และมหาปุริสลักษณะ อันอาจารย์ยอมรับและรับรองในคําสอนอันเป็นไตรเพท อันเป็นของอาจารย์ของตนว่า ฉันรู้สิ่งใด เธอรู้สิ่งนั้น เธอรู้สิ่งใด ฉันรู้สิ่งนั้น. ครั้งนั้นแล พราหมณ์โปกขรสาติ เรียกอัมพัฏฐมาณพมากล่าวว่า พ่ออัมพัฏฐะ พระสมณโคดมศากยบุตรพระองค์นี้ทรงผนวชแล้วจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงอิจฉานังคลคามโดยลําดับ ประทับ


(๑) คัมภีร์ว่าด้วยชื่อของสิ่งของต่างๆ มีต้นไม้เป็นต้น

(๒) คัมภีร์ว่าด้วยวิชาการกวี ศาสตร์ที่เป็นอุปกรณ์แก่กวี

(๓) คัมภีร์ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์พงศาวดาร มีมหาภารตยุทธเป็นต้น ซึ่งประพันธ์กันไว้ แต่โบราณกาล นับเป็นคัมภีร์ที่ ๕ คือนับคัมภีร์อิรุพเพทเป็นที่ ๑ คัมภีร์ยชุพเพทเป็น ที่ ๒ คัมภีร์สามเพทเป็นที่ ๓ และคัมภีร์อาถรรพเพทเป็นที่ ๔ คัมภีร์อิติหาสนี้ จึงนับเป็นที่ ๕

(๔) คัมภีร์ว่าด้วยเรื่องไม่น่าเชื่อต่างๆ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 499

อยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคลวัน ใกล้อิจฉานังคลคาม ก็เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น ขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้นทรงทําโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้นย่อมเป็นการดีแล พ่ออัมพัฏฐะ พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงรู้จักพระสมณโคดมว่า เกียรติศัพท์ของท่านพระโคดมพระองค์นั้นฟุ้งขจรไปจริงตามนั้นหรือไม่ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงคุณเช่นนั้นจริงหรือไม่ เราทั้งหลายจักได้รู้จักท่านพระโคดมพระองค์นั้นไว้โดยประการนั้น.

อัมพัฏฐมาณพถามว่า ท่านครับ ก็ไฉนเล่า ผมจักรู้ได้ว่า เกียรติศัพท์ของท่านพระโคดมพระองค์นั้นที่ฟุ้งขจรไปเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงคุณเช่นนั้นจริงหรือไม่. พราหมณ์โปกขรสาติตอบว่า พ่ออัมพัฏฐะ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการมาแล้วในมนต์ของเรา ซึ่งพระมหาบุรุษผู้ถึงพร้อมแล้ว ย่อมมีคติเป็น ๒ เท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 500

โดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชัยชํานะแล้ว มีราชอาณาจักรถึงความมั่นคง ถึงพร้อมแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ํายีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชํานะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาตรา ทรงครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก พ่ออัมพัฏฐะ ก็เราแลเป็นผู้สอนมนต์ เธอเป็นผู้รับเรียนมนต์. อัมพัฏฐมาณพรับคําพราหมณ์โปกขรสาติว่า ได้ขอรับ แล้วลุกจากที่นั่ง ไหว้พราหมณ์โปกขรสาติ กระทําประทักษิณ แล้วขึ้นรถเทียมลา พร้อมด้วยมาณพหลายคน ขับตรงไปยังราวป่าอิจฉานังคละ ตลอดภูมิประเทศเท่าที่รถจะไปได้ ลงจากรถเดินตรงเข้าไปยังพระอาราม.

    (๑๔๔) ก็สมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปกําลังจงกรมอยู่กลางแจ้ง.ลําดับนั้น อัมพัฏฐมาณพเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่จงกรม ครั้นแล้วได้กล่าวคํานี้กะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ เวลานี้พระสมณโคดมพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน พวกข้าพเจ้าพากันเข้ามาที่นี่ เพื่อจะเฝ้าพระองค์ท่าน. ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นคิดเห็นร่วมกันเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพผู้นี้เป็นคนเกิดในตระกูลที่มีชื่อเสียง ทั้งเป็นศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติผู้มีชื่อเสียง อันการสนทนาปราศรัยกับพวกกุลบุตรเห็นปานนี้ ย่อมไม่เป็นการหนักพระทัยแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ดังนี้แล้ว จึงตอบอัมพัฏฐมาณพว่า อัมพัฏฐะ นั่นพระวิหารมีประตูปิดอยู่ ท่านจงสงบ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 501

เสียงเข้าไปทางพระวิหารนั้น ค่อยๆ เข้าไปที่เฉลียง กระแอมไอแล้ว เคาะบานประตูเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเปิดประตูรับท่าน. ลําดับนั้นอัมพัฏฐมาณพสงบเสียง เข้าไปทางพระวิหาร ซึ่งมีประตูปิดอยู่นั้น ค่อยๆ เข้าไปยังเฉลียง กระแอมไอแล้ว เคาะบานประตู. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดประตู. อัมพัฏฐมาณพเข้าไปแล้ว. แม้พวกมาณพก็พากันเข้าไป ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

    (๑๔๕) ฝ่ายอัมพัฏฐมาณพ เดินปราศรัยบ้าง ยืนปราศรัยบ้างกับพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งอยู่. ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า อัมพัฏฐะ เธอเคยสนทนาปราศรัยกับพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์ เหมือนดังเธอ เดินบ้าง ยืนบ้าง สนทนาปราศรัยกับเราผู้นั่งอยู่เช่นนี้หรือ.

    ข้อนี้หามิได้ พระโคดมผู้เจริญ เพราะว่าพราหมณ์ผู้เดินก็ควรเจรจากันกับพราหมณ์ผู้เดิน พราหมณ์ผู้ยืนก็ควรเจรจากับพราหมณ์ผู้ยืน พราหมณ์ผู้นั่งก็ควรเจรจากับพราหมณ์ผู้นั่ง พราหมณ์ผู้นอนก็ควรเจรจากับพราหมณ์ผู้นอน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แต่ผู้ใดเป็นสมณะโล้น เป็นอย่างคนรับใช้ เป็นพวกกัณหโคตร เกิดแต่บาทของพรหม ข้าพเจ้าย่อมสนทนาปราศรัยกับผู้นั้น เหมือนกับที่สนทนาปราศรัยกับพระโคดมผู้เจริญนี้.

    อัมพัฏฐะ เธอมีธุระจึงได้มาที่นี้ ก็พวกเธอมาเพื่อประโยชน์อันใดแล พึงใส่ใจถึงประโยชน์อันนั้นไว้ให้ดี ก็อัมพัฏฐมาณพยังมิได้รับการศึกษาเลย สําคัญตัวว่าได้รับการศึกษาดีแล้ว จะมีอะไรอีกเล่า นอกจาก

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 502

ไม่ได้รับการศึกษา.

    ลําดับนั้น อัมพัฏฐมาณพ ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตําหนิด้วยพระวาจาว่า เป็นคนไม่ได้รับการศึกษา จึงโกรธขัดใจ เมื่อจะด่าข่มว่ากล่าวพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่าเราจักต้องให้พระสมณโคดมได้รับความเสียหาย ได้กล่าวคํานี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านโคดม พวกชาติศากยะดุร้าย หยาบช้า มีใจเบา พูดพล่าม เป็นพวกคนรับใช้ ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมพวกพราหมณ์ ท่านโคดม การที่พวกศากยะเป็นพวกคนรับใช้ ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่บูชาพวกพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมพวกพราหมณ์ นี้ไม่เหมาะไม่สมควรเลย.อัมพัฏฐมาณพกดพวกศากยะว่า เป็นพวกคนรับใช้ นี้เป็นครั้งแรกด้วยประการฉะนี้.

    (๑๔๖) อัมพัฏฐะ ก็พวกศากยะได้ทําผิดต่อเธออย่างไร. ท่านโคดม ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าไปยังนครกบิลพัสดุ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่างของพราหมณ์โปกขรสาติผู้อาจารย์ ได้เดินไปยังสัณฐาคารของพวกศากยะ เวลานั้นพวกศากยะและศากยกุมารมากด้วยกัน นั่งเหนืออาสนะสูงๆ ในสัณฐาคาร เอานิ้วมือสะกิดกันและกัน เฮฮาอยู่ หยอกล้อกันอยู่ เห็นทีจะหัวเราะเยาะข้าพเจ้าเป็นแน่ ไม่มีใครเชื้อเชิญให้ข้าพเจ้านั่งเลย ท่านโคดม ข้อที่พวกศากยะเป็นพวกคนรับใช้ ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่บูชาพวกพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมพวกพราหมณ์ นี้ไม่เหมาะไม่สมควรเลย. อัมพัฏฐมาณพกดพวกศากยะว่า เป็นพวกคนรับใช้ นี้เป็นครั้งที่ ๒ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 503

(๑๔๗) อัมพัฏฐะ แม้นางนกไส้ ก็ยังเป็นสัตว์พูดได้ตามความปรารถนาในรังของตน ก็พระนครกบิลพัสดุ์ เป็นถิ่นของพวกศากยะ อัมพัฏฐะ ไม่ควรจะข้องใจ เพราะการหัวเราะเยาะเพียงเล็กน้อยนี้เลย.ท่านโคดม วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรท่านโคดม บรรดาวรรณะ ๔ เหล่านี้ ๓ วรรณะ คือ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร เป็นคนบําเรอของพราหมณ์พวกเดียวโดยแท้ ท่านโคดม ข้อที่พวกศากยะเป็นพวกคนรับใช้ ไม่สักการะพวกพราหมณ์ ไม่เคารพพวกพราหมณ์ ไม่นับถือพวกพราหมณ์ ไม่บูชาพวกพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมพวกพราหมณ์ นี้ไม่เหมาะไม่สมควรเลย. อัมพัฏฐมาณพกดพวกศากยะว่าเป็นพวกคนรับใช้ นี้เป็นครั้งที่ ๓ ด้วยประการฉะนี้.

(๑๔๘) ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพผู้นี้ กล่าวเหยียบย่ําพวกศากยะอย่างหนัก โดยเรียกว่า เป็นพวกคนรับใช้ ถ้ากระไร เราจะถามถึงโคตรเขาดูบ้าง แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กับอัมพัฏฐมาณพว่า อัมพัฏฐะ เธอมีโคตรว่าอย่างไร. กัณหายนโคตร พระโคดม. อัมพัฏฐะ ก็เมื่อเธอระลึกถึงโคตรเก่าแก่อันเป็นของมารดาบิดาดู (ก็จะรู้ได้) พวกศากยะเป็นลูกเจ้า เธอเป็นลูกนางทาสีของพวกศากยะ ก็พวกศากยะเขาพากันสถาปนา พระเจ้าอุกกากราชว่า เป็นพระปิตามหะ (๑) (ปู่ บรรพบุรุษ)


(๑) เป็นชื่อหนึ่งของพระพรหม ซึ่งพราหมณ์ถือว่า เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูลของมนุษย์.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 504

ศากยวงศ์

(๑๔๙) อัมพัฏฐะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าอุกกากราช ทรงพระประสงค์พระราชทานสมบัติให้แก่พระโอรส ของพระมเหสี ผู้ที่ทรงรักใคร่ โปรดปราน จึงทรงรับสั่งให้พระเชฏฐกุมาร คือพระอุกกามุขราชกุมาร พระกรัณฑุราชกุมาร พระหัตถินีกราชกุมาร และพระสินี -ปุรราชกุมาร ออกจากพระราชอาณาเขต. พระราชกุนารเหล่านั้น เสด็จออกจากพระราชอาณาเขตแล้ว จึงพากันไปตั้งสํานักอาศัยอยู่ ณ ราวป่าไม้สากะใหญ่ ริมฝั่งสระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์. พระราชกุมารเหล่านั้นทรงสําเร็จการอยู่ร่วมกับพระภคินีของพระองค์เอง เพราะกลัวพระชาติจะระคนปนกัน.

อัมพัฏฐะ ต่อมาพระเจ้าอุกกากราช ตรัสถามหมู่อํามาตย์ราชบริษัทว่า บัดนี้พวกกุมารอยู่กัน ณ ที่ไหน. พวกอํามาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ มีราวป่าไม้สากะใหญ่อยู่ริมฝังสระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์ บัดนี้พระราชกุมารทั้งหลายอยู่ ณ ที่นั้น พระราชกุมารเหล่านั้นทรงสําเร็จการอยู่ร่วมกับพระภคินีของพระองค์เอง เพราะกลัวพระชาติจะระคนปนกัน. อัมพัฏฐะ ทีนั้น พระเจ้าอุกกากราช ทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านทั้งหลาย พวกกุมารสามารถหนอ พวกกุมารสามารถยอดเยี่ยมหนอ.อัมพัฏฐะ ก็พวกที่ชื่อว่าศากยะก็ปรากฏตั้งแต่กาลครั้งนั้นเป็นต้นมา และพระเจ้าอุกกากราชพระองค์นั้นเป็นบรรพบุรุษของพวกศากยะ. และพระเจ้าอุกกากราช มีนางทาสีคนหนึ่งชื่อ ทิสา นางคลอดบุตรคนหนึ่งชื่อ กัณหะ พอเกิดมาก็พูดได้ว่า แม่จงชําระฉัน จงให้ฉันอาบน้ำ แม่จา

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 505

ขอแม่จงปลดเปลื้องฉันจากสิ่งโสโครกนี้ ฉันเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่แม่.อัมพัฏฐะ มนุษย์สมัยนี้ เรียกปิศาจว่า ปิศาจ ฉันใด มนุษย์สมัยนั้นก็ฉันนั้น เรียกปิศาจว่า คนดํา. มนุษย์เหล่านั้นจึงกล่าวกันเช่นนี้ว่า ทารกนี้พอเกิดมาก็พูดได้ คนดําเกิดแล้ว ปีศาจเกิดแล้ว. อัมพัฏฐะ. ก็พวกที่ชื่อว่า กัณหายนะ ปรากฏตั้งแต่กาลนั้นเป็นต้นมา. และกัณหะนั้น เป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ. อัมพัฏฐะ เมื่อเธอระลึกถึงโคตรอันเก่าแก่ อันเป็นของมารดาบิดาดู (ก็จะรู้ได้) พวกศากยะเป็นลูกเจ้า เธอเป็นลูกทาสีของพวกศากยะ ด้วยประการฉะนี้แล.

วงศ์ของอัมพัฏฐมาณพ

(๑๕๐) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ อย่าทรงเหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยพระวาทะว่า เป็นลูกทาสีให้หนักนักเลย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็นพหูสูต เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และเธอสามารถจะโต้ตอบในคํานี้กับพระโคดมผู้เจริญได้.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะมาณพเหล่านั้นว่า ถ้าพวกเธอคิดเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพมีชาติทราม มิใช่บุตรผู้มีสกุล มีสุตะน้อย เจรจาไม่ไพเราะ มีปัญญาทราม และไม่สามารถจะโต้ตอบในคํานี้กับพระสมณโคดมได้ อัมพัฏฐมาณพจงหยุดเสียเถิด พวกเธอจงโต้ตอบกับเราในคํานี้ ก็ถ้าพวกเธอคิดเช่นนี้ว่า อัมพัฏฐมาณพมีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็นพหูสูต เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และสามารถจะโต้ตอบ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 506

ในคํานี้กับพระสมณโคดมได้ พวกเธอจงหยุดเสียเถิด อัมพัฏฐมาณพจงโต้ตอบกับเราในคํานี้.

    มาณพเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพ มีชาติดี เป็นบุตรผู้มีสกุล เป็นพหูสูต เจรจาไพเราะ เป็นบัณฑิต และสามารถจะโต้ตอบในคํานี้กับพระโคดมได้ พวกข้าพระองค์จักนิ่งละ อัมพัฏฐมาณพจงโต้ตอบกับพระโคดมในคํานี้เถิด.

    (๑๕๑) ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะอันพัฏฐมาณพว่า อัมพัฏฐะ ปัญหาประกอบด้วยเหตุนี้แล มาถึงเธอเข้าแล้ว ถึงแม้จะไม่ปรารถนา เธอก็ต้องแก้ ถ้าเธอจักไม่แก้ก็ดี จักเอาคําอื่นมากลบเกลื่อนเสียก็ดี จักนิ่งเสียก็ดี หรือจักหลีกไปเสียก็ดี ศีรษะของเธอจักแตกเป็น ๗ เสี่ยง ณ ที่นี้แล. อัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้ยินพวกพราหมณ์ผู้เฒ่า ผู้แก่ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์เล่ากันมาว่าอย่างไร พวกกัณหายนะเกิดมาจากใครก่อน และใครเป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว อัมพัฏฐมาณพได้นิ่งเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอัมพัฏฐมาณพแม้เป็นครั้งที่๒ ว่า อัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้ยินพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์เล่ากันมาว่าอย่างไร พวกกัณหายนะเกิดมาจากใครก่อน และใครเป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ. แม้ครั้งที่ ๒ อัมพัฏฐมาณพก็ได้นิ่งเสีย.

    ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะอัมพัฏฐมาณพว่า อัมพัฏฐะ เธอจงแก้เดี๋ยวนี้ บัดนี้ไม่ใช่เวลาของเธอจะนิ่ง อัมพัฏฐะ เพราะผู้ใดถูกตถาคตถามปัญหาอันประกอบด้วยเหตุถึง ๓ ครั้งแล้ว ไม่แก้ ศีรษะ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 507

ของผู้นั้นจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง ณ ที่นี้แล.

    (๑๕๒) สมัยนั้น ยักษ์วชิรปาณี ถือค้อนเหล็กใหญ่ อันไฟติดแล้วลุกโพลงโชติช่วง ยืนอยู่ในอากาศเบื้องบนของอัมพัฏฐมาณพ คิดว่าถ้าอัมพัฏฐมาณพนี้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาที่ประกอบด้วยเหตุถึง ๓ ครั้งแล้ว แต่ไม่แก้ เราจักต่อยศีรษะของเขาให้แตกเป็น ๗ เสี่ยง ณ ที่นี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า และอัมพัฏฐมาณพเท่านั้นเห็นยักษ์วชิรปาณีนั้น.

    ครั้งนั้น อัมพัฏฐมาณพตกใจกลัวขนพองสยองเกล้า ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองเป็นที่ต้านทาน ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองเป็นที่เร้น ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองเป็นที่พึ่ง กระเถิบเข้าไปนั่งใกล้ๆ แล้วกราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ได้ตรัสคําอะไรนั่น ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดตรัสอีกครั้งเถิด.

    อัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้ยินพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์เล่ากันมาอย่างไร พวกกัณหายนะเกิดมาจากใครก่อน และใครเป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาเหมือนอย่างที่พระโคดมผู้เจริญตรัสนั่นแหละ พวกกัณหายนะเกิดมาจากกัณหะนั้นก่อน และก็กัณหะนั้นเป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ.

    (๑๕๓) เมื่ออัมพัฏฐมาณพกล่าวเช่นนั้นแล้ว มาณพเหล่านั้นส่งเสียงอื้ออึงเกรียวกราวโวยวายกันใหญ่ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่าอัมพัฏฐมาณพมีชาติทราม มิใช่บุตรผู้มีสกุล เป็นลูกทาสีของพวกศากยะ ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พวกศากยะเป็นโอรสของเจ้านายของอัมพัฏฐมาณพพวกเรา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 508

ไพล่ไปสําคัญเสียว่า พระสมณโคดมผู้ธรรมวาที พระองค์เดียวควรจะถูกรุกรานได้. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริเช่นนี้ว่า มาณพเหล่านี้ พากันเหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยวาทะว่า เป็นลูกทาสี หนักนัก ถ้ากระไรเราพึงช่วยปลดเปลื้องให้. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะมาณพเหล่านั้นว่า ดูก่อนมาณพพวกเธออย่าเหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยวาทะว่า เป็นลูกทาสีให้หนักนัก เพราะกัณหะนี้ได้เป็นฤาษีคนสําคัญ เธอไปยังทักษิณาชนบทเรียนพรหมมนต์แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้าอุกกากราชทูลขอพระราชธิดาพระนามว่ามัททรูปี. พระเจ้าอุกกากราชทรงพระพิโรธ ขัดพระทัยแก่พระฤาษีนั้นว่าบังอาจอย่างนี้เจียวหนอ ฤาษีเป็นลูกทาสีของเราแท้ๆ ยังมาขอธิดาชื่อมัททรูปี แล้วทรงขึ้นพระแสงศร ท้าวเธอไม่อาจจะทรงแผลง และไม่อาจจะทรงลดลงซึ่งพระแสงศรนั้น.

    (๑๕๔) ดูก่อนมาณพ ครั้งนั้นหมู่อํามาตย์ราชบริษัทพากันเข้าไปหากัณหฤาษี แล้วได้กล่าวคํานี้กะกัณหฤาษีว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา. ฤาษีตอบว่า ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา แต่ถ้าท้าวเธอจักทรงแผลงพระศรลงไปเบื้องต่ํา แผ่นดินจักทรุดตลอดพระราชอาณาเขต. อํามาตย์กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา ขอความสวัสดีจงมีแก่ชนบท. ฤาษีตอบว่า ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา ความสวัสดีจักมีแก่ชนบท แต่ถ้าท้าวเธอจักทรงแผลงพระแสงศรขึ้นไปเบื้องบน ฝนจักไม่ตกทั่วพระราชอาณาเขตถึง ๗ ปี. อํามาตย์กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอความสวัสดีจงมีแด่พระราชา ขอความสวัสดีจงมีแก่ชนบท ขอฝนจงตก

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 509

เถิด. ฤาษีตอบว่า ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา ความสวัสดีจักมีแก่ชนบท ฝนจักตก แต่พระราชาต้องทรงวางพระแสงศรไว้ที่พระราชกุมารพระองค์ใหญ่ด้วยทรงดําริว่า พระราชกุมารจักเป็นผู้มีความสวัสดี หายสยดสยองดังนี้. ดูก่อนมาณพ ลําดับนั้น พระเจ้าอุกกากราชได้ทรงวางพระแสงศรไว้ที่พระราชกุมารพระองค์ใหญ่ด้วยทรงดําริว่า พระราชกุมารจักเป็นผู้มีความสวัสดี หายสยดสยอง ดังนี้. ครั้นท้าวเธอทรงวางพระแสงศรไว้ที่พระราชกุมารองค์ใหญ่แล้ว. พระราชกุมารก็เป็นผู้มีความสวัสดี หายสยดสยอง. พระเจ้าอุกกากราชทรงกลัวถูกขู่ด้วยพรหมทัณฑ์ จึงได้พระราชทานพระนางมัททรูปีราชธิดาแก่ฤาษีนั้น. ดูก่อนมาณพ พวกเธออย่าเหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพด้วยวาทะว่าเป็นลูกทาสีให้หนักนักเลย กัณหะนั้นได้เป็นฤาษีสําคัญแล้ว.

    (๑๕๕) ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะอัมพัฏฐมาณพว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขัตติยกุมารในโลกนี้พึงสําเร็จการอยู่ร่วมกับนางพราหมณกัญญา เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกันของคนทั้ง ๒ นั้น พึงเกิดบุตรขึ้น บุตรผู้เกิดแต่นางพราหมณกัญญากับขัตติยกุมารนั้น จะควรได้ที่นั่งหรือน้ำในหมู่พราหมณ์บ้างหรือไม่. ควรได้ พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์จะควรเชิญให้เขาบริโภคในการเลี้ยงเพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยงเพื่อการมงคล ในการเลี้ยงเพื่อยัญพิธี หรือในการเลี้ยงเพื่อแขกบ้างหรือไม่. ควรเชิญเขาให้บริโภคได้ พระโคดมผู้เจริญ.พวกพราหมณ์จะควรบอกมนต์ให้เขาได้หรือไม่. ควรบอกให้ได้ พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรจะถูกห้ามในหญิงทั้งหลายหรือไม่. ไม่ควรถูกห้ามเลย พระโคดมผู้เจริญ เขาควรจะได้รับอภิเษกเป็นกษัตริย์ได้บ้างหรือไม่.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 510

ข้อนี้ไม่ควรเลย พระโคดมผู้เจริญ. เพราะเหตุไร. เพราะเขาไม่บริสุทธิ์ข้างฝ่ายมารดา.

    (๑๕๖) ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณกุมารในโลกนี้ พึงสําเร็จการอยู่ร่วมกับนางขัตติยกัญญา เพราะอาศัยการอยู่ร่วมของคนทั้ง ๒ นั้น พึงเกิดบุตรขึ้น บุตรที่เกิดแต่นางขัตติยกัญญากับพราหมณกุมาร จะควรได้ที่นั่งหรือน้ำ ในหมู่พราหมณ์บ้างหรือไม่. ควรได้ พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์จะควรเชิญเขาให้บริโภคในการเลี้ยงเพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยงเพื่อการมงคล ในการเลี้ยงเพื่อยัญพิธี หรือในการเลี้ยงเพื่อแขกได้บ้างหรือไม่. ควรเชิญให้เขาบริโภคได้ พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์ควรบอกมนต์ให้เขาได้หรือไม่. ควรบอกให้ได้ พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรถูกห้ามในหญิงทั้งหลายหรือไม่. เขาไม่ควรถูกห้ามเลย พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรจะได้รับอภิเษกเป็นกษัตริย์ได้บ้างหรือไม่. ข้อนี้ไม่ควรเลย พระโคดมผู้เจริญ.เพราะเหตุไร. เพราะเขาไม่บริสุทธิ์ข้างฝ่ายบิดา.

    (๑๕๗) ดูก่อนอัมพัฏฐะ เมื่อเทียบหญิงกับหญิงก็ดี เมื่อเทียบชายกับชายก็ดี กษัตริย์พวกเดียวประเสริฐ พวกพราหมณ์เลว. ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกพราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ พึงโกนศีรษะพราหมณ์คนหนึ่ง มอมด้วยเถ้าแล้วเนรเทศเสียจากแว่นแคว้นหรือจากเมืองเพราะโทษบางอย่าง เขาจะควรได้ที่นั่งหรือน้ำในหมู่พราหมณ์บ้างหรือไม่. ไม่ควรได้เลย พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์ควรเชิญเขาให้บริโภคในการเลี้ยงเพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยงเพื่อการมงคลในการเลี้ยงเพื่อยัญพิธี หรือในการเลี้ยงเพื่อแขกได้บ้างหรือไม่. ไม่ควร

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 511

เชิญเขาให้บริโภคเลย พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์ควรบอกมนต์ให้เขาได้หรือไม่. ไม่ควรบอกเลย พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรถูกห้ามในหญิงทั้งหลายหรือไม่. เขาควรถูกห้ามทีเดียว พระโคดมผู้เจริญ

    (๑๕๘) อัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ทั้งหลายในโลกนี้ พึงปลงพระเกสากษัตริย์พระองค์หนึ่ง มอมด้วยเถ้าแล้วเนรเทศเสียจากแว่นแคว้นหรือจากเมืองเพราะโทษบางอย่าง เขาควรจะได้ที่นั่งหรือน้ำในหมู่พราหมณ์บ้างหรือไม่. ควรได้ พระโคดมผู้เจริญ.พวกพราหมณ์ควรเชิญเขาให้บริโภคในการเลี้ยงเพื่อผู้ตาย ในการเลี้ยงเพื่อการมงคล ในการเลี้ยงเพื่อยัญพิธี ในการเลี้ยงเพื่อแขกได้บ้างหรือไม่.ควรเชิญเขาให้บริโภคได้ พระโคดมผู้เจริญ. พวกพราหมณ์ควรบอกมนต์ให้เขาหรือไม่. ควรบอกให้ พระโคดมผู้เจริญ. เขาควรถูกห้ามในหญิงทั้งหลายหรือไม่. เขาไม่ควรถูกห้ามเลย พระโคดมผู้เจริญ. ดูก่อนอัมพัฏฐะ กษัตริย์ย่อมถึงความเป็นผู้เลวอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ถูกกษัตริย์ด้วยกันปลงพระเกสามอมด้วยเถ้า แล้วเนรเทศเสียจากแว่นแคว้นหรือจากเมือง ดูก่อนอัมพัฏฐะ แม้ในเมื่อกษัตริย์ถึงความเป็นคนเลวอย่างยิ่งเช่นนี้ พวกกษัตริย์ก็ยังประเสริฐ พวกพราหมณ์เลว ด้วยประการฉะนี้.

    สมจริงดังคาถาที่สนังกุมารพรหมได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

    (๑๕๙) กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวาดาและมนุษย์.

    (๑๖๐) ดูก่อนอัมพัฏฐะ ก็คาถานี้นั้น สนังกุมารพรหมขับถูกไม่ผิด กล่าวไว้ถูกไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ไม่ประกอบด้วย

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 512

ประโยชน์ เราเห็นด้วย ดูก่อนอัมพัฏฐะ ถึงเราก็กล่าวเช่นนี้ว่า

(๑๖๑) กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์.

จบ ภาณวาร ที่ ๑

วิชชาจรณสัมปทา

(๑๖๒) อัมพัฏฐมาณพทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้นเป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ก่อนอัมพัฏฐะ ในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมเขาไม่พูดอ้างชาติ อ้างโคตร หรืออ้างมานะว่า ท่านควรแก่เรา หรือท่านไม่ควรแก่เรา อาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล หรืออาวาหะและวิวาหมงคลมีในที่ใด ในที่นั้นเขาจึงจะพูดอ้างชาติบ้าง อ้างโคตรบ้าง หรืออ้างมานะบ้างว่า ท่านควรแก่เรา หรือท่านไม่ควรแก่เรา ชนเหล่าใด ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ หรือยังเกี่ยวข้องด้วยอาวาหะและวิวาหมงคล ชนเหล่านั้นชื่อว่ายังห่างไกลจากวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม การทําให้แจ้งซึ่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม ย่อมมีได้ เพราะละความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ และความเกี่ยวข้องด้วยอาวาหะและวิวาหมงคล.

(๑๖๓) ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 513

เป็นไฉนเล่า. ดูก่อนอัมพัฏฐะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ (พึงดูพิสดารในสามัญญผลสูตร) ฯลฯ ดูก่อนอัมพัฏฐะ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล ฯลฯเข้าถึงฌานที่ ๑ อยู่ แม้นี้เป็นจรณะของภิกษุนั้น ฯลฯ เพราะระงับวิตกวิจารเสียได้ เข้าถึงฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ อยู่. แม้นี้เป็นจรณะของภิกษุนั้น. ดูก่อนอัมพัฏฐะ แม้นี้แลคือจรณะ เธอย่อมนําไปอย่างยิ่ง น้อมไปอย่างยิ่งซึ่งจิต เพื่อญาณทัสสนะ. แม้นี้เป็นวิชชาของภิกษุนั้น ฯลฯเธอย่อมรู้ชัดว่าอย่างอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกไม่มี. แม้นี้เป็นวิชชาของภิกษุนั้น. ดูก่อนอัมพัฏฐะ นี้แลคือวิชชา ดูก่อนอัมพัฏฐะ ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะบ้าง. ดูก่อนอัมพัฏฐะ ก็วิชชาสมบัติ จรณสมบัติเหล่าอื่นที่ดียิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วิชชาสมบัติ จรณสมบัตินี้ไม่มี.

    ดูก่อนอัมพัฏฐะ วิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้แล มีทางเสื่อมอยู่ ๔ ประการ. ๔ ประการเป็นไฉน.

    ๑. ดูก่อนอัมพัฏฐะ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้ หาบบริขารดาบสเข้าไปสู่ราวป่าด้วยตั้งใจว่า จักบริโภคผลไม้ที่หล่น. สมณพราหมณ์นั้นต้องเป็นคนบําเรอท่านที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่ ๑.

    (๑๖๔) ๒. ดูก่อนอัมพัฏฐะ อีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้ ไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้ ถือเสียมและตะกร้าเข้าไป

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 514

สู่ราวป่าด้วยตั้งใจว่า จักบริโภคเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้. สมณพราหมณ์นั้นต้องเป็นคนบําเรอท่านที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่ ๒.

    (๑๖๕) ๓. ดูก่อนอัมพัฏฐะ อีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้ ไม่สามารถจะหาผลไม้หล่นบริโภคได้ ไม่สามารถจะหาเหง้าไม้รากไม้ และผลไม้บริโภคได้ จึงสร้างเรือนไฟไว้ใกล้บ้าน หรือนิคม แล้วบําเรอไฟอยู่. สมณพราหมณ์นั้นต้องเป็นคนบําเรอท่านที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาสมบัติและจรณสมบัติโดยแท้ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่ ๓.

    (๑๖๖) ๔. ดูก่อนอัมพัฏฐะ อีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้ ไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้ ไม่สามารถจะหาเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้บริโภคได้ และไม่สามารถจะบําเรอไฟได้ จึงสร้างเรือนมีประตู ๔ ด้านไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง แล้วพํานักอยู่ด้วยตั้งใจว่า ผู้ใดที่มาจากทิศทั้ง ๔ นี้ จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เราจักบูชาท่านผู้นั้นตามสติกําลัง. สมณพราหมณ์นั้นต้องเป็นคนบําเรอท่านที่ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่ ๔.

    ดูก่อนอัมพัฏฐะ ทางเสื่อมแห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้ มีอยู่ ๔ ประการ ดังนี้.

    (๑๖๗) ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอกับอาจารย์ย่อมปรากฏในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้บ้างหรือไม่ ข้อนี้ไม่มีเลย พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ากับอาจารย์เป็น

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 515

อะไร วิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมเป็นอะไร ข้าพเจ้ากับอาจารย์ยังห่างไกลจากวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้.ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอกับอาจารย์เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้แหละ หาบบริขารดาบสเข้าไปสู่ราวป่าด้วยตั้งใจว่า จักบริโภคผลไม้ที่หล่นบ้างหรือไม่. ข้อนี้ไม่มีเลย พระโคดมผู้เจริญ

    ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอกับอาจารย์เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้แหละ และไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้ จึงถือเสียมและตะกร้าเข้าไปสู่ราวป่าด้วยตั้งใจว่า จักบริโภคเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้ บ้างหรือไม่.ข้อนี้ไม่มีเลย พระโคดมผู้เจริญ. ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอกับอาจารย์เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้แหละ ไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้ และไม่สามารถจะหาเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้บริโภคได้ จึงสร้างเรือนไฟไว้ใกล้ๆ บ้านหรือนิคม แล้วบําเรอไฟอยู่ บ้างหรือไม่. ข้อนี้ไม่มีเลย พระโคดมผู้เจริญ. ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอกับอาจารย์เมื่อไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้แหละ ไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้ ไม่สามารถจะหาเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้บริโภคได้ และไม่สามารถจะบําเรอไฟได้ จึงสร้างเรือนไฟที่มีประตู ๔ ด้านไว้ที่หนทาง ๔ แพร่ง แล้วพํานักอยู่ ด้วยตั้งใจว่า ผู้ใดที่มาจากทิศทั้ง ๔ นี้ จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เราจักบูชาท่านผู้นั้นตามสติกําลัง บ้างหรือไม่. ข้อนี้ไม่มีเลย พระโคดมผู้เจริญ. ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 516

อันพัฏฐะ เธอกับอาจารย์เสื่อมจากวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้ด้วย และคลาดจากทางเสื่อมของวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม ประการนี้ด้วย.

    (๑๖๘) ดูก่อนอัมพัฏฐะ ก็พราหมณ์โปกขรสาติอาจารย์ของเธอได้พูดว่า สมณะโล้นบางเหล่าเป็นอย่างคนรับใช้ เป็นพวกกัณหโคตรเกิดแต่บาทของพรหม ประโยชน์อะไรที่พวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรวิชาจะสนทนาด้วย ดังนี้. แม้แต่ทางเสื่อมตนก็ยังไม่ได้บําเพ็ญ. ดูเถิดอัมพัฏฐะ ความผิดของพราหมณ์โปกขรสาติอาจารย์ของเธอนี้เพียงใด. ถึงพราหมณ์โปกขรสาติกินเมืองที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทาน พระองค์ยังไม่ทรงพระราชทานพระวโรกาสให้เข้าเฝ้าหน้าพระที่นั่ง เวลาจะทรงปรึกษาด้วย ก็ทรงปรึกษานอกพระวิสูตร ดูก่อนอัมพัฏฐะ ไฉนเล่าจึงไม่พระราชทานการเข้าเฝ้าต่อหน้าพระที่นั่งแก่เขาผู้รับภิกษาที่ชอบธรรม ซึ่งพระราชทานให้ ดูเถิดอัมพัฏฐะ ความผิดของพราหมณ์โปกขรสาติอาจารย์ของเธอนี้เพียงใด.

    (๑๖๙) ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงช้างพระที่นั่ง หรือรถพระที่นั่ง จะทรงปรึกษาราชกิจบางเรื่องกับมหาอํามาตย์ หรือพระราชวงศานุวงศ์ แล้วเสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง จากที่นั้น ภายหลังคนชั้นศูทรหรือทาสของศูทรพึงมา ณ ที่นั้นแล้วพูดอ้างว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสอย่างนี้ๆ เพียงเขาพูดได้เหมือนพระราชดํารัส หรือปรึกษาได้เหมือนพระราชาทรงปรึกษา จะจัดว่าเป็นพระราชา หรือราชมหาอํามาตย์ได้หรือไม่.

    ข้อนี้เป็นไม่ได้ พระโคดมผู้เจริญ.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 517

ฤาษีบุรพาจารย์ของพราหมณ์

ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอก็เช่นนั้นเหมือนกัน บรรดาฤาษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทวะ ฤาษีเวสสามิตร ฤาษียมตัคคี ฤาษีอังคีรส ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์ของเก่านี้ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกไว้ เพียงคิดว่า เรากับอาจารย์เรียนมนต์ของท่านเหล่านั้น เธอจักเป็นฤาษีหรือปฏิบัติเพื่อเป็นฤาษีได้ ดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอได้ฟังพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และเป็นปาจารย์ เล่ากันมาว่าอย่างไร บรรดาฤาษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทวะ ฤาษีเวสสามิตร ฤาษียมตัคคี ฤาษีอังคีรส ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์ของเก่านี้ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้องตามที่กล่าวไว้ บอกไว้ ฤาษีเหล่านั้นอาบน้ำทาตัวเรียบร้อยแต่งผม แต่งหนวด สวมพวงดอกไม้และเครื่องอาภรณ์ นุ่งผ้าขาว อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บําเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ เหมือนเธอกับอาจารย์ในบัดนี้หรือไม่.

ไม่เหมือน พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 518

    ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฤาษีเหล่านั้นบริโภคข้าวสาลีที่เก็บกากแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง เหมือนเธอกับอาจารย์ในบัดนี้หรือไม่.

    ไม่เหมือน พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ.

    ดูก่อนอัมพัฏฐะ... ฤาษีเหล่านั้นบําเรออยู่ด้วยเหล่านารีผู้มีผ้าโพกและมีร่างกระชดกระช้อย เหมือนเธอกับอาจารย์ในบัดนี้หรือไม่.

    ไม่เหมือน พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ.

    ดูก่อนอัมพัฏฐะ... ฤาษีเหล่านั้นใช้รถเทียมลาหางตัดตกแต่งแล้ว เอาปฏักด้ามยาวทิ่มแทงสัตว์พาหนะขับขี่ไป เหมือนเธอกับอาจารย์ในบัดนี้หรือไม่.

    ไม่เหมือน พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ.

    ดูก่อนอัมพัฏฐะ... ฤาษีเหล่านั้นใช้บุรุษขัดกระบี่ ให้รักษาเชิงเทินแห่งนครที่มีคูล้อมรอบ ลงลิ่ม เหมือนเธอกับอาจารย์ในบัดนี้หรือไม่.

    ไม่เหมือน พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ.

    ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอกับอาจารย์มิได้เป็นฤาษีเลย ทั้งมิได้ปฏิบัติเพื่อเป็นฤาษี ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอัมพัฏฐะ ผู้ใดมีความเคลือบแคลง สงสัยในเรา ผู้นั้นจงถามเราด้วยปัญหา เราจักชําระให้ด้วยการพยากรณ์.

    (๑๗๐) ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระวิหารจงกรมแล้ว. แม้อัมพัฏฐมาณพก็ออกจากพระวิหารเดินจงกรม ขณะที่อัมพัฏฐมาณพเดินจงกรมตามพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น ได้พิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 519

ได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑ พระชิวหาใหญ่ ๑ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อไม่เลื่อมใสอยู่.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า อัมพัฏฐมาณพนี้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของเรา โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ คุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑ ชิวหาใหญ่ ๑ ยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อไม่เลื่อมใสอยู่. ทันใดนั้นจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารให้อัมพัฏฐมาณพได้เห็นพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณทั้ง ๒ กลับไปกลับมา สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้ง ๒ กลับไปกลับมา แผ่ปิดจนมิดมณฑลพระนลาต.

(๑๗๑) ครั้งนั้น อัมพัฏฐมาณพคิดว่า พระสมณโคดมประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง ดังนี้แล. เขาจึงได้ทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอทูลลาไป ณ บัดนี้ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีธุระมาก.

ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอจงสําคัญกาลอันควรบัดนี้. แล้วอัมพัฏฐมาณพก็ขึ้นรถเทียมลากลับไป.

โปกขรสาติพราหมณ์

(๑๗๒) สมัยนั้นพราหมณ์โปกขรสาติลุกออกมานั่งคอยรับอัมพัฏฐมาณพอยู่ ณ อาศรมของตน พร้อมด้วยพราหมณ์หมู่ใหญ่. ฝ่ายอัมพัฏฐมาณพขับรถไปอาศรมของตน จนสุดทางที่รถไปได้แล้ว ลงเดินเข้าไปหาพราหมณ์โปกขรสาติ ไหว้แล้วนั่งอยู่ ที่ควรข้างหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 520

พราหมณ์โปกขรสาติถามว่า พ่ออัมพัฏฐะ พ่อได้เห็นพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นแล้วหรือ. ได้เห็นแล้ว ท่าน.

    ก็เกียรติศัพท์ของท่านพระโคดมพระองค์นั้นที่ขจรไป จริงตามนั้นไม่เป็นอย่างอื่นหรือ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงคุณเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นหรือ. เกียรติศัพท์ของท่านพระโคดมพระองค์นั้นที่ขจรไปจริงตามนั้น ไม่เป็นอย่างอื่นเลย ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงคุณเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลย และประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง. พ่อได้สนทนาปราศรัยอะไรด้วยหรือไม่.ได้สนทนาปราศรัยด้วยทีเดียว. พ่อได้สนทนาปราศรัยอย่างไรบ้าง ทันใดนั้นอัมพัฏฐมาณพได้เล่าเรื่องเท่าที่ตนได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าให้พราหมณ์โปกขรสาติทราบทุกประการ.

    (๑๗๓) เมื่ออัมพัฏฐมาณพกล่าวอย่างนี้ พราหมณ์โปกขรสาติได้กล่าวว่า พุทโธ่เอย พ่อบัณฑิตของเรา พุทโธ่เอย พ่อพหูสูตของเรา พุทโธ่เอย พ่อทรงไตรวิชาของเรา ได้ยินว่า คนเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเสีย เพราะท่านผู้ประพฤติประโยชน์เช่นนี้ เจ้าได้พูดกระทบกระเทียบพระโคดมอย่างนี้ๆ แต่พระโคดมกลับตรัสยกเอาพวกเราขึ้นเป็นตัวเปรียบเทียบอย่างนี้ๆ พุทโธ่เอย พ่อบัณฑิตของเรา พุทโธ่เอย พ่อพหูสูตของเรา พุทโธ่เอย พ่อทรงไตรวิชาของเรา ได้ยินว่า คนเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเสีย เพราะท่านผู้ประพฤติประโยชน์เช่นนี้.พราหมณ์โปกขรสาติ โกรธ ขัดใจ เอาเท้าปัดอัมพัฏฐมาณพให้ล้มลงแล้วใคร่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียเองในขณะนั้นทีเดียว. พวก

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 521

พราหมณ์เหล่านั้นได้พูดห้ามว่า ท่าน วันนี้เกินเวลาที่จะไปเฝ้าพระสมณโคดมเสียแล้ว พรุ่งนี้ค่อยไปเฝ้าพระองค์เถิด.

    (๑๗๔) ครั้งนั้น พราหมณ์โปกขรสาติจัดแจงของเคี้ยวของฉันอย่างประณีตในนิเวศน์ของตนแล้วเอาใส่รถ เมื่อคบเพลิงยังตามอยู่ได้ออกจากอุกกัฏฐนคร ขับรถตรงไปยังราวป่าอิจฉานังคลวัน ครั้นไปสุดทางรถลงเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพศิษย์ของข้าพระองค์ได้มาที่นี่หรือ. ได้มา พราหมณ์. พระองค์ได้สนทนาปราศรัยอะไรๆ กับเขาหรือไม่. ได้สนทนา พราหมณ์.พระองค์ได้สนทนาปราศรัยกับเขาอย่างไร.

    ทันใดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเล่าเรื่องที่พระองค์ได้สนทนาปราศรัยกับอัมพัฏฐมาณพให้พราหมณ์โปกขรสาติทราบทุกประการ.

    (๑๗๕) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว พราหมณ์โปกขรสาติได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐมาณพเป็นคนโง่ ได้โปรดยกโทษให้เขาด้วยเถิด. ขออัมพัฏฐมาณพจงมีความสุขเถิด พราหมณ์.ครั้งนั้น พราหมณ์โปกขรสาติได้พิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ พระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑ พระชิวหาใหญ่ ๑ จึงยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่ ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใสอยู่.ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า พราหมณ์โปกขรสาตินี้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของเรา โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 522

คุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑ ชิวหาใหญ่ ๑ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อไม่เลื่อมใสอยู่.

    ทันใดนั้น จึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารให้พราหมณ์โปกขรสาติได้เห็นพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณทั้ง ๒ กลับไปกลับมา สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้ง ๒ กลับไปกลับมา แผ่ปิดจนมิดมณฑลพระนลาต. พราหมณ์โปกขรสาติคิดว่า พระสมณโคดม ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ บริบูรณ์ ไม่บกพร่องดังนี้ แล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหารในวันนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการนิ่งอยู่ พราหมณ์โปกขรสาติทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว จึงทูลภัตตกาลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว.

    (๑๗๖) ครั้งนั้น เวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณ์โปกขรสาติ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. พราหมณ์โปกขรสาติได้อังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงอิ่มหนําเพียงพอด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือของตน และพวกมาณพก็ได้อังคาสพระภิกษุสงฆ์ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว พราหมณ์โปกขรสาติถือเอาอาสนะต่ํา นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนุบุพพิกถาแก่พราหมณ์โปกขรสาติ คือประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ําช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกจากกาม. เมื่อทรงทราบว่า พราหมณ์โปกขรสาติ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 523

มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรดพราหมณ์โปกขรสาติ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พราหมณ์โปกขรสาติว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั้นนั่นแล. เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น.

พราหมณ์โปกขรสาติแสดงตนเป็นอุบาสก

(๑๗๗) ลําดับนั้น พราหมณ์โปกขรสาติ เห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ไม่ต้องเชื่อถือผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้พร้อมทั้งบุตรและภริยา บริษัทและอํามาตย์ ขอถึงพระองค์ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระสมณโคดมผู้เจริญจงทรงจําข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะอย่างมอบกายถวายชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระองค์จงเสด็จเข้าไปสู่สกุลโปกขรสาติ เหมือนเข้าไปสู่สกุลแห่งอุบาสกอื่นๆ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 524

ในนครอุกกัฏฐะ เหล่ามาณพมาณวิกาในสกุลโปกขรสาตินั้น จักไหว้ จักลุกรับ จักถวายอาสนะ หรือน้ำ จักเลื่อมใสในพระองค์ ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่มาณพมาณวิกาเหล่านั้นสิ้นกาลนาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านกล่าวชอบ ดังนี้แล

    จบ อัมพัฏฐสูตรที่ ๓