พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาอัมพัฏฐสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.ค. 2564
หมายเลข  34617
อ่าน  747

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 525

อรรถกถาอัมพัฏฐสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 11]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 525

อรรถกถาอัมพัฏฐสูตร

เอวมฺเม สุตํ ฯเปฯ โกสเลสุ อมฺพฏฺฐสุตฺตํ

ในอัมพัฏฐสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลําดับบท ดังต่อไปนี้ บทว่า ในโกศลชนบท คือ ชนบทอันเป็นนิวาสสถานของพระราชกุมารชาวชนบททั้งหลาย ผู้มีนามว่าโกศล แม้จะเป็นชนบทเดียวท่านก็เรียกว่า โกสลา (เป็นพหูพจน์) เพราะศัพท์เสริมเข้ามา ในชนบทชื่อ โกศลนั้น.

ก็พระโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า ในกาลก่อนพระราชาทรงสดับว่า พระราชกุมารนามว่า มหาปนาทะ ผู้ได้ดูการละเล่นมีละครต่างๆ เป็นต้น ก็ไม่ทําอาการแม้สักว่ายิ้มแย้มเลย จึงได้ทรงมีรับสั่งว่า ผู้ใดทําให้บุตรของเราหัวเราะได้ เราจะประดับประดาเขาผู้นั้นด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง. ตั้งแต่นั้นมา เมื่อเหล่ามหาชนต่างทอดทิ้งแม้คันไถมาร่วม ประชุมกัน พวกมนุษย์ทั้งหลายถึงจะแสดงการละเล่นต่างๆ กันสิ้นเวลานานกว่า ๗ ปี ก็มิสามารถจะให้พระราชกุมารนั้นทรงพระสรวลได้. ทีนั้น ท้าวสักกเทวราช จึงทรงส่งพวกละครมาแสดงบ้าง. พระองค์ทรงแสดงละครอันเป็นทิพย์ จึงทรงทําให้พระราชกุมารทรงพระสรวลได้. ต่อมาพวกมนุษย์เหล่านั้นต่างก็แยกย้ายกันกลับ บ่ายหน้าไปยังบ้านที่อาศัยของตนๆ พวกเขาเจอมิตรและสหายเป็นต้นสวนทางมา เมื่อจะทําปฏิสันถาร (ทักทาย ปราศรัย) กัน ต่างก็พูดกัน ว่า กิฺจิโภ กุสลํ กิฺจิ โภ กุสลํ (ท่าน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 526

ผู้เจริญ มีอะไรดีบ้างไหม ท่านผู้เจริญ มีอะไรดีบ้างไหม) เพราะฉะนั้น เขตแคว้นนั้นท่านจึงเรียกชื่อว่า โกศล เพราะยึดเอาคําว่า กุสลํ กุสลํ นั้น.

    บทว่า เสด็จจาริกไป คือเสด็จเดินทางไกล. ธรรมดาการเสด็จจาริกของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี ๒ อย่างคือ เสด็จจาริกอย่างรีบด่วน ๑ เสด็จจาริกอย่างไม่รีบด่วน ๑. ใน ๒ อย่างนั้น การที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นบุคคลที่ควรให้ตรัสรู้ได้แม้ในที่ไกล ก็จะเสด็จไปโดยเร็วเพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ของเขา ชื่อว่าเสด็จจาริกอย่างรีบด่วน. พึงเห็นเช่นในการเสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสปะ เป็นต้น.

    แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงกระทําการต้อนรับพระมหากัสสปะ ได้เสด็จไปตลอดทาง ๓ คาพยุตโดยครู่เดียว เพื่อประโยชน์แก่อาฬวกยักษ์ ได้เสด็จไปตลอดทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อประโยชน์แก่พระอังคุลิมาลก็เท่ากัน แต่สําหรับปุกกุสาติ ได้เสด็จไปตลอดทาง ๔๕ โยชน์ พระมหากัปปินะ ๑๒๐ โยชน์ เพื่อประโยชน์แก่พระธนิยะ ๗๐๐ โยชน์. สําหรับติสสสามเณรผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้ชอบอยู่แต่ในป่า ได้เสด็จไปตลอดทาง ๑๒๐ โยชน์กับอีก ๓ คาพยุต.

    ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเถระกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะไปยังสํานักของติสสสามเณร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แม้เราก็จักไป แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มา ด้วยทรงรับสั่งว่า อานนท์ เธอจงบอกแก่ภิกษุผู้สําเร็จอภิญญา ๖ มี ๒๐,๐๐๐ รูปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปยังสํานักติสสสามเณร ผู้ชอบอยู่แต่ในป่า. ต่อมาในวันที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระขีณาสพ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 527

๒๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ทรงเหาะขึ้นไปในอากาศ เสด็จลงที่ประตูโคจรคามของสามเณรนั้น ในที่สุดทางได้ ๑๒๐ โยชน์ ทรงห่มผ้าจีวรแล้ว.พวกมนุษย์เมื่อเดินทางไปทํางานกันเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างพูดกันว่า พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้ว พวกเราอย่าไปทํางานกันเลย ต่างพากันปูลาดอาสนะถวายข้าวยาคูแล้ว เมื่อจะกระทําบาทวัตร (๑) จึงถามพวกภิกษุหนุ่มว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จไปที่ไหน. ดูก่อนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่เสด็จไป ณ ที่อื่น เสด็จมาก็เพื่อทรงต้องการจะทอดพระเนตรติสสสามเณร ในที่นี้แหละ.พวกมนุษย์เหล่านั้นต่างพากันดีอกดีใจว่า ได้ยินว่า พระบรมศาสดาเสด็จมาก็เพื่อทรงต้องการจะทอดพระเนตรพระเถระผู้สนิทสนมกับตระกูลของพวกเรา พระเถระของพวกเรามิใช่คนเล็กน้อยเลย.

ต่อมาในเวลาเสร็จภัตกิจของพระผู้มีพระภาคเจ้า สามเณรเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านมาแล้วจึงถามว่า ดูก่อนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์มากมาย ทีนั้น พวกเขาจึงบอกแก่สามเณรว่า พระบรมศาสดาเสด็จมาขอรับ. สามเณรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามโดยเอื้อเฟื้อด้วยอาหารบิณฑบาต พระบรมศาสดาทรงจับบาตรของสามเณรนั้นด้วยพระหัตถ์แล้วตรัสว่า ติสสะ อาหารบิณฑบาตพอแล้ว เราทําภัตกิจเสร็จแล้ว. ลําดับนั้น สามเณรจึงถามโดยเอื้อเฟื้อกะอุปัชฌาย์แล้วจึงไปนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตน ทําภัตกิจ (ฉัน). ต่อมาในเวลาสามเณรนั้นฉันเสร็จแล้ว พระบรมศาสดาตรัสมงคลแล้ว เสด็จออกไปประทับยืนที่ประตูบ้าน ตรัสถามว่า ติสสะ ทางไปสู่ที่อยู่ของเธอสายไหน ทางนี้ พระ


(๑) ฉบับพม่าเป็น ปาตราสภตฺตํ แปลว่า อาหารเช้า.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 528

เจ้าข้า สามเณรกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อสามเณรกราบทูลชี้ทางถวายแล้ว จึงตรัสว่า ติสสะ เธอจงไปข้างหน้า.

    ดังได้สดับมา พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้จะทรงเป็นผู้ชี้ทางให้แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกก็ตาม ได้ทรงทําให้สามเณรนั้นเป็นผู้ชี้ทางให้ในเส้นทางเพียง ๓ คาพยุตเท่านั้น ด้วยทรงตั้งพระทัยว่า เราจักได้เห็นสามเณร สามเณรนั้นไปสู่ที่อันเป็นที่อยู่ของตน แล้วได้กระทําวัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

    ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามสามเณรนั้นว่า ติสสะ ที่ไหนเป็นที่จงกรมของเธอ จึงเสด็จไปที่นั้น ประทับนั่งบนก้อนหินที่นั่งของสามเณรแล้วตรัสถามว่า ติสสะ ในที่นี้เธออยู่เป็นสุขหรือ สามเณรนั้นกราบทูลว่า เป็นสุข พระเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ ได้ยินเสียงร้องของพวกสัตว์จําพวกราชสีห์ เสือโคร่ง ช้าง กวาง และนกยูง เป็นต้น ความสําคัญหมายว่า เป็นป่าก็เกิดขึ้น ข้าพระองค์อยู่เป็นสุขด้วยความสําคัญหมายนั้น. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะสามเณรนั้นว่า ติสสะ เธอจงเผดียงสงฆ์ให้ประชุมกัน เราจักให้พุทธทายาทแก่เธอ เมื่อภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้วทรงประทานอุปสมบทให้ แล้วได้เสด็จไปยังที่ประทับอยู่ของพระองค์ทีเดียว นี้ชื่อว่าการเสด็จจาริกอย่างรีบด่วน.

    ก็การที่พระองค์เมื่อจะทรงอนุเคราะห์สัตว์โลก เสด็จไปด้วยเสด็จทรงบิณฑบาตตามลําดับบ้านและนิคมทุกวัน โยชน์ ๑ บ้าง ๒ โยชน์บ้าง นี้จัดเป็นการเสด็จจาริกไม่รีบด่วน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะเสด็จจาริกนี้ก็จะเสด็จในมณฑลใดมณฑลหนึ่ง บรรดา ๓ มณฑลเหล่านี้ คือ มณฑลใหญ่ มณฑลกลาง มณฑลเล็ก. ในบรรดา ๓ มณฑลนั้น มณฑลใหญ่มีกําหนด ๙๐๐ โยชน์ มณฑลกลางมีกําหนด ๖๐๐ โยชน์ มณฑลเล็กมี

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 529

กําหนด ๑๐๐ โยชน์.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะเสด็จจาริกในมณฑลใหญ่ พระองค์ทรงปวารณาในวันมหาปวารณาแล้ว ในวันแรม ๑ ค่ํา จะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกไป ๑๐๐ โยชน์โดยรอบก็จะเกิดการแตกตื่นกันเป็นการใหญ่. คนผู้มาถึงก่อนๆ จึงจะได้นิมนต์ บรรดามณฑลทั้ง ๒ นอกจากนี้ สักการะก็จะมารวมลงเฉพาะในมหามณฑลเท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ในหมู่บ้านและอําเภอนั้นๆ สิ้น ๑ - ๒ วัน ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยการทรงรับอามิสทานและเจริญกุศลอันเป็นส่วนพ้นวัฏฏสงสารแก่เขา ด้วยทรงประทานธรรมทรงให้การจาริกเสร็จสิ้นไปโดย ๙ เดือน.

    แต่ถ้าภายในพรรษา สมถะและวิปัสสนากรรมฐานของภิกษุทั้งหลายยังอ่อนอยู่ พระองค์ก็จะไม่ทรงปวารณาในวันมหาปวารณา ทรงประทานเลื่อนวันปวารณาไป ทรงปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ต่อถึงวันแรม ๑ ค่ํา เดือนอ้าย จึงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จออก แล้วเสด็จเข้าไปในมณฑลขนาดกลาง พระองค์มีพระประสงค์จะเสด็จจาริกไปในมณฑลขนาดกลางด้วยเหตุอย่างอื่นก็มีบ้าง แต่จะเสด็จประทับอยู่ตลอด ๔ เดือนเท่านั้น แล้วก็จะเสด็จออกไปตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.บรรดามณฑลทั้ง ๒ นอกนี้ สักการะก็จะมารวมลงเฉพาะในมณฑลขนาดกลางเท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกโดยนัยก่อนนั่นแหละ ทรงให้การจาริกเสร็จสิ้นไปโดย ๘ เดือน.

    แต่ถ้าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะทรงจําพรรษาตลอด ๔ เดือนแล้วก็ตาม เวไนยสัตว์ยังมีอินทรีย์ไม่แก่กล้า พระองค์ก็จะทรงรอคอยให้พวก

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 530

เขามีอินทรีย์แก่กล้าก่อน จะเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแหละ อีกเดือน ๑ บ้าง ๒ - ๓ - ๔ เดือนบ้าง แล้วจึงจะเสด็จออกไปพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร. โดยทํานองดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ บรรดามณฑลทั้ง ๒ นอกนี้ สักการะก็จะมารวมลงเฉพาะในมณฑลขนาดเล็กเท่านั้น.พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกตามทํานองข้างต้นนั้นแหละจะทรงให้การจาริกเสร็จสิ้นไปโดย ๗ เดือนบ้าง ๖ เดือนบ้าง ๕ เดือนบ้าง ๔ เดือนบ้าง.

    ดังกล่าวมานี้ ในบรรดามณฑลทั้ง ๓ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะเสด็จจาริกไปในมณฑลใดมณฑลหนึ่ง จะเสด็จไปเพราะเหตุแห่งลาภผลมีจีวรเป็นต้นก็หาไม่. แต่โดยที่แท้พระองค์เสด็จจาริกไปก็เพราะความเอ็นดูสัตว์โลก ด้วยทรงดําริอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดที่เป็นคนเข็ญใจยังโง่เขลา เป็นคนแก่ และคนเจ็บป่วย เมื่อไรคนเหล่านั้นจักมาเห็นตถาคตได้ แต่เมื่อเราเที่ยวจาริกไป มหาชนจักได้เห็นตถาคต บรรดาเขาเหล่านั้น บางพวกจักกระทําจิตใจให้เลื่อมใสได้ บางพวกจักบูชาด้วยเครื่องบูชามีพวงดอกไม้เป็นต้น บางพวกจักถวายภักษาหารสักทัพพีหนึ่ง บางพวกจักละความเห็นผิด กลายเป็นผู้มีความเห็นถูก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกเขาตลอดกาลนาน.

    อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๔ ประการคือ เพื่อประโยชน์ให้พระวรกายได้อยู่สบายด้วยทรงเดินพักผ่อน ๑ เพื่อประโยชน์ที่จะรอเวลาเกิดเรื่องราว ๑ เพื่อประโยชน์จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย ๑ เพื่อประโยชน์จะให้สัตว์ผู้ควรจะตรัสรู้ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าแล้วในที่นั้นๆ ได้ตรัสรู้ ๑. พระผู้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 531

มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อย่างอื่นอีก ด้วยทรงดําริว่า สัตว์ทั้งหลายจักถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ จักถึงพระธรรม จักถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ หรือว่าเราจักให้บริษัททั้ง ๔ เอิบอิ่มด้วยการฟังธรรมเป็นการใหญ่. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๕ ประการแม้อย่างอื่นอีก ด้วยทรงดําริว่า สัตว์ทั้งหลายจักงดเว้นจากการทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงบ้าง จากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้บ้าง จากการประพฤติผิดในกามบ้าง จากการกล่าวเท็จบ้าง จากที่ตั้งแห่งความประมาทคือน้ำเมาอันได้แก่สุราและเมรัยบ้าง. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๘ ประการแม้อย่างอื่นอีก ด้วยทรงดําริว่า สัตว์ทั้งหลายจักกลับได้ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง. พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๘ ประการแม้อย่างอื่นอีก ด้วยทรงพระดําริว่า สัตว์ทั้งหลายจักบรรลุโสดาปัตติมรรคบ้าง โสดาปัตติผลบ้าง สกทาคามิมรรดบ้าง สกทาคามิผลบ้าง อนาคามิมรรคบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตตมรรคบ้าง จักกระทําให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลบ้าง. ดังกล่าวมานี้จัดเป็นการเสด็จจาริกไม่รีบด่วน. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาการเสด็จจาริกไม่รีบด่วน.

    ก็การเสด็จจาริกไม่รีบด่วนนี้ มีอยู่ ๒ อย่าง คือ การเสด็จจาริกประจํา ๑ การเสด็จจาริกไม่ประจํา ๑. บรรดาจาริก ๒ อย่างนั้น การเสด็จไปตามลําดับบ้าน อําเภอ และจังหวัด จัดเป็นการเสด็จจาริกประจํา.ส่วนการเสด็จไปเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ที่ครรจะให้ตรัสรู้ได้คนเดียวเท่านั้น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 532

จัดเป็นการเสด็จจาริกไม่ประจํา. ในที่นี้ท่านมุ่งหมายเอาการเสด็จจาริกไม่ประจํานี้.

    ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่ข่ายคือพระญาณไปในหมื่นโลกธาตุ ในเวลาเสร็จสิ้นพุทธกิจตอนปัจฉิมยาม ทรงเล็งดูเหล่าสัตว์ผู้มีเผ่าพันธุ์ควรจะตรัสรู้ได้อยู่ พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติเข้าไปภายในพระสัพพัญุตญาณ. ทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงพิจารณาดูว่าพราหมณ์นี้มาปรากฏในข่ายคือญาณของเรา เขามีอุปนิสัยหรือไม่หนอ ก็ทรงทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคแล้ว ทรงดําริว่าพราหมณ์นี้เมื่อเราไปชนบทนั้น จักใช้ให้ศิษย์ชื่ออัมพัฏฐะไปเพื่อค้นหาดูลักษณะ. เขาจะกล่าวโต้ตอบกับเรา พูดวาจาไม่สุภาพมีประการต่างๆ เราจักทรมานเขาทําให้หมดพยศ เขาก็จักบอกแก่อาจารย์ ทีนั้น อาจารย์ของเขาได้ฟังคํานั้นแล้ว ก็จักมาค้นหาดูลักษณะของเรา เราจักแสดงธรรมแก่เขา พอเทศน์จบเขาก็จักดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล เทศนาจักมีผลดีแก่มหาชนดังนี้ จึงพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร เสด็จพระดําเนินไปสู่ชนบทนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ขบวนใหญ่มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป.

    บทว่า บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละตั้งอยู่โดยที่ใด คือ บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละควรจะไปได้โดยทิสาภาคใด หรือว่า บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละตั้งอยู่ในประเทศใด. บาลีว่า อิจฺฉานงฺกลํ ก็มี.บทว่า ตทวสริ แปลว่า เสด็จไปโดยทางนั้น หรือว่า เสด็จไปสู่ที่นั้น.อธิบายว่า เสด็จไปโดยทิสาภาคนั้น หรือว่า เสด็จไปสู่ประเทศนั้น.

    บทว่า ประทับอยู่รนป่าชัฏชื่ออิจฉานังคละ ในบ้านพราหมณ์ชื่อ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 533

อิจฉานังคละ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเป็นพระธรรมราชา ทรงอาศัยบ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละ ทรงตั้งค่ายคือศีล ทรงถือพระคทาคือสมาธิ ทรงยังศรคือพระสัพพัญุตญาณให้เป็นไป เสด็จประทับอยู่ด้วยการประทับตามที่พระองค์ทรงพอพระทัยยิ่ง.

    บทว่า ก็โดยสมัยนั้นแล คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้นโดยสมัยใด โดยสมัยนั้น. อธิบายว่า ในสมัยนั้น. บุคคลย่อมเรียนมนต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพราหมณ์ อธิบายว่า ย่อมสาธยายมนต์. ก็คํานี้นี่แหละเป็นคําเรียกพราหมณ์โดยกําเนิดในทางภาษา. แต่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านเรียกว่าพราหมณ์ เพราะมีบาปอันลอยแล้ว คําว่า โปกขรสาตินี้ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. ท่านเรียกชื่อว่าโปกขรสาติเพราะเหตุไร. ได้ยินว่า กายของพราหมณ์นั้นเป็นเช่นเดียวกับดอกบัวขาว งามประดุจเสาระเนียดเงินที่เขาปักไว้ในเทวนคร. ส่วนศีรษะของเขามีสีดําประดุจสําเร็จด้วยแก้วมรกต. แม้หนวดก็ปรากฏประหนึ่งปุยเมฆสีดําในดวงจันทร์. ลูกตาทั้ง ๒ ข้างเป็นประดุจดอกบัวเขียว. จมูกกลมดีเกลี้ยงเกลา ประดุจท่อน้ำเงิน. ฝ่ามือและฝ่าเท้า รวมทั้งช่องปาก งดงามประดุจลูบไล้ไว้ด้วยน้ำครั่ง. อัตภาพของพราหมณ์จัดว่างามเลิศยิ่งนัก. ในที่ที่ไม่มีพระราชา สมควรจะตั้งพราหมณ์ผู้นี้เป็นพระราชาได้. พราหมณ์นี้เป็นคนประกอบด้วยสิริเช่นนี้. เพราะเหตุนี้ ชนทั้งหลายจึงเรียกเขาว่า โปกขรสาติ เพราะเป็นเหมือนดอกบัว.

    ก็พราหมณ์นี้แม้ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ เรียนจบเวททั้ง ๓ ถวายทานแด่พระทศพลแล้ว ฟังธรรมเทศนา ไปเกิดในเทวโลก. ต่อจากนั้นเขาเมื่อจะมาสู่มนุษย์โลก รังเกียจ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 534

การอยู่ในท้องมารดา จึงไปเกิดในท้องดอกบัวหลวงในสระใหญ่ ข้างป่าหิมพานต์. แต่ที่ไม่ไกลจากสระนั้น มีดาบสอาศัยอยู่ในบรรณศาลา.ดาบสนั้นยืนอยู่บนฝังมองเห็นดอกบัวหลวงนั้น จึงคิดว่า ดอกบัวหลวงดอกนี้ใหญ่กว่าดอกบัวหลวงนอกนี้ เวลาที่มันบานแล้ว เราจึงจักเก็บมัน.ดอกบัวหลวงนั้นแม้ตั้ง ๗ วันแล้วก็ยังไม่บาน. ดาบสจึงคิดว่า เพราะเหตุใดหนอ ดอกบัวหลวงนี้แม้ตั้ง ๗ วัน แล้วก็ยังไม่บาน เอาเถอะ เราจักเก็บมัน แล้วจึงลงไปเก็บ. ดอกบัวหลวงนั้น พอดาบสเด็ดขาดจากก้านเท่านั้นก็บานออก. ทีนั้น ในภายในดอกบัวนั้น เขาได้เห็นทารกมีผิวพรรณขาว มีรูปร่างราวกับเงิน ดุจสีผงทองมีวรรณะขาวเหลืองดังเกสรดอกประทุม. เขาจึงคิดว่า ทารกนี้คงจักเป็นผู้มีบุญมาก เอาเถอะ เราจะเลี้ยงดูเขา จึงอุ้มไปยังบรรณศาลา เลี้ยงดู ตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบก็ให้เรียนเวททั้ง ๓.ทารกเรียนจบเวททั้ง ๓ แล้ว เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด ได้เป็นยอดพราหมณ์ในชมพูทวีป. ในเวลาต่อมาเขาได้แสดงศิลปะแก่พระเจ้าโกศล.ทีนั้น พระราชาทรงเลื่อมใสในศิลปะของเขา จึงได้พระราชทานมหานครชื่ออุกกัฏฐะ ให้เป็นพรหมไทย. เพราะเหตุนี้ ประชาชนทั้งหลายจึงเรียกขานเขาว่า โปกขรสาติ เพราะเหตุที่เขานอนในดอกบัว.

    บทว่า อยู่ครอบครอง นครชื่ออุกกัฏฐะ ความว่า เขาอยู่หรือว่าอยู่ครอบครอง นครอันมีชื่อว่าอุกกัฏฐะ คือ เขาเป็นเจ้าของนครนั้น อยู่ตามขอบเขตที่ชนจะพึงอยู่ได้ในนครนั้น. ได้ยินว่า ประชาชนวางโคมไฟไว้แล้ว เมื่อโคมไฟลุกโพลงอยู่ จึงพากันยึดเอาที่ตั้งนครนั้น เพราะฉะนั้น นครนั้นท่านจึงเรียกว่า อุกกัฏฐะ. บาลีว่า โอกกัฏฐะ ดังนี้ก็มี มีเนื้อความอย่างเดียวกัน. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ด้วยอํานาจอุปสัค ทําให้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 535

ทุติยาวิภัตติใช้แทนสัตตมีวิภัตติได้. และในบทที่เหลือพึงทราบว่า คํานั้นไม่เป็นทุติยาวิภัตติ. ลักษณะในที่นั้น พึงค้นคว้าจากศัพทศาสตร์.

    บทว่า หนาแน่นด้วยสัตว์ ความว่า หนาแน่น ได้แก่ ล้นเหลือด้วยสัตว์ทั้งหลาย มีชนมากมาย มีมนุษย์เกลื่อนกล่น และคับคั่งด้วยสัตว์หลายชนิด มีช้าง ม้า นกยูง และเนื้อทรายที่เขาเลี้ยงไว้เป็นต้น. ก็เพราะเหตุที่นครนี้ สมบูรณ์ด้วยหญ้าเป็นอาหารของช้างและม้า เป็นต้น และด้วยหญ้ามุงหลังคาบ้านที่เกิดเวียนรอบภายนอกนคร ทั้งสมบูรณ์ด้วยไม้ที่เป็นฟืนและไม้ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องเรือนด้วยเช่นกัน และเพราะเหตุที่ภายในนครนั้นมีสระโบกขรณี มีสัณฐานกลม และ ๔ เหลี่ยม เป็นต้น มากมายทั้งมีบ่อน้ำนับไม่ถ้วนอีกมาก งดงามด้วยดอกไม้ที่เกิดในน้ำ และเต็มเปียมด้วยน้ำเป็นนิตย์ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เป็นนครที่ประกอบพร้อมด้วยหญ้าไม้และน้ำ. นครที่เป็นไปพร้อมกับด้วยข้าว ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยข้าว.อธิบายว่า มีข้าวเก็บตุนไว้มากมาย แตกต่างกันเป็นบุพพัณชาติ และอปรัณชาติเป็นต้น. ด้วยถ้อยคําเพียงเท่านี้ เป็นอันว่าท่านได้แสดงถึงสมบัติคือความมั่งคั่งแห่งนคร ที่พราหมณ์อยู่ด้วยลีลาอย่างพระราชา เพราะให้กางกั้นเศวตฉัตรขึ้น.

    โภคสมบัติพราหมณ์ได้มาจากพระราชา ชื่อว่า ราชโภคะ หากจะถามว่า ใครให้. ก็ต้องตอบว่า พระราชาทรงพระนามว่า ปเสนทิโกศลพระราชทานให้. บทว่า ราชทายํ แปลว่า เป็นของพระราชทานให้ของพระราชา อธิบายว่า เป็นมรดก. บทว่า พฺรหฺมเทยฺยํ แปลว่าเป็นของขวัญอันประเสริฐสุด อธิบายว่า เป็นของที่พราหมณ์จะพึงกางกั้นเศวตฉัตรเสวยโดยทํานองเป็นพระราชา.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 536

    อีกนัยหนึ่ง บทว่า ราชโภคํ ความว่า เป็นนครที่พราหมณ์สั่งให้ลงโทษด้วยการตัดอวัยวะและการทําลายอวัยวะทุกอย่างได้ เมื่อจะเก็บภาษีในสถานที่มีท่าเรือและภูเขาเป็นต้น จะต้องกางกั้นเศวตฉัตรขึ้นเป็นพระราชาครอบครอง. ในบทนี้ว่า นครนั้นพระราชาทรงพระนามว่า ปเสนทิโกศลพระราชทานให้เป็นราชรางวัล ความว่า นครนั้นเพราะพระราชาพระราชทานให้จึงชื่อว่า ราชทายะ. ก็เพื่อที่จะแสดงพระราชาผู้พระราชทานท่านจึงกล่าวคํานี้ว่า พระราชาทรงพระนามว่า ปเสนทิโกศล พระราชทานให้. บทว่า พฺรหฺมเทยฺยํ แปลว่า ของพระราชทานอันประเสริฐสุด. อธิบายว่า เป็นของที่พระราชทานแล้ว โดยประการที่ว่า พระราชทานแล้ว จะทรงเรียกคืนไม่มี คือ ทรงสละให้เด็ดขาด ได้แก่ บริจาคไปเลย.

    บทว่า อสฺโสสิ แปลว่า ได้สดับตรับฟังมา คือ ได้ประสบมา ได้แก่ ได้ทราบมา โดยทำนองคําประกาศก้องที่มาถึงโสตทวาร. คําว่า โข เป็นนิบาต ลงในอรรถอวธารณะ (กําหนดแน่นอนเช่นพวกเอวศัพท์) หรือเป็นนิบาตลงไว้เพียงเป็นบทบูรณ์ (ทําบทให้เต็มเฉยๆ ) . ใน ๒ คํานั้น ด้วยอรรถอวธารณะ พึงทราบคําอธิบายดังนี้ว่า พราหมณ์นั้นได้สดับตรับฟังมาโดยแท้จริงทีเดียว คือมิได้มีสิ่งขัดขวางต่อการได้ยิน. ด้วยบทบูรณ์ คํานี้เป็นเพียงใส่ไว้เพื่อให้บทและพยัญชนะสละสลวยขึ้นเท่านั้นเอง บัดนี้พราหมณ์ชื่อ โปกขรสาติ เมื่อจะประกาศเนื้อความที่ตนได้สดับตรับฟังมา จึงได้กล่าวถ้อยคํานี้ว่า ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ.

    พึงทราบเนื้อความในบทเหล่านั้นว่า บุคคลที่ชื่อสมณะ ก็เพราะมีบาปอันระงับแล้ว. สมกับที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลของบุคคลนั้น ระงับไปแล้ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้มีบาป

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 537

อันระงับได้แล้ว ด้วยอริยมรรคอย่างยอดเยี่ยม. เพราะเหตุนั้น คําว่า สมณะ นี้ จึงเป็นพระนามที่พระองค์ทรงได้รับตามพระคุณที่เป็นจริง. คําว่า ขลุ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่าได้ยินเล่าลือกันมา. คําว่า โภ เป็นเพียงคําเรียกชื่อที่ได้รับกันมาตามกําเนิดของพราหมณ์. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

    ถ้าเขายังเป็นผู้มีความกังวลอยู่ เขาผู้นั้นย่อมมีชื่อเรียกได้ว่าผู้เจริญ.

    พราหมณ์ยกย่องพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า โคตมะ ด้วยอํานาจแห่งโคตร เพราะฉะนั้น ในคําว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม พึงเห็นเนื้อความดังนี้ว่า ได้ยินว่า พระสมณะโคตมโคตร.

    ส่วนคําว่า เป็นพระราชโอรสของศากยวงศ์ นี้ เป็นคําชี้ชัดถึงพระตระกูลอันสูงศักดิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. คําว่า ทรงผนวชจากตระกูลศากยวงศ์ เป็นคําแสดงให้เห็นถึงการที่พระองค์ทรงผนวชด้วยศรัทธา อธิบายว่า พระองค์มิได้ทรงถูกความขาดแคลนใดๆ บีบบังคับ ทรงละตระกูลนั้นทั้งๆ ที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ ทรงผนวชด้วยศรัทธา. ต่อจากนี้ไปก็มีใจความดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. คําว่า ตํ โข ปน เป็นต้น ได้กล่าวไว้แล้วเหมือนกับในสามัญญผลสูตร.

    คําว่า เป็นการยังประโยชน์ให้สําเร็จ อธิบายว่า เป็นการดีทีเดียวคือ นําประโยชน์มาให้ นําความสุขมาให้. บทว่า พระอรหันต์เห็นปานฉะนี้ คือ พระอรหันต์ผู้ได้เสียงเรียกว่า พระอรหันต์ในโลก เพราะบรรลุคุณธรรมตามเป็นจริง เช่นเดียวกับพระโคดมผู้เจริญนั้น. บทว่า การได้เห็น ความว่า พราหมณ์กระทําความน้อมนึกไปอย่างนี้ว่า เพียงแต่ว่าการลืมตาทั้ง ๒ ข้าง ที่เยือกเย็นด้วยความเลื่อมใสขึ้นมองดู ก็เป็นการ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 538

สําเร็จประโยชน์.

คํานี้ว่า อัชฌายกะ (ผู้ไม่มีฌาน) เป็นคํากล่าวติเตียนพวกพราหมณ์ผู้ปราศจากฌาน ในกาลอันเป็นปฐมกัปอย่างนี้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ พราหมณ์เหล่านั้นไม่เพ่งในบัดนี้ พราหมณ์เหล่านี้ไม่เล่าเรียนในบัดนี้ เพราะเหตุนี้แล อักษรที่ ๓ ว่า อัชฌายิกาอัชฌายิกา ดังนี้แลจึงเกิดขึ้น (๑)

แต่บัดนี้ชนทั้งหลาย เรียกพราหมณ์นั้นกระทําให้เป็นคําสรรเสริญแล้ว ด้วยความหมายนี้ว่า บุคคลใดย่อมเล่าเรียน บุคคลนั้น ชื่อว่าอัชฌายกะ (ผู้คงแก่เรียน) คือสาธยายมนต์. บุคคลใดย่อมทรงจํามนต์ทั้งหลายได้ บุคคลนั้นชื่อมันตธระ (ผู้ทรงจํามนต์ได้.) บทว่า ไตรเพท คือ อิรุพเพทยชุพเพทและสามเพท. บุคคลใดถึงแล้วซึ่งฝัง ด้วยอํานาจกระทําให้ริมฝีปากกระทบกัน บุคคลนั้น ชื่อว่า ผู้ถึงฝัง (ผู้เรียนจบไตรเพท).ไตรเพทเป็นไปกับด้วยนิฆันฑุศาสตร์และเกฏภศาสตร์ ชื่อว่าพร้อมกับนิฆัณฑุศาสตร์และเกฏภศาสตร์.

คําว่า นิฆัณฑุ คือศาสตร์ที่แสดงถึงคําไวพจน์ของสิ่งทั้งหลายมี นิฆัณฑุรุกข์ เป็นต้น. คําว่า เกฏภะ คือกิริยากัปปวิกัปป ได้แก่ ศาสตร์ว่าด้วยเครื่องมือของกวีทั้งหลาย. ไตรเพทเป็นไปกับด้วยประเภทแห่งอักขระชื่อว่า พร้อมด้วยประเภทแห่งอักขระ. บทว่า ประเภทแห่งอักขระ ได้แก่ สิกขาและนิรุติ. บทว่า มีศาสตร์ว่าด้วยพงศาวดารเป็นที่ ๕ ความว่าพงศาวดาร กล่าวคือเรื่องราวเก่าๆ ที่ประกอบด้วยคําเช่นนี้ว่า อิติห อส อิติห อส (สิ่งนี้ได้เป็นมาแล้วเช่นนี้ สิ่งนี้ได้เป็นมาแล้วเช่นนี้) เป็น


(๑) อัคคัญญสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๑๑ หน้า ๑๐๓.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 539

ที่ ๕ ของไตรเพทนั้น เพราะนับอาถรรพเวทเป็นที่ ๔ เหตุนั้น ไตรเพทนั้นจึงชื่อว่า มีคัมภีร์ว่าด้วยพงศาวดารเป็นที่ ๕. มีศาสตร์ว่าด้วยพงศาวดารเป็นที่ ๕ เหล่านั้น. ผู้ใดย่อมศึกษาและเล่าเรียนบทของเวทและการพยากรณ์อันเป็นพิเศษ ผู้นั้นชื่อว่าผู้ศึกษาเวท และชํานาญการพยากรณ์. ศาสตร์ว่าด้วยคําพูดเล่นๆ ท่านเรียกว่า โลกายตะ. บทว่า ลักษณะของมหาบุรุษได้แก่ศาสตร์อันมีปริมาณคัมภีร์ถึง ๑๒,๐๐๐ ที่แสดงลักษณะของมหาบุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ที่ชื่อว่าเป็นพุทธมนต์ ซึ่งมีปริมาณบทคาถาถึง ๑๖,๐๐๐ มีปรากฏข้อแตกต่างกันดังนี้ คือ ผู้ประกอบด้วยลักษณะนี้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระอัครสาวกทั้ง ๒ เป็นพระมหาสาวก ๘๐ เป็นพระพุทธมารดา เป็นพระพุทธบิดา เป็นอัครอุปฐาก เป็นอัครอุปฐายิกา เป็นพระราชา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.

    บทว่า ผู้เต็มเปียม คือไม่บกพร่องในมหาบุรุษลักษณะอันเป็นโลกายตะเหล่านี้ ได้แก่เรียนมาอย่างพร้อมมูล อธิบายว่า ไม่มีความตกหล่นเลย. ผู้ใดไม่สามารถที่จะทรงจําไว้ได้โดยใจความ และโดยคัมภีร์ ซึ่งมหาบุรุษลักษณะเหล่านั้น ผู้นั้นชื่อว่า ยังบกพร่อง. บทว่าอนุฺาตปฏิฺาโต แปลว่า ผู้อันอาจารย์ยอมรับและรับรองแล้ว อธิบายว่า ผู้อันอาจารย์ยอมรับแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า เรารู้สิ่งใด ท่านก็รู้สิ่งนั้นแล้ว ตนก็รับรองแล้ว ด้วยคําปฏิญาณคือการให้คําตอบแก่อาจารย์นั้นว่า ขอรับอาจารย์. ในเรื่องอะไร. ในคําสอนที่ประกอบด้วยวิชา ๓ อันเป็นของอาจารย์ของตน.

    ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นคิดว่า ในโลกนี้ชนเป็นอันมากพากันเที่ยวพูดถึงนามของบุคคลผู้สูงสุดว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า เราเป็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น การที่เราจะเข้าไปเฝ้าโดยเหตุเพียงได้ยินเขาเล่าลือกันมาหา

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 540

เป็นการสมควรไม่ เพราะแม้เมื่อเราเข้าไปหาบางคนแล้วไม่หลีกไปเสียก็เป็นการลําบาก ทั้งไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย ถ้ากระไรเราใช้ให้ศิษย์ของเรารู้ว่า เป็นพระพุทธเจ้า หรือมิใช่ แน่นอนแล้ว พึงเข้าไปเฝ้า เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกมาณพมาแล้วกล่าวคําเป็นต้นว่า แน่ะพ่อพระสมณโคดมนี้ ดังนี้.

    บทว่า ผู้เจริญนั้น คือพระโคดมผู้เจริญนั้น. บทว่า ผู้เป็นเช่นนั้นจริง คือผู้เป็นเช่นนั้นโดยแท้. แม้ในบทนี้ คํานี้ก็เป็นทุติยาวิภัตติด้วยอํานาจแห่งอรรถว่า กล่าวถึงตามที่เป็นอยู่เช่นนั้น. ในบทนี้ว่า ยถากถํ ปนาหํ โภ มีใจความว่า แน่ะผู้เจริญ เราจักรู้พระโคดมผู้เจริญนั้นได้อย่างไร พระโคดมนั้นเราจะสามารถรู้ได้โดยวิธีใด ท่านจงบอกพระโคดมนั้นแก่เราโดยวิธีนั้น. อีกประการหนึ่ง คําว่า ยถา นี้ เป็นเพียงนิบาต. คําว่า กถํ เป็นคําถามถึงอาการ. มีใจความว่า เราจักรู้พระโคดมผู้เจริญนั้นได้โดยเหตุใด.

    ได้ยินว่า เมื่อกล่าวถึงอย่างนี้ พราหมณ์ผู้เป็นอุปัชฌาย์ จึงกล่าวคําเป็นต้นว่า แน่ะพ่อ ท่านย่อมกล่าวเหมือนกับคนผู้ยืนอยู่บนแผ่นดินพูดว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นแผ่นดิน และคนที่ยืนอยู่ในแสงสว่างของพระจันทร์และพระอาทิตย์ พูดว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นพระจันทร์และพระอาทิตย์ ดังนี้กะเขาแล้ว เมื่อจะแสดงอาการที่ตนรู้จึงกล่าวคําว่า อาคตานิ โข ตาตเป็นต้น. ในคําเหล่านั้น คําว่า ในมนต์ทั้งหลาย คือในเวททั้งหลาย.พวกเทวดาชั้นสุทธาวาสทราบว่า ได้ยินว่า พระตถาคตจักอุบัติขึ้น จึงได้รีบใส่ลักษณะทั้งหลายไว้ในเวททั้งหลายแล้วเทียว สอนเวททั้งหลายด้วยแปลงเพศเป็นพราหมณ์ ด้วยกล่าวว่า เหล่านี้ชื่อว่า พระพุทธมนต์ โดยคิดว่า สัตว์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลาย จักรู้จักพระตถาคต โดยทํานองนี้ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 541

เพราะเหตุนั้น มหาบุรุษลักษณะทั้งหลายจึงมีมาในเวททั้งหลายก่อน. แต่เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ก็จะอันตรธานไปโดยลําดับ เพราะเหตุนั้น บัดนี้จึงไม่มี. คําว่า ของมหาบุรุษ คือของคนผู้ใหญ่โดยคุณ มีความตั้งใจมั่นความถือมั่น ความรู้ และกรุณาเป็นต้น. คําว่า คติ ๒ เท่านั้น คือ ที่สุด ๒ อย่างเท่านั้น โดยแท้แล. คติศัพท์นี้เป็นไปในความแตกต่างแห่งภพ ในคําเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ภพมี ๕ เหล่านี้แล. เป็นไปในสถานที่อาศัยอยู่ ในคําเป็นต้นว่า ป่ากว้างใหญ่ เป็นที่อาศัยอยู่ของหมู่เนื้อทั้งหลาย.เป็นไปในปัญญา ในคําเป็นต้นว่า ผู้มีปัญญามากหลายเช่นนี้. เป็นไปในความแพร่หลาย ในคําเป็นต้นว่า คติคตํ.แต่ในที่นี้พึงทราบว่า เป็นไปในที่สุด. ในลักษณะเหล่านั้น ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่าใด ย่อมเป็นพระราชาจักรพรรดิ ย่อมไม่เป็นพระพุทธเจ้าด้วยลักษณะเหล่านั้น โดยแท้.แต่ท่านกล่าวว่า ลักษณะเหล่านั้นๆ โดยความเสมอกันแห่งชาติ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่าใด

    บทว่า ถ้าอยู่ครองเรือน คือถ้าอยู่ในเรือน. บทว่า จะเป็นพระราชาจักรพรรดิ ความว่า ผู้ที่ชื่อว่าพระราชา เพราะทําให้ชาวโลกยินดีด้วยอัจฉริยธรรม และสังคหวัตถุ ๔ อย่าง ผู้ที่ชื่อว่าจักรพรรดิ เพราะยังจักรรัตนะให้เป็นไป คือเป็นไปพร้อมกับจักรอันเป็นสมบัติ ๔ อย่างและยังคนอื่นให้เป็นไปด้วย. อนึ่ง ความเป็นไปแห่งอิริยาบถจักร เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นมีอยู่ในผู้นั้น ผู้นั้นชื่อว่าจักรพรรดิ. ก็ในคําทั้ง ๒ นี้ คําว่า ราชา เป็นคําสามัญธรรมดา. คําว่า จักรพรรดิ เป็นคําพิเศษ.ผู้ชื่อว่า ธรรมิกะ เพราะประพฤติโดยธรรม อธิบายว่า ประพฤติโดยชอบยิ่ง คือโดยเหมาะสม. ผู้ชื่อว่า ธรรมราชา เพราะได้ราชสมบัติโดยธรรม จึงได้เป็นพระราชา. อีกประการหนึ่ง ผู้ชื่อว่า ธรรมิกะ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 542

เพราะกระทําความดีอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ผู้ชื่อว่าธรรมราชา เพราะการกระทําความดีอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน. ผู้ชื่อว่า จาตุรันตะ เพราะเป็นใหญ่ทั่วทั้ง ๔ ทวีป อธิบายว่า เป็นใหญ่บนผืนแผ่นดิน มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต และพร้อมพรั่งด้วยทวีปทั้ง ๔. ผู้ชื่อว่า กําชัยชนะไว้ได้หมด เพราะชํานะข้าศึกมีความขัดเคืองเป็นต้นในภายในและชํานะพระราชาทั้งปวงในภายนอก. บทว่า ถึงความมั่นคงในชนบท คือ ถึงความมั่นคง คือความถาวรในชนบท ใครๆ ไม่สามารถที่จะทําให้หวั่นไหวได้. อีกประการหนึ่ง ชนบทถึงความถาวรในที่นั้นๆ ไม่ต้องขวนขวาย ยินดีแต่ในการงานของตน ไม่หวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน.บทว่า อย่างไรนี้ เป็นนิบาต. ใจความว่า รัตนะเหล่านี้ ของพระเจ้าจักรพรรดินั้น มีอะไรบ้าง.

    ในบทว่า จักรรัตนะ เป็นต้น จักรนั้นด้วย เป็นรัตนะเพราะอรรถว่า ทําให้เกิดความยินดีด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า จักรรัตนะ. ในที่ทุกแห่งก็มีนัยเช่นนี้. ก็ในรัตนะเหล่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงชนะผู้ที่ยังไม่ชนะด้วยจักรรัตนะ ย่อมเสด็จพระราชดําเนินไปตามสบายในแว่นแคว้นที่พระองค์ทรงชนะแล้ว ด้วยช้างแก้ว และม้าแก้ว ย่อมทรงรักษาแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้วด้วยขุนพลแก้ว ย่อมทรงเสวยอุปโภคสุขด้วยรัตนะที่เหลือ.พึงทราบความสัมพันธ์กันดังนี้ คือ การใช้ความสามารถด้วยความเพียรพยายามของพระเจ้าจักรพรรดินั้น สําเร็จบริบูรณ์แล้วด้วยจักรรัตนะที่ ๑ การใช้ความสามารถด้วยมนต์ สําเร็จบริบูรณ์แล้วด้วยรัตนะสุดท้าย การใช้ความสามารถด้วยปภุ (ความเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง) สําเร็จบริบูรณ์แล้วด้วยขุนคลังแก้ว ช้างแก้ว และม้าแก้ว ผลของการใช้ความสามารถ ๓ อย่าง

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 543

บริบูรณ์แล้ว ด้วยนางแก้ว และแก้วมณี. พระเจ้าจักรพรรดิทรงเสวยความสุขอันเกิดจากโภคสมบัติ ด้วยนางแก้ว และแก้วมณี ทรงเสวยความสุขอันเกิดจากความเป็นใหญ่ด้วยรัตนะทั้งหลายที่เหลือ. อนึ่ง พึงทราบโดยแปลกออกไปอีกดังนี้ รัตนะ ๓ อันแรก สําเร็จได้ด้วยอานุภาพแห่งกรรมที่กุศลมูล คือความไม่ประทุษร้ายให้เกิดขึ้น รัตนะท่ามกลางสําเร็จได้ด้วยอานุภาพแห่งกรรมที่กุศลมูล คือความไม่โลภให้เกิดขึ้น รัตนะอันหนึ่งสุดท้าย สําเร็จได้ด้วยอานุภาพแห่งกรรม อันกุศลมูลคือความไม่หลงให้เกิดขึ้น. ในที่นี้กล่าวเป็นเพียงสังเขปเท่านั้น. ส่วนความพิสดารพึงถือเอาจากอุปเทศแห่งรัตนสูตร ในโพชฌงคสังยุต.

    บทว่า มีจํานวน ๑,๐๐๐ เป็นเบื้องหน้า คือเกินกว่า ๑,๐๐๐. บทว่า ผู้กล้าหาญ คือผู้ไม่หวั่นเกรงใคร. บทว่า มีรูปร่างองอาจ คือมีร่างกายเช่นกับเทวบุตร. อาจารย์บางพวกพรรณนาไว้ดังนี้ก่อน. แต่ในที่นี้มีสภาวะดังต่อไปนี้. ผู้ที่กล้าหาญที่สุด ท่านเรียกว่า วีระ. องค์ของผู้กล้าหาญชื่อ วีรังคะ คือเหตุแห่งความกล้าหาญ. อธิบายว่า ความเป็นผู้แกล้วกล้า.รูปร่างอันองอาจของคนเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า มีรูปร่างองอาจ. อธิบายว่า ประหนึ่งว่า มีสรีระร่างอันหล่อหลอมด้วยความแกว่นกล้า.

    บทว่า ย่ํายีเสียได้ซึ่งทหารของข้าศึก มีอธิบายว่า ถ้าเหล่าทหารของข้าศึก พึงยืนเผชิญหน้ากัน เขาก็สามารถที่จะย่ํายีเสียได้ซึ่งข้าศึกนั้น.บทว่า โดยธรรม คือโดยธรรม คือศีล ๕ ที่มีว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์เป็นต้น.

    ในบทนี้ว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือก็เลสอันเปิดแล้วในโลก มีใจความว่า เมื่อความมืดคือกิเลสปกคลุมอยู่

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 544

ด้วยเครื่องปกคลุมคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อวิชชา และทุจริต ๗ อย่าง พระองค์ทรงเปิดหลังคานั้นในโลกได้แล้ว ทรงมีแสงสว่างเกิดแล้วโดยทั่วถึงประทับยืนอยู่ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้ว. ในบทเหล่านั้น ความที่พระองค์เป็นผู้ควรบูชา พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ด้วยบทที่ ๑ เหตุแห่งความที่พระองค์ทรงเป็นผู้ควรบูชา เพราะเหตุที่พระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ด้วยบทที่ ๒ ความที่พระองค์ทรงเป็นผู้มีหลังคาอันเปิดแล้ว ที่เป็นเหตุแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้ด้วยบทที่ ๓. อีกประการหนึ่ง พระองค์ทรงเป็นผู้ปราศจากวัฏฏะด้วย ปราศจากหลังคาด้วย เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ปราศจากวัฏฏะ และหลังคา. อธิบายว่า ไม่มีวัฏฏะ และไม่มีหลังคา.เพราะเหตุนั้น สําหรับ ๒ บทแรกนี่แหละ ท่านจึงกล่าวไว้ ๒ เหตุอย่างนี้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์เพราะไม่มีวัฏฏะ ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะเพราะไม่มีหลังคา. อนึ่ง บทนี้ ความสําเร็จเบื้องแรกมีได้ด้วยเวสารัชชญาณที่ ๒ ความสําเร็จที่ ๒ มีได้ด้วยเวสารัชชญาณที่ ๑ ความสําเร็จที่ ๓ มีได้ด้วยเวสารัชชญาณที่ ๓ และที่ ๔. พึงทราบอีกว่า คําแรกชี้ให้เห็น ธรรมจักษุ คําที่ ๒ พุทธจักษุ และคําที่ ๓ สมันตจักษุ. พราหมณ์พูดให้เกิดความกล้าหาญในมนต์ทั้งหลายแก่มาณพนั้น ด้วยคํานี้ว่า ท่านเป็นผู้รับมนต์ ดังนี้.

    แม้มาณพนั้นก็ปราศจากความหลงลืมในลักษณะแห่งคําพูดของอาจารย์นั้น มองเห็นทะลุปรุโปร่งซึ่งพุทธมนต์ ประดุจว่าเกิดแสงสว่างเป็นอันเดียว จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอย่างนั้น. มีใจความว่า ท่านผู้เจริญ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 545

ท่านกล่าวฉันใด ผมจักทําฉันนั้น. บทว่า วฬวารถมารุยฺห แปลว่าขึ้นสู่รถอันเทียมด้วยลา. ทราบมาว่า พราหมณ์ตัวเองท่องเที่ยวไปด้วยรถใด ก็ให้รถคันนั้นแหละส่งมาณพไป. บทว่า มาณวกา คือเป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์ชื่อ โปกขรสาตินั่นเอง. นัยว่า พราหมณ์นั้นได้ให้สัญญาแก่พวกอันเตวาสิกว่า พวกท่านจงไปพร้อมกับอัมพัฏฐมาณพนั้น. บทว่า พื้นที่แห่งยานมีอยู่เพียงใด ความว่า เขาสามารถจะไปได้ด้วยยานตลอดพื้นที่เท่าใด. บทว่า ลงจากยาน คือเขาไปสู่ที่ใกล้ซุ้มประตูอันมิใช่พื้นที่ของยานแล้วก็ลงจากยาน.

    บทว่า ก็โดยสมัยนั้นแล คืออัมพัฏฐมาณพเข้าไปสู่อารามในสมัยใด ในสมัยนั้นแล คือในเวลาเที่ยงตรง. ถามว่า ภิกษุทั้งหลายเดินจงกรมในเวลานั้น เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพื่อจะบรรเทาความง่วงเหงาหาวนอนอันมีโภชนะประณีตเป็นปัจจัย. หรือว่า ภิกษุเหล่านั้นบําเพ็ญเพียรในเวลากลางวัน. เพราะว่าจิตของภิกษุผู้เดินจงกรมหลังฉันภัตตาหารแล้ว อาบน้ำ ผึ่งลมแล้ว นั่งกระทําสมณธรรมเช่นนั้นย่อมแน่วแน่. บทว่า ภิกษุเหล่านั้นอยู่ที่ใด ความว่า ได้ยินว่า มาณพนั้นคิดว่า เราจักไม่เดินจากบริเวณนั้นไปสู่บริเวณนี้ ด้วยคิดว่า พระสมณโคดมเสด็จประทับอยู่ ณ ที่ไหน จักถามก่อนแล้วเข้าไปเฝ้า จึงชําเลืองมองประหนึ่งช้างในป่า เห็นภิกษุทั้งหลายผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุล กําลังเดินจงกรมอยู่บนที่จงกรมใหญ่ จึงได้ไปยังสํานักของภิกษุเหล่านั้น. ท่านหมายถึงเหตุนั้นจึงได้กล่าวคํานี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นอยู่ที่ใด. บทว่า ทสฺสนาย แปลว่าเพื่อจะเห็น. ใจความว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะพบ.

    บทว่า ถือเอากําเนิดในตระกูลมีชื่อเสียง คือเกิดในตระกูลที่

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 546

โด่งดัง. ได้ยินว่า ในกาลนั้นขึ้นชื่อว่าตระกูลอัมพัฏฐะ นับเป็นตระกูลโด่งดังในชมพูทวีป. บทว่า มีชื่อเสียง คือโด่งดังด้วยรูปร่าง กําเนิด มนต์ ตระกูล และถิ่นฐาน. บทว่า ไม่หนัก คือไม่เป็นภาระ. ความว่าผู้ใดไม่พึงสามารถที่จะให้อัมพัฏฐมาณพรู้ได้ การสนทนาด้วยเรื่องราวกับอัมพัฏฐมาณพนั้นของผู้นั้น พึงเป็นที่หนักใจ แต่สําหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงจะถูกมาณพเช่นอัมพัฏฐะนั้น ตั้งร้อยคนก็ตาม พันคนก็ตาม ถามปัญหา พระองค์มิได้ทรงมีความชักช้าในการที่จะทรงเฉลยเลย พวกภิกษุเหล่านั้นสําคัญอยู่ดังนี้ จึงคิดว่า ก็การสนทนาด้วยเรื่องราวต่างๆ มิได้เป็นที่หนักใจเลย.

    บทว่า วิหาร ท่านกล่าวหมายถึงพระคันธกุฎี. บทว่า ไม่รีบร้อน คือไม่เร่งรัด ใจความว่า วางเท้าลงในที่พอเหมาะกับเท้า กระทําวัตรแล้ว ไม่ทําให้ทรายที่เกลี่ยไว้เรียบเสมอแล้ว เช่นกับปูลาดไว้ด้วยไข่มุกใบไม้และไม้ย่างทราย ให้เป็นหลุมเป็นบ่อ. บทว่า ระเบียง คือหน้ามุข.บทว่า กระแอมแล้ว คือกระทําเสียงกระแอม. บทว่า ลูกดาลประตู คือบานประตู. บทว่า ท่านจงเคาะ ขยายความว่า ท่านจงเอาปลายเล็บเคาะตรงที่ใกล้กับรูกุญแจเบาๆ . ท่านอาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะแสดงธรรมเนียมการเคาะประตู จึงกล่าวว่า ได้ทราบว่าพวกอมนุษย์ย่อมเคาะประตูสูงเกินไป สัตว์จําพวกงูเคาะต่ําเกินไป คนไม่ควรจะเคาะเช่นนั้น ควรเคาะตรงที่ใกล้รูตรงกลาง. บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดประตูแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงลุกไปเปิดประตู. แต่พระองค์ทรงเหยียดพระหัตถ์ออก ด้วยตรัสว่า จงเปิดเข้ามาเถิด. ควรจะกล่าวว่า ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดประตูด้วยพระองค์เองทีเดียว ด้วยตรัสว่า เพราะ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 547

เธอทั้งหลาย เมื่อให้ทานอยู่เป็นเวลาตั้งโกฏิกัปป์มิใช่น้อย มิได้กระทํากรรม คือการเปิดประตูด้วยมือตนเองเลย ก็ประตูนั้นอันน้ำพระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดแล้ว เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปิดประตูแล้ว.

    บทว่า พวกเขาต่างรื่นเริงอยู่กับพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสถามคําเป็นต้นว่า สบายดีหรือ ทรงร่าเริงอยู่กับพวกมาณพเหล่านั้นฉันใด แม้พวกเขาเหล่านั้นต่างก็มีความร่าเริงเป็นไปทํานองเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าฉันนั้น คือต่างถึงความร่าเริงร่วมกัน คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประหนึ่งน้ำเย็นรวมกันกับน้ำร้อนฉะนั้น. พวกมาณพเหล่านั้นต่างร่าเริงด้วยถ้อยคําอันใดเล่าว่า พระโคดมเจ้าข้า พระองค์ทรงพระสําราญดีอยู่แลหรือ พระองค์ยังทรงพอดํารงพระชนมชีพอยู่ได้แลหรือ และพระสาวกทั้งหลายของพระโคดมผู้เจริญ ยังมีอาพาธน้อย ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ยังแข็งแรง มีกําลัง และการอยู่เป็นผาสุกดีอยู่แลหรือ ดังนี้เป็นต้น พวกเขาต่างก็กล่าวถ้อยคํานั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความร่าเริง และยังให้ระลึกถึงกันโดยปริยายเป็นอันมากอย่างนี้ว่า ที่ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งความร่าเริง เพราะเป็นถ้อยคําที่เหมาะจะบันเทิงใจโดยก่อให้เกิดความร่าเริง กล่าวคือปีติ และปราโมทย์ และชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งการให้ระลึกถึงกัน เพราะเป็นถ้อยคําควรระลึก โดยควรที่จะให้กันและกันระลึกถึงสิ้นกาลแม้นานได้ และเป็นไปอยู่ตลอดกาลนิรันดร เพราะเป็นถ้อยคําที่ไพเราะด้วยอรรถ และพยัญชนะ อนึ่ง ชื่อว่าเป็นถ้อยคําเป็นที่ตั้งแห่งความร่าเริง เพราะเป็นสุขแก่ผู้ฟัง และชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งการให้ระลึกถึงกัน เพราะเป็นสุขแก่ผู้รําลึกถึง อีกประการหนึ่ง ชื่อว่าเป็น

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 548

ถ้อยคําเป็นที่ตั้งแห่งความร่าเริง เพราะมีพยัญชนะบริสุทธิ์ ชื่อว่าเป็นถ้อยคําเป็นที่ตั้งแห่งการให้ระลึกถึงกัน เพราะมีอรรถอันบริสุทธิ์ ดังนี้แล้ว ครั้นกล่าวจบคือกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

    บทว่า อมฺพฏโ ปน มาณโว มีเนื้อความว่า ดังได้สดับมา มาณพนั้น ไม่กระทําแม้สักว่าความเลื่อมใสแห่งจิตในรูปสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า เราจักรุกรานพระทศพล จึงแก้ผ้าที่พันไว้ที่ท้อง เอามาห้อยไว้ที่คอ เอามือข้างหนึ่งจับชายผ้าไว้ ขึ้นไปยังที่จงกรม บางคราวก็เปิดแขน บางคราวก็เปิดท้อง บางคราวก็เปิดหลังให้เห็น บางคราวก็แกว่งมือ บางคราวก็ยักคิ้ว ได้กล่าวคําเย้ยหยันที่ทําให้นึกถึงความประพฤติน่าอับอาย เห็นปานฉะนี้ว่า พระโคดมเจ้าข้า ท่านยังมีความสม่ําเสมอของธาตุอยู่แลหรือ ท่านไม่ลําบากด้วยภิกษาหารแลหรือ ก็แลอาการที่ไม่ลําบากนั่นแหละ. ยังปรากฏแก่ท่าน ที่จริงอวัยวะน้อยใหญ่ของท่านเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ในสถานที่ที่ท่านไปแล้ว ชนเป็นอันมากเหล่านั้น มีความนับถือมากเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ท่านเป็นพระราชาบรรพชิต และท่านเป็นพระพุทธเจ้า ต่างก็ถวายอาหารอันมีรสอร่อยประณีต พวกท่านจงดูเรือนของท่าน ราวกะว่าศาลาอันสวยงาม และเป็นดังทิพยปราสาท ดูเตียง ดูหมอน เมื่อท่านอยู่ในสถานที่เห็นปานฉะนี้ การจะบําเพ็ญสมณธรรมย่อมทําได้ยาก. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็อัมพัฏฐมาณพเดินจงกรมอยู่ก็กล่าวสาราณิยกถาเล็กๆ น้อยๆ กับพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งอยู่บ้าง ยืนอยู่ก็กล่าวสาราณิยกถาเล็กๆ น้อยๆ กับพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งอยู่บ้าง.

    บทว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า ลําดับนั้น

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 549

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า มาณพนี้พยายามอยู่ในที่ไม่สมควร เหมือนคนผู้มีประสงค์จะเหยียดมือออกเอื้อมเอาชั้นภวัคคพรหม เหมือนคนผู้มีประสงค์จะเหยียดเท้าออกเดินไปสู่นรกชั้นอเวจี เหมือนคนผู้มีประสงค์จะข้ามมหาสมุทร และเหมือนคนผู้มีประสงค์จะขึ้นไปยังภูเขาสิเนรุ เอาเถอะ เราจะลองซักซ้อมกับเขาดู ดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสคํานี้กะอัมพัฏฐมาณพ. บทว่า อาจริยปาจริเยหิ แปลว่า กับอาจารย์และอาจารย์ของอาจารย์เหล่านั้น. ในคําว่า เดินไปอยู่ก็ดีนี้ ความจริงพราหมณ์สมควรจะสนทนาปราศรัยกับพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ในอิริยาบถทั้ง ๓. แต่มาณพนี้ เพราะเหตุที่ตนเป็นผู้กระด้างด้วยมานะ เมื่อจะกระทําการสนทนาคิดว่า เราจักใช้อิริยาบถแม้ทั้ง ๔ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญพราหมณ์ผู้นอนอยู่ควรจะสนทนากับพราหมณ์ผู้นอนด้วยกันก็ได้.

    ทราบว่า ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะมาณพนั้นว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ การที่ผู้เดินอยู่สนทนากับอาจารย์ผู้เดินอยู่ก็ดี ผู้ยืนอยู่สนทนากับอาจารย์ผู้ยืนอยู่ก็ดี ผู้นั่งอยู่สนทนากับอาจารย์ผู้นั่งอยู่ก็ดี ใช้ได้ในทุกๆ อาจารย์ แต่ท่านนอนอยู่สนทนากับอาจารย์ผู้นอนอยู่ อาจารย์ของท่านน่ะเป็นโค หรือว่า เป็นลาไปแล้วหรือ.

    อัมพัฏฐมาณพนั้นโกรธ จึงได้กล่าวคําเป็นต้นว่า เย จ โข เตโภ โคตม มุณฺฑกา ดังนี้. ในคํานั้น การที่จะกล่าวกะผู้มีศีรษะโล้น ว่า มุณฺฑา และกะสมณะว่า สมณา ควรกว่า. แต่มาณพนี้เมื่อจะเหยียดหยามจึงกล่าวว่า มุณฺฑกา (เจ้าหัวโล้น) สมณกา (เจ้าสมณะ) .บทว่า อิพฺภา แปลว่า เป็นเจ้าบ้าน. บทว่า กณฺหา แปลว่า ชั่วช้า ความว่า เป็นคนดํา. บทว่า เป็นเหล่ากอของผู้เกิดจากเท้าของพรหม

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 550

ในที่นี้ พรหมท่านมุ่งหมายว่า พันธุ. เพราะพวกพราหมณ์พากันเรียกพรหมนั้นว่า ปิตามหะ (ปู่ บรรพบุรุษ) . ชนทั้งหลายเป็นเหล่ากอของเท้าทั้ง ๒ จึงชื่อว่าเป็นตระกูลเกิดจากเท้า. อธิบายว่า เกิดจากหลังเท้าของพรหม.นัยว่า มาณพนั้นมีลัทธิดังนี้คือ พวกพราหมณ์เกิดจากปากของพรหม พวกกษัตริย์เกิดจากอก พวกแพศย์เกิดจากสะดือ พวกศูทรเกิดจากหัวเข่า พวกสมณะเกิดจากหลังเท้า. ก็แลมาณพนั้นเมื่อจะกล่าวอย่างนี้ ก็กล่าวมิได้เจาะจงใครก็จริง แต่โดยที่แท้เขากล่าวโดยมุ่งหมายว่า เรากล่าวมุ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น.

    ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า อัมพัฏฐมานพนี้จําเดิมแต่เวลาที่ตนมาแล้ว เมื่อจะพูดกับเราก็พูดเพราะอาศัยมานะอย่างเดียว ไม่รู้จักประมาณของตน เหมือนคนจับอสรพิษที่คอ เหมือนคนกอดกองไฟไว้ เหมือนคนลูบคลําช้างเมามันที่งวงฉะนั้น เอาเถอะ เราจักให้เขาเข้าใจ จึงตรัสว่า อตฺถิกวโต โข ปน เต อมฺพฏฺ ดังนี้เป็นต้น.

    ในบทเหล่านั้น มีใจความว่า ความต้องการ กล่าวคือกิจที่จะต้องมากระทําของจิตนั้นมีอยู่ เหตุนั้น จิตของมาณพนั้นจึงชื่อว่า มีความต้องการ. จิตมีความต้องการของเขามีอยู่ เหตุนั้น เขาจึงชื่อว่า มีจิตมีความต้องการ. ของมาณพนั้น. ใจความว่า ท่านมีจิตมีความต้องการจึงได้มา ณ ที่นี้. คําว่า โข ปน เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยาเยว โข ปนตฺถาย คือด้วยประโยชน์อันใดเล่า. บทว่า อาคจฺเฉยฺยาถ ความว่าพวกท่านพึงมาสู่สํานักของเราหรือ ของผู้อื่นเป็นครั้งคราว. คํานี้ว่า ตเมวอตฺถํ ท่านกล่าวด้วยสามารถเป็นเพศชาย. บทว่า พวกท่านพึงกระทําไว้ในใจ คือพึงกระทําไว้ในจิต. อธิบายว่า ท่านอันอาจารย์ใช้ให้มาด้วย

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 551

กรณียกิจของตน มิได้ใช้ให้มาเพื่อต้องการจะลบหลู่เรา เพราะฉะนั้น ท่านจงใส่ใจถึงเฉพาะกิจอันนั้นเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวัตรของผู้มาสู่สํานักของผู้อื่นแก่มาณพนั้นอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงข่มมานะจึงตรัสคําว่า อวุสิตวาเยว โข ปน เป็นต้น.

    บทนั้นมีใจความว่า แน่ะท่านผู้เจริญ พวกท่านจงดูอัมพัฏฐมาณพนี้ เรียนยังไม่จบ มิได้สําเร็จการศึกษา ยังเป็นคนเล่าเรียนน้อยอยู่ แต่มีมานะว่าเราเรียนจบแล้ว คือสําคัญตนว่าเราเรียนจบแล้ว สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นผู้คงแก่เรียน ก็เหตุในการที่อัมพัฏฐะนั่นทักทายด้วยคําหยาบอย่างนี้ จะมีอะไรอื่นไปจากที่ตนมิได้สําเร็จการศึกษามาจริง เพราะฉะนั้นบุคคลทั้งหลายที่ไม่ได้รู้เอง ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ได้ฟังมาน้อยในตระกูลของอาจารย์เท่านั้น จึงมักกล่าวอย่างนี้.

    บทว่า กุปิโต แปลว่า โกรธแล้ว. บทว่า อนตฺตมโน แปลว่า มีใจมิใช่ของตน (เสียใจ) . มีคําถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าเขาโกรธหรือไม่ทรงทราบหนอ จึงได้ตรัสอย่างนั้น. ตอบว่า ทรงทราบ.เพราะเหตุไร. ทรงทราบแล้วจึงตรัส. เพื่อต้องการจะถอนเสียซึ่งมานะ.ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบแล้วว่า มาณพนี้เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ จักโกรธ แล้วด่าพวกญาติของเรา ทีนั้นเราจักยกเอาโคตรกับโคตร ตระกูลและประเทศกับตระกูลและประเทศขึ้นพูด ตัดธงคือมานะที่เขายกขึ้นแล้วของเขา ราวกะว่าเทียบได้กับภวัคคพรหม ตรงที่โคนรากแล้วทําให้เหือดหายไป เปรียบดังหมอผู้ฉลาดชําระล้างสิ่งที่เป็นโทษ แล้วนําออกทิ้งไปเสียฉะนั้น. บทว่า ด่าว่า คือกล่าวเสียดสี. บทว่า เพิดเพ้ย คือเหยียดหยาม.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 552

    บทว่า ปาปิโต ภวิสฺสติ คือจักเป็นผู้ให้ถึงโทษมีความเป็นผู้ดุร้ายเป็นต้น. บทว่า ดุร้าย คือประกอบด้วยความโกรธที่อาศัยมานะเกิดขึ้น.บทว่า หยาบคาย คือกล้าแข็ง. บทว่า ผลุนผลัน คือใจเบา. พวกเขาย่อมยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง กับสิ่งเล็กน้อย คือเลื่อนลอยไปตามอารมณ์ เรื่องเล็กน้อยเหมือนกะโหลกน้ำเต้าล่องลอยไปบนหลังน้ำฉะนั้น. บทว่า ปากมาก คือมักชอบพูดมาก ท่านกล่าวโดยมีประสงค์ว่า สําหรับพวกศากยะ เมื่ออ้าปากแล้ว คนอื่นก็ไม่มีโอกาสที่จะพูดเลย. คําว่า สมานา นี้เป็นไวพจน์ของบทแรกคือ สนฺตา (แปลว่า เป็น) . บทว่า ไม่สักการะ คือไม่กระทําด้วยอาการที่ดีแก่พวกพราหมณ์. บทว่า ไม่เคารพ คือไม่กระทําความเคารพในเหล่าพราหมณ์. บทว่า ไม่นับถือ คือไม่รักใคร่ด้วยใจ. บทว่า ไม่บูชา คือไม่กระทําการบูชาแก่พวกพราหมณ์ด้วยพวงดอกไม้เป็นต้น. บทว่า ไม่ยําเกรง คือไม่แสดงการกระทําความนอบน้อม คือความประพฤติถ่อมตนด้วยการกราบไหว้เป็นต้น. บทว่า ตยิทํ ตัดบทเป็น ตํ อิทํ (แปลว่า นี้นั้น) . บทว่า ยทิเม สากฺยา มีใจความว่า พวกศากยะเหล่านี้ไม่สักการะพวกพราหมณ์ฯลฯ ไม่ยําเกรงพวกพราหมณ์ การไม่กระทําสักการะเป็นต้น ของพวกศากยะเหล่านั้นทุกอย่าง ไม่สมควรคือไม่เหมาะสมเลย.

    บทว่า กระทําผิด คือประทุษร้าย.

    คําว่า อิท ในคําว่า เอกมิหาหํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. ความว่าสมัยหนึ่งข้าพระองค์. บทว่า สัณฐาคาร คือศาลาเป็นที่พร่ําสอนความเป็นพระราชา. บทว่า พระเจ้าศากยะทั้งหลาย คือพระราชาผู้ที่ได้รับอภิเษกแล้ว. บทว่า ศากยกุมาร คือผู้ที่ยังมิได้รับอภิเษก. บทว่า บนอาสนะ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 553

ที่สูง คือบนอาสนะหลายประเภท มีบัลลังก์ ตั่ง ที่นั่งทําด้วยหวาย แผ่นกระดาน และเครื่องปูลาดที่สวยงามเป็นต้น ตามความเหมาะสม.บทว่า หัวร่อต่อกระซิกกันอยู่ คือหัวเราะเสียงดังด้วยอํานาจเย้ยหยัน.บทว่า เล่นหัวกันอยู่ คือกระทําอาการมีการกระทําเพียงยิ้มแย้ม การกรีดนิ้วมือ และการให้การตบมือเป็นต้น. บทว่า มมฺเยว มฺเ ความว่า ข้าพระองค์สําคัญอย่างนี้ว่า พวกศากยะทั้งหลายหัวเราะเยาะข้าพระองค์คนเดียว หาใช่หัวเราะเยาะคนอื่นไม่.

    ถามว่า ก็พวกศากยะเหล่านั้นได้กระทําอย่างนั้นเพราะเหตุไร.ตอบว่า นัยว่า พวกศากยะเหล่านั้นรู้จักวงศ์ตระกูลของอัมพัฏฐะ. และในเวลานั้น อัมพัฏฐะนี้ เอามือข้างหนึ่งจับชายผ้าสาฎกที่เขานุ่งลอยชายลงมาจนจดปลายเท้า น้อมกระดูกคอลง เดินมาเหมือนคนที่เมาด้วยความเมาคือมานะ ทีนั้น พวกศากยะทั้งหลายจึงกล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ พวกท่านจงดูเหตุแห่งการมาของอัมพัฏฐะผู้กัณหายนโคตร ซึ่งเป็นทาสของพวกเรา จึงได้กระทําเช่นนั้น. แม้เขาก็รู้วงศ์สกุลของตน. เพราะฉะนั้น เขาจึงกราบทูลว่า ชะรอยว่า พวกศากยะเหล่านั้น หัวเราะเยาะข้าพระองค์โดยแท้.

    บทว่า ด้วยที่นั่ง ความว่า ไม่มีการเชื้อเชิญให้นั่งอย่างนี้ว่า นี่อาสนะ ท่านจงนั่งบนอาสนะนี้ ดังนี้เลย. ใครๆ เขาก็ไม่ทํากันเช่นนั้น

    บทว่า นางนกมูลไถ ได้แก่นางนกตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ตามซอกระหว่างก้อนดินในนา. บทว่า ในรัง คือในที่เป็นที่อยู่อาศัย. บทว่า ชอบพูดพร่ําพรอดกัน คือมักจะกล่าวตามที่ตนปรารถนา คือตนต้องการสิ่งใดๆ ก็กล่าวสิ่งนั้นๆ ออกมา หงส์ก็ดี นกกะเรียนก็ดี นกยูงก็ดีมาแล้ว ก็มิได้ห้ามเขาว่า เจ้าพร่ําพรอดไปทําไม. บทว่า ที่จะขัดเคือง คือที่จะข้องขัดด้วยอํานาจแห่งความโกรธ.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 554

    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพเข้าใจว่า พระสมณโคดมนี้ กระทําพระญาติของพระองค์ให้เป็นเช่นกับนางนกมูลไถกระทําพวกเราให้เสมอกับหงส์ นกกะเรียน และนกยูง คราวนี้คงจะหมดมานะแล้ว จึงแสดงวรรณะ ๔ ยิ่งขึ้นไปอีก.

    บทว่า ย่ํายี คือเหยียบย่ํา ได้แก่กระทําให้หมดความนับถือ. บทว่า ไฉนหนอ เรา คือ ก็ถ้ากระไรเรา. นัยว่า คําว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นกัณหายนโคตร อัมพัฏฐะได้กล่าวออกมาด้วยเสียงอันดังถึง ๓ ครั้ง. ถามว่า เขากล่าวขึ้นเพราะเหตุไร เขาไม่รู้หรือว่าเป็นโคตรที่ไม่บริสุทธิ์. ตอบว่า เขารู้แน่ แต่ถึงจะรู้ก็สําคัญเอาว่า เหตุนี้ ภพปกปิดไว้ เหตุนั้น พระสมณโคดมนี้ก็ไม่ทรงเห็น พระมหาสมณะเมื่อไม่ทรงเห็นอยู่ จักตรัสอะไรเล่า จึงได้กล่าวขึ้น เพราะความที่ตนเป็นผู้กระด้างด้วยมานะ. บทว่า มาตาเปตฺติกํ แปลว่า เป็นสมบัติตกทอดมาของมารดาบิดา. บทว่า ชื่อและโคตร คือชื่อด้วยอํานาจแห่งบัญญัติ โคตรด้วยอํานาจแห่งประเพณี. บทว่า รําลึกถึงอยู่ คือนึกถึงอยู่ ได้แก่สืบสาวไปจนถึงที่สุดของตระกูล. บทว่า พระลูกเจ้า คือเจ้านาย. บทว่า ลูกของทาสี คือเป็นลูกของนางทาสีในเรือน (หญิงรับใช้) . เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า นายอันคนใช้จะพึงเข้าไปหาโดยประการใด พวกศากยะเห็นท่านไม่เข้าไปหาโดยประการนั้นจึงกล่าวเย้ยหยันให้.

    เบื้องหน้าแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศความที่อัมพัฏฐะนั้นเป็นทาส และความที่พวกศากยะเป็นเจ้านายแล้ว เมื่อจะทรงนําวงศ์สกุลของพระองค์และของอัมพัฏฐะมา จึงตรัสพระดํารัสว่า สกฺยา โข ปน เป็นต้น. ในคําเหล่านั้น คําว่า ทหนฺติ แปลว่า ตั้งไว้ ใจความว่า

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 555

พวกศากยะพูดกันว่า พระเจ้าโอกกากราชเป็นบรรพบุรุษของเรา. ได้สดับมาว่า ในเวลาที่พระราชานั้นตรัส รัศมีจะพุ่งออกมาจากพระโอฐเหมือนคบเพลิง เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงถวายพระนามพระองค์ว่า โอกกากะ.บทว่า ให้ออกไปแล้ว คือนําไปแล้ว. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพวกศากยะเหล่านั้น ด้วยอํานาจแห่งชื่อ จึงตรัสพระดํารัสมีว่า โอกฺกามุขํ เป็นต้น. ในเรื่องนั้นมีคําที่จะกล่าวตามลําดับ ดังต่อไปนี้

    ดังได้สดับมา พระราชโอรสของพระเจ้ามหาสมมติราชแห่งกัปที่เป็นปฐมกัป ทรงพระนามว่า โรชะ พระราชโอรสของพระเจ้าโรชะทรงพระนามว่า วโรชะ ของพระเจ้าวโรชะ ทรงพระนามว่า กัลยาณะ ของพระเจ้ากัลยาณะ ทรงพระนามว่า วรกัลยาณะ ของพระเจ้าวรกัลยาณะ ทรงพระนามว่า มันธาตุ ของพระเจ้ามันธาตุทรงพระนามว่า วรมันธาตุ ของพระเจ้าวรมันธาตุ ทรงพระนามว่า อุโบสถ ของพระเจ้าอุโบสถ ทรงพระนามว่า วระ ของพระเจ้าวระ ทรงพระนามว่า อุปวระ ของพระเจ้าอุปวระ ทรง พระนามว่า มฆเทวะ ของพระเจ้ามฆเทวะ โดยสืบตามลําดับมาเป็นกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์. หลังจากกษัตริย์เหล่านั้นได้มีวงศ์สกุลของพระเจ้าโอกกากะ ๓ สกุล. ใน ๓ สกุลนั้น พระเจ้าโอกกากราชที่ ๓ ทรงมีพระมเหสี ๕ พระองค์ คือ ทรงพระนามว่า หัตถาจิตตา ชันตุ ชาลินี และวิสาขา. สําหรับพระมเหสีแต่ละพระองค์มีสตรีองค์ละ ๕๐๐ เป็นบริวาร. พระมเหสีองค์ใหญ่ที่สุดมีพระราชโอรส ๔ พระองค์คือ ทรงพระนามว่า โอกกามุขะ กรกัณฑุ หัตถินิกะ สินิปุระ.มีพระราชธิดา ๕ พระองค์ คือ ทรงพระนามว่า ปิยา สุปปิยา อานันทา วิชิตา วิชิตเสนา. พระองค์ประสูติพระราชบุตรและพระราชธิดา ๙ พระ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 556

องค์แล้วก็สวรรคต ด้วยประการฉะนี้.

    ต่อมาพระราชาได้ทรงนําพระราชธิดาองค์อื่นที่ยังสาวสวยมาอภิเษกไว้ในตําแหน่งพระอัครมเหสี. พระนางประสูติพระราชโอรสทรงพระนามว่า ชันตุ. ทีนั้น ในวันที่ ๕ พระนางจึงประดับประดาพระโอรสนั้นแล้ว ทูลแสดงแด่พระราชา. พระราชาทรงดีพระทัย ได้พระราชทานพรแก่พระนาง. พระนางทรงปรึกษากับพระญาติทั้งหลายแล้ว จึงทูลขอราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส. พระราชาทรงตวาดว่า แน่ะหญิงถ่อย เจ้าจงฉิบหายเสีย เจ้าปรารถนาอันตรายให้แก่บุตรของเรา. พระนางพอลับตาคน ก็ทูลให้พระราชาทรงยินดีบ่อยๆ เข้าแล้ว ทูลคําเป็นต้นว่า ข้าแต่พระมหาราช ขึ้นชื่อว่าการตรัสคําเท็จหาสมควรไม่ แล้วก็ทูลขออยู่นั่นแหละ.

    ลําดับนั้น พระราชาจึงทรงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสทั้งหลายมาตรัสว่า แน่ะพ่อทั้งหลาย เราเห็นชันตุกุมารน้องคนเล็กของพวกเจ้า จึงให้พรแก่แม่ของเขาไปฉับพลันทันที นางก็ยากจะให้ลูกของเขาได้ราชสมบัติเว้นพวกเจ้า พวกเจ้าอยากได้ช้างมงคล ม้ามงคล และรถมงคล มีประมาณเท่าใด จงถือเอาช้างม้าและรถมีประมาณเท่านั้นไปเสีย แล้วพึงกลับมาครองราชสมบัติ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว จึงส่งออกไปพร้อมกับอํามาตย์ ๘ คน.

    ราชโอรสเหล่านั้นร้องคร่ําครวญมีประการต่างๆ กราบทูลว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ขอพระองค์ได้ทรงโปรดยกโทษแก่พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด แล้วก็ให้พระราชาและนางสนมกํานัลในของพระราชายกโทษให้ แล้วกราบทูลว่า พวกข้าพระองค์จะไปพร้อมกับพระเจ้าพี่ด้วย แล้วจึงทูลลา

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 557

พระราชาออกไป พาเอาพระพี่นางไป มีพวกเสนาทั้ง ๔ เหล่าห้อมล้อมออกไปจากพระนครแล้ว. พวกมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากต่างพากันคิดว่าพระราชกุมารทั้งหลาย จักมาครองราชสมบัติ เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พวกเราจักไปรับใช้พระองค์ ต่างพากันติดตามไปด้วย. ในวันแรก เหล่าเสนากินเนื้อที่ประมาณโยชน์หนึ่ง ในวันที่ ๒ ประมาณ ๒ โยชน์ ในวันที่ ๓ ประมาณ ๓ โยชน์. พวกราชกุมารต่างปรึกษากันว่า กองทัพนี้ใหญ่โต ถ้าพวกเราย่ํายีพระราชาในประเทศใกล้เคียงบางแห่งแล้ว ยึดเอาชนบท แม้พระราชานั้นก็คงไม่สามารถสู้ได้ จะมีประโยชน์อะไรกับการเบียดเบียนผู้อื่น ชมพูทวีปนี้ยังกว้างใหญ่ พวกเราจักพากันสร้างเมืองในป่า ว่าแล้วก็เสด็จดําเนินมุ่งพระพักตร์ไปยังป่าหิมพานต์ เสาะหาที่ที่จะตั้งเมือง.

    ในสมัยนั้นพระโพธิสัตว์ของพวกเราบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่งมีชื่อว่า กบิลพราหมณ์ ออกบวชเป็นฤาษี สร้างบรรณศาลอาศัยอยู่ในแนวป่า มีต้นสากะ ใกล้ฝังสระโบกขรณี ที่ข้างป่าหิมพานต์. นัยว่า พราหมณ์นั้นรู้วิชาชื่อ ภุมมบาล ที่เป็นเครื่องมือให้คนมองเห็นคุณและโทษในเบื้องบนในอากาศ มีประมาณ ๘๐ ศอก และเบื้องล่าง แม้ในแผ่นดิน. ในที่แห่งหนึ่ง มีกอหญ้า และเถาวัลย์เกิดเป็นทักษิณาวรรต (เวียนขวา) บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก. ราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น วิ่งไล่ตามเนื้อและสุกรมาก็ดี งูและแมว วิ่งไล่ตามกบและหนูมาก็ดี มาถึงที่นั้นแล้ว ไม่สามารถจะไล่ตามสัตว์เหล่านั้นต่อไปได้ จะถูกสัตว์เหล่านั้นขู่ให้กลัว ต้องหันกลับไปแน่นอนทีเดียว. พราหมณ์นั้นทราบว่า นี้เป็นที่ที่เลิศในแผ่นดิน แล้วจึงสร้างบรรณศาลาของตนในที่นั้น.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 558

    ต่อมาพราหมณ์นั้นเห็นพระราชกุมารเหล่านั้นเสาะแสวงหาที่ที่จะตั้งเมือง เดินมาสู่ที่เป็นที่อยู่ของตน ถามทราบความเป็นไปนั้นแล้ว เกิดความเอ็นดูในพระราชกุมารเหล่านั้นจึงได้ทูลว่า เมืองที่สร้างขึ้นในที่ตั้งบรรณศาลานี้จักเป็นเมืองเลิศในชมพูทวีป ในบรรดาชายที่เกิดในเมือง แต่ละคนๆ จักสามารถเอาชนะคนตั้ง ๑๐๐ ก็ได้ ตั้ง ๑,๐๐๐ ก็ได้ พวกพระองค์จงสร้างเมืองในที่นี้เถิด จงสร้างพระราชมณเฑียรของพระราชา ณ ที่ตั้งบรรณศาลาเถิด เพราะคนยืนในที่นี้ ถึงจะเป็นลูกคนจัณฑาล ก็จะเป็นผู้ประเสริฐยิ่งด้วยกําลังของพระเจ้าจักรพรรดิ. พวกพระราชกุมารจึงเรียนว่านี้เป็นที่อาศัยอยู่ของพระผู้เป็นเจ้ามิใช่หรือขอรับ. พวกท่านไม่ต้องคิดว่าเป็นที่อยู่อาศัยของเรา จงสร้างเมืองกันให้บรรณศาลาของเราไว้ข้างหนึ่งแล้วตั้งชื่อว่า กบิลพัสดุ์. พวกราชกุมารเหล่านั้น กระทําเช่นนั้นแล้ว พากันอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น.

    อํามาตย์ทั้ง ๘ คนคิดว่า พระราชโอรสเหล่านี้เจริญวัยแล้ว ถ้าพระราชบิดาของพวกเขาพึงอยู่ในที่ใกล้ พระองค์พึงทรงกระทําอาวาหวิวาหมงคลให้ แต่บัดนี้เป็นภาระของพวกเราแล้ว จึงปรึกษากับพระราชกุมารทั้งหลาย. พระราชกุมารทั้งหลายกล่าวว่า พวกเรายังมองไม่เห็นธิดากษัตริย์เช่นกับพวกเรา ทั้งก็ยังมองไม่เห็นกุมารกษัตริย์เช่นกับพระพี่น้องนาง ลูกของพวกเราที่เกิดขึ้นเพราะอยู่ร่วมกับผู้ที่ไม่เสมอกัน จัดว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ทางฝ่ายมารดา หรือทางฝ่ายบิดา จักถึงความความแตกต่างกันแห่งชาติ เพราะฉะนั้น พวกเราจึงพอใจการอยู่ร่วมกับพระพี่น้องนางเท่านั้น เพราะกลัวความแตกต่างกันแห่งชาติ จึงตั้งพระเชฏฐภคินีไว้ในตําแหน่งเป็นพระมารดา ต่างก็สําเร็จการอยู่ร่วมกันกับพระพี่น้องนาง

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 559

ที่เหลือ.

    เมื่อพระราชโอรสเหล่านั้นเจริญด้วยบุตรและธิดา แต่ในสมัยต่อมาพระเชฏฐภคินีเกิดเป็นโรคเรื้อน. เนื้อตัวเป็นเหมือนกับดอกทองกวาว.พระราชกุมารทั้งหลายคิดว่า เมื่อพวกเราการทําการนั่งการนอนและการบริโภค เป็นต้น รวมกันกับพระเชฏฐภคินีนี้ โรคนี้ก็จะติดต่อกันได้ วันหนึ่งจึงทําเป็นประหนึ่งว่า เดินไปเล่นกีฬาในสวน ให้พระเชฏฐภคินีนั้นขึ้นนั่งบนยานแล้วเข้าไปยังป่า รับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีในพื้นดินโดยสังเขปว่าเป็นเรือน ให้พระนางเข้าไปในที่นั้น พร้อมกับของเคี้ยวและของบริโภค มุงข้างบนใส่ดินร่วนลงไป แล้วพากันกลับไป.

    ในสมัยนั้นพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระนามว่า รามะ ทรงเป็นโรคเรื้อน พวกนางสนมกํานัลในและพวกนักแสดงละคร ต่างพากันรังเกียจเพราะความสังเวชใจนั้น จึงทรงมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จเข้าป่า ทรงเสวยรากไม้ในป่าในที่นั้น ต่อเวลาไม่นานนักก็หายพระโรค มีผิวพรรณประดุจทองคํา เสด็จเที่ยวไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้มีโพรงใหญ่ ทรงถากถางที่ว่างมีประมาณ ๑๖ ศอก ในสวนด้านในแห่งต้นไม้นั้น ติดประตูและหน้าต่าง ผูกบันไดไว้ ประทับ อยู่ ณ ที่นั้น. พระองค์ทรงก่อไฟไว้ในกะโหลกรองรับถ่านตอนกลางคืน ทรงสดับเสียงร้องของเหล่าสัตว์มีเนื้อและสุกร เป็นต้นบรรทมหลับไป. พระองค์ทรงสังเกตว่า ในที่โน้นราชสีห์ร้อง ในที่โน้นเสือโคร่งร้องพอสว่างก็เสด็จไปที่นั้น ทรงเก็บเอาเนื้อที่เหลือเดนมาเผาเสวย.

    ต่อมาวันหนึ่ง ในตอนใกล้รุ่ง เมื่อพระองค์ทรงก่อไฟให้ลุกขึ้นแล้วประทับนั่งอยู่ เสือโคร่งเดินมาเพราะได้กลิ่นตัวพระราชธิดา จึงคุ้ยดิน

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 560

กระจัดกระจายในที่นั้น ทําเป็นช่องว่างไว้ที่ซอกเขา. พระนางทอดพระเนตรเห็นเสือโคร่งทางช่องนั้น ทรงกลัวจึงส่งเสียงร้องดังลั่น. พระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงสดับเสียงนั้น ทรงสังเกตได้ว่า นี้เป็นเสียงสตรี จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นแต่เช้าทีเดียว ตรัสถามว่า ใครอยู่ในที่นี้ พระนางตอบว่าผู้หญิง นาย. เธอมีชาติเป็นอะไร. ฉันเป็นธิดาของพระเจ้าโอกกากมหาราช.เธอจงออกมาเถิด. ไม่สามารถออกไปได้ นาย. เพราะเหตุไร ฉันเป็นโรคผิวหนัง. พระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสถามความเป็นมาทุกประการแล้วให้พระนางผู้ไม่ยอมออกมาเพราะขัตติยมานะ ทรงทราบความเป็นกษัตริย์ของตนว่า แม้เราก็เป็นกษัตริย์ จึงทรงพาดบันไดลงไป ทรงฉุดขึ้นมาพาไปยังที่ประทับของพระองค์ พระราชทานยาที่พระองค์ทรงเสวยเองนั่นแหละ ต่อมาไม่นานนัก ทรงกระทําให้พระนางหายพระโรค มีผิวพรรณประดุจทองคําได้ จึงทรงอยู่ร่วมกับพระนาง. เพราะการอยู่ร่วมครั้งแรกนั่นเอง พระนางก็ทรงครรภ์ ประสูติพระราชโอรส ๒ พระองค์แล้วก็ประสูติอีกถึง ๑๖ ครั้ง อย่างนี้คือ ครั้งละสองๆ ด้วยประการฉะนี้. จึงมีพี่น้องถึง ๓๒ พระองค์. พระราชบิดาก็ทรงให้พระราชโอรสเหล่านั้นซึ่งเจริญวัยแล้ว ได้ทรงศึกษาศิลปศาสตร์ทุกชนิด.

    ต่อมาวันหนึ่ง พรานไพรผู้อยู่ในเมืองของพระเจ้ารามะคนหนึ่งเที่ยวแสวงหาแก้วอยู่ที่ภูเขา เห็นพระราชาแล้ว จําได้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้าจําพระองค์ได้. ทีนั้น พระราชาจึงตรัสถามความเป็นไปทุกประการ. และในขณะนั้นนั่งเอง พวกเด็กทั้งหลายเหล่านั้นก็พากันมา. พรานไพรเห็นพวกเขาแล้ว ทูลถามว่า เด็กเหล่านี้เป็นใคร. เมื่อพระราชตรัสว่า ลูกของเราเอง เขาจึงทูลถามถึงวงศ์สกุล

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 561

ทางฝ่ายมารดาของเด็กเหล่านั้น คิดว่าบัดนี้เราได้รางวัลแล้ว จึงไปยังเมืองกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงดําริว่า เราจักทูลเชิญเสด็จพระราชบิดามา จึงเสด็จไป ณ ที่นั้น พร้อมกับเสนา ๔ เหล่า ถวายบังคมพระราชบิดา แล้วทูลขอว่า ขอพระองค์จงทรงรับราชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า.พระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสว่า อย่าเลยพ่อเอย เราจะไม่ไป ณ ที่นั้น เธอจงถากถางต้นไม้นี้ออก แล้วสร้างเมืองให้แก่เรา ณ ที่นี้นี่แหละ. พระราชาทรงกระทําตามรับสั่งแล้ว ตั้งชื่อให้ ๒ ชื่อ คือ ชื่อว่า โกลนคร เพราะเหตุที่ถากถางต้นกระเบาออกแล้วสร้างเมืองนั้นขึ้น ๑ ชื่อว่า พยัคฆบถ เพราะสร้างขึ้นที่ทางเดินของเสือโคร่ง ๑ เสร็จแล้วถวายบังคมพระราชบิดา ได้เสด็จกลับพระนคร.

    ต่อมาพระราชมารดาได้ตรัสกะกุมารผู้เจริญวัยแล้วว่า นี่แน่ะลูกๆ ทั้งหลาย ศากยะผู้อยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ผู้เป็นพระเจ้าลุงของพวกท่านมีอยู่ ก็พวกธิดาของพระเจ้าลุงของพวกท่าน มีการจับผมเห็นปานฉะนี้ มีการจับผ้าเห็นปานฉะนี้ แน่ะลูกทั้งหลาย เมื่อใดพวกเขามาท่าอาบน้ำ เมื่อนั้นท่านจงไปจับธิดาผู้ที่ตนชอบไว้. พวกเขาก็พากันไปในที่นั้น เมื่อพระราชธิดาพากันมาอาบน้ำ กําลังผึ่งศีรษะให้แห้งอยู่ จึงจับราชธิดาผู้ที่ตนปรารถนาประกาศชื่อให้ทราบแล้วมา. พระเจ้าศากยะทั้งหลายทรงสดับแล้ว ตรัสว่า แน่ะพนาย ช่างเขาเถิด พวกญาติๆ ของเราเอง แล้วก็ทรงเฉยเสีย. นี้เป็นเรื่องเกิดขึ้นของศากยวงศ์และไกลิยวงศ์. เมื่อศากยวงศ์และโกลิยวงศ์เหล่านั้น ทําการอาวาหมงคลและวิวาหมงคลซึ่งกันและกัน วงศ์สกุลสืบต่อกันมาไม่ขาดสายเลย ตราบเท่าถึงพุทธกาล. ในเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงศากยวงศ์ จึงตรัสพระดํารัสว่า ศากยะ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 562

เหล่านั้นออกไปจากแว่นแคว้นไปอาศัยอยู่ที่ฝังแห่งสระโบกขรณี ข้างหิมวันตประเทศ ดังนี้เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมนฺติ แปลว่า อาศัยอยู่. บทว่า สากฺยา วต โภ มีใจความว่า พวกศากยะแม้จะออกไปอยู่ในป่า ไม่ทําลายเชื้อชาติ เป็นผู้สามารถ คือมีกําลังแก่กล้าที่จะรักษาวงศ์สกุลไว้ได้.บทว่า ตั้งแต่นั้นมา คือนับวันนั้นเป็นต้นมา ได้แก่จําเดิมแต่นั้นมา.บทว่า โส จ เนสํ ปุพฺพปุริโส ใจความว่า พระราชาทรงพระนามว่าโอกกากะนั้นเป็นบรรพบุรุษของพระราชกุมารเหล่านั้น แม้แต่เพียงการแตกต่างแห่งเชื้อชาติด้วยอํานาจเป็นคหบดีของศากยะเหล่านั้น ก็มิได้มี.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศศากยวงศ์ให้ทราบอย่างนี้แล้ว ต่อนี้ไปเมื่อจะทรงประกาศอัมพัฏฐวงศ์ จึงตรัสพระดํารัสมีว่า รฺโ โข ปน เป็นต้น.

    บทว่า นางทาสีคลอดลูก ชื่อว่า กัณหะ คือคลอดลูกมีผิวดํามีฟันเกิดขึ้น มีผมหนวดและเครางอกขึ้นตั้งแต่อยู่ในท้องทีเดียว. บทว่า ปพฺยาหาสิ ความว่า เมื่อพวกมนุษย์ในเรือนทั้งหลาย ต่างพากันหนีไป เพราะกลัวว่า ยักษ์เกิดแล้ว ปิดประตูแล้วยืนอยู่ นายกัณหะก็เดินไปข้างโน้นและข้างนี้ พลางพูดร้องเสียงดังลั่นว่า พวกท่านจงช่วยชําระล้างเรา ดังนี้เป็นต้น.

    บทว่า พวกมาณพเหล่านั้น ได้กราบทูลคํานี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้กราบทูลคํานี้ว่า มา ภวํ เป็นต้น ก็เพื่อจะปลดเปลื้องคําตําหนิของตน. นัยว่า พวกมาณพเหล่านั้น ได้มีความคิดย่างนี้ว่า อัมพัฏฐะ นี้เป็นศิษย์คนโตของอาจารย์ของพวกเรา ถ้าพวกเราจะไม่พูดบ้างสักคํา

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 563

สองคําในฐานะเห็นปานฉะนี้ อัมพัฏฐะนี้จักทําลายพวกเราในสํานักอาจารย์ของพวกเรา พวกเขาจึงได้กล่าวอย่างนี้ เพื่อจะปลดเปลื้องคําตําหนิ แต่พวกเขาก็ยังหวังด้วยคิดว่า อัมพัฏฐะนี้จะปราศจากความมัวเมา. นัยว่าอัมพัฏฐะนี้ก็ไม่เป็นที่รักแม้ของพวกมาณพเหล่านั้นนัก เพราะเขาเป็นคนเจ้ามานะ. บทว่า เป็นผู้พูดแต่คําดีงาม คือมีคําพูดอ่อนหวาน. บทว่าในถ้อยคํานั้น คือในถ้อยคําเกี่ยวกับเวท ๓ ที่ตนเรียนมาแล้ว. บทว่า เพื่อจะโต้ตอบ ความว่า เพื่อจะกล่าวตอบโต้ คือกล่าวแก้ปัญหาที่ถามแล้ว. อีกนัยหนึ่งว่า เพื่อจะโต้ตอบ คือเพื่อจะกล่าวให้เหนือกว่า ในคําพูดว่า เป็นบุตรของทาสี นั้น.

    บทว่า ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจความว่า ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า ถ้าพวกมาณพผู้นั่งในที่นี้เหล่านั้น จักส่งเสียงดังขึ้นทํานองนี้ ก็จะพูดกันไม่จบลงได้ เอาเถอะ เราจะทําให้เขาเงียบเสียงแล้วพูดกับอัมพัฏฐะเท่านั้น จึงได้ตรัสพระดํารัสนี้กะพวกมาณพเหล่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนฺตโวฺห แปลว่า พวกท่านจงปรึกษา. บทว่า มยา สทฺธึ มนฺเตตุ คือจงกล่าวกับเรา. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพทั้งหลายจึงคิดว่า อัมพัฏฐมาณพผู้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นบุตรของนางทาสี ถึงเพียงนั้น ไม่สามารถที่จะเงยศีรษะขึ้นได้. ก็ขึ้นชื่อว่า เชื้อชาตินี้แล รู้กันได้ยาก ถ้าพระสมณโคดมจะกล่าวคําไรๆ แม้กะผู้อื่นว่า ท่านเป็นทาส ใครจักก่อคดีกับพระสมณโคดมนั้น อัมพัฏฐะ จงแก้ข้อที่ตนผูกเข้าด้วยตนเองเถิด ดังนี้ เมื่อจะปลดเปลื้องตนออกแล้ว โยนไปเหนืออัมพัฏฐะคนเดียว จึงกล่าวคํามีว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏฐะเกิดดีแล้ว เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 564

    บทว่า ประกอบด้วยธรรม ได้แก่เป็นไปกับเหตุ คือมีเค้ามูล.บทว่า แม้จะไม่พอใจก็ต้องพยากรณ์ ความว่า ตนแม้ไม่ปรารถนาก็ต้องพยากรณ์ คือจะต้องวิสัชนาโดยแน่แท้. บทว่าอฺเน วา อฺํ ปฏิจริสฺสสิ ใจความว่า ท่านจักเอาอีกคําหนึ่งมากลบเกลื่อนอีกคําหนึ่งคือจักทับถม ได้แก่จักปกปิด. ก็ผู้ใดอันเขาถามแล้วอย่างนี้ว่า ท่านมีโคตรอะไร แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้เวททั้ง ๓ เป็นต้น ผู้นี้ชื่อว่า เอาคําอื่นมากลบเกลื่อนอีกคําหนึ่ง. บทว่า ปกฺกมิสฺสสิ วา ความว่า ท่านทั้งที่รู้อยู่ซึ่งปัญหาที่เขาถามแล้ว กลับลุกจากอาสนะไปเสีย เพราะไม่อยากจะตอบหรือ. บทว่า อัมพัฏฐะได้นิ่งเสีย ความว่า อัมพัฏฐะคิดว่า พระสมณโคดมมีพระประสงค์จะให้เราทูลว่า เป็นลูกนางทาสีเองทีเดียว และเมื่อเราทูลเสียเอง ชื่อว่าทาสย่อมเกิดขึ้นแน่นอน แต่พระสมณโคดมนี้ทักท้วงเพียง ๒ - ๓ ครั้งแล้วก็จักทรงดุษณีภาพ ทีนั้น เราก็จักหลบหนีหลีกไป ดังนี้แล้ว จึงนิ่งเสีย.

    สายฟ้ามีอยู่ที่ฝ่ามือของยักษ์นั้น เหตุนั้น ยักษ์นั้น จึงชื่อว่า วชิรปาณี. บทว่า ยักษ์ พึงทราบว่า มิใช่ยักษ์ธรรมดา แต่เป็นท้าวสักกเทวราช. บทว่า เป็นของร้อน คือมีสีเป็นไฟ. บทว่า สมฺปชฺชลิตํ แปลว่า ลุกโพลงไปทั่ว. บทว่า สํโชติภูตํ แปลว่า มีแสงสว่างโดยรอบ ความว่า มีเปลวไฟเป็นอันเดียวกัน. บทว่า ยืนอยู่ ความว่า ยักษ์นั้นเนรมิตรูปร่างแปลกประหลาดอย่างนี้ คือ ศีรษะใหญ่ เขี้ยวเหมือนกับหัวผักกาดสด นัยน์ตาและจมูกเป็นต้น ดูน่ากลัว ยืนอยู่. ถามว่า ก็ยักษ์นี้มาเพราะเหตุไร. ตอบว่า มาเพื่อจะให้อัมพัฏฐะละทิ้งทิฏฐิเสีย.

    อีกประการหนึ่ง ยักษ์นี้มาด้วยคิดว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 565

ทรงถึงความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ในการทรงแสดงพระธรรมเทศนาอย่างนี้ว่า ก็เรานี่แหละพึงแสดงธรรมได้ แต่คนอื่นเขาหารู้ทั่วถึงธรรมของเราไม่ ท้าวสักกะพร้อมกับท้าวมหาพรหมจึงเสด็จมา ได้ทรงกระทําปฏิญญาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเถิด พวกที่ไม่เป็นไปในอํานาจปกครองของพระองค์ พวกข้าพระองค์จักให้เป็นไปเอง ธรรมจักรจงเป็นของพระองค์ อาณาจักรจงเป็นของพวกข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น วันนี้เราจักขู่ให้อัมพัฏฐะสะดุ้งกลัว แล้วให้เฉลยปัญหาให้ได้.

    บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็น และอัมพัฏฐะก็เห็น มีใจความว่า ก็ถ้ายักษ์นั้นแม้คนอื่นก็เห็น เหตุนั้นก็จะดูไม่สําคัญ ชนทั้งหลายพึงกล่าวว่า พระสมณโคดมนี้ทรงทราบว่าอัฏพัฏฐะไม่ยอมอยู่ในพระดํารัสของพระองค์ จึงนํายักษ์มาแสดง ทีนั้น อัมพัฏฐะจึงพูดขึ้นเพราะความกลัว เพราะฉะนั้น พระผู้พระภาคเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็นและอัมพัฏฐะก็เห็น.

    อัมพัฏฐะพอเห็นยักษ์นั้นเท่านั้น เหงื่อก็ไหลออกทั่วตัว. ภายในท้องก็ปันป่วนดังลั่น. เขาจึงคิดว่า แม้คนอื่นเล่าเขาเห็นไหมหนอ พลางมองดูรอบๆ ก็มิได้เห็นใครๆ แม้จะมีเพียงขนลุก. ลําดับนั้น เขาจึงคิดว่า ภัยนี้เกิดขึ้นเฉพาะแก่เรา ถ้าเราจะพูดว่า ยักษ์ ชนทั้งหลายพึงกล่าวว่า ตาของท่านนั่นแหละมีอยู่มิใช่หรือ ท่านคนเดียวเท่านั้นเห็นยักษ์ อัมพัฏฐะทีแรกไม่เห็นยักษ์ แต่ถูกพระสมณโคดมทรงบีบคั้นด้วยวาทะ จึงเห็นยักษ์ สําคัญอยู่ว่า บัดนี้ ในที่นี้ที่พึ่งอย่างอื่นของเราไม่มี นอกจากพระสมณโคดมเท่านั้น ลําดับนั้นแล อัมพัฏฐมาณพ ฯลฯ ได้กล่าวคํานี้

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 566

กะพระผู้มีพระภาคเจ้า.

    บทว่า ตาณํ คเวสี แปลว่า แสวงหาที่ต้านทาน. บทว่า เลณํ คเวสี แปลว่า แสวงหาที่เร้น. บทว่า สรณํ คเวสี แปลว่า แสวงหาที่พึ่ง.ก็ในคําเหล่านี้ ที่ชื่อว่า ที่ต้านทาน เพราะย่อมต้านทานไว้ คือรักษาไว้.ที่ชื่อว่า ที่เร้น เพราะชนทั้งหลายย่อมหลีกเร้นอยู่ในที่นี้. ที่ชื่อว่า ที่พึ่ง เพราะย่อมป้องกันไว้ ความว่า ย่อมเบียดเบียน คือกําจัดเสียได้ซึ่งภัย.บทว่า เข้าไปนั่งใกล้ คือเข้าไปนั่งบนที่นั่งเบื้องล่าง. บทว่า พฺรูตุ แปลว่า จงกล่าว.

    บทว่า ชนบททางทิศใต้ คือชนบททางทิศใต้แห่งแม่น้ำคงคา ที่ปรากฏชื่อทักษิณาบถ. ได้ยินว่า ในกาลนั้น ในประเทศทางทิศใต้ของอินเดียมีพราหมณ์และดาบสอยู่มาก. อัมพัฏฐะไป ณ ที่นั้น ทําให้ดาบสคนหนึ่งยินดีด้วยวัตรปฏิบัติ. ดาบสนั้นเห็นอุปการะของเขาจึงกล่าวว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เราจะให้มนต์แก่ท่าน ท่านปรารถนามนต์ใด จงเรียนมนต์นั้นเถิด. เขาจึงกล่าวว่า ข้าแต่อาจารย์ กิจด้วยมนต์อย่างอื่นของผมไม่มี อาวุธทําร้ายไม่ได้ด้วยอานุภาพของมนต์ใด ขอท่านจงให้มนต์นั้นแก่ผมเถิด. ดาบสนั้นกล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ ดีแล้ว จึงได้ให้วิชาที่ธนูยิงไม่เข้า ชื่อว่าอัมพัฏฐะ. เขาเรียนเอาวิชานั้นแล้ว ทดลองในที่นั้นทีเดียว คิดว่า บัดนี้เราจักให้ความใฝ่ฝันของเราเต็มเสียที จึงถือเอาเพศเป็นฤาษีไปยังสํานักของพระเจ้าโอกกากะ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อัมพัฏฐะไปสู่ชนนททางทิศใต้ เรียนพรหมมนต์เข้าไปเฝ้าพระเจ้าโอกกากะ ดังนี้.

    ในบทนี้ บทว่า พรหมมนต์ คือมนต์อันประเสริฐ เพราะเป็น

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 567

มนต์สมบูรณ์ด้วยอานุภาพ. บทว่า โก เนวํ เร (๑) มยฺหํ ทาสีปุตฺโต ความว่า นี่แน่ะเว้ย ใครหนอนี้เป็นลูกนางทาสี (มาขอลูกสาว) ของเราอย่างนี้.บทว่า พระเจ้าโอกกากราช นั้น ไม่ทรงสามารถจะปล่อยลูกธนูไปได้ ความว่า พระราชานั้น ขึ้นสายธนู เพราะพระองค์มีพระประสงค์จะฆ่าฤาษีนั้น แต่ไม่ทรงสามารถที่จะยิงออกไป ทั้งไม่ทรงสามารถที่จะปลดออกได้ซึ่งลูกศรนั้น ทันใดนั้น พระองค์ก็มีพระเสโทไหลไปทั่วพระวรกาย ประทับยืนสั่นงันงกอยู่ด้วยความกลัว.

บทว่า อํามาตย์ทั้งหลาย คือมหาอํามาตย์ทั้งหลาย. บทว่า เหล่าชุมชน คือมวลชนนอกจากนี้. บทว่า เหล่าอํามาตย์ทั้งหลาย ได้กล่าวคํานี้ ความว่า พวกเขาคิดอยู่ว่า เมื่อพระราชาทรงพระนามว่า ทัณฑกี ทรงประพฤติผิดในดาบสชื่อ กีสวัจฉะ แว่นแคว้นทั้งสิ้นพินาศด้วยฝนแห่งอาวุธ พระเจ้านาฬิเกระทรงประพฤติผิดในดาบส ๕๐๐ ตนและพระเจ้าอัชชุนะทรงประพฤติผิดในอังคีรสดาบส แทรกลงสู่แผ่นดินเข้าไปสู่นรก เพราะความกลัวจึงได้กล่าวคํานี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอความสวัสดีจงมีเป็นต้น. กัณหดาบสนิ่งอยู่นาน ต่อนั้นถูกเขาขอร้องโดยประการต่างๆ จึงกล่าวคําเป็นต้นว่า พระราชาของพวกท่าน ขึ้นสายธนูยิงฤาษีเช่นกับพวกเรา นับว่าทํากรรมหนักมาก แล้วจึงได้กล่าวคํานี้ว่า ความสวัสดีจักมีแด่พระราชา ดังนี้ ในภายหลัง. บทว่า จักพังทลาย คือจักแตกแยกออก กัณหดาบสนั้นคิดว่า เราจักให้ชนตกใจกลัว จึงได้กล่าวเท็จว่า แผ่นดินจักแตกกระจายออก ราวกะกําแกลบ. ความจริงอานุภาพแห่งวิชาของกัณหดาบสนั้นมีเพียงหยุดยั้งลูกศรได้เท่านั้น ย่อมไม่เป็นไปอย่างอื่นไปได้. ในคําทั้งหลายแม้อื่นจากนี้ ก็มีนัยทํานองเดียวกันนี้.


(๑) บาลีอัมพัฏฐสูตรเป็น เนวเร พระไตรปิฎกเล่ม ๙ หน้า ๑๒๕.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 568

    บทว่า ปลฺโลโม แปลว่า มีขนนอนราบแล้ว. ความว่า แม้แต่เพียงขนลุก ก็จักไม่มีแก่เขา. นัยว่า กัณหดาบสให้พระราชากระทําปฏิญาณแล้ว จึงได้กล่าวคํานี้ว่า ถ้าพระราชาจักพระราชทานเด็กหญิงนั้นแก่เราดังนี้. บทว่า พระราชาให้ลูกธนูวางไว้ที่กุมารแล้ว ความว่า เมื่อดาบสนั้นร่ายมนต์ว่า ขอให้ลูกศรจงลงมา พระราชาก็ให้วางลงที่สะดือของกุมาร.บทว่า ได้พระราชทานพระราชธิดาแล้ว คือทรงชําระล้างศีรษะกระทํามิให้เป็นทาส คือเป็นไทยแล้ว พระราชทานไป และทรงตั้งไว้ในตําแหน่งอันยิ่งใหญ่. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศว่า อัมพัฏฐะเป็นญาติของศากยะทั้งหลายทางฝ่ายหนึ่งจึงได้ตรัสพระดํารัสนี้ว่า มา โข ตุเมฺห มาณวกา เพื่อจะทรงให้เขาเบาใจ. ลําดับนั้น อัมพัฏฐะเป็นประหนึ่งว่าถูกรดด้วยน้ำตั้ง ๑๐๐ หม้อ มีความกระวนกระวายอันระงับแล้ว เบาใจแล้ว คิดว่า พระสมณโคดมทรงดําริว่า จักให้เราบันเทิงใจ จึงทรงกระทําให้เราเป็นญาติทางฝ่ายหนึ่ง นัยว่า เราเป็นกษัตริย์.

    ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า อัมพัฏฐะนี้กระทําความสําคัญว่า เราเป็นกษัตริย์ ไม่รู้ว่าตนมิใช่กษัตริย์ เอาเถอะ เราจักให้เขารู้ เมื่อจะทรงแสดงเทศนายิ่งขึ้นไป เพื่อทรงแสดงวงศ์กษัตริย์ จึงได้ตรัสพระดํารัสว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ ท่านสําคัญข้อนั้นเป็นไฉน เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ แปลว่า ในโลกนี้. บทว่า ในพราหมณ์ทั้งหลาย คือในระหว่างพวกพราหมณ์. บทว่า ที่นั่งหรือน้ำ คือที่นั่งอย่างดีเลิศ หรือน้ำอย่างดีเลิศ. บทว่า สทฺเธ คือในภัตที่เขาทําอุทิศให้ผู้ตาย. บทว่า ถาลิปาเก คือในภัตในงานมงคล เป็นต้น. บทว่า ยฺเ คือในภัตที่เขาทําไว้บูชายัญ. บทว่า ปาหุเน คือในภัตที่เขากระทําไว้เพื่อ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 569

แขกทั้งหลาย หรือว่าในภัตที่เขาทําไว้เป็นบรรณาการ. บทว่า อปินุสฺส คือสําหรับโอรสกษัตริย์นั้น บ้างไหมหนอ. บทว่า อาวฏํ วา อสฺสอนาวฏํ วา คือในหญิงสาวตระกูลพราหมณ์พึงมีการห้าม หรือไม่มีการห้าม ความว่า โอรสกษัตริย์จะพึงได้กับเด็กหญิงตระกูลพราหมณ์หรือไม่พึงได้. บทว่า อนุปปนฺโน ความว่า ไม่ถึงวงศ์กษัตริย์ คือไม่บริสุทธิ์.

    บทว่า อิตฺถิยา วา อิตฺถึ กริตฺวา คือแสวงหาหญิงกับหญิงหรือ.บทว่า กิสฺมิฺจิเทว ปกรเณ คือในการกระทําสิ่งที่ไม่ควรทําที่เป็นโทษบางอย่าง ซึ่งสมควรแก่พราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า ด้วยห่อขี้เถ้า ความว่าเอาห่อขี้เถ้าโปรยขี้เถ้าบนศีรษะ.

    บทว่า ชเนตสฺมึ คือในฝูงชน ความว่า ในหมู่ประชาชน. บทว่า เย โคตฺตปฏิสาริโน ความว่า ในฝูงชน ผู้ใดเที่ยวอวดอ้างในเรื่องโคตรว่า ข้าพเจ้าเป็นโคตมโคตร ข้าพเจ้าเป็นกัสสปโคตร ในเขาเหล่านั้น ผู้เที่ยวอวดอ้างในเรื่องโคตรในโลก กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐ. บทว่า อนุมตา มยา ความว่า คาถานี้ สนังกุมารพรหมแสดงเทียบได้กับพระสัพพัญุตญาณของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงยอมรับ.

    ก็ด้วยคาถานี้ อัมพัฏะได้ยินบทนี้ว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ จึงคิดว่า เวทสามชื่อว่า วิชชา ศีลห้าชื่อว่า จรณะ วิชชาและจรณะนี้นี่ของเราเองก็มี หากว่าผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชา และจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุด ตัวเรานี้ก็นับว่าประเสริฐสุดได้ เขาถึงความตกลงใจแล้ว เมื่อจะทูลถามถึงวิชชาและจรณะ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็จรณะนั้นเป็นไฉน วิชชานั้นเป็นไฉน. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะปฏิเสธวิชชาและจรณะที่ประกอบด้วยวาทะปรารภเชื้อ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 570

ชาติเป็นต้น อันมีอยู่ในลัทธิของพราหมณ์นั้น แล้วทรงแสดงวิชชาและจรณะอันเยี่ยมยอด จึงตรัสพระดํารัสว่า น โข อมฺพฏ เป็นต้น แก่อัมพัฏะนั้น.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า ชาติวาโท แปลว่า วาทะปรารภเชื้อชาติ.ใจความว่า ได้แก่คําพูดเป็นต้นว่า สิ่งนี้ควรแก่พราหมณ์เท่านั้น หาควรแก่ศูทรไม่. ในที่ทุกแห่งก็มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน. บทว่า ชาติวาทวินิพนฺธา แปลว่า ผู้ยุ่งเกี่ยวในวาทะปรารภเชื้อชาติ. ในที่ทุกแห่งก็มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน.

    ลําดับนั้น อัมพัฏะคิดว่า เราคิดว่า บัดนี้พวกเราจักติดอยู่ในที่ใดที่นั้นพระสมณโคดมกลับเหวี่ยงพวกเราไปเสียไกลลิบ เหมือนคนซัดแกลบลงในลมแรง ก็พวกเราไม่ติดอยู่ในที่ใด พระสมณโคดมทรงชักจูงพวกเราไป ณ ที่นั้น การถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะของพวกเรานี้สมควรจะรู้ไหม แล้วจึงได้ถามถึงวิชชาและจรณะอีก. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อที่จะทรงแสดงวิชชาและจรณะจําเดิมแต่การเกิดขึ้นแก่อัมพัฏฐะนั้น จึงตรัสพระดํารัสว่า อิธ อมฺพฏ ตถาคโต เป็นต้น.

    ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจําแนกศีล ๓ อย่าง แม้ที่นับเนื่องในจรณะ ไม่ตรัสระบุชัดว่า ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น แต่ตรัสระบุชัดด้วยอํานาจแห่งศีลทีเดียวว่า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของภิกษุนั้น.ถามว่า เพราะเหตุไร. เพราะว่าศีลไรๆ แม้ของภิกษุนั้นก็มีอยู่ เพราะฉะนั้น เมื่อตรัสระบุชัดอยู่ด้วยอํานาจแห่งจรณะ ภิกษุพึงติดอยู่ในจรณะนั้นๆ นั่นเหละ ด้วยคิดว่า แม้พวกเราก็ถึงพร้อมด้วยจรณะ แต่จรณะใดอันภิกษุนั้น มิได้เคยเห็นเลย แม้ด้วยความฝัน เมื่อจะตรัสระบุชัดด้วย

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 571

อํานาจแห่งจรณะนั้นนั่นแหละ จึงตรัสพระดํารัสว่า ภิกษุย่อมเข้าถึงฌานที่ ๑ อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น ฯลฯ ภิกษุย่อมเข้าถึงฌานที่ ๔ อยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นจรณะของภิกษุนั้น เป็นต้น. ด้วยพระดํารัสเพียงเท่านี้ เป็นอันว่าพระองค์ตรัสระบุชัดถึงสมาบัติแม้ทั้ง ๘ ว่าเป็นจรณะ ส่วนปัญญาแม้ทั้ง ๘ นับแต่วิปัสสนาญาณไป พระองค์ตรัสระบุชัดว่า เป็นวิชชา.

    บทว่า อปายมุขานิ แปลว่า ปากทางแห่งความพินาศ บทว่า ผู้ยังไม่ตรัสรู้ คือยังไม่บรรลุ หรือว่า ยังไม่สามารถ. ในบทว่า ถือเอาเครื่องหาบดาบสบริขาร นี้ บริขารของดาบสมี ไม้สีไฟ เต้าน้ำ เข็ม และแส้หางจามรี เป็นต้น ชื่อว่าขารี. บทว่า วิโธ แปลว่า หาบ. เพราะฉะนั้นจึงมีใจความว่า ถือเอาหาบอันเต็มด้วยบริขารดาบส. แต่อาจารย์ที่กล่าวว่า ขาริวิวิธํ ท่านก็พรรณนาว่า คําว่า ขาริ เป็นชื่อของหาบ คําว่า วิวิธํ คือบริขารมากอย่างมีเต้าน้ำ เป็นต้น. บทว่า ปวตฺตผลโภชโน แปลว่า มีปรกติบริโภคผลไม้ที่หล่นแล้ว. บทว่า เป็นคนรับใช้ คือเป็นคนรับใช้ด้วยสามารถกระทําวัตร เช่น ทํากัปปิยะ รับบาตรและล้างเท้า เป็นต้น. สามเณรผู้เป็นพระขีณาสพ แม้มีคุณธรรมสูง ย่อมเป็นผู้รับใช้พระภิกษุผู้ปุถุชน โดยนัยที่กล่าวแล้วโดยแท้ แต่สมณะหรือพราหมณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ ยังเป็นผู้ต่ําอยู่ทีเดียว ด้วยอํานาจแห่งคุณธรรมบ้าง ด้วยอํานาจแห่งการกระทําการรับใช้บ้าง.

    ถามว่า ก็การบวชเป็นดาบส ท่านกล่าวว่า เป็นปากทางแห่งความพินาศของศาสนา เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะศาสนาที่กําลังดําเนินไปๆ ย่อมถอยหลัง ด้วยอํานาจแห่งการบรรพชาเป็นดาบส. เป็นความจริงผู้ที่มีความละอาย ใคร่ในการศึกษา มักรังเกียจผู้ที่บวชในศาสนานี้ แล้ว

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 572

ไม่สามารถบําเพ็ญสิกขา ๓ ให้เต็มได้ว่า เราจะไม่มีการกระทําอุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี กับท่าน แล้วหลีกเว้นไปเสีย. สมณะหรือพราหมณ์นั้นคิดว่า การบําเพ็ญข้อปฏิบัติให้เต็มบริบูรณ์ในศาสนาทําได้ยาก เปรียบเสมือนคมมีดโกน เป็นทุกข์ แต่การบวชเป็นดาบส ทําได้ง่าย ทั้งชนก็นับถือมากมาย ดังนี้แล้ว จึงสึกออกมาเป็นดาบส. คนอื่นๆ เห็นเขาต่างพากันถามว่า ท่านทําอะไรหรือ. เขาจึงตอบว่า การงานในศาสนาของพวกท่านหนักมาก แต่พวกเราก็ยังมีปรกติประพฤติด้วยความพอใจในศาสนานี้อยู่. แม้เขาก็คิดว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เราก็จะบวชในศาสนานี้บ้าง ดังนี้แล้ว ศึกษาตามอย่างเขา บวชเป็นดาบส แม้พวกอื่นๆ ก็บวชเป็นดาบสทํานองนี้บ้าง เพราะฉะนั้น พวกดาบสจึงเพิ่มมากขึ้นโดยลําดับ. ในกาลที่พวกดาบสเหล่านั้นเกิดขึ้น ศาสนาชื่อว่าจักถอยหลัง. ชื่อว่า พระพุทธเจ้าเห็นปานฉะนี้ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ศาสนาของพระองค์ก็ได้ชื่อว่าเป็นเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ศาสนาจึงจักเป็นเพียงเส้นด้ายเท่านั้น.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงข้อนี้ จึงตรัสว่า การบวชเป็นดาบสเป็นปากทางแห่งความพินาศของศาสนา.

    บทว่า จอบและตะกร้า ได้แก่ จอบและตะกร้า เพื่อจะเก็บหัวเผือกมัน รากไม้และผลไม้. บทว่า ใกล้บ้านหรือ ใจความว่า ผู้ที่ยังมิได้บรรลุถึงความถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นต้น สําคัญอยู่ว่า การดําเนินชีวิตด้วยกสิกรรมเป็นต้น เป็นของลําบาก ดังนี้ เพื่อจะหลอกลวงให้คนหมู่มากหลงเชื่อ จึงสร้างโรงไฟ ในที่ใกล้หมู่บ้านบ้าง ในที่ใกล้ตําบลบ้าง บําเรอไฟด้วยอํานาจกระทําการบูชาด้วยเนยใส น้ำมัน นมส้ม น้ำผึ้ง งา และข้าวสารเป็นต้น และด้วยไม้นานาชนิดอาศัยอยู่.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 573

    บทว่า สร้างเรือนมี ๔ ประตู ใจความว่า สร้างเรือนน้ำดื่ม มีหน้ามุข ๔ ด้าน สร้างมณฑปไว้ที่ประตู ตั้งน้ำดื่มไว้ในนั้น คอยเชิญให้ผู้ที่มาแล้วๆ ดื่มน้ำ. พวกเดินทางไกล เหน็ดเหนื่อย ดื่มน้ำดื่มแล้วให้สิ่งใดแก่เขา เป็นห่ออาหารที่บริโภคแล้วก็ดี เป็นข้าวสารเป็นต้นก็ดี ก็ถือเอาสิ่งนั้นทุกอย่าง กระทํายาคูเปรี้ยวเป็นต้น แล้วให้ข้าวแก่บางคน ให้ภาชนะเครื่องหุงต้มอาหารแก่บางคน เพื่อจะสงเคราะห์ด้วยอามิสให้มากยิ่งขึ้น. เขาถือเอาอามิสบ้าง บุพพัณชาติ และอปรัณชาติ เป็นต้นบ้าง ที่พวกเขาเหล่านั้นให้แล้ว เพื่อความเพิ่มพูนขึ้นก็ใช้ของเหล่านั้นหาประโยชน์ต่อไป.โดยประการนี้เขาก็มีสมบัติเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ก็ทําการรับโค กระบือ ทาสีและทาสต่อไป เขาก็รวมทรัพย์สินได้มากมาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาพวกนี้ จึงตรัสพระดํารัสนี้ว่า สร้างเรือนมี ๔ ประตูอยู่ ดังนี้.ส่วนคํานี้ว่า เราจักบูชาสมณะหรือพราหมณ์นั้นตามความสามารถตามกําลัง ดังนี้ เป็นทางปฏิบัติของเขา. เพราะเขาปฏิบัติอย่างนี้โดยทางนี้.

    ด้วยคําเพียงเท่านี้เป็นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นถึงการบวชเป็นดาบสอย่างครบถ้วน. ถามว่า ทรงแสดงอย่างไร. ตอบว่า ทรงแสดงว่า ดาบสนั้นมี ๘ จําพวก คือพวกยังมีลูกเมีย ๑ พวกเที่ยวขอเขาเลี้ยงชีพ ๑ พวกอนัคคิปักกิกะ ๑ พวกอสามปากะ ๑ พวกอยมุฏฐิกะ ๑ พวกทันตวักกลิกะ ๑ พวกปวัตตผลโภชนะ ๑ พวกปัณฑุปลาสิกะ ๑.บรรดาดาบสเหล่านั้น ดาบสเหล่าใดรวบรวมทรัพย์สมบัติไว้ได้มากแล้วอยู่ดังเช่นเกณิยชฏิล ดาบสเหล่านั้นชื่อว่ามีลูกเมีย. ส่วนดาบสเหล่าใดคิดว่า ขึ้นชื่อว่า ความเป็นผู้มีลูกเมีย ไม่สมควรแก่ผู้บวชแล้ว จึงเที่ยวหาเก็บข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วราชมาส และเมล็ดงา เป็นต้น ในที่ที่เขา

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 574

เกี่ยวและนวด เอามาหุงต้มฉัน ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า เที่ยวขอเขาเลี้ยงชีพ.

    ส่วนดาบสเหล่าใดคิดว่า ขึ้นชื่อว่าการเที่ยวไปจากลานโน้นสู่ลานนี้ เก็บเอาข้าวเปลือกมาตํากินไม่สมควร ดังนี้แล้ว ยอมรับแต่ภิกษาหารคือข้าวสาร ในหมู่บ้านและตําบลได้แล้ว เอามาหุงต้มฉัน ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า ผู้มิได้หุงต้มด้วยไฟ. ส่วนดาบสเหล่าใดคิดว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยการหุงต้มเองของผู้บวชแล้ว จึงเข้าไปยังหมู่บ้าน รับเอาเฉพาะแต่ภิกษาหารที่หุงต้มแล้วเท่านั้น ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ไม่หุงต้มเอง.

    ดาบสเหล่าใดคิดว่า ชื่อว่าการแสวงหาภิกษาหารทุกๆ วัน สําหรับผู้บวชแล้วลําบาก จึงเอากําปั้นเหมือนหินทุบเปลือกไม้ มีต้นมะม่วงป่าเป็นต้น เคี้ยวกิน ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า ผู้มีกําปั้นเหมือนเหล็ก. ส่วนดาบสเหล่าใดคิดว่า ชื่อว่าการเที่ยวเอาหินทุบเปลือกไม้เป็นการลําบาก แล้วใช้ฟันนั่นแหละถอนขึ้นมาเคี้ยวกิน ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ใช้ฟันแทะ.

    ดาบสเหล่าใดคิดว่า ชื่อว่าการใช้ฟันแทะเคี้ยวกินสําหรับผู้ที่บวชแล้วลําบาก จึงฉันผลไม้ที่ใช้ก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นปาหล่นลงมา ดาบสเหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ฉันผลไม้เฉพาะที่หล่นลงมา. ส่วนดาบสเหล่าใดคิดว่า ชื่อว่าการใช้ก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ปาผลไม้ให้หล่นลงมาแล้วฉัน ไม่สมควรแก่ผู้บวชแล้ว จึงเคี้ยวกินดอกไม้ ผลไม้ และใบไม้แห้งเป็นต้น เฉพาะที่ตกเองแล้วเท่านั้นยังชีพ ดาบสเหล่านั้นชื่อว่า ผู้ฉันใบไม้แห้ง. ดาบสเหล่านั้นมี ๓ ชั้นด้วยอํานาจพวกชั้นอุกฤษฏ์ ชั้นปานกลาง และชั้นเพลา. ใน ๓ ชั้นนั้น ดาบสเหล่าใดไม่ลุกจากที่ที่ตนนั่ง ใช้มือเก็บเอาผลไม้ที่หล่นลงในที่ที่จะเอื้อมถึงได้เท่านั้นแล้ว เคี้ยวกิน ดาบสเหล่านั้นจัดว่า เป็นชั้นอุกฤษฏ์. ดาบสเหล่าใดไม่ยอมไปยังต้นไม้อื่นจากต้นไม้ต้น

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 575

เดียว ดาบสเหล่านั้นจัดว่าเป็นชั้นกลาง. ดาบสเหล่าใดไปเที่ยวแสวงหายังโคนต้นไม้นั้นๆ มาแล้วเคี้ยวกิน ดาบสเหล่านั้นจัดว่าเป็นชั้นเพลา

    แต่การบวชเป็นดาบสแม้ทั้ง ๘ อย่างเหล่านี้ ก็ย่อลงได้เป็น ๔ อย่างเท่านั้น. ถามว่า ย่อลงอย่างไร. ตอบว่า ความจริงบรรดาการบวชเป็นดาบสเหล่านี้ การบวชที่ยังมีลูกเมียอยู่ ๑ ที่เที่ยวขอเขาฉัน ๑ รวมเป็นผู้ใช้เรือน. ที่ไม่ใช้ไฟหุงต้ม ๑ ที่ไม่หุงต้มเอง ๑ รวมเป็นผู้ใช้เรือนไฟ.ที่ใช้กําปั้นเหมือนเหล็กทุบเปลือกไม้ฉัน ๑ ที่ใช้ฟันแทะฉัน ๑ รวมเป็นผู้บริโภค เหง้าไม้รากไม้และผลไม้ ที่ฉันผลไม้หล่นเอง ๑ ที่ฉันใบไม้เหลือง ๑ รวมเป็นผู้บริโภคผลไม้หล่นเอง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าด้วยพระดํารัสเพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงการบวชเป็นดาบสครบทุกอย่าง ด้วยประการฉะนี้.

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงว่า อาจารย์และอัมพัฏฐะยังไม่ถึงแม้ปากทางแห่งความเสื่อมแห่งการถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ จึงตรัสพระดํารัสว่า อันพัฏฐะ เธอสําคัญข้อนั้นเป็นไฉน ดังนี้เป็นต้น.คํานั้นล้วนมีเนื้อความง่ายแล้วทั้งนั้น.

    บทว่า เป็นผู้ตกไปสู่อบายด้วยตนบําเพ็ญให้สมบูรณ์ ไม่ได้ คือมีตนตกไปสู่อบาย บําเพ็ญให้สมบูรณ์ไม่ได้ ในความถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ. บทว่า ทตฺติกํ แปลว่า ของที่พระราชทาน. บทว่า ไม่พระราชทาน แม้แต่จะให้เฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ ถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่พระราชทาน. ตอบว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นรู้มนต์ ชื่อ อาวัฏฏนี (มนต์ที่ดลใจทําให้งงงวย) เฉพาะหน้า. เมื่อใดพระราชาทรงประดับประดาด้วยเครื่องอลังการอันมีค่ามาก เมื่อนั้นเขาก็จะไปยืนในที่ใกล้

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 576

พระราชา จะเรียกชื่อเครื่องอลังการนั้น. เมื่อเขาเรียกชื่อได้แล้ว พระราชาจะไม่ทรงสามารถตรัสว่า เราไม่ให้แก่พราหมณ์นั้นได้เลย ครั้นพระองค์พระราชทานแล้ว ในวันมีงานมหรสพอีก จึงตรัสว่า พวกท่านจงนําเครื่องอลังการมา เมื่อพวกอํามาตย์กราบทูล ไม่มีพระเจ้าข้า พระองค์พระราชทานแก่พราหมณ์ไปแล้ว จึงตรัสถามว่า เพราะเหตุไร เราจึงให้เขาไป. พวกอํามาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า พราหมณ์นั้นรู้กลมายาที่ทําให้งงงวยในที่ซึ่งหน้า เขาทําพระองค์ให้งงงวยด้วยกลมายานั้นแล้ว ก็ถือเอาไป. อีกพวกหนึ่ง ทนเห็นพราหมณ์นั้นเป็นพระสหายสนิทกับพระราชาไม่ได้ จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ที่ตัวของพราหมณ์นั้นมีโรคเรื้อนชื่อสังขผลิตะ พระองค์พอเห็นพราหมณ์นั้นจะกอดหรือลูบคลําธรรมดาว่าโรคเรื้อนนี้ติดกันได้ เพราะอํานาจถูกต้องเนื้อตัวกัน ขอพระองค์อย่าทรงกระทําเช่นนั้น. จําเดิมแต่นั้นมา พระราชาจึงไม่พระราชทานให้พราหมณ์นั้นเข้าเฝ้าเฉพาะพระพักตร์. แต่เพราะเหตุที่พราหมณ์นั้นเป็นบัณฑิต ฉลาดในวิชาการเกษตร ชื่อว่า การงานที่ปรึกษากับเขาแล้วจึงทํา ย่อมไม่ผิดพลาดเลย เพราะฉะนั้น พระราชาจึงทรงยืนอยู่ภายในผ้าม่านที่กั้นไว้ ปรึกษากับเขาผู้ยืนอยู่ข้างนอก. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาเหตุนั้น จึงตรัสว่า พระราชาทรงปรึกษาทางข้างนอกชายผ้าม่าน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติโรทุสฺสนฺเตน แปลว่า ทางข้างนอกชายผ้าม่าน. อีกประการหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้นี่แหละ. บทว่า ชอบธรรม คือไม่มีโทษ. บทว่า ที่เขายกให้ คือที่เขานํามาให้. บทว่า กถนฺตสฺส ราชา ความว่า พราหมณ์พึงรับภิกษาหารเช่นนี้ของพระราชาใด พระราชานั้นไม่พึงพระราชทานแม้การให้เฝ้าต่อพระพักตร์แก่พราหมณ์นั้นอย่างไร. แต่พราหมณ์นี้ถือเอาของ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 577

ที่พระราชามิได้พระราชทานด้วยมายากล เพราะเหตุนั้น พระราชาจึงไม่พระราชทานให้พราหมณ์นั้นเฝ้าต่อพระพักตร์ พึงถึงความตกลงได้ในข้อนี้ ดังกล่าวมานี้ เป็นอธิบายในบทนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศว่า ชนจักถึงความตกลงได้ว่า ก็ใครๆ คนอื่นหารู้เหตุการณ์นี้ไม่ ยกเว้นพระราชากับพราหมณ์เท่านั้น ข้อนี้นั้นเป็นความลับด้วย ทั้งปกปิดด้วย ด้วยประการฉะนี้. พระสมณโคดมผู้สัพพัญู ทรงทราบแน่นอน ดังนี้.

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเพิ่มเติมพระธรรมเทศนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อทรงถอนมานะอาศัยมนต์ของคนทั้ง ๒ นั้น เพราะเหตุที่อัมพัฏฐะนี้กับอาจารย์ของเขาเป็นคนเย่อหยิ่ง เพราะอาศัยมนต์ จึงตรัสพระดํารัสนี้ว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ เธอสําคัญข้อนั้นเป็นไฉน พระราชาในโลกนี้ เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า บนเครื่องปูลาดในรถ คือบนที่ที่เขาจัดปูลาดไว้ เพื่อเป็นที่ประทับยืนของพระราชาในรถ. บทว่า ผู้ยิ่งใหญ่ คือกับอํามาตย์ชั้นสูงๆ ขึ้นไป. บทว่า กับเชื้อพระวงศ์ คือกับพระกุมารที่ยังมิได้อภิเษก. บทว่า ข้อปรึกษาบางประการ ได้แก่ข้อปรึกษาที่ปรากฏเห็นปานฉะนี้ว่า ควรจะขุดบ่อหรือทําเหมืองในที่โน้น ควรจะสร้างบ้าน นิคม หรือนครไว้ในที่โน้น ดังนี้. บทว่า ข้อปรึกษานั้น นั่นแหละ ใจความว่า ข้อราชการใดที่พระราชาทรงปรึกษา พระองค์พึงทรงปรึกษาข้อราชการนั้นด้วยพระอาการมีการทรงยกพระเศียรขึ้น และทรงยักพระภมุกาเป็นต้น ทํานองนั้นเท่านั้น. บทว่า ที่พระราชาตรัสแล้วคือพระราชาตรัสพระราชดํารัสโดยประการใด พระราชดํารัสนั้นสามารถให้สําเร็จประโยชน์ได้โดยประการนั้น ใจความว่า แม้พระเจ้าปเสนทิโกศล

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 578

ก็ตรัสพระราชดํารัสที่สามารถให้สําเร็จประโยชน์นั้นได้.

    บทว่า ปวตฺตาโร แปลว่า เป็นผู้บอก. บทว่า เหล่าใด คือเป็นสมบัติเก่าแก่ของพราหมณ์เหล่าใด. บทว่า บทแห่งมนต์ คือมนต์ กล่าวคือเวทนั้นเอง. บทว่า ขับร้อง คือที่พราหมณ์เก่าแก่ทั้ง ๑๐ มีอัฏฐกพราหมณ์เป็นต้น สาธยายแล้วด้วยอํานาจความถึงพร้อมด้วยเสียง. บทว่า ปวุตฺตํ แปลว่า บอกแก่คนเหล่าอื่น ความว่า กล่าวสอน. บทว่า รวบรวมไว้ คือประมวลไว้ ได้แก่ทําให้เป็นกองไว้ ความว่า รวมเก็บไว้เป็นกลุ่มก้อน. บทว่า ขับตามซึ่งมนต์นั้น ความว่า พราหมณ์ในบัดนี้ ขับตามคือสาธยายตามซึ่งมนต์นั้น ที่พราหมณ์เหล่านั้นขับแล้วในกาลก่อน. บทว่า กล่าวตามซึ่งมนต์นั้น คือว่าตามซึ่งมนต์นั้น. คํานี้เป็นไวพจน์ของคําแรกนั่นเอง. บทว่า กล่าวตามซึ่งมนต์ที่พราหมณ์พวกเก่าเหล่านั้นกล่าวไว้ คือสาธยายตามซึ่งมนต์ที่พราหมณ์พวกเก่าเหล่านั้นกล่าวไว้ คือสาธยายแล้ว. บทว่า กล่าวสอนตามซึ่งมนต์ที่พวกพราหมณ์เก่ากล่าวสอนไว้แล้ว คือกล่าวสอนตามซึ่งมนต์ ที่พราหมณ์เหล่านั้นกล่าวสอนแล้วแก่คนอื่น.บทว่า อย่างไรนี่ ความว่า พราหมณ์เหล่านั้นมีใครบ้าง คําว่า อัฏฐกะเป็นต้น เป็นชื่อของพราหมณ์เหล่านั้น.

    ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่านั้นมองดูด้วยทิพยจักษุ ไม่กระทําการทําร้ายผู้อื่น แต่งมนต์เทียบเคียงกับคําสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปสัมมาสัมพุทธะ. แต่พวกพราหมณ์นอกนี้ใส่ปาณาติบาตเป็นต้น ลงไปทําลายเวททั้ง ๓ ได้กระทําให้ผิดเพี้ยนกับพระพุทธวจนะ

    บทว่า นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ คือท่านพึงเป็นฤาษีด้วยเหตุใด เหตุนั้นไม่มี. ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อัมพัฏฐะนี้แม้อัน

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 579

เราถามอยู่ รู้ว่าตนถูกทับถม จักไม่ให้คําตอบ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ทรงรับเอาคําปฏิญญา ปฏิเสธความเป็นฤาษีนั้น.

    บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงความที่อัมพัฏฐะพร้อมทั้งอาจารย์เป็นผู้ห่างไกลจากข้อปฏิบัติของพราหมณ์เหล่านั้น จึงตรัสว่า ดูก่อน อัมพัฏฐะ เธอสําคัญข้อนั้นเป็นไฉน ดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุว่า พราหมณ์รุ่นเก่า ๑๐ คนเหล่านั้น ไม่มีกลิ่นของสดคาว ไม่มีกลิ่นผู้หญิง เต็มไปด้วยฝุ่นละอองและขี้ไคล มีปรกติประพฤติพรหมจรรย์ มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามเชิงเขาในราวป่า เมื่อใดปรารถนาจะไป ณ ที่ใด เมื่อนั้นก็เหาะไปได้ทางอากาศทีเดียวด้วยฤทธิ์ พวกเขาไม่มีกิจที่จะต้องใช้ยวดยาน การเจริญพรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้นนั่นแหละเป็นเครื่องคุ้มครองของพวกเขาในทุกสารทิศ พวกเขาไม่ต้องการความคุ้มกัน คือกําแพงและคน และข้อปฏิบัติของพวกพราหมณ์เหล่านั้น อัมพัฏะนี้ ก็เคยได้ยินมา.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มีกากสีดําอันเลือกทิ้งไป คือ มีกากสีดําอันเลือกแล้ว นําออกทิ้งไป. บทว่า มีสีข้างอันอ่อนโน้มลงด้วยผ้าโพก คือ มีซี่โครง (เรือนร่าง) อันอ่อนช้อยด้วยผ้าโพกมีแผ่นผ้าและช้องผมผ้าเป็นต้น. บทว่า มีหางอันตัดแต่งแล้ว คือ มีหางอันตัดแล้ว ในที่ควรตัดแต่ง เพื่อทําให้ดูสวยงาม. อนึ่ง ในคํานี้ แม้รถทั้งหลายท่านก็เรียกว่า รถติดหางลาที่ตัดแล้ว เพราะเหตุที่รถทั้งหลายตัดหางลานั่นเองเทียมด้วยลา. บทว่า มีคูล้อมรอบ คือ ขุดคูไว้รอบ. บทว่า มีลิ่มอันลงไว้ คือ มีลิ่มอันสลักไว้. การกระทําการโบกปูนไว้เบื้องล่างของกําแพงเมืองโดยรอบ เพื่อป้องกันมิให้พวกศัตรูปีนป่ายขึ้นมาได้ ท่านเรียกว่า กําแพง

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 580

ในคําว่า กําแพงเมือง แต่เมืองทั้งหลายที่ประกอบด้วยกําแพงเหล่านี้ ท่านประสงค์เอาว่าเป็นกําแพงเมืองในที่นี้. บทว่า ให้รักษา คือพวกเขาแม้จะอยู่ในเมืองเช่นนั้นก็ยังให้คนรักษาตน.

    บทว่า ความกังขา คือความสงสัยอย่างนี้ว่า เป็นพระสัพพัญูหรือมิใช่พระสัพพัญู. คําว่า วิมติ ก็เป็นไวพจน์ของคํานั้นนั่นเอง. ความคิดเห็นที่ผิดแปลกไป. อธิบายว่า ไม่สามารถที่จะวินิจฉัยได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดํารัสนี้ว่า ความปรากฏขึ้นแห่งมรรค ไม่มีแก่อัมพัฏฐะโดยอัตภาพนี้ วันก็จะล่วงไปเปล่าอย่างเดียว ก็อัมพัฏฐะนี้แลมาเพื่อแสวงหาลักษณะ แม้กิจนั้นก็ยังระลึกไม่ได้ เอาเถอะ เพื่อจะให้เกิดสติเราจะให้นัยแก่เขา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ เสด็จไปภายนอก เพราะเหตุว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายประทับนั่งอยู่ก็ดี บรรทมอยู่ก็ดี ใครๆ มิสามารถที่จะแสวงหาลักษณะได้ แต่เมื่อพระองค์ประทับยืนก็ดี เสด็จจงกรมอยู่ก็ดี เขาสามารถ ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทรงทราบว่า เขามาเพื่อแสวงหาดูลักษณะแล้วเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะทรงอธิฐานจงกรม ข้อนี้เป็นอาจิณปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นต้น.

    บทว่า พิจารณาดู คือเสาะดู ได้แก่พิจารณานับอยู่ว่า ๑ - ๒.บทว่า โดยมาก คือโดยส่วนมาก. อธิบายว่า ได้เห็นแล้วเป็นส่วนมาก ส่วนน้อยมิได้เห็น. ต่อจากนั้น เพื่อที่จะแสดงมหาบุรุษลักษณะที่เขามิได้เห็น ท่านจึงกล่าวว่า เว้น ๒ อย่างเท่านั้น. บทว่า ยังเคลือบแคลง คือให้เกิดความปรารถนาขึ้นมาว่า โอหนอ เราพึงเห็น ดังนี้. บทว่า ยังสงสัย

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 581

คือค้นดูมหาบุรุษลักษณะเหล่านั้น จากที่นั้นๆ ได้ลําบาก ได้แก่ไม่สามารถจะมองเห็นได้. บทว่า ยังไม่เชื่อ คือ ถึงการลงควานเห็นไม่ได้ เพราะความสงสัยนั้น. บทว่า ไม่เลื่อมใส คือถึงความเลื่อมใสไม่ได้ในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงมีพระลักษณะบริบูรณ์ เพราะเหตุนั้น. ความสงสัย ท่านกล่าวว่า มีกําลังอ่อนกว่าความเคลือบแคลงความลังเลใจ มีกําลังปานกลาง ความไม่ยอมเชื่อ มีกําลังมาก เพราะไม่เลื่อมใส จิตก็จะเศร้าหมองด้วยธรรมทั้ง ๓ เหล่านั้น. บทว่า เก็บไว้ในฝัก คือปกปิดไว้ด้วยฝักลําไส้. บทว่า ปิดบังไว้ด้วยผ้า คือองคชาต. ก็พระองคชาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เหมือนกับของช้างตัวประเสริฐ ปกปิดไว้ในฝัก ปิดบังไว้ด้วยผ้า เช่นเดียวกันห้องดอกบัวหลวงทองคํา. อัมพัฏฐะมองไม่เห็นพระองคชาตนั้น เพราะผ้าปกปิดไว้ และสังเกตเห็นไม่ได้ซึ่งพระชิวหาอันกว้างใหญ่ เพราะอยู่ภายในพระโอฐ จึงมีความเคลือบแคลง และลังเลใจ ในพระลักษณะทั้ง ๒ นั้น.

    บทว่า เห็นปานนั้น คือรูปที่แน่นอน ในข้อนี้คนอื่นจะพึงกล่าวอย่างไร. ข้อนี้พระนาคเสนเถระถูกพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทําสิ่งที่ทําได้ยากหรือ ดังนี้ ได้กล่าวไว้แล้ว. พระนาคเสนเถระกราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ทรงทําอะไรหรือ. พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโอกาสที่มหาชนเขาถือว่าเป็นความอายแก่อันเตวาสิกของพรหมายุพราหมณ์ แก่พราหมณ์ ๑๖ คนผู้เป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์อุตตระ. และของพราหมณ์พาวรี และแก่มาณพ ๓๐๐ คนผู้เป็นอันเตวาสิกของเสลพราหมณ์.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 582

    พระนาคเสนกราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงพระคุยหะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระฉายา ทรงบันดาลด้วยพระฤทธิ์ แสดงเพียงพระรูปเป็นเงาๆ ยังทรงนุ่งผ้าสบงอยู่ ยังทรงคาดรัดประคดอยู่ และยังทรงห่มผ้าจีวรอยู่ มหาบพิตร.

    พระเจ้ามิลินท์ เมื่อเห็นพระฉายาแล้ว ก็เป็นอันเห็นพระคุยหะด้วยใช่ไหม ขอรับ.

    พระนาคเสน ข้อนั้นยกไว้เถิด สัตว์ผู้เห็นหทัยรูปแล้วรู้ได้พึงมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็พึงนําพระหทัยมังสะออกมาแสดง พระเจ้ามิลินท์ ท่านนาคเสน ขอรับ ท่านพูดถูกต้องแล้ว

    บทว่า ทรงแลบ คือ ทรงนําออกมา. บทว่า ทรงสอดกลับไป คือทรงกวาดกลับไปกระทําให้เหมือนกับเข็มเย็บผ้ากฐิน. พึงทราบอธิบายว่าก็ในที่นี้ ท่านแสดงให้เห็นถึงความอ่อนนุ่ม ด้วยการทรงกระทําเช่นนั้น แสดงให้เห็นถึงความยาว ด้วยการสอดเข้าไปในช่องพระกรรณ แสดงให้เห็นถึงความหนาด้วยการปกปิดพระนลาต.

    บทว่า คอยต้อนรับอยู่ คือรออยู่ ใจความว่า หวังการมาของเขา คอยมองดูอยู่. บทว่า การสนทนาปราศรัย คือการพูดและการเจรจากัน ใจความว่า การกล่าวและการกล่าวตอบ.

    บทว่า อโห วต นี้เป็นคําติเตียน. คําว่า เร นี้ เป็นคําร้องเรียกด้วยอํานาจเย้ยหยัน. พราหมณ์โปกขรสาติเกลียดอัมพัฏฐะนั่นแหละ จึงได้กล่าวว่า เจ้าบัณฑิต แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้.พราหมณ์โปกขรสาติหมายเอาเนื้อความนี้ว่า คนพึงไปสู่นรกได้ เพราะเมื่อมีผู้ประพฤติประโยชน์คือ ผู้กระทําประโยชน์อยู่ เป็นเช่นเดียวกับท่าน

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 583

ไม่พึงไปได้เพราะเหตุอื่น ดังนี้ จึงได้กล่าวบทนี้ว่า ผู้เจริญ ได้ยินว่าคนพึงไปสู่นรกได้เพราะคนผู้ประพฤติประโยชน์เห็นปานนั้น. บทว่า เสียดสี คือพูดกระทบกระเทียบ. บทว่า นําแม้พวกเราเข้าไปเปรียบเทียบอย่างนี้ๆ ความว่า พระโคดมตรัสว่า ดูก่อนอัมพัฏะ พราหมณ์โปกขรสาติ ดังนี้เป็นต้น ทรงนําพวกเราเข้าไปเปรียบเทียบอย่างนี้ๆ ทรงเปิดเผยเหตุอันปกปิดออกแล้ว ยกเอาความเป็นศูทรและทาสเป็นต้นขึ้นมาตรัส.อธิบายว่า พวกเราก็ถูกท่านให้ด่าด้วย. บทว่า ปัดด้วยเท้า คือเอาเท้าปัดให้อัมพัฏะล้มลงไปแล้ว. ก็ในกาลก่อน อัมพัฏะขึ้นรถไปกับอาจารย์ เป็นสารถีขับไปสู่ที่ใด อาจารย์แย่งเอาที่นั้นของเขาไปเสีย ได้ให้เขาเดินไปด้วยเท้าข้างหน้ารถ. บทว่า ล่วงเลยเวลาวิกาลแล้ว คือเป็นเวลาวิกาลมากแล้ว ได้แก่ไม่มีเวลาที่จะกล่าวสัมโมทนียกถากันแล้ว.

    บทว่า อาคมา นุขฺวิธ โภ แปลว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัมพัฏะได้มา ณ ที่นี้หรือไม่หนอ. บทว่า อธิวาเสตุ แปลว่า จงทรงรับ. บทว่า สําหรับวันนี้ ใจความว่า เมื่อข้าพระองค์กระทําสักการะในพระองค์ สิ่งใดจักมีในวันนี้ คือบุญด้วย ปีติและปราโมทย์ด้วย เพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น.บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วโดยดุษณีภาพ ใจความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงให้ส่วนพระวรกายหรือส่วนพระวาจาให้เคลื่อนไหว ทรงดํารงพระขันติไว้ภายในนั่นแหละ ทรงรับนิมนต์แล้วโดยดุษณีภาพ คือทรงรับด้วยพระทัยเพื่อจะทรงอนุเคราะห์พราหมณ์.

    บทว่า ประณีต คือสูงสุด. บทว่า สหตฺถา แปลว่าด้วยมือตนเอง.บทว่า ให้อิ่มหนําแล้ว คือให้อิ่มเต็มที่ ได้แก่กระทําให้บริบูรณ์คือเต็มเปียม ได้แก่เต็มอิ่ม. บทว่า สมฺปวาเรตฺวา แปลว่า ให้เพียงพอแล้ว

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 584

คือ ให้ห้ามด้วยสัญญามือว่า พอแล้ว พอแล้ว. บทว่า ภุตฺตาวึ ผู้ทรงเสวยเสร็จแล้ว. บทว่า โอนีตปตฺตปาณึ แปลว่า มีพระหัตถ์ยกออกแล้วจากบาตร. อธิบายว่า มีพระหัตถ์ชักออกแล้ว. บาลีว่า โอนิตฺตปาณึ ก็มี.คํานี้อธิบายว่า ทรงวางบาตรที่ทรงชักพระหัตถ์ออกแล้ว คือเว้นอาหารต่างๆ จากฝ่าพระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า โอนิตฺตปตฺตปาณี.

    อธิบายว่า ผู้ทรงล้างพระหัตถ์และบาตรแล้ว ทรงวางบาตรไว้ ณ ที่ข้างหนึ่ง ประทับนั่งแล้ว. บทว่า นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ใจความว่า ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสวยเสร็จแล้วเช่นนั้น จึงนั่งในที่ว่างข้างหนึ่ง.

    บทว่า อนุปุพฺพิกถํ แปลว่า ถ้อยคําที่ควรกล่าวตามลําดับ. ที่ชื่อว่า อนุปุพพิกถา ได้แก่ถ้อยคําที่แสดงเนื้อความเหล่านี้ คือศีลในลําดับต่อจากทาน สวรรค์ในลําดับต่อจากศีล มรรคในลําดับต่อจากสวรรค์. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า คือ ทานกถา เป็นต้น. บทว่า ต่ําทราม คือเลวทราม ได้แก่ เป็นของลามก. บทว่า สามุกฺกํสิกา แปลว่า ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงเอง ความว่า ที่พระองค์ทรงยกขึ้นถือเอาด้วยพระองค์เอง คือที่พระองค์ทรงเล็งเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ อธิบายว่า เป็นของไม่ทั่วไปแก่ชนเหล่าอื่น. ถามว่า ก็พระธรรมเทศนานั้น คืออะไร. ตอบว่าคือเทศนาว่าด้วยอริยสัจ. เพราะฉะนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ในบทว่า ธรรมจักษุนี้ ท่านมุ่งหมายเอาโสดาปัตติมรรค. เพื่อที่จะแสดงถึงอาการของการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งสิ้นมีความดับไปเป็นธรรมดา. ก็ธรรมจักษุนั้นกระทํานิโรธให้เป็นอารมณ์ เกิดขึ้น

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 585

แทงตลอดซึ่งสังขตธรรมทั้งปวงอย่างนี้ด้วยอํานาจแห่งกิจ.

    อริยสัจธรรมอันบุคคลนั้นเห็นแล้ว เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ความสงสัยอันบุคคลนี้ข้ามได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ผู้มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว. ความไม่แน่ใจของบุคคลนั้นปราศจากไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ผู้มีความไม่แน่ใจปราศไปแล้ว. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต แปลว่า ถึงความเป็นผู้กล้าหาญแล้ว. ถามว่า ในไหน. ตอบว่า ในคําสอนของพระศาสดา. บุคคลอื่นเป็นปัจจัย ไม่มีแก่ผู้นี้ คือความเชื่อต่อผู้อื่นไม่เป็นไปในบุคคลนี้ เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ไม่มีบุคคลอื่นเป็นปัจจัย. คําที่เหลือในที่ทั้งปวง ปรากฏชัดแล้ว เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น และเพราะมีเนื้อความ เข้าใจง่าย

    อรรถกถาอัมพัฏฐสูตร ในอรรถกถาทีฆนิกาย

    ชื่อสุมังคลวิลาสินี จบลงแล้วด้วยประการฉะนี้

    อัมพัฏฐสูตรที่ ๓ จบ