พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สังคีติสูตร เรื่อง การสังคายนาหลักธรรม

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 157

๑๐. สังคีติสูตร

เรื่อง การสังคายนาหลักธรรม

[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงนครของพวกมัลลกษัตริย์อันมีนามว่า ปาวา ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร ใกล้นครปาวานั้น.

[๒๒๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่า อุพภตกะ ของพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สร้างสําเร็จแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์ หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์ยังไม่ทันเข้าอยู่อาศัย. พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากําลังเสด็จจาริกในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงนครปาวาโดยลําดับ ประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร ใกล้นครปาวา. ครั้งนั้นแล พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวานั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงหลังใหม่อันมีนามว่า อุพภตกะ ของพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สร้างสําเร็จแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์ หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์ยังไม่ทันจะเข้าอยู่อาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จใช้สอย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 158

ท้องพระโรงนั้นก่อนเถิด ภายหลังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาจึงจักใช้สอย ท้องพระโรงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้สอยก่อนแล้ว การเสด็จใช้สอยก่อนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สิ้นกาลนาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพแล้วแล ลําดับนั้น พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้ทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณ แล้วพาไปยังท้องพระโรง ครั้นแล้วจึงปูลาดท้องพระโรงให้พร้อมสรรพ แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงอันพวกข้าพระองค์ปูลาด พร้อมสรรพแล้ว อาสนะก็แต่งตั้งแล้ว หม้อน้ำก็ให้ตั้งไว้แล้ว ประทีปน้ำมันก็ตามไว้แล้ว พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบกาลอันสมควรในบัดนี้เถิด.

    [๒๒๓] ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก แล้วทรงถือบาตรจีวรเสด็จไปยังท้องพระโรงพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปยังท้องพระโรงประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้ว เข้าไปยังท้องพระโรงนั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทางทิศบูรพา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังท้องพระโรง นั่งพิงฝาทางด้านบูรพา ผินหน้าไปทางทิศปัจฉิมแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ให้เห็นแจ้ง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 159

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา ตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไปด้วยพระดํารัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะทั้งหลาย ราตรีล่วงมากแล้ว บัดนี้ พวกท่านจงสําคัญกาลอันสมควรเถิด. พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้พร้อมกันรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วพากันลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทําประทักษิณแล้วหลีกไป.

    [๒๒๔] ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาหลีกไปแล้วไม่นาน ทรงเหลียวดูหมู่พระภิกษุผู้นั่งนิ่งแล้ว ทรงสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะและมิทธะ สารีบุตรจงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยแล้ว ฉะนั้น เราพึงพักผ่อน. ท่านพระสารีบุตรได้รับสนองพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น แล้วทรงสําเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงกระทําในพระทัยถึงสัญญาในอันที่จะเสด็จลุกขึ้น.

    [๒๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล นิครนถ์นาฏบุตรทํากาละแล้วไม่นานที่นครปาวา. เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น เสียดแทงกันและกัน ด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคําของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ถ้อยคําของท่านไม่เป็น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 160

ประโยชน์ คําที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คําที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านช่ําชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้น จงแก้ไขเสีย ถ้าท่านสามารถดังนี้ เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นไปในพวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร. แม้พวกสาวกของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็มีอาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ทั้งนี้ เพราะธรรมวินัยอันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรม ที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พํานักอันทําลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่เป็นที่พึ่งอาศัย. ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลาย เล่าว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย นิครนถ์นาฏบุตร ทํากาละแล้วไม่นานที่นครปาวา เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก ฯลฯ เป็นธรรมวินัยมีที่พํานักอันทําลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งอาศัย ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นเช่นนั้น ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ส่วนธรรมนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ ระงับ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 161

พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมอะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเครื่องนําออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ว่าด้วยสังคีติหมวด ๑

[๒๒๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๑ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๑ เป็นไฉน. คือ

สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺิติกา

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดํารงอยู่ด้วยอาหาร

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 162

สพฺเพ สตฺตา สงฺขารฏฺิติกา

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดํารงอยู่ด้วยสังขาร.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

จบสังคีติหมวด ๑

ว่าด้วยสังคีติหมวด ๒

[๒๒๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๒ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๒ เป็นไฉน. คือ นาม และ รูป ๑. อวิชชา และ ภวตัณหา ๑. ภวทิฏฐิ และ วิภวทิฏฐิ ๑. อหิริกะ ความไม่ละอาย และ อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัว ๑. หิริ ความละอาย และ โอตตัปปะ ความเกรงกลัว ๑. โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก และ ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย และ กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑. อาปัตติกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ และ อาปัตติวุฏฐานกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจาก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 163

อาบัติ ๑. สมาปัตติกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ และ สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ๑. ธาตุกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ และ มนสิการกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ๑. อายตนกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ และ ปฎิจจสมุปปาทกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ๑. ฐานกุสลตาความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ และ อัฏฐานกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ ๑. อาชชวะ ความซื่อตรง และ มัททวะ ความอ่อนน้อม ๑. ขันติ ความ อดทน และโสรัจจะ ความเสงี่ยม ๑. สาขัลยะ การกล่าววาจาอ่อนหวาน และ ปฏิสันถาร การต้อนรับ ๑. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน และ โสเจยยะ ความสะอาด ๑. มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม และ อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่รู้ตัว ๑. สติ ความระลึกได้และ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ๑. อินทริเยสุ อคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย และ โภชเนอมัตตัญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑. อินทริเยสุ คุตตทวารตา ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย และ โภชเนมัตตัญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑. ปฏิสังขานพล กําลังการพิจารณา และ ภาวนาพล กําลังการอบรม ๑. สติพล กําลังคือสติ และ สมาธิพล กําลังคือสมาธิ ๑. สมถะ และ วิปัสสนา ๑. สมถนิมิต นิมิตที่เกิดเพราะสมถะและปัคคหนิมิต นิมิตที่เกิดเพราะความเพียร ๑. ปัคคหะ ความเพียร และ อวิกเขปะ ความไม่ฟุ้งซ่าน ๑. สีลวิบัติ ความวิบัติแห่งศีล และ ทิฏฐิวิบัติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ ๑. สีลสัมปทา ความถึงพร้อมแห่งศีล และ ทิฏฐิสัมปทา ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีลและ ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ๑. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ และ ทิฏฐิปธาน ความเพียร

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 164

ของผู้มีทิฏฐิ ๑. สํ เวโค จ สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ ความสลดใจในสถานที่ควรสลด และ สํวิคฺคสฺส จ โยนิโส ปธานํ ความเพียรโดยแยบคายของผู้สลดใจ ๑. อสนฺตุฏฺิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย และอปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร ๑. วิชชา และวิมุตฺติ๑. ขยญาณ ความรู้ในความสิ้นไป และ อนุปฺปาทญาณ ความรู้ในความไม่เกิด ๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๒ นี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.

จบสังคีติหมวด ๒

ว่าด้วยสังคีติหมวด ๓

[๒๒๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนาในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๓ เป็น ไฉน. คือ

อกุศลมูล ๓

๑. โลภะ ความโลภ

๒. โทสะ ความโกรธ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 165

๓. โมหะ ความหลง.

กุศลมูล ๓

๑. อโลภะ ความไม่โลภ

๒. อโทสะ ความไม่โกรธ

๓. อโมหะ ความไม่หลง.

ทุจริต ๓

๑. กายทุจริต ความประพฤติชั่วทางกาย

๒. วจีทุจริต ความประพฤติชั่วทางวาจา

๓. มโนทุจริต ความประพฤติชั่วทางใจ.

สุจริต ๓

๑. กายสุจริต ความประพฤติชอบทางกาย

๒. วจีสุจริต ความประพฤติชอบทางวาจา

๓. มโนสุจริต ความประพฤติชอบทางใจ.

อกุศลวิตก ๓

๑. กามวิตก ความตริในกาม

๒. พยาบาทวิตก ความตริในพยาบาท

๓. วิหิงสาวิตก ความตริในการเบียดเบียน

กุศลวิตก ๓

๑. เนกขัมมวิตก ความตริในทางออกจากกาม

๒. อัพยาบาทวิตก ความตริในทางไม่พยาบาท

๓. อวิหิงสาวิตก ความตริในทางไม่เบียดเบียน.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 166

อกุศลสังกัปปะ ๓

๑. กามสังกัปปะ ความดําริในกาม

๒. พยาบาทสังกัปปะ ความดําริในพยาบาท

๓. วิหิงสาสังกัปปะ ความดําริในการเบียดเบียน.

กุศลสังกัปปะ ๓

๑. เนกขัมมสังกัปปะ ความดําริในทางออกจากกาม

๒. อัพยาบาทสังกัปปะ ความดําริในทางไม่พยาบาท

๓. อวิหิงสาสังกัปปะ ความดําริในทางไม่เบียนเบียน.

อกุศลสัญญา ๓

๑. กามสัญญา ความจําได้ในทางกาม

๒. พยาบาทสัญญา ความจําได้ในทางพยาบาท

๓. วิหิงสาสัญญา ความจําได้ในทางเบียดเบียน.

กุศลสัญญา ๓

๑. เนกขัมมสัญญา ความจําได้ในทางออกกาม

๒. อัพยาบาทสัญญา ความจําได้ในทางไม่พยาบาท

๓. อวิหิงสาสัญญา ความจําได้ในทางไม่เบียดเบียน.

อกุศลธาตุ ๓

๑. กามธาตุ ธาตุคือกาม

๒. พยาบาทธาตุ ธาตุคือความพยาบาท

๓. วิหิงสาธาตุ ธาตุคือความเบียดเบียน.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 167

กุศลธาตุ ๓

๑. เนกขัมมธาตุ ธาตุคือความออกจากกาม

๒. อัพยาบาทธาตุ ธาตุคือความไม่พยาบาท

๓. อวิหิงสาธาตุ ธาตุคือความไม่เบียดเบียน.

ธาตุอีก ๓

๑. กามธาตุ ธาตุคือกาม

๒. รูปธาตุ ธาตุคือรูป

๓. อรูปธาตุ ธาตุคืออรูป.

ธาตุอีก ๓

๑. รูปธาตุ ธาตุคือรูป

๒. อรูปธาตุ ธาตุคืออรูป

๓. นิโรธธาตุ ธาตุคือความดับทุกข์.

ธาตุอีก ๓

๑. หีนธาตุ ธาตุอย่างเลว

๒. มัชฌิมธาตุ ธาตุอย่างกลาง

๓. ปณีตธาตุ ธาตุอย่างประณีต.

ตัณหา ๓

๑. กามตัณหา ตัณหาในกาม

๒. ภวตัณหา ตัณหาในภพ

๓. วิภวตัณหา ตัณหาในวิภพ.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 168

ตัณหาอีก ๓

๑. กามตัณหา ตัณหาในกาม

๒. รูปตัณหา ตัณหาในรูป

๓. อรูปตัณหา ตัณหาในอรูป.

ตัณหาอีก ๓

๑. รูปตัณหา ตัณหาในรูป

๒. อรูปตัณหา ตัณหาในอรูป

๓. นิโรธตัณหา ตัณหาในความดับ.

สังโยชน์ ๓

๑. สักกายทิฏฺฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน

๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

๓. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือด้วยอํานาจศีลพรต.

อาสวะ ๓

๑. กามาสวะ อาสวะเป็นเหตุอยากได้

๒. ภวาสวะ อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น

๓. อวิชชาสวะ อาสวะคือความไม่รู้

ภพ ๓

๑. กามภพ ภพที่เป็นกามาวจร

๒. รูปภพ ภพที่เป็นรูปาวจร

๓. อรูปภพ ภพที่เป็นอรูปาวจร.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 169

เอสนา ๓

๑. กาเมสนา การแสวงหากาม

๒. ภเวสนา การแสวงหาภพ

๓. พรหมจริเยสนา การแสวงหาพรหมจรรย์.

วิธามานะ ๓

๑. เสยฺโยหมสฺมีติ วิธา ถือว่าเราดีกว่าเขา

๒. สทิโสหมสฺมีติ วิธา ถือว่าเราเสมอเขา

๓. หีโนหมสฺมีติ วิธา ถือว่าเราเลวกว่าเขา.

อัทธา ๓

๑. อตีตอัทธา อดีตกาล

๒. อนาคตอัทธา อนาคตกาล

๓. ปัจจุบันนอัทธา ปัจจุบันกาล.

อันตะ ๓

๑. สักกายอันตะ ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน

๒. สักกายสมุทยอันตะ ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน

๓. สักกายนิโรธอันตะ ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน.

เวทนา ๓

๑. สุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข

๒. ทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์

๓. อทุกขมสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 170

ทุกขตา ๓

๑. ทุกขทุกขตา ความเป็นทุกข์เพราะทนได้ยาก

๒. สังขารทุกขตา ความเป็นทุกข์เพราะการปรุงแต่ง

๓. วิปริณามทุกขตา ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน.

ราสี ๓

๑. มิจฉัตตนิยตราสี กองคือความผิดที่แน่นอน

๒. สัมมัตตนิยตราสี กองคือความถูกที่แน่นอน

๓. อนิยตราสี กองคือความไม่แน่นอน.

กังขา ๓

๑. ปรารภอดีตกาลแล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปักใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส

๒. ปรารภอนาคตกาลแล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปักใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส

๓. ปรารภปัจจุบันกาลแล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปักใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส.

ข้อที่ไม่ต้องรักษาพระตถาคต ๓ อย่าง

๑. พระตถาคตมีกายสมาจาร บริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความประพฤติชั่วทางกายที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางกายของเรานี้

๒. พระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ ประพฤติชั่วทางวาจาที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึงความชั่วทางวาจาของเรานี้

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 171

๓. พระตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความประพฤติชั่วทางใจ ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางใจของเรานี้.

กิญจนะ ๓

๑. ราคกิญจนะ เครื่องกังวล คือราคะ

๒. โทสกิญจนะ เครื่องกังวล คือโทสะ

๓. โมหกิญจนะ เครื่องกังวล คือโมหะ.

อัคคี ๓

๑. ราคัคคิ ไฟคือราคะ

๒. โทสัคคิ ไฟคือโทสะ

๓. โมหัคคิ ไฟคือโมหะ.

อัคคีอีก ๓

๑. อาหุเนยยัคคิ ไฟคืออาหุเนยยบุคคล

๒. ทักขิเณยยัคคิ ไฟคือทักขิเณยยบุคคล

๓. คหปตัคคิ ไฟคือคฤหบดี.

รูปสังคหะ ๓

๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป รูปที่เห็นได้และกระทบได้

๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป รูปที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้

๓. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป รูปที่เห็นไม่ได้ ทั้งกระทบไม่ได้.

สังขาร ๓

๑. ปัญญาภิสังขาร อภิสังขาร คือ บุญ

๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขาร คือ บาป

๓. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขาร คือ อเนญชา.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 172

บุคคล ๓

๑. เสกขบุคคล บุคคลผู้ยังต้องศึกษา

๒. อเสกขบุคคล บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา

๓. เนวเสกขานาเสกขบุคคล บุคคลผู้ยังต้องศึกษา ก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่.

เถระ ๓

๑. ชาติเถระ พระเถระโดยชาติ

๒. ธรรมเถระ พระเถระโดยธรรม

๓. สมมติเถระ พระเถระโดยสมมติ.

บุญกิริยาวัตถุ ๓

๑. ทานมัย บุญสําเร็จด้วยการบริจาคทาน

๒. สีลมัย บุญสําเร็จด้วยการรักษาศีล

๓. ภาวนามัย บุญสําเร็จด้วยการเจริญภาวนา.

โจทนาวัตถุ ๓

๑. ทิฏเฐน โจทน์ด้วยได้เห็น

๒. สุเตน โจทน์ด้วยได้ยินได้ฟัง

๓. ปริสงฺกาย โจทน์ด้วยความรังเกียจ.

กามอุบัติ ๓

๑. สัตว์ประเภทที่มีการปรากฏมีอยู่ สัตว์เหล่านั้นย่อมยังอํานาจให้เป็นไปในกามทั้งหลายที่ปรากฏแล้ว เช่นมนุษย์ เทพบางจําพวก และ วินิบาตบางจําพวก

๒. สัตว์ประเภทที่นิรมิตกามได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นนิรมิตแล้วๆ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 173

ย่อมยังอํานาจให้เป็นไปในกามทั้งหลาย เช่นเทพเหล่านิมมานรดี

๓. สัตว์ประเภทที่ผู้อื่นนิรมิตกามให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นย่อมยังอํานาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้แล้ว เช่นเทพเหล่าปรนิมมิตวสวดี.

สุขอุบัติ ๓

๑. สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุขมีอยู่ เช่นพวกเทพเหล่าพรหมกายิกา

๒. สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่านั้น บางคราวเปล่งอุทานในที่ไหนๆ ว่า สุขหนอๆ ดังนี้ เช่นเทพเหล่าอาภัสสรา

๓. สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่านั้นสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น เทพเหล่าสุภกิณหา.

ปัญญา ๓

๑. เสกขปัญญา ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ

๒. อเสกขปัญญา ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ

๓. เนวเสกขานาเสกขปัญญา ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ ของพระอเสขะก็ไม่ใช่.

ปัญญาอีก ๓

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาสําเร็จด้วยการคิด

๒. สุตมยปัญญา ปัญญาสําเร็จด้วยการฟัง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 174

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาสําเร็จด้วยการอบรม.

อาวุธ ๓

๑. สุตาวุธ อาวุธ คือการฟัง

๒. ปวิเวกาวุธ อาวุธ คือความสงัด

๓. ปัญญาวุธ อาวุธ คือปัญญา.

อินทรีย์ ๓

๑. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติ ด้วยคิดว่า เราจักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้

๒. อัญญินทรีย์ อินทรีย์ คือความรู้

๓. อัญญาตาวินทรีย์ อินทรีย์ในธรรมที่รู้แล้ว.

จักษุ ๓

๑. มังสจักขุ ตาเนื้อ

๒. ทิพยจักขุ ตาทิพย์

๓. ปัญญาจักขุ ตาคือปัญญา.

สิกขา ๓

๑. อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลยิ่ง

๒. อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตยิ่ง

๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญายิ่ง.

ภาวนา ๓

๑. กายภาวนา การอบรมกาย

๒. จิตตภาวนา การอบรมจิต

๓. ปัญญาภาวนา การอบรมปัญญา.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 175

อนุตตริยะ ๓

๑. ทัสสนานุตตริยะ ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม

๒. ปฏิปทานุตตริยะ ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม

๓. วิมุตตานุตตริยะ ความพ้นอย่างยอดเยี่ยม.

สมาธิ ๓

๑. สวิตักกวิจารสมาธิ สมาธิที่ยังมีวิตกวิจาร

๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร

๓. อวิตักกวิจารสมาธิ สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร.

สมาธิอีก ๓

๑. สุญญตสมาธิ สมาธิที่ว่างเปล่า

๒. อนิมิตตสมาธิ สมาธิที่หานิมิตมิได้

๓. อัปปณิหิตสมาธิ สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้.

โสเจยยะ ๓

๑. กายโสเจยยะ ความสะอาดทางกาย

๒. วจีโสเจยยะ ความสะอาดทางวาจา

๓. มโนโสเจยยะ ความสะอาดทางใจ.

โมเนยยะ ๓

๑. กายโมเนยยะ ธรรมที่ทําให้เป็นมุนีทางกาย

๒. วจีโมเนยยะ ธรรมที่ทําให้เป็นมุนีทางวาจา

๓. มโนโมเนยยะ ธรรมที่ทําให้เป็นมุนีทางใจ.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 176

โกสัลละ ๓

๑. อายโกสัลละ ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ

๒. อปายโกสัลละ ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม

๓. อุปายโกสัลละ ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ และความเสื่อม.

มทะ ๓

๑. อาโรคยมทะ ความเมาในความไม่มีโรค

๒. โยพพนมทะ ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว

๓. ชาติมทะ ความเมาในชาติ.

อธิปไตย ๓

๑. อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่

๒. โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่

๓. ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่.

กถาวัตถุ ๓

๑. ปรารภกาลส่วนอดีต กล่าวถ้อยคําว่า กาลที่ล่วงไปแล้วได้มีแล้วอย่างนี้

๒. ปรารภกาลส่วนอนาคต กล่าวถ้อยคําว่า กาลที่ยังไม่มาถึง จักมีอย่างนี้

๓. ปรารภกาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้ กล่าวถ้อยคําว่า กาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้.

วิชชา ๓

๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้จักระลึกชาติในก่อนได้

๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จักกําหนดจุติและอุบัติ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 177

ของสัตว์ทั้งหลาย

๓. อาสวักขยญาณ ความรู้จักทําอาสวะให้สิ้นไป.

วิหารธรรม ๓

๑. ทิพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทวดา

๒. พรหมวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม

๓. อริยวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ.

ปาฏิหาริยะ ๓

๑. อิทธิปาฏิหาริยะ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์

๒. อาเทสนาปฏิหาริยะ ดักใจเป็นอัศจรรย์

๓. อนุสาสนีปาฏิหาริยะ คําสอนเป็นอัศจรรย์.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทอย่างละ ๓ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่ควรแก่งแย่งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

จบสังคีติหมวด ๓

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 178

ว่าด้วยสังคีติหมวด ๔

[๒๒๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๔ เป็นไฉน. คือ

สติปัฏฐาน ๔

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.

๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.

๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 179

[๒๓๐] สัมมัปปธาน ๔

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจมั่น เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด

๒. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่น เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

๔. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อไม่เลือนลาง เพื่อจําเริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

[๒๓๑] อิทธิบาท ๔

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร

๒. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

๓. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยจิตสมาธิปธานสังขาร

๔. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร.

[๒๓๒] ฌาน ๔

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 180

๒. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

๓. มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

๔. บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุสติบริสุทธิ์อยู่.

[๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่.

๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่.

๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่.

๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 181

ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.

    ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวันอย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น. มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้มีแสงสว่างด้วยประการฉะนี้ สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ.

    ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน. เวทนาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แล้วย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับสัญญาทั้งหลายอันภิกษุรู้แล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลายอันภิกษุรู้แล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.

    ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป. ดังนี้เวทนา... ดังนี้สัญญา... ดังนี้สังขาร... ดังนี้วิญญาณ. ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความในรูปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 182

[๒๓๔] อัปปมัญญา ๔

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียนอยู่.

๒. มีใจประกอบด้วยกรุณา ...

๓. มีใจประกอบด้วยมุทิตา ...

๔. มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องต้น เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานโดยความเป็นคนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่.

[๒๓๕] อรูป ๔

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับซึ่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่

๒. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้อยู่

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 183

๓. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่

๔. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่.

[๒๓๖] อปัสเสนะ ๔

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง

๒. พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง

๓. พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง

๔. พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง.

[๒๓๗] อริยวงศ์

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวรและไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกหมุ่นไม่ติดแน่น มีปกติ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วยจีวรนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควรไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาตและไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 184

ไม่หมกหมุ่น ไม่ติดแน่น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษ ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วยบิณฑบาตนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

    ๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควรไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะและไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และได้เสนาสนะแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกหมุ่น ไม่ติดแน่น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วยเสนาสนะนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

    ๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะมีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น ภิกษุนี้เรียกว่าผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 185

[๒๓๘] ปธาน ๔

๑. สังวรปธาน เพียรระวัง

๒. ปหานปธาน เพียรละ

๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญ

๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสํารวมในจักขุนทรีย์. ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว. ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว. ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สํารวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่า รักษามนินทรีย์ ชื่อว่า ถึงความสํารวมในมนินทรีย์นี้เรียกว่า สังวรปธาน.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมให้สิ้นไป ย่อมให้ถึงความไม่มีซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ฯลฯ ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ฯลฯ ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทําให้สิ้นไป ย่อมให้ถึงความไม่มีซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วๆ นี้เรียกว่าปหานปธาน.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 186

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกําหนัด อาศัยความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกําหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลงนี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิต อันเจริญที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา นี้เรียกว่าอนุรักขนาปธาน.

[๒๓๙] ญาณ ๔

๑. ธัมมญาณ ความรู้ในธรรม

๒. อันวยญาณ ความรู้ในการคล้อยตาม

๓. ปริจเฉทญาณ ความรู้ในการกําหนด

๔. สัมมติญาณ ความรู้ในสมมติ.

ญาณอีก ๔

๑. ทุกขญาณ ความรู้ในทุกข์

๒. ทุกขสมุทยญาณ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์

๓. ทุกขนิโรธญาณ ความรู้ในการดับทุกข์

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ความรู้ในการปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 187

[๒๔๐] องค์แห่งการบรรลุโสดาบัน ๔

๑. สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ

๒. สัทธัมมัสสวนะ การฟังพระสัทธรรม

๓. โยนิโสมนสิกการ การกระทําไว้ในใจโดยแยบคาย

๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

[๒๔๑] องค์แห่งพระโสดาบัน ๔

๑. ก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญูชนพึงรู้เฉพาะตน

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทําบุญ เป็นผู้ควรทําอัญชลี เป็นบุญเขตของชาวโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งกว่า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 188

๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลําแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ.

[๒๔๒] สามัญญผล

๑. โสดาปัตติผล

๒. สกทาคามิผล

๓. อนาคามิผล

๔. อรหัตตผล.

[๒๔๓] ธาตุ ๔

๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน

๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ

๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ

๔. วาโยธาตุ ธาตุลม.

[๒๔๔] อาหาร ๔

๑. กวฬิงการาหาร อาหารคือ คําข้าวทั้งหยาบและละเอียด

๒. ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ

๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา

๔. วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ.

[๒๔๕] วิญญาณฐิติ ๔

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พํานัก เข้าไปเสพซึ่ง

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 189

ความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์

๒. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา ...

๓. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา ...

๔. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พํานัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์.

[๒๔๖] การถึงอคติ ๔

๑. ฉันทาคติ ถึงความลําเอียงเพราะความรักใคร่

๒. โทสาคติ ถึงความลําเอียงเพราะความโกรธ

๓. โมหาคติ ถึงความลําเอียงเพราะความหลง

๔. ภยาคติ ถึงความลําเอียงเพราะความกลัว.

[๒๔๗] เหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา

๑. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร

๒. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต

๓. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ

๔. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งความต้องการยิ่งๆ ขึ้นไป

[๒๔๘] ปฏิปทา ๔

๑. ทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลําบาก ทั้งรู้ได้ช้า

๒. ทุกขปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติลําบาก แต่รู้ได้เร็ว

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 190

๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า

๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้เร็ว

[๒๔๙] ปฏิปทาอีก ๔

๑. อักขมา ปฏิปทา ปฏิบัติไม่อดทน

๒. ขมา ปฏิปทา ปฏิบัติอดทน

๓. ทมา ปฏิปทา ปฏิบัติฝึก

๔. สมา ปฏิปทา ปฏิบัติระงับ

[๒๕๐] ธรรมบท ๔

๑. อนภิชฌา ความไม่เพ่งเล็ง

๒. อพยาบาท ความไม่พยาบาท

๓. สัมมาสติ ความระลึกชอบ

๔. สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นชอบ.

[๒๕๑] ธรรมสมาทาน ๔

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นวิบากต่อไปมีอยู่

๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปมีอยู่

๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไปมีอยู่

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 191

๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปมีอยู่.

[๒๕๒] ธรรมขันธ์ ๔

๑. ศีลขันธ์ หมวดศีล

๒. สมาธิขันธ์ หมวดสมาธิ

๓. ปัญญาขันธ์ หมวดปัญญา

๔. วิมุตติขันธ์ หมวดวิมุตติ.

[๒๕๓] พละ ๔

๑. วิริยพละ กําลังคือ ความเพียร

๒. สติพละ กําลังคือ สติ

๓. สมาธิพละ กําลังคือ สมาธิ

๔. ปัญญาพละ กําลังคือ ปัญญา.

[๒๕๔] อธิษฐาน ๔

๑. ปัญญาธิฏฐาน อธิษฐานคือ ปัญญา

๒. สัจจาธิฏฐาน อธิษฐานคือ สัจจะ

๓. จาคาธิฏฐาน อธิษฐานคือ จาคะ

๔. อุปสมาธิฏฐาน อธิษฐานคือ อุปสมะ

[๒๕๕] ปัญหาพยากรณ์ ๔

๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว

๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้

๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจําแนกแล้วจึงแก้

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 192

๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย.

[๒๕๖] กรรม ๔

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายดํา มีวิบากเป็นฝ่ายดํามีอยู่

๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาวมีอยู่

๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นทั้งฝ่ายดําและฝ่ายขาว มีวิบากทั้งฝ่ายดําและฝ่ายขาวมีอยู่

๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ไม่ดําไม่ขาว มีวิบากไม่ดําไม่ขาวย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่.

[๒๕๗] สัจฉิกรณียธรรม ๔

๑. บุพเพนิวาส พึงทําให้แจ้งด้วยสติ

๒. การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย พึงทําให้แจ้งด้วยจักษุ

๓. วิโมกข์แปด พึงทําให้แจ้งด้วยกาย

๔. ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย พึงทําให้แจ้งด้วยปัญญา.

[๒๕๘] โอฆะ ๔

๑. กาโมฆะ โอฆะคือกาม

๒. ภโวฆะ โอฆะคือภพ

๓. ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ

๔. อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 193

[๒๕๙] โยคะ ๔

๑. กามโยคะ โยคะคือกาม

๒. ภวโยคะ โยคะคือภพ

๓. ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฏฐิ

๔. อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา.

[๒๖๐] วิสังโยคะ ๔

๑. กามโยควิสังโยคะ ความพรากจากกามโยคะ

๒. ภวโยควิสังโยคะ ความพรากจากภวโยคะ

๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ

๔. อวิชชาโยควิสังโยคะ ความพรากจากอวิชชาโยคะ.

[๒๖๑] คันถะ ๔

๑. อภิชฌากายคันถะ เครื่องรัดกายคืออภิชฌา

๒. พยาบาทกายคันถะ เครื่องรัดกายคือพยาบาท

๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส

๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เครื่องรัดกายคือความเชื่อแน่ว่าสิ่งนี้เป็นจริง.

[๒๖๒] อุปาทาน ๔

๑. กามุปาทาน ถือมั่นกาม

๒. ทิฏุปาทาน ถือมั่นทิฏฐิ

๓. สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นศีลและพรต

๔. อัตตวาทุปาทาน ถือมั่นวาทะว่าตน.

[๒๖๓] โยนิ ๔

๑. อัณฑชโยนิ กําเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 194

๒. ชลาพุชโยนิ กําเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์

๓. สังเสทชโยนิ กําเนิดของสัตว์ที่เกิดในเหงื่อไคล

๔. โอปปาติกโยนิ กําเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น.

[๒๖๔] การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔

๑. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่หนึ่ง.

๒. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัว ก้าวลงสู่ครรภ์มารดาแต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์มารดาข้อที่สอง.

๓. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สาม.

๔. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สี่.

[๒๖๕] การได้อัตตภาพ ๔

๑. การได้อัตตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว ไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 195

๒. การได้อัตตภาพที่ตรงกับความจงใจผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรงกับความจงใจของตนมีอยู่.

๓. การได้อัตตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย ตรงกับความจงใจของผู้อื่นด้วยมีอยู่.

๔. การได้อัตตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตนทั้งไม่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่.

[๒๖๖] ทักขิณาวิสุทธี ๔

๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก

๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก

๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก

๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก.

[๒๖๗] สังคหวัตถุ ๔

๑. ทาน การให้ปัน

๒. ปิยวัชชะ เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน

๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์

๔. สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอต้นเสมอปลาย.

[๒๖๘] อนริยโวหาร ๔

๑. มุสาวาท พูดเท็จ

๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด

๓. ผรุสวาจา พูดคําหยาบ

๔. สัมผัปปลาปา พูดเพ้อเจ้อ.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 196

[๒๖๙] อริยโวหาร ๔

๑. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ

๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด

๓. ผรุสาย วาจา เวรมณี เว้นจากพูดคําหยาบ

๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ.

[๒๗๐] อนริยโวหารอีก ๔

๑. อทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น

๒. อสฺสุเต สุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน

๓. อมุเต มุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ

๔. อวิฺาเต วิฺาตวาทิตา เมื่อไม่ได้รู้พูดว่าได้รู้

[๒๗๑] อริยโวหารอีก ๔

๑. อทิฏฺเ อทิฏฺวาทิตา เมื่อไม่เห็นพูดว่าไม่เห็น

๒. อสฺสุเต อสสุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน

๓. อมุเต อมุตวาทิตา เมื่อไม่ทราบพูดว่าไม่ทราบ

๔. อวิฺาเต อวิฺาตวาทิตา เมื่อไม่รู้พูดว่าไม่รู้.

[๒๗๒] อนริยโวหารอีก ๔

๑. ทิฏเ อทิฏวาทิตา เมื่อได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น

๒. สุเต อสฺสุตวาทิตา เมื่อได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน

๓. มุเต อมุตวาทิตา เมื่อได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ

๔. วิฺาเต วิฺาตวาทิตา เมื่อรู้พูดว่าไม่รู้.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 197

[๒๗๓] อริยโวหารอีก ๔

๑. ทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา เมื่อได้เห็นพูดว่าได้เห็น

๒. สุเต สุตวาทิตา เมื่อได้ยินพูดว่าได้ยิน

๓. มุเต มุตวาทิตา เมื่อได้ทราบพูดว่าได้ทราบ

๔. วิฺาเต วิฺาตวาทิตา เมื่อรู้พูดว่ารู้.

[๒๗๔] บุคคล ๔

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทําตนให้เดือดร้อน.

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน.

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทําตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ เป็นเครื่องทําให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย.

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทําตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทําให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย เขาไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้หายหิว ดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุข มีตนเป็นเสมือนพรหมอยู่ในปัจจุบัน.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 198

[๒๗๕] บุคคลอีก ๔

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน.

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย.

[๒๗๖] บุคคลอีก ๔

๑. ตโม ตมปรายโน ผู้มืดมา มืดไป

๒. ตโม โชติปรายโน ผู้มืดมา สว่างไป

๓. โชติ ตมปรายโน ผู้สว่างมา มืดไป

๔. โชติ โชติปรายโน ผู้สว่างมา สว่างไป

[๒๗๗] บุคคลอีก ๔

๑. สมณอจละ เป็นสมณะ ผู้ไม่หวั่นไหว

๒. สมณปทุมะ เป็นสมณะ เปรียบด้วยดอกบัวหลวง

๓. สมณปุณฑริกะ เป็นสมณะ เปรียบด้วยดอกบัวขาว

๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ เป็นสมณะ ผู้ละเอียดอ่อนในสมณะทั้งหลาย

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันใน

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 199

ธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืน ตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

จบสังคีติหมวด ๔

สังคีติหมวด ๕

[๒๗๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๕ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายฯ ธรรม ๕ เป็นไฉน. คือ

ขันธ์ ๕

๑. รูปขันธ์ กองรูป

๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา

๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา

๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร

๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ.

[๒๗๙] อุปาทานขันธ์ ๕

๑. รูปูปาทานขันธ์ กองยึดถือรูป

๒. เวทนูปาทานขันธ์ กองยึดถือเวทนา

๓. สัญูปาทานขันธ์ กองยึดถือสัญญา

๔. สังขารูปาทานขันธ์ กองยึดถือสังขาร

๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ กองยึดถือวิญญาณ.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 200

[๒๘๐] กามคุณ ๕

๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด.

๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู.

๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก.

๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น.

๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด.

[๒๘๑] คติ ๕

๑. นิรยะ นรก

๒. ติรัจฉานโยนิ กําเนิดเดียรฉาน

๓. เปตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต

๔. มนุสสะ มนุษย์

๕. เทวะ เทวดา.

[๒๘๒] มัจฉริยะ ๕

๑. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่

๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล

๓. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ

๔. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ

๕. ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม.

[๒๘๓] นิวรณ์ ๕

๑. กามฉันทะ ความพอใจในกาม

๒. พยาบาท ความพยาบาท

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 201

๓. ถีนมิทธะ ความมีจิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรําคาญ

๕. วิจิกิจฉา ความสงสัย.

[๒๘๔] โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน

๒. วิจิกิจฉา ความสงสัย

๓. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือด้วยศีล หรือพรต

๔. กามฉันทะ ความพอใจในกาม

๕. พยาบาท ความคิดแก้แค้นผู้อื่น.

[๒๘๕] อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕

๑. รูปราคะ ความติดใจในรูป

๒. อรูปราคะ ความติดใจในอรูป

๓. มานะ ความถือตัว

๔. อุทธัจจะ ความคิดพล่าน

๕. อวิชชา ความไม่รู้.

[๒๘๖] สิกขาบท ๕

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์

๒. อทินนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๔. มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการดื่ม

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 202

น้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.

[๒๘๗] อภัพพฐาน ๕

๑. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต

๒. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย

๓. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม

๔. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งที่รู้อยู่

๕. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทําการสั่งสม บริโภคกามเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์อยู่.

[๒๘๘] พยสนะ ๕

๑. ญาติพยสนะ ความฉิบหายแห่งญาติ

๒. โภคพยสนะ ความฉิบหายแห่งโภคะ

๓. โรคพยสนะ ความฉิบหายเพราะโรค

๔. สีลพยสนะ ความฉิบหายแห่งศีล

๕. ทิฏฐิพยสนะ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลายย่อมจะไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก. แต่เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฏฐิพินาศ สัตว์ทั้งหลายย่อมจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก.

[๒๘๙] สัมปทา ๕

๑. ญาติสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยญาติ

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 203

๒. โภคสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยโภคะ

๓. อาโรคยสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค

๔. สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล

๕. ทิฏฐิสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งโภคสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลายย่อมจะไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก. แต่เพราะเหตุสีลสัมปทา หรือ เพราะเหตุแห่งทิฏฐสัมปทา สัตว์ทั้งหลายจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก.

[๒๙๐] โทษแห่งศีลวิบัติ ๕

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคใหญ่ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่หนึ่ง.

๒. เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีลมีศีลวิบัติย่อมระบือไป นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สอง.

๓. คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคนเก้อเขินเข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สาม.

๔. คนทุศีลมีศีลวิบัติย่อมเป็นคนหลงทํากาละ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สี่.

๕. คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติขอคนทุศีลข้อที่ห้า.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 204

[๒๙๑] อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ๕

๑. ดูก่อน ผู้มีอายุทั้งหลาย คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมประสบกองแห่งโภคใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่หนึ่ง.

๒. เกียรติศัพท์ที่ดีงามของคนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมระบือไป นี้เป็นอานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สอง.

๓. คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินเข้าไปหา นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สาม.

๔. คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงทํากาละ นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สี่.

๕. คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่ห้า.

[๒๙๒] ธรรมสําหรับโจทก์ ๕

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่นพึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในภายในแล้ว จึงโจทผู้อื่น คือ

๑. เราจักกล่าวโดยกาลอันสมควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร

๒. เราจักกล่าวด้วยคําจริง จักไม่กล่าวด้วยคําไม่จริง

๓. เราจักกล่าวด้วยคําอ่อนหวาน จักไม่กล่าวคําหยาบ

๔. เราจักกล่าวด้วยคําที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคําที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

๕. เราจักกล่าวด้วยเมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 205

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่นพึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในภายในแล้ว จึงโจทผู้อื่น.

[๒๙๓] องค์แห่งความเพียร ๕

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทราเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม

๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุอันมีวิบากเสมอกัน ไม่เย็นนักไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลางๆ ควรแก่ความเพียร

๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญูชนทั้งหลาย

๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมเป็นผู้มีกําลังใจ มีความบากบั่นไม่ทอดธุระในบรรดาธรรมที่เป็นกุศล

๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเกิดและดับอันประเสริฐชําแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

[๒๙๔] สุทธาวาส ๕

๑. อวิหา

๓. สุทัสสา

๒. อตัปปา

๔. สุทัสสี

๕. อกนิฏฐา.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 206

[๒๙๕] พระอนาคามี ๕

๑. อันตราปรินิพพายี ผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง

๒. อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว

๓. อสังขารปรินิพพายี ผู้ที่จะปรินิพพานไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

๔. สสังขารปรินิพพายี ผู้ที่จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร

๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐาคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ.

[๒๙๖] เจโตขีลา ตะปูปักใจ ๕

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา. จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดาย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทําเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ความที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทําเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้เป็นตะปูปักใจข้อที่หนึ่ง.

๒. ภิกษุย่อมเคลือบแคลงในพระธรรม.

๓. ภิกษุย่อมเคลือบแคลงในพระสงฆ์.

๔. ภิกษุย่อมเคลือบแคลง สงสัยในสิกขา.

๕. ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเป็นเสมือนตะปูในสพรหมจารีทั้งหลาย. จิตของภิกษุผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือนตะปูในสพรหมจารีทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทํา

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 207

เป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรตั้งมั่น ความที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทําเป็นไปติดต่อเพื่อความเพียรตั้งมั่น นี้เป็นตะปูปักใจข้อที่ห้า.

[๒๙๗] วินิพันธา ความผูกพันใจ ๕

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกําหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยาก ในกามทั้งหลาย. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกําหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยาก ในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทําเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ความที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทําเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันใจข้อที่หนึ่ง.

๒. ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกําหนัด ... ในกาย ...

๓. ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกําหนัด ... ในรูป ...

๔. ภิกษุบริโภคอิ่มหนําพอแก่ความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับ ...

๕. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วย ศีล พรต ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ ดังนี้. ภิกษุใด ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็น

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 208

เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทําเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ความที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทําเป็นไปติดต่อเพื่อความเพียรตั้งมั่น นี้ความผูกพันใจข้อที่ห้า.

[๒๙๘] อินทรีย์ ๕

๑. จักขุนทริย์ อินทรีย์ คือ ตา

๒. โสตินทริย์ อินทรีย์ คือ หู

๓. ฆานินทริย์ อินทรีย์ คือ จมูก

๔. ชิวหินทริย์ อินทรีย์ คือ ลิ้น.

๕. กายยินทริย์ อินทรีย์ คือ กาย.

[๒๙๙] อินทรีย์อีก ๕

๑. สุขินทริย์ อินทรีย์ คือ สุข

๒. ทุกขินทริย์ อินทรีย์ คือ ทุกข์

๓. โสมนัสสินทรีย์ อินทรีย์ คือ โสมนัส

๔. โทมนัสสินทรีย์ อินทรีย์ คือ โทมนัส

๕. อุเปกขินทรีย์ อินทรีย์ คือ อุเบกขา.

[๓๐๐] อินทรีย์อีก ๕

๑. สัทธินทรีย์ อินทรีย์ คือ ศรัทธา

๒. วิริยินทรีย์ อินทรีย์ คือ วิริยะ

๓. สตินทรีย์ อินทรีย์ คือ สติ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 209

๔. สมาธินทรีย์ อินทรีย์ คือ สมาธิ

๕. ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ คือ ปัญญา.

[๓๐๑] นิสสารณียธาตุ ๕

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกามทั้งหลายและเธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวายซึ่งมีกามเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย.

๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยิ่งมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความพยาบาทอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะความพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความพยาบาท และ เธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย อันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท.

๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความเบียดเบียนอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะความเบียดเบียน แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 210

จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่เบียดเบียน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความเบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย อันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความเบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความเบียดเบียน.

    ๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลายอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะรูป จิตของเธอนี้ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากรูปทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีรูปเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย.

    ๕. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงกายของตนอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะกายของตน แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความดับแห่งกายของตน จิตของเธอนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกายของตน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกายของตน.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 211

[๓๐๒] วิมุตตายตนะ ๕

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งควรแก่ตําแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้. ภิกษุนั้นรู้แจ้งอรรถ และรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งควรแก่ตําแหน่งครูแสดงแก่เธอ. ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่หนึ่ง.

๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งควรแก่ตําแหน่งครู ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย แต่เธอแสดงธรรมตามที่ได้ฟังแล้วตามที่ได้เรียนแล้วแก่คนอื่นๆ โดยพิสดาร ...

๓. เธอกระทําการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังแล้วตามที่ได้เรียนแล้วโดยพิสดาร ฯลฯ

๔. เธอตรึกตรองด้วยใจ เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังแล้วตามที่ได้เรียนแล้ว ฯลฯ

๕. แต่ว่า เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทําไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา. ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทําไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญา. ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 212

อิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่ห้า.

[๓๐๓] สัญญาที่ควรเจริญเพื่อความหลุดพ้นมี ๕ อย่าง

๑. อนิจจสัญญา ความสําคัญหมายในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง

๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา ความสําคัญหมายในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์

๓. ทุกเข อนัตตสัญญา ความสําคัญหมายในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน

๔. ปหานสัญญา ความสําคัญหมายในปหานะ

๕. วิราคสัญญา ความสําคัญหมายในการคลายกําหนัด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดทีเดียว พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ยั่งยืนตั้งอยู่ตลอดกาลนานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

จบสังคีติหมวด ๕

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 213

ว่าด้วยสังคีติหมวด ๖

[๓๐๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวด ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้วแล พวกเราทั้งหมด พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ยั่งยืนตั้งอยู่ตลอดกาลนานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๖ เป็นไฉน.

อายตนะภายใน ๖

๑. จักขายตนะ อายตนะ คือ ตา

๒. โสตายตนะ อายตนะ คือ หู

๓. ฆานายตนะ อายตนะ คือ จมูก

๔. ชิวหายตนะ อายตนะ คือ ลิ้น

๕. กายายตนะ อายตนะ คือ กาย

๖. มนายตนะ อายตนะ คือ ใจ.

[๓๐๕] อายตนะภายนอก ๖

๑. รูปายตนะ อายตนะ คือ รูป

๒. สัททายตนะ อายตนะ คือ เสียง

๓. คันธายตนะ อายตนะ คือ กลิ่น

๔. รสายตนะ อายตนะ คือ รส

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 214

๕. โผฏฐัพพายตนะ อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ

๖. ธัมมายตนะ อายตนะ คือ ธรรม.

[๓๐๖] วิญญาณกาย คือ การประชุมวิญญาณ ๖

๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา

๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู

๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก

๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น

๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย

๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ.

[๓๐๗] ผัสสกาย การประชุมผัสสะ ๖

๑. จักขุสัมผัสส์ ความถูกต้องอาศัยตา ฯลฯ

๖. มโนสัมผัสส์ ความถูกต้องอาศัยใจ.

[๓๐๘] เวทนากาย การประชุมเวทนา ๖

๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา ฯลฯ

๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ.

[๓๐๙] สัญญากาย การประชุมสัญญา ๖

๑. รูปสัญญา สัญญาที่มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

๖. ธัมมสัญญา สัญญาที่มีธรรมเป็นอารมณ์.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 215

[๓๑๐] สัญเจตนากาย การประชุมแห่งสัญเจตนา ๖

๑. รูปสัญเจตนา ความจงใจที่มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

๖. ธัมมสัญเจตนา ความจงใจที่มีธรรมเป็นอารมณ์.

[๓๑๑] ตัณหากาย การประชุมตัณหา ๖

๑. รูปตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีรูปเป็นอารมณ์

๒. สัททตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีเสียงเป็นอารมณ์

๓. คันธตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีกลิ่นเป็นอารมณ์

๔. รสตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีรสเป็นอารมณ์

๕. โผฏฐัพพตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์

๖. ธัมมตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีธรรมเป็นอารมณ์.

[๓๑๒] อคารวะ ความไม่เคารพ ๖

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยําเกรงในพระศาสดาอยู่

๒. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยําเกรงในพระธรรมอยู่

๓. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยําเกรงในพระสงฆ์อยู่

๔. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยําเกรงในสิกขาอยู่

๕. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยําเกรงในความไม่ประมาทอยู่

๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยําเกรงในปฏิสันถารอยู่.

[๓๑๓] สคารวะ ความเคารพ ๖

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เคารพยําเกรงในพระศาสดาอยู่

๒. เป็นผู้เคารพยําเกรงในพระธรรมอยู่

๓. เป็นผู้เคารพยําเกรงในพระสงฆ์อยู่

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 216

๔. เป็นผู้เคารพยําเกรงในสิกขาอยู่

๕. เป็นผู้เคารพยําเกรงในความไม่ประมาทอยู่

๖. เป็นผู้เคารพยําเกรงในการปฏิสันถารอยู่.

[๓๑๔] โสมนัสสูปวิจาร วิจารสัมปยุตด้วยโสมนัส ๖

๑. เห็นรูปด้วยตาแล้วใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความโสมนัส.

๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ...

๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ...

๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ...

๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ...

๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความโสมนัส.

[๓๑๕] โทมนัสสูปวิจาร วิจารสัมปยุตด้วยโทมนัส ๖

๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส.

๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ...

๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ...

๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ...

๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ...

๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส.

[๓๑๖] อุเปกขูปวิจาร วิจารสัมปยุตด้วยอุเบกขา ๖

๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 217

๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ...

๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ...

๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ...

๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ...

๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา.

[๓๑๗] สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ๖

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมนี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทําให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทําให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ...

๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมแม้ข้อนี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ฯลฯ เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุได้ลาภอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหารในบาตร ไม่หวงกันด้วยลาภเห็นปานนั้น แบ่งปันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ธรรมแม้นี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ฯลฯ เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 218

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คือว่า ภิกษุมีศีลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญูชนสรรเสริญแล้ว ไม่เกี่ยวด้วยตัณหาและทิฏฐิ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันในศีลทั้งหลายเห็นปานนั้นกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ฯลฯ เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีกคือ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนําสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนําออกเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบแก่ผู้กระทําทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้น กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมแม้ข้อนี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทําให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทําให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

[๓๑๘] วิวาทมูล มูลแห่งการวิวาท ๖

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็นผู้มักผูกโกรธไว้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักโกรธมักผูกโกรธนั้น ย่อมไม่เคารพ ไม่ยําเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมไม่เคารพ ไม่ยําเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมไม่เคารพ ไม่ยําเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ไม่กระทําให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยําเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพ ไม่

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 219

ยําเกรงในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่กระทําให้บริบูรณ์ในสิกขา. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ก่อความวิวาทในสงฆ์ ผู้ใดก่อความวิวาท ผู้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อมิใช่ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความพินาศแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลแห่งความวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านก็จะพึงพยายามเพื่อละมูลแห่งความวิวาทอันลามกนั้นนั่นแหละ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งความวิวาทเห็นปานนั้น ทั้งภายในและภายนอก พวกท่านก็พึงปฏิบัติเพื่อมิให้มูลแห่งความวิวาทอันลามกนั้นนั่นแหละเป็นไปต่อไป. การละวิวาทมูลอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ และความไม่เป็นไปต่อไปของวิวาทมูลอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

    ๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ตีเสมอ...

    ๓. ภิกษุเป็นผู้มักริษยา เป็นผู้ตระหนี่...

    ๔. ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมารยา...

    ๕. ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด...

    ๖. ภิกษุเป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก.

    ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้นคลายได้ยาก ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยําเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยําเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมไม่เคารพ ไม่ยําเกรงแม้ใน

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 220

พระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ไม่กระทําให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใดไม่เคารพ ไม่ยําเกรงแม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม ฯลฯ แม้ในพระสงฆ์ ฯลฯ เป็นผู้ไม่กระทําให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา. ภิกษุนั้นย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ ภิกษุใดย่อมก่อวิวาท ภิกษุนั้นย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อมิใช่ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความพินาศแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพึงพิจารณาเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก. พวกท่านก็พึงพยายามเพื่อละมูลแห่งวิวาทอันลามก นั้นนั่นแหละในที่นั้นได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านไม่พึงพิจารณาเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนั้น ทั้งภายในทั้งภายนอก. พวกท่านก็พึงปฏิบัติ เพื่อความไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งวิวาทมูลอันลามกนั้นนั่นแหละ. เมื่อพยายามได้อย่างนี้เธอย่อมละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นได้ เมื่อเธอปฏิบัติอยู่อย่างนี้ มูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นย่อมไม่มีต่อไปอีก.

[๓๑๙] ธาตุ ๖

๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน

๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ

๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ

๔. วาโยธาตุ ธาตุลม

๕. อากาสธาตุ ธาตุที่สัมผัสไม่ได้

๖. วิญญาณธาตุ ธาตุรู้.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 221

[๓๒๐] นิสสารณียธาตุ ธาตุที่ควรเพื่อความออกไป ๖

๑. ดูก่อนท่านผู้อายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็เจโตวิมุตติที่ประกอบด้วยเมตตาแล เราอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นดังยานแล้ว ทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังครอบงําจิตของเราตั้งอยู่ได้ดังนี้. ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ อย่าได้พูดอย่างนั้น อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายข้อที่เธอกล่าวว่า เมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นดังยานแล้ว ทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว ทําให้คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วซึ่งเจโตวิมุตติประกอบด้วยเมตตาอันใด ถึงอย่างนั้น พยาบาทจักครอบงําจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเจโตวิมุตติประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นธรรมเครื่องสลัด ซึ่งความพยาบาท.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติประกอบด้วยกรุณาแล อันเราอบรมแล้ว กระทําให้มากแล้ว กระทําให้เป็นดังยานแล้ว กระทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็ยังครอบงําจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้. เธอควรถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนั้น เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่เธอกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 222

เมื่อบุคคลอบรมแล้ว กระทําให้มากแล้ว กระทําให้เป็นดังยานแล้ว กระทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วซึ่งเจโตวิมุตติประกอบด้วยกรุณา อันใด แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็จักครอบงําจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเจโตวิมุตติประกอบด้วยกรุณานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิเหสา.

    ๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติประกอบด้วยมุทิตาแล อันเราอบรมแล้ว กระทําให้มากแล้ว กระทําให้เป็นดังยานแล้ว กระทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็ยังครอบงําจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้. เธอพึงถูกกล่าวหาว่า ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนั้น. ข้อที่ท่านกล่าวว่าบุคคลอบรมแล้ว กระทําให้มากแล้ว กระทําให้เป็นดังยานแล้ว กระทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วซึ่งเจโตวิมุตติอันประกอบด้วยมุทิตา อันใด แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็จักครอบงําจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. เพราะว่าเจโตวิมุตติประกอบด้วยมุทิตานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอรติ.

    ๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ว่า เจโตวิมุตติประกอบด้วยอุเบกขาแล อันเราอบรมแล้ว กระทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นดังยานแล้ว ทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้วปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็ยังครอบงําจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 223

เธอก็ควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงตรัสอย่างนี้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ท่านกล่าวว่า เมื่อบุคคลอบรมแล้ว กระทําให้มากแล้ว กระทําให้เป็นดังยานแล้ว กระทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติประกอบด้วยอุเบกขา แต่ถึงอย่างนั้นราคะก็ยังครอบงําจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ นั้น นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเจโตวิมุตติประกอบด้วยอุเบกขานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ.

    ๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติที่ไม่มีนิมิตแล อันเราอบรมแล้ว กระทําให้มากแล้ว กระทําให้เป็นดังยานแล้ว กระทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิต ก็ยังมีอยู่แก่เรา ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เป็นการดีเลย เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงตรัสอย่างนี้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ท่านกล่าวว่า เมื่อบุคคลอบรมแล้ว กระทําให้มากแล้ว กระทําให้เป็นดังยานแล้ว กระทําให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติที่หานิมิตมิได้ แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตก็จักมีแก่เขา ดังนี้

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 224

นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เจโตวิมุตติอันไม่มีนิมิตนี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งนิมิตทุกอย่าง.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้ เมื่อการถือว่าเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่า เรามีอยู่. แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงําจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้. เธอก็ควรถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นการไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงตรัสอย่างนี้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ท่านกล่าวว่า เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้หมดไปแล้ว และเมื่อเขายังมิได้พิจารณาเห็นว่าเรามีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็จักครอบงําจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมอันถอนขึ้นซึ่งมานะในกาวถือว่าเรามีอยู่นี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งลูกศร คือความเคลือบแคลงสงสัย.

[๓๒๑] อนุตตริยะ ๖

๑. ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันยอดเยี่ยม

๒. สวนานุตตริยะ การฟังอันยอดเยี่ยม

๓. ลาภานุตตริยะ การได้อันยอดเยี่ยม

๔. สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันยอดเยี่ยม

๕. ปาริจริยานุตตริยะ การบํารุงอันยอดเยี่ยม

๖. อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันยอดเยี่ยม.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 225

[๓๒๒] อนุสสติฐาน ๖

๑. พุทธานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า

๒. ธัมมานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระธรรม

๓. สังฆานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์

๔. สีลานุสสติ การระลึกถึงศีล

๕. จาคานุสสติ การระลึกถึงการสละ

๖. เทวตานุสสติ การระลึกถึงเทวดา.

[๓๒๓] สตตวิหาร คือธรรมเครื่องอยู่ของพระขีณาสพ ๖

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ และสัมปชัญญะอยู่.

๒. ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ...

๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ...

๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ...

๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ...

๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว. ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติและสัมปชัญญะอยู่.

[๓๒๔] อภิชาติ ๖

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดํา ประสบธรรมฝ่ายดํา.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 226

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดําประสบธรรมฝ่ายขาว.

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดําประสบพระนิพพานซึ่งเป็นธรรมไม่ดําไม่ขาว.

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสบธรรมฝ่ายขาว.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสบธรรมฝ่ายดํา.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสบพระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายไม่ดํา ไม่ขาว.

[๓๒๕] นิพเพธภาคิยสัญญา ๖

๑. อนิจจสัญญา กําหนดหมายในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง

๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา กําหนดหมาย ในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์

๓. ทุกเข อนัตตสัญญา กําหนดหมาย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา

๔. ปหานสัญญา กําหนดหมายในการละ

๕. วิราคสัญญา กําหนดหมายในการคลายกําหนัด

๖. นิโรธสัญญา กําหนดหมายในการดับ.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 227

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวด ๖ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ พวกเราทั้งหมด พึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

จบสังคีติหมวด ๖

ว่าด้วยสังคีติหมวด ๗

[๓๒๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสธรรมทั้งหลาย ๗ ไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๗ เป็นไฉน.

อริยทรัพย์ ๗

๑. สัทธาธนัง ทรัพย์ คือ ศรัทธา

๒. สีลธนัง ทรัพย์ คือ ศีล

๓. หิริธนัง ทรัพย์ คือ หิริ

๔. โอตตัปปธนัง ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ

๕. สุตธนัง ทรัพย์ คือ สุตะ

๖. จาคธนัง ทรัพย์ คือ จาคะ

๗. ปัญญาธนัง ทรัพย์ คือ ปัญญา.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 228

[๓๒๗] โพชฌงค์ ๗

๑. สติสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ สติ

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ ธัมมวิจยะ

๓. วิริยสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ วิริยะ

๔. ปีติสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ ปีติ

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ ปัสสัทธิ

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ สมาธิ

๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ อุเบกขา.

[๓๒๘] สมาธิบริขาร ๗

๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ

๒. สัมมาสังกัปปะ ความดําริชอบ

๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ

๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ

๕. สัมมาอาชีวะ อาชีวะชอบ

๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ

๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ.

[๓๒๙] อสัทธรรม ๗

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา

๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ

๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ

๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย

๕. เป็นผู้เกียจคร้าน

๖. เป็นผู้มีสติหลงลืม

๗. เป็นผู้ไม่มีปัญญา.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 229

[๓๓๐] สัทธรรม ๗

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา

๒. เป็นผู้มีหิริ

๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ

๔. เป็นผู้มีพหูสูต

๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร

๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง

๗. เป็นผู้มีปัญญา.

[๓๓๑] สัปปุริสธรรม ๗

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. ธัมมัญู เป็นผู้รู้จักเหตุ

๒. อัตถัญู เป็นผู้รักจักผล

๓. อัตตัญู เป็นผู้รู้จักตน

๔. มัตตัญู เป็นผู้รู้จักประมาณ

๕. กาลัญู เป็นผู้รู้จักกาลเวลา

๖. ปริสัญู เป็นผู้รู้จักบริษัท

๗. ปุคคลัญู เป็นผู้รู้จักบุคคล.

[๓๓๒] นิททสวัตถุ ๗

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา ทั้งในกาลต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการสมาทาน

๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการไตร่ตรองธรรม ทั้งในกาลต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการไตร่ตรองธรรม

๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปราบปรามความอยาก ทั้ง

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 230

ในกาลต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการปราบปรามความอยาก

๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการเร้นอยู่ ทั้งในกาลต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการเร้นอยู่

๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร ทั้งในกาลต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการปรารภความเพียร

๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้งในกาลต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน

๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฏฐิ ทั้งในกาลต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการแทงตลอดทิฏฐิ.

[๓๓๓] สัญญา ๗

๑. อนิจจสัญญา กําหนดหมายความไม่เที่ยง

๒. อนัตตสัญญา กําหนดหมายความเป็นอนัตตา

๓. อสุภสัญญา กําหนดหมายความไม่งาม

๔. อาทีนวสัญญา กําหนดหมายโดยความเป็นโทษ

๕. ปหานสัญญา กําหนดหมายในการละ

๖. วิราคสัญญา กําหนดหมายในวิราคะ

๗. นิโรธสัญญา กําหนดหมายในนิโรธ.

[๓๓๔] พละ ๗

๑. สัทธาพละ

๒. วิริยพละ

๓. หิริพละ

๔. โอตตัปปพละ

๕. สติพละ

๖. สมาธิพละ

๗. ปัญญาพละ

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 231

[๓๓๕] วิญญาณฐิติ ๗

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทพบางพวกและวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อที่หนึ่ง.

๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในปฐมฌานภูมิ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สอง.

๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม.

๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่.

๕. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า.

๖. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก.

๗. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณฐิติข้อที่เจ็ด.

[๓๓๖] ทักขิเณยยบุคคล ๗

๑. อุภโตภาควิมุตตะ ๒. ปัญญาวิมุตตะ

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 232

๓. กายสักขี ๔. ทิฏฐิปัตตะ

๕. สัทธาวิมุตตะ ๖. ธัมมานุสารี

๗. สัทธานุสารี.

[๓๓๗] อนุสัย ๗

๑. กามราคานุสัย

๒. ปฏิฆานุสัย

๓. ทิฏฐานุสัย

๔. วิจิกิจฉานุสัย

๕. มานานุสัย

๖. ภวราคานุสัย

๗. อวิชชานุสัย.

[๓๓๘] สัญโญชน์ ๗

๑. กามสัญโญชน์

๒. ปฏิฆสัญโญชน์

๓. ทิฏฐิสัญโญชน์

๔. วิจิกิจฉาสัญโญชน์

๕. มานสัญโญชน์

๖. ภวราคสัญโญชน์

๗. อวิชชาสัญโญชน์.

[๓๓๙] อธิกรณสมถะ ๗

เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วๆ

๑. พึงให้สัมมุขาวินัย

๒. พึงให้สติวินัย

๓. พึงให้อมุฬหวินัย

๔. พึงให้ทําตามปฏิญญา

๕. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ

๖. พึงลงโทษตามคําผิด

๗. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 233

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๗ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดพึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

จบสังคีติหมวด ๗.

ว่าด้วยสังคีติหมวด ๘

[๓๔๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๘ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบ มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดพึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๘ เป็นไฉน.

มิจฉัตตะ ๘

๑. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด

๒. มิจฉาสังกัปปะ ดําริผิด

๓. มิจฉาวาจา วาจาผิด

๔. มิจฉากัมมันตะ การงานผิด

๕. มิจฉาอาชีวะ อาชีวะผิด

๖. มิจฉาวายามะ พยายามผิด

๗. มิจฉาสติ สติผิด

๘. มิจฉาสมาธิ สมาธิผิด

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 234

[๓๔๑] สัมมัตตะ ๘

๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ

๒. สัมมาสังกัปปะ ดําริชอบ

๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ

๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ

๕. สัมมาอาชีวะ อาชีวะชอบ

๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ

๗. สัมมาสติ สติชอบ

๘. สัมมาสมาธิ สมาธิชอบ.

[๓๔๒] ทักขิเณยยบุคคล ๘

๑. ท่านที่เป็นพระโสดาบัน

๒. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทําโสดาปัตติผลให้แจ้ง

๓. ท่านที่เป็นพระสกทาคามี

๔. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทําสกทาคามิผลให้แจ้ง

๕. ท่านที่เป็นพระอนาคามี

๖. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทําอนาคามิผลให้แจ้ง

๗. ท่านที่เป็นพระอรหันต์

๘. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทําอรหัตผลให้แจ้ง.

[๓๔๓] กุสีตวัตถุ ๘

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องทํา

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 235

การงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทําการงาน เมื่อเราทําการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทําให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หนึ่ง.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก ภิกษุทําการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทําการงานแล้ว ก็เมื่อเราทําการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้วควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สอง.

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สาม.

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสียไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สี่.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 236

หรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ ร่ายกายของเราเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ห้า.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการแล้ว ร่างกายของเราเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงาน เหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ ควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หก.

๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก มีอาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่เจ็ด.

๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุหายจากความเป็นไข้ได้ไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ไม่นาน ร่ายกายของเรายังทุรพล ยังไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทําให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่แปด.

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 237

[๓๔๔] อารัพภวัตถุ ๘

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องทําการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทําการงาน เมื่อเราทําการงานอยู่ เราไม่สะดวกที่จะมนสิการคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทําให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งการปรารภความเพียรข้อที่หนึ่ง.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุทําการงานสําเร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราทําการงานเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทําการงานอยู่ ไม่สามารถเพื่อมนสิการคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งการปรารภความเพียรข้อที่สอง.

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุจะต้องเดินทางเธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สะดวกที่จะมนสิการคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ เธอก็ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งการปรารภความเพียรข้อที่สาม.

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่สามารถมนสิการคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งการปรารภ

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 238

ความเพียรข้อที่สี่.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเราเบา ควรแก่การงานควรที่เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งการปรารภความเพียรข้อที่ห้า.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นมีกําลัง ควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งการปรารภความเพียรข้อที่หก.

๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว การที่อาพาธของเราจะพึงเจริญขึ้นนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งการปรารภความเพียรข้อที่เจ็ด.

๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุหายจากไข้ หาย

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 239

จากความเป็นไข้แล้วไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้แล้ว หายจากไข้ไม่นาน การที่อาพาธของเราจะพึงกําเริบนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้กระทําให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่แปด.

[๓๔๕] ทานวัตถุ ๘

๑. ให้ทาน เพราะปฏิคาหกมาถึงจึงให้

๒. ให้ทาน เพราะกลัว

๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา

๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา

๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี

๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เมื่อเราหุงต้มอยู่ ไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่ควร

๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมเลื่องลือไป

๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต.

[๓๔๖] ทานุปปัตติ ๘

๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 240

ผู้เพียบพร้อม พรั่งพร้อม ได้รับการบํารุงบําเรอด้วยกามคุณห้าอยู่ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล. เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น. ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสําหรับผู้มีศีล มิใช่ผู้ทุศีล. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสําเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์.

๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้. เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทพจาตุมหาราชิกา. เขาตั้งจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น. ก็ข้อที่นั้นแล เรากล่าวสําหรับผู้มีศีล ไม่ใช่ผู้ทุศีล. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสําเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์.

๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขา

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 241

ย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ ย่อมสําเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์.

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวาย ฯลฯ เขาได้ยินว่า พวกเทพเหล่ายามา ฯลฯ ย่อมสําเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวาย ฯลฯ เขาได้ยินว่า พวกเทพเหล่าดุสิต ฯลฯ ย่อมสําเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวาย ฯลฯ เขาได้ยินว่า พวกเทพเหล่านิมมานรดี ฯลฯ ย่อมสําเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์.

๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวาย ฯลฯ เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้. เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทพปรนิมมิตวสวัตดี. เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น. ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสําหรับผู้มีศีล มิใช่ผู้ทุศีล. ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสําเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์.

๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 242

ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทาน แก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้. เขาจึงคิดอย่างนี้ว่าโอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหม. เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น. ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสําหรับผู้มีศีล ไม่ใช่ผู้ทุศีล สําหรับผู้ที่ปราศจากราคะ มิใช่สําหรับผู้ที่ยังมีราคะ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสําเร็จได้ เพราะปราศจากราคะ.

[๓๔๗] โลกธรรม ๘

๑. มีลาภ

๒. ไม่มีลาภ

๓. มียศ

๔. ไม่มียศ

๕. นินทา

๖. สรรเสริญ

๗. สุข

๘. ทุกข์

[๓๔๘] บริษัท ๘

๑. ขัตติยบริษัท

๒. พราหมณบริษัท

๓. คฤหบดีบริษัท

๔. สมณบริษัท

๕. จาตุมหาราชิกบริษัท

๖. ดาวดึงสบริษัท

๗. นิมมานรดีบริษัท

๘. พรหมบริษัท

[๓๔๙] อภิภายตนะ ๘

๑. ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็ก

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 243

มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง.

๒. ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ มีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง.

๓. ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก มีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม

๔. ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่มีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่.

๕. ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่า ผ้าที่กําเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อนี้ที่ห้า.

๖. ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มี

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 244

วรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่า ผ้าที่กําเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกันครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก.

๗. ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดงมีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่า ผ้าที่กําเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด.

๘. ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่า ผ้าที่กําเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด.

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 245

[๓๕๐] วิโมกข์ ๘

๑. บุคคลเห็นรูปทั้งหลาย อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง.

๒. ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง.

๓. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งามทีเดียว อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม.

๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญาบุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่.

๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสามัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า.

๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่หก.

๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด.

๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 246

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๘ เหล่านี้แล อันพระผู้ มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

จบสังคีติหมวด ๘

ว่าด้วย สังคีติหมวด ๙

[๓๕๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๙ แล ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรมทั้งหลาย ๙ เป็นไฉน.

อาฆาตวัตถุ ๙

๑. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว.

๒. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้กําลังประพฤติซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา.

๓. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา.

๔. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว.

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 247

๕. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้กําลังประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ก็บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเรา.

๖. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเรา.

๗. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว.

๘. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้กําลังประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา.

๙. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา.

[๓๕๒] อาฆาตปฏิวินัย ๙

๑. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว เพราะเหตุนั้นการที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.

๒. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้นการที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.

๓. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.

๔. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้นการที่

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 248

จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.

๕. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.

๖. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ที่ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.

๗. บรรเทาความอาฆาตด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.

๘. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.

๙. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้นการที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.

[๓๕๓] สัตตาวาส ๙

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางพวก นี้สัตตาวาสข้อที่หนึ่ง.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มี

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 249

สัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้ สัตตาวาสข้อที่สอง.

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้ สัตตาวาสข้อที่สาม.

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้ สัตตาวาสข้อที่สี่.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่รู้สึกเสวยอารมณ์ เช่นพวกเทพเหล่าอสัญญีสัตว์ นี้ สัตตาวาสข้อที่ห้า.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ. ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้ นี้ สัตตาวาสข้อที่หก.

๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง ก้าวล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้ สัตตาวาสข้อที่เจ็ด.

๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง ก้าวล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้ สัตตาวาสข้อที่แปด.

๙. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง ก้าวล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยมนสิการว่า นี่สงบ นี่ประณีต นี้ สัตตาวาสข้อที่เก้า.

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 250

[๓๕๔] อขณะอสมัยแห่งพรหมจริยวาส ๙

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลกนี้ และพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้เข้าถึงนรกเสีย นี้ มิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่หนึ่ง.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้ เข้าถึงกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สอง.

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้เข้าถึงวิสัยแห่งเปรตเสีย ฯลฯ ข้อที่สาม.

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้เข้าถึงอสุรกายเสีย ฯลฯ ข้อที่สี่.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันต-

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 251

สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้เข้าถึงพวกเทพที่มีอายุยืน พวกใดพวกหนึ่งเสีย ฯลฯ ข้อที่ห้า.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้ เกิดเสียในปัจจันติมชนบท ในพวกชนชาติมิลักขะ ผู้โง่เขลา ไม่มีคติของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ฯลฯ ข้อที่หก.

๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว. บุคคลนี้ เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคนมิจฉาฑิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่บุคคลให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของธรรมที่บุคคลทําดีทําชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มีในโลก ไม่มีสมณพราหมณ์ ผู้ดําเนินไปดี ผู้ปฏิบัติโดยชอบ กระทําให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วยังผู้อื่นให้รู้ ฯลฯ ข้อที่เจ็ด.

๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็น

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 252

ไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว. บุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เป็นคนโง่ เซอะซะ เป็นคนใบ้ ไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ ฯลฯ ข้อที่แปด.

๙. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อึกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้ไม่มีผู้ใดแสดง ถึงบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคนมีปัญญาไม่เซอะซะ ไม่เป็นคนใบ้ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้ ก็มิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่เก้า.

[๓๕๕] อนุปุพพวิหาร ๙

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติปราศจากไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขดังนี้.

๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์และสุข

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 253

เพราะละทุกข์และสุข และดับโสมนัสโทมนัสในกาลก่อน มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่.

๖. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่.

๗. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่.

๘. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่.

๙. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่.

[๓๕๖] อนุปุพพนิโรธ ๙

๑. กามสัญญา ของท่านผู้เข้าปฐมฌาน ย่อมดับไป

๒. วิตก วิจาร ของท่านผู้เข้าทุติยฌาน ย่อมดับไป

๓. ปีติ ของท่านผู้เข้าตติยฌาน ย่อมดับไป

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 254

๔. ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป

๕. รูปสัญญาของท่านผู้เข้าอากาสานัญจายตนะ ย่อมดับไป

๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะ ย่อมดับไป

๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าอากิญจัญญายตนะ ย่อมดับไป

๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของท่านผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะดับไป

๙. สัญญาและเวทนาของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมดับไป

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๙ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

จบสังคีติหมวด ๙

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 255

ว่าด้วยสังคีติหมวด ๑๐

[๓๕๗] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๑๐ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๑๐ เหล่านั้นเป็นไฉน.

นาถกรณธรรม ๑๐

๑. ดูก่อนท่านี้ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สํารวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีลสํารวมในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้มีธรรม อันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว. ธรรมทั้งหลายที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้มาก คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีธรรม อันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมทั้งหลายที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 256

พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้มาก คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดแล้วด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดีมีสหายดี มีเพื่อนดี. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดีมีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายประกอบด้วยธรรมที่กระทําให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเคารพ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทําให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเคารพ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอุบาย ในกรณียกิจนั้นๆ สามารถทํา สามารถวิจารณ์ในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย. แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอุบาย ในกรณียกิจนั้นๆ สามารถทํา สามารถวิจารณ์ในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมชยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย. แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมชยิ่งในพระอภิธรรม

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 257

ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.

๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม

๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมเป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.

๙. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทําแล้วนาน แม้คําที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ ระลึกได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทําแล้วนาน แม้คําที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ ระลึกได้ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.

๑๐. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชําแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็น

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 258

ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชําแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็น นาลกรณธรรม.

[๓๕๘] กสิณายตนะ คือ แดนกสิณ ๑๐

๑. ผู้หนึ่ง ย่อมจําปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง คล่องแคล่ว ประมาณมิได้

๒. ผู้หนึ่ง ย่อมจําอาโปกสิณได้ ...

๓. ผู้หนึ่ง ย่อมจําเตโชกสิณได้ ...

๔. ผู้หนึ่ง ย่อมจําวาโยกสิณได้ ...

๕. ผู้หนึ่ง ย่อมจํานีลกสิณได้ ...

๖. ผู้หนึ่ง ย่อมจําปีตกสิณได้ ...

๗. ผู้หนึ่ง ย่อมจําโลหิตกสิณได้ ...

๘. ผู้หนึ่ง ย่อมจําโอทาตกสิณได้ ...

๙. ผู้หนึ่ง ย่อมจําอากาสกสิณได้ ...

๑๐. ผู้หนึ่ง ย่อมจําวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง คล่องแคล่ว ประมาณมิได้.

[๓๕๙] อกุศลกรรมบถ ๑๐

๑. ปาณาติบาต

๒. อทินนาทาน

๓. กาเมสุมิจฉาจาร

๔. มิสาวาท

๕. ปิสุณาวาจา

๖. ผรุสาวาจา

๗. สัมผัปปลาปะ

๘. อภิชฌา

๙. พยาบาท

๑๐. มิจฉาทิฏฐิ.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 259

[๓๖๐] กุศลกรรมบถ ๑๐

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป

๒. อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม

๔. มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ

๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด

๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคําหยาบ

๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ

๘. อนภิชฌา ความไม่โลภอยากได้ของเขา

๙. อัพยาบาท ความไม่ปองร้ายเขา

๑๐. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ.

[๓๖๑] อริยวาส ๑๐

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีองค์ห้าละขาดแล้ว

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก

๓. เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง

๔. เป็นผู้มีที่พึ่งสี่

๕. เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว

๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้แล้วโดยชอบ

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 260

๗. เป็นผู้มีความดําริไม่ขุ่นมัว

๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบ

๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว

๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีองค์ห้าละขาดแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีกามฉันทะละได้ขาดแล้ว มีความพยาบาทละได้ขาดแล้ว มีถิ่นมิทธะละได้ขาดแล้ว มีอุทธัจจกุกกุจจะละได้ขาดแล้ว มีวิจิกิจฉาละได้ขาดแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีองค์ห้าอันละได้ขาดแล้ว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ฟังเสียงด้วยหูแล้ว.. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว.. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว.. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยใจอันมีสติเป็นเครื่องคุ้มครอง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีที่พึ่งสี่.

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 261

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีที่พึ่งสี่

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัจจะเฉพาะอย่างเป็นอันมาก ของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมเป็นธรรมอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทําให้เบาแล้ว บรรเทาแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละสละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้โดยชอบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีการแสวงหากามอันละได้แล้ว มีการแสวงหาภพอันละได้แล้ว มีการแสวงหาพรหมจรรย์อันสละคืนแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้โดยชอบ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีความไม่ขุ่นมัว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละความดําริในกามได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความดําริในพยาบาทได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความดําริในการเบียดเบียนได้ขาดแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีความดําริไม่ขุ่นมัว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้า

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 262

ถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์และสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบแล้ว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตพ้นแล้วจากราคะ มีจิตพ้นแล้วจากโทสะ มีจิตพ้นแล้วจากโมหะ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ราคะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทําให้เป็นดุจตาลยอดด้วนแล้ว ทําให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกเป็นธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทําให้เป็นดุจต้นตาลยอดด้วนแล้ว ทําให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โมหะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นได้แล้ว กระทําให้เป็นดุจต้นตาลยอดด้วน ทําให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว.

[๓๖๒] อเสขธรรม ๑๐

๑. สัมมาทิฏฐิที่เป็นของพระอเสขะ

๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นของพระอเสขะ

๓. สัมมาวาจาที่เป็นของพระอเสขะ

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 263

๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นของพระอเสขะ

๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นของพระอเสขะ

๖. สัมมาวายามะที่เป็นของพระอเสขะ

๗. สัมมาสติที่เป็นของพระอเสขะ

๘. สัมมาสมาธิที่เป็นของพระอเสขะ

๙. สัมมาญาณะที่เป็นของพระอเสขะ

๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นของพระอเสขะ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๑๐ เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกัน การที่พรหมจรรย์นี้ยั่งยืน ตั้งอยู่นานแล้ว ก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

จบสังคีติธรรมหมวด ๑๐

[๓๖๓] ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแล้วตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอได้ภาษิตสังคีติปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นการดีแล้ว ดังนี้. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสังคีติปริยายนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้นต่างก็ดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้ว ดังนี้แล.

จบสังคีติสูตรที่ ๑๐