พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อาฏานาฏิยสูตร เรื่องท้าวจาตุมหาราช

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 ก.ค. 2564
หมายเลข  34561
อ่าน  827
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 123

๙. อาฏานาฏิยสูตร

เรื่องท้าวจาตุมหาราช

[๒๐๗] ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระเจ้า) ได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์. ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตั้งการคุ้มครองไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งกองทัพไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งการป้องกันไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วยเสนายักษ์กองใหญ่ ด้วยเสนาคนธรรพ์กองใหญ่ ด้วยเสนากุมภัณฑ์กองใหญ่และด้วยเสนานาคกองใหญ่ เมื่อล่วงราตรีไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่ง ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้ สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายยักษ์เหล่านั้น บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นสัมโมทนียกถา อันเป็นที่ระลึกถึงกันผ่านไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒๐๘] ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นสูงบางพวกที่เลื่อมใสต่อ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 124

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่ไม่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นต่ําที่ไม่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นต่ําที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยมากยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรม เพื่องดเว้นจากปาณาติบาต ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากอทินนาทาน ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากมุสาวาท ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. แต่โดยมากพวกยักษ์ มิได้งดเว้นจากปาณาติบาต มิได้งดเว้นจากอทินนาทาน มิได้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มิได้งดเว้นจากมุสาวาท มิได้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ข้อนั้นจึงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหล่านั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าบางพวก ย่อมเสพเสนาสนะอันเป็นราวไพร ในป่า มีเสียงน้อย มีเสียงดังน้อย ปราศจากลมแต่ชนผู้เดินเข้าออก ควรแก่การทํากรรมอันเร้นลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมีอยู่ในป่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์ เพื่อให้ยักษ์พวกที่ไม่เลื่อมใสในคําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เลื่อมใส เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สําราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ. ลําดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทรงทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ทรงกล่าวอาฏานาฏิยรักษ์นี้ ในเวลานั้นว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 125

    [๒๐๙] ขอนอบน้อมแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ มีพระสิริ

    ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั่วหน้า

    ขอนอบน้อมแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชําระกิเลส มีความเพียร

    ขอนอมน้อมแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงย่ํายีมารและเสนามาร

    ขอนอบน้อมแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์

    ขอนอบน้อมแด่พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้พ้นพิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง

    ขอนอบน้อมแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า ผู้ศากยบุตร ผู้มีพระสิริ

    พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงแสดงธรรมนี้ อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง

    อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่าใดผู้ดับแล้วในโลก ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้าม

    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นอบน้อมพระ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 126

พุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้โคตมโคตรทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้าม.

    พระสุริยาทิตย์มีมณฑลใหญ่ขึ้นแต่ทิศใด เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นราตรีก็หายไป.

    เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นย่อมเรียกว่ากลางวัน แม้ห้วงน้ำในที่พระอาทิตย์ขึ้นนั้นเป็นสมุทรลึก มีน้ำแผ่เต็มไป ชนทั้งหลายย่อมรู้จักห้วงน้ำนั้น ในที่นั้นอย่างนี้ว่า สมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป

    [๒๑๐] แต่นี้ไป ทิศที่ชนเรียกกันว่า ปุริมทิศที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของคนธรรพ์ทรงนามว่า ท้าวธตรัฏฐ์อันพวกคนธรรพ์แวดล้อมแล้วทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรําขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่.

    ข้าพเจ้าสดับมาว่า โอรสของท้าวเธอมีมากองค์ มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์ มีพระนามว่า อินทะ ทรงพระกําลังมาก ท้าวธตรัฏฐ์และพระโอรสเหล่านั้นเห็นพระพุทธเจ้า ผู้เบิกบานแล้ว เป็นเผ่าพันธ์ุแห่งพระอาทิตย์ พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 127

ปราศจากความครั่นคร้ามแต่ที่ไกล.

ข้าแต่พระผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระอุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ก็ถวายบังคมพระองค์.

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับมาเนืองๆ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคมพระชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่าถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้โคดม ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

ชนทั้งหลายผู้กล่าวส่อเสียด ผู้กัดเนื้อข้างหลังทําปาณาติบาตลามกเป็นโจร เป็นคนตลบตะแลงตายแล้ว ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนําออกไปโดยทิศใด.

ท้าววิรุฬหะถวายบังคม

[๒๑๑] แต่นี้ไปทิศที่ชนทั้งหลายเรียกกันว่า ทักขิณทิศ มหาราชผู้ทรงยศเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 128

พวกกุมภัณฑ์ทรงนามว่าท้าววิรุฬหะ อันพวกกุมภัณฑ์แวดล้อมทรงโปรดปรานการฟ้อนรําขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่.

    ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าวเธอมีมากองค์ มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์ มีพระนามว่าอินทะ ทรงพระกําลังมาก ทั้งท้าววิรุฬหะและพระโอรสเหล่านั้นได้เห็น พระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ยิ่งปราศจากความครั่นคร้ามแต่ที่ไกล.

    ข้าแต่พระผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระอุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระ ญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ก็ถวายบังคมพระองค์.

    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับมาอย่างนั้นเนืองๆ ฉะนั้นจึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคมพระชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 129

ถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายบังคมพระพุทธโคดม ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ.

พระสุริยาทิตย์ มีมณฑลใหญ่ตกในทิศใด และเมื่อพระอาทิตย์ตก กลางวันดับไป ครั้นพระอาทิตย์ตกแล้ว ย่อมเรียกกันว่ากลางคืน.

แม้ห้วงน้ำในที่พระอาทิตย์ตกแล้ว เป็นสมุทรลึกมีน้ำแผ่เต็มไป ชนทั้งหลายย่อมรู้จักห้วงน้ำนั้น ในที่นั้นอย่างนี้ว่า สมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป.

ท้าววิรูปักษ์ถวายบังคม

[๒๑๒] แต่นี้ไปทิศที่มหาชนเรียกกันว่า ปัจฉิมทิศ ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกนาค ทรงนามว่า ท้าววิรูปักษ์ อันพวกนาคแวดล้อมแล้ว ทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรําขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่.

ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าวเธอมีมากองค์ มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์ มีนามว่า อินทะ ทรงพระกําลังมาก ทั้งท้าววิรูปักษ์และโอรสเหล่านั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 130

พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้ามแต่ที่ไกลเทียว.

    ข้าแต่พระผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระอุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็ถวายบังคมพระองค์.

    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้สดับมาอย่างนั้นเนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านทั้งหลายถวายบังคมพระชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอถวายบังคมพระพุทธโคดม ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ.

    อุตตรกุรุทวีป เป็นรมณียสถาน มีภูเขาหลวงชื่อ สิเนรุ แลดูงดงาม ตั้งอยู่ทิศใด พวกมนุษย์ซึ่งเกิดในอุตตรกุรุทวีปนั้นไม่ยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตน ไม่หวงแหนกัน

    มนุษย์เหล่านั้นไม่ต้องหว่านพืช และไม่ต้องนําไถออกไถ หมู่มนุษย์บริโภคข้าวสาลี

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 131

อันผลิตผลในที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรํา ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม เป็นเมล็ดข้าวสารหุงในเตาอันปราศจากควัน แล้วบริโภคโภชนะแต่ที่นั้น.

ทําแม่โคให้มีกีบเดียว แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ทําสัตว์เลี้ยงให้มีกีบเดียว เที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.

ทําหญิงให้เป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ทําชายให้เป็นพาหนะแล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.

ทํากุมารีให้เป็นพาหนะแล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ทํากุมารให้เป็นพาหนะแล้วเที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.

บรรดานางบําเรอของพระราชานั้นก็ขึ้นยานเหล่านั้นตามห้อมล้อมไปทุกทิศด้วย.

ยานช้าง ยานม้า ยานทิพย์ ปราสาท และ วอ ก็ปรากฏแก่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ.

และท้าวมหาราชนั้นได้ทรงนิรมิตนครไว้บนอากาศคือ อาฏานาฏานคร กุสินาฏานคร ปรกุสินาฏานคร นาฏปริยานคร ปรกุสิตนาฏานคร.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 132

    ทางทิศอุดร มีกปีวันตนคร และอีกนครหนึ่งชื่อ ชโนฆะ อีกนครหนึ่งชื่อ นวนวติยะ อีกนครหนึ่งชื่อ อัมพรอัมพรวติยะ มีราชธานีชื่อ อาฬกมันทา ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ราชธานีของท้าวกุเวรมหาราช ชื่อวิสาณา ฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า ท้าวเวสวัณ.

    ยักษ์ชื่อ ตโตลา ชื่อตัตตลา ชื่อตโตตลา ชื่อโอชสี ชื่อเตชสี ชื่อตโตชสี ชื่อสุระ ชื่อราชา ชื่ออริฏฐะ ชื่อเนมิ ย่อมปรากฏมีหน้าที่คนละแผนก.

    ในวิสาณราชธานีนั้นมีห้วงน้ำชื่อ ธรณี เป็นแดนที่เกิดเมฆ เกิดฝนตก ในวิสาณราชธานีนั้นมีสภาชื่อ ภคลวดี เป็นที่ประชุมของพวกยักษ์.

    ณ ที่นั้น มีต้นไม้เป็นอันมาก มีผลเป็นนิจ ดารดาษด้วยหมู่นกต่างๆ มีนกยูงนกกะเรียน นกดุเหว่า อันมีเสียงหวานประสานเสียง มีนกร้องชื่อว่า ชีวะ ชีวะ และบางเหล่ามีเสียงปลุกใจ มีไก่ป่า มีปู และนกโปรขรสาตกะ อยู่ในสระประทุม.

    ในที่นั้นมีเสียงนกสุกะ และนกสาลิกา

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 133

และหมู่นกทัณฑมาณวะ สระนฬินีของท้าวกุเวรนั้นงดงามอยู่ตลอดกาล.

ท้าวกุเวรถวายบังคม

[๒๑๓] แต่ทิศนี้ไปทิศที่ชนเรียกกันว่า อุตตรทิศ ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของยักษ์ทั้งหลาย ทรงนามว่าท้าวกุเวร อันยักษ์ทั้งหลายแวดล้อมแล้วทรงโปรดปราน ด้วยการฟ้อนรําขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่.

ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าวเธอมีมากองค์ มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดพระองค์ มีพระนามว่า อินทะ ทรงพระกําลังมาก.

ทั้งท้าวกุเวรและโอรสเหล่านั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธ์ุแห่งพระอาทิตย์ พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้ามแต่ที่ไกล.

ข้าแต่พระบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระอุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วย

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 134

พระญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ก็ถวายบังคมพระองค์.

ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับอย่างนั้นมาเนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนั้น พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคมพระชินโคดมหรือ พวกเขาก็พากันตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ.

ว่าด้วยวิธีป้องกันอมนุษย์

[๒๑๔] ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้นั้น เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อสุขสําราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้ใดผู้หนึ่ง ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม จักเป็นผู้ยึดถือด้วยดี เรียนครบบริบูรณ์ซึ่งอาฏานาฏิยรักษ์นี้ หากว่าอมนุษย์ เป็นยักษ์ เป็นยักษิณี เป็นบุตรยักษ์ เป็นธิดายักษ์ เป็นมหาอํามาตย์ยักษ์ เป็นบริษัทยักษ์ เป็นยักษ์ผู้รับใช้ เป็นคนธรรพ์ เป็นนางคนธรรพ์ เป็นบุตรคนธรรพ์ เป็นธิดาคนธรรพ์ เป็นมหาอํามาตย์ของคนธรรพ์ เป็นคนธรรพ์บริษัท เป็นคนธรรพ์ผู้รับใช้ เป็นกุมภัณฑ์ เป็นนางกุมภัณฑ์ เป็นบุตรกุมภัณฑ์ เป็นธิดากุมภัณฑ์ เป็นมหาอํามาตย์ของกุมภัณฑ์ เป็นกุมภัณฑ์บริษัท เป็นกุมภัณฑ์ผู้รับใช้ เป็นนาค เป็นนางนาค เป็นบุตรนาค เป็นธิดานาค เป็นมหาอํามาตย์

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 135

ของนาค เป็นนาคบริษัท หรือเป็นนาคผู้รับใช้ เป็นผู้มีจิตประทุษร้าย พึงเดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เดินไปอยู่ หรือ พึงยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ หรือพึงนั่งใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือพึงนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้นอนอยู่. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้สักการะ หรือ ความเคารพ ในบ้านหรือในนิคมของข้าพระพุทธเจ้า. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้วัตถุ หรือการอยู่ในราชธานี ชื่อว่าอาฬกมันฑาของข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้น ไม่พึงได้ เพื่อเข้าสมาคมของพวกยักษ์ของข้าพระพุทธเจ้า อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายไม่พึงทําการอาวาหะ และวิวาหะกะอมนุษย์. อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงบริภาษอมนุษย์นั้นด้วยความดูหมิ่น ครบบริบูรณ์ดังกล่าวแล้วโดยแท้. อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงครอบบาตรเปล่าบนศีรษะอมนุษย์นั้นโดยแท้ อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายพึงผ่าศีรษะอมนุษย์นั้นออก ๗ เสี่ยงโดยแท้.

    ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ทั้งหลาย ดุร้าย ร้ายกาจ ทําเกินเหตุ มีอยู่ อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อท้าวมหาราช ไม่เชื่อยักษ์เสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อถ้อยคําของรองยักขเสนาบดีของท้าวมหาราช. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้นแล ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นข้าศึกศัตรูของท้าวมหาราช. เหมือนโจรทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระราชามคธ โจรเหล่านั้นไม่เชื่อพระราชามคธ ไม่เชื่อเสนาบดีของพระราชามคธ ไม่เชื่อถ้อยคําของเสนาบดีของพระราชามคธ ไม่เชื่อรองเสนาบดีของพระราชามคธ ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มหาโจรเหล่านั้น ท่านกล่าวว่าชื่อว่า เป็นข้าศึก

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 136

ศัตรูของพระราชามคธ ฉันใด ก็อมนุษย์ทั้งหลาย ดุร้าย ร้ายกาจ ทําเกินกว่าเหตุมีอยู่ อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อท้าวมหาราช ไม่เชื่อยักขเสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อถ้อยคําของรองยักขเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้นแล ท่านกล่าวว่าเป็นข้าศึกศัตรูของท้าวมหาราชฉันนั้น. ก็อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นยักษ์ เป็นยักษิณี เป็นบุตรยักษ์ เป็นธิดายักษ์ เป็นมหาอํามาตย์ของยักษ์ เป็นยักขบริษัท เป็นยักษ์ผู้รับใช้ เป็นคนธรรพ์ เป็นนางคนธรรพ์ เป็นบุตรคนธรรพ์ เป็นธิดาคนธรรพ์ เป็นมหาอํามาตย์ของคนธรรพ์ เป็นคนธรรพ์บริษัท เป็นคนธรรพ์ผู้รับใช้ เป็นกุมภัณฑ์ เป็นนางกุมภัณฑ์ เป็นบุตรกุมภัณฑ์ เป็นธิดากุมภัณฑ์ เป็นมหาอํามาตย์ของกุมภัณฑ์ เป็นกุมภัณฑ์บริษัท เป็นกุมภัณฑ์ผู้รับใช้ เป็นนาค เป็นนางนาค เป็นบุตรนาค เป็นธิดานาค เป็นมหาอํามาตย์ของนาค เป็นนาคบริษัท หรือเป็นนาคผู้รับใช้ เป็นผู้มีจิตประทุษร้าย พึงเดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เดินอยู่ พึงยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ พึงนั่งใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ พึงนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกาผู้นอนอยู่. พึงยกโทษ พึงคร่ําครวญ พึงร้อง แก่ยักษ์ มหายักษ์ว่า ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้ติดตาม ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้ทําให้เดือดร้อน ยักษ์นี้ทําให้เกิดทุกข์ ยักษ์นี้ไม่ปล่อยดังนี้.

[๒๑๕] ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดี เหล่าไหน คือ

อินทะโสมะวรุณะ ภารทวาชะ ปชาปติ จันทนะ กามเสฏฐะ กินนุมัณฑุ นิฆัณฑุ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 137

ปนาทะ โอปมัญญะ เทวสูตะ มาตลิ จิตตเสนะ คันธัพพะ นโฬราชาชโนสภะ สาตาคิระ เหมวตะ ปุณณกะ กริติยะ คุละ สิวกะ มุจจลินทะ เวสสามิตตะ ยุคันธระ. โคปาละ สุปปเคธะ หิริ เนตตะ มันทิยะ ปัญจาลจันทะ อาลวกะ ปชุณณะ สุมุขะ ทธิมุขะ มณิ มานิจระ ทีฆะ และ เสรีสกะ.

    [๒๑๖] พึงยกโทษ พึงคร่ําครวญ พึงร้องแก่ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดี เหล่านี้ว่า ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้ติดตาม ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้ทําให้เดือดร้อน ยักษ์นี้ทําให้เกิดทุกข์ ยักษ์นี้ไม่ปล่อย ดังนี้.

    [๒๑๗] ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้แล เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สําราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ขอโอกาสบัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทํามาก ขอกราบทูลลาไป. ดูก่อน ท้าวมหาราชทั้งหลาย พวกท่านจงสําคัญซึ่งกาลอันควร ณ บัดนี้เถิด.

    [๒๑๘] ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกระทําประทักษิณ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง. พวกยักษ์แม้เหล่านั้นก็ลุกจากอาสนะ บางพวกก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทําประทักษิณ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านสัมโมทนียกถาอันเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 138

ได้อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกนั่งนิ่งแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง.

    [๒๑๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยราตรีนั้นล่วงไปได้ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตลอดราตรีนี้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตั้งกองรักษาไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งกองทัพไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งผู้ตรวจตราไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วยเสนายักษ์กองใหญ่ ด้วยเสนาคนธรรพ์กองใหญ่ ด้วยเสนากุมภัณฑ์กองใหญ่และด้วยเสนานาคกองใหญ่ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว เปล่งรัศมีงามยิ่ง ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสวเข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ยักษ์เหล่านั้นแล บางพวกไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านสัมโมทนียกถาอันเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประณมอัญชลีไปทางที่เราอยู่ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวเวสวัณมหาราช นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยักษ์ทั้งหลายชั้นสูงบางพวกไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นสูงเลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นกลางไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นกลางเลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นต่ําไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นต่ําเลื่อมใสพระผู้มี

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 139

พระภาคเจ้าก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญโดยมากยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แต่โดยมากพวกยักษ์มิได้งดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ข้อที่พระองค์ให้งดเว้นนั้น จึงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของพวกยักษ์เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าบางพวกเสพเสนาสนะอันสงัดราวไพรในป่า มีเสียงน้อย มีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากลมแต่ชนผู้เข้าออก ควรแก่การทํากรรมอันเร้นลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมักอยู่ในป่านั้น พวกใดมิได้เลื่อมใสในคําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์เพื่อให้ยักษ์พวกนั้นเลื่อมใส เพื่อความคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สําราญ ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารับโดยดุษณีภาพ. ครั้งนั้นแล ท้าวเวสวัณมหาราชทราบการรับของเราแล้ว ได้กล่าว อาฏานาฏิยรักษ์นี้ในเวลานั้นว่า

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 140

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้แล เพื่อความคุ้มครอง เพื่อความรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สําราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ขอโอกาสบัดนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทํามาก ขอกราบทูลลาไปดังนี้. ดูก่อน มหาบพิตร พวกท่านจงสําคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ลุกจากอาสนะ ไหว้เรา แล้วกระทําประทักษิณแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง แม้พวกยักษ์เหล่านั้นก็ลุกจากอาสนะ บางพวกไหว้เรา กระทําประทักษิณแล้ว อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันแล้ว ก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประนมอัญชลีไปทางที่เราอยู่ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประกาศชื่อและโคตรแล้วอันตรธานไป บางพวกนั่งนิ่งแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์ จงขวนขวายอาฏานาฏิยรักษ์ จงทรงอาฏานาฏิยรักษ์ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฏนาฏิยรักษ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สําราญแห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบอาฏานาฏิยสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 141

อรรถกถาอาฏานาฏิยสูตร

เอวมฺเม สุตนฺติ อาฏานาฏิยสุตฺตํ

ต่อไปนี้ เป็นการพรรณนาบทตามลําดับในสูตรนั้น. บทว่า ตั้งการรักษา ในทิศทั้ง ๔ ความว่า ตั้งอารักขาแก่ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดาทั้งหลายในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันทัพอสูร. บทว่า ตั้งกองทัพ คือ ตั้งกองกําลัง. บทว่า ตั้งผู้ตรวจตรา คือตั้งหน่วยรักษาการณ์ในทิศทั้ง ๔. อธิบายว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้จัดการอารักขาเป็นอย่างดี แก่ท้าวสักกะผู้เป็นเทวราชอย่างนี้ ประทับนั่งในอาฏานาฏานคร ปรารภถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระองค์ แล้วผูกเครื่องป้องกันนี้ แล้วประกาศว่า ผู้ใดไม่เชื่อฟังธรรม อาชญาของพระศาสดา และราชอาชญาของเรา เราจักทําสิ่งนี้ สิ่งนี้แก่ผู้นั้น ดังนี้ แล้วจัดอารักขาด้วยเสนา ๔ เหล่า มียักขเสนาใหญ่เป็นต้น ในทิศทั้ง ๔ ของตนเมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ฯลฯ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

อภิกกันตศัพท์ในบทนี้ว่า เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ดังนี้ ย่อมปรากฏในความว่า สิ้นไปดี งามยิ่ง ยินดียิ่ง เป็นต้น. อภิกกันตศัพท์ในบทนั้น ปรากฏในความสิ้นในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญราตรีสิ้นแล้ว ยามแรกผ่านไปแล้ว หมู่ภิกษุนั่งนานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงสวดพระปาฏิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิดพระพุทธเจ้าข้า. ในความว่าดีในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคล ๔ เหล่านี้ ดังนี้. ในความว่า รัศมีงาม ในบทมีอาทิว่า

ใครรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ด้วยยศ มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งหมดให้สว่างไสว ไหว้เท้าของเราดังนี้. ในความว่า น่ายินดียิ่งนักในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 142

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่ายินดียิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่ายินดียิ่งนัก ดังนี้ แต่อภิกกันตศัพท์ในที่นี้เป็นไปในความว่า สิ้นไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อราตรีล่วงไปคือ เมื่อราตรีสิ้นไปดังนี้.

    อภิกกันตศัพท์ในบทนี้ว่า มีรัศมีงามยิ่งนัก เป็นไปในรูปงามยิ่ง. แต่วัณณศัพท์ย่อมปรากฏในความว่าผิว สรรเสริญ ตระกูล เหตุ สัณฐาน ประมาณ รูปายตนะ เป็นต้น. ในบททั้งหลายนั้น วัณณศัพท์ เป็นไปในความว่า ผิว ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์มีผิวดุจทองคํา. วัณณศัพท์ เป็นไปในความว่า สรรเสริญ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนคหบดี ก็การสรรเสริญพระสมณโคดมของท่านจะปรากฏได้เมื่อไรดังนี้. เป็นไปในความว่าชาติตระกูลในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชาติตระกูล ๔ เหล่านี้ดังนี้. เป็นไปในความว่า เหตุ ในบทมีอาทิอย่างนี้ ว่า เออก็ด้วยเหตุไรหนอท่านจึงกล่าวว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น. เป็นไปในความว่าสัณฐาน ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า เนรมิต สัณฐาน เท่าพระยาช้างใหญ่ เป็นไปในความว่า ประมาณในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ประมาณของบาตร ๓ อย่าง. เป็นไปในความว่า รูปายตนะในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า รูป กลิ่น รส โอชะดังนี้. วัณณศัพท์นั้น ในที่นี้พึงทราบว่า เป็นไปในความว่า ผิว ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า มีรัศมีงามนัก คือมีผิวงามยิ่งดังนี้

    เกวลศัพท์ ในบทว่า เกวลกัปปะ นี้ มีความไม่น้อยเป็นต้นว่า ไม่มีส่วนเหลือ โดยมากไม่มีเจือปน ไม่ยิ่งไปกว่า แน่วแน่ แยกกัน. มีอธิบายด้วยประการนั้น คือ เกวลศัพท์ ความว่า ไม่มีส่วนเหลือในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. มีความว่า โดยมากในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ชาวเมืองอังคะ และชาวเมืองมคธ ส่วนมากเป็นผู้ใคร่จะถือเอา

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 143

ของเคี้ยว ของบริโภคจนเพียงพอแล้วหลีกไปดังนี้. มีความว่าไม่มีเจือปน ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า เป็นเหตุเกิดแห่งกองทุกข์ล้วนๆ มีความว่า ไม่ยิ่งกว่า ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้เพียงมีศรัทธาไม่ยิ่งไปกว่า. มีความว่า แน่วแน่ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า พระพาหิกะ สัทธิวิหาริกของท่าน อนุรุทธะตั้งอยู่ในสังฆเภทอย่างแน่วแน่. มีความว่า แยกกันในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า อุดมบุรุษ แยกกันอยู่ดังนี้. แต่ในที่นี้ เกวลศัพท์ท่านประสงค์เอาความ คือ ไม่มีส่วนเหลือ.

    อนึ่ง กัปปศัพท์นี้มีความหลายอย่าง เป็นต้นว่า ความเชื่ออย่างยิ่ง โวหาร กาล บัญญัติ การตัด วิกัป เลส ความเป็นโดยรอบ. มีอธิบายด้วยประการนั้น คือกัปปศัพท์มีความว่าความเชื่ออย่างยิ่ง ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า โดยที่พระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าควรไว้ใจได้ มีความว่า โวหาร ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อบริโภคผลไม้ด้วยโวหารของสมณะ ๕. มีความว่า กาลในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าเราอยู่ตลอดกาลเป็นนิจ. มีความว่า บัญญัติในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เป็นผู้บัญญัติไว้ด้วยประการฉะนี้. มีความว่า ตัดในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ตกแต่งแล้ว คือ ตัดผมและโกนหนวด. มีความ ว่า วิกัป ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ประมาณ ๒ นิ้ว จึงควร. มีความว่า เลสในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า หาเลส เพื่อจะนอนมีอยู่. มีความว่า ความเป็น โดยรอบ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ยังพระเวฬุวันให้สว่างไสว โดยรอบ ก็ในที่นี้ท่านประสงค์ กัปปศัพท์ มีความว่า ความเป็นโดยรอบ. เพราะฉะนั้น ในบทนี้ว่า ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสวดังนี้ พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ยังเขาคิชฌกูฏให้สว่างไสวโดยรอบ ไม่มีส่วนเหลือ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 144

    บทว่า ให้สว่างไสว ความว่าแผ่พระรัศมีพวยพุ่งจากสรีระ ประดับด้วยผ้าและดอกไม้. อธิบายว่า กระทําให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียว ให้รุ่งเรืองเป็นอันเดียว ดุจพระจันทร์และพระอาทิตย์. บทว่า เอกมนฺตํ นิสีทึสุ ความว่า ชื่อว่าที่นั่ง ในสํานักพระทศพลของเทวดาทั้งหลายไม่มาก. แต่ในพระสูตรนี้ พวกเทวดานั่งด้วยความเคารพพระปริต.

    บทว่า ท้าวเวสวัณ ความว่า ท่าวมหาราชทั้ง ๔ เสด็จมาก็จริง แต่ท้าวเวสวัณเป็นผู้คุ้นเคยของพระทศพล ฉลาดในการกราบทูล มีการศึกษาเป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นท้าวเวสวัณมหาราช จึงได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้า บทว่า ชั้นสูง คือเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่ถึงพร้อมด้วยอานุภาพ. บทว่า เพื่อเว้นจากปาณาติบาต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโทษอันเป็นไปในปัจจุบันและภพหน้า ในปาณาติบาต แล้วทรงแสดงธรรม เพื่อเว้นจากปาณาติบาตนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. บทว่า ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมักอยู่ในป่านั้นก็มี ความว่า ในเสนาสนะเหล่านั้น มียักษ์ชั้นสูงมักอยู่เป็นประจํา. บทว่า อาฏานาฏิยะ ความว่า ชื่ออย่างนี้เพราะผูกขึ้นใน อาฏานาฏานคร. ถามว่า ชื่อว่าธรรมที่ไม่แจ่มแจ้งมีอยู่แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ. ตอบว่า ไม่มี. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุไร ท้าวเวสวัณจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดเรียนอาฏานาฏิยรักษ์เถิดพระเจ้าข้า ดังนี้. ตอบว่า เพื่อหาโอกาส. ด้วยว่าท้าวเวสวัณนั้นคอยโอกาสเพื่อจะให้ได้ฟังพระปริตนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลอย่างนี้ โบราณกบัณทิตกล่าวว่า เมื่อท้าวเวสวัณกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วพระปริตนี้จักเป็นครูดังนี้

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 145

บ้าง. บทว่า เพื่อความอยู่สําราญ ความว่า เพื่ออยู่เป็นสุข ในอิริยาบถ ทั้ง ๔ มีเดิน ยืน เป็นต้น.

    บทว่า มีจักษุ ความว่า ไม่ใช่พระวิปัสสีพุทธเจ้าเท่านั้นมีจักษุ แม้พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ก็มีจักษุ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ ย่อมมีชื่อเจ็ดอย่างเหล่านี้. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็มีจักษุ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้า ผู้ทรงชําระกิเลส เพราะมีกิเลสอันทรงชําระแล้ว ทรงย่ํายีมารและเสนามาร ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ทรงพ้นวิเศษแล้ว มีพระนามว่า อังคีรส เพราะรัศมีออกจากพระวรกาย. อนึ่ง ชื่อทั้งเจ็ดเหล่านี้ มิใช่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยสิ้นเชิง ท่านกล่าวว่า ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ ด้วยมีคุณย่อมมีชื่อนับไม่ถ้วน. ก็ท้าวเวสวัณกล่าวอย่างนี้ ด้วยสามารถพระนามอันปรากฏแก่ตน.

    ในบทว่า ชนเหล่านั้นนี้ ท่านประสงค์ถึงชนผู้เป็นขีณาสพ. บทว่า ไม่ส่อเสียด นี้เพียงเป็นยอดของเทศนา. อธิบายว่า ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ พูดพอประมาณ. บทว่า มหตฺตา ความว่า ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่. บาลีว่า มหนฺตา ดังนี้บ้าง. ความว่า ใหญ่ บทว่า ปราศจากความครั่นคร้าม คือ ไม่มีความครั่นคร้าม ปราศจากขนพองสยองเกล้า. บทว่า ประโยชน์เกื้อกูล คือเป็นประโยชน์ด้วยการแผ่เมตตา. ค่าว่า ยํ ในบทนี้ว่า ยํ นมสฺสนฺติ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า มหตฺตํ ได้แก่ ใหญ่. อีกประการหนึ่งบาลีก็เป็นอย่างนี้ เป็นอันท่านกล่าวบทนี้ไว้ว่า บทว่า พระพุทธเจ้าเหล่าใด ผู้ดับแล้วในโลก ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดับแล้วด้วยการดับกิเลสทรงเห็นแจ้งตาม

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 146

ความเป็นจริง อนึ่ง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นอบน้อมพระโคดม ผู้ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีวิชชา เป็นต้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายแม้เหล่านั้น ไม่ตรัสส่อเสียด ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้า แม้เหล่านั้น. แต่ในอรรถกถากล่าวว่า บทว่า ชนทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียดดังนี้. ท้าวเวสวัณมหาราชกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยคาถาบทแรกอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชกล่าวคาถาบทแรกด้วยอํานาจของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระองค์. บทว่า พระโคดม ในคาถาที่สองนี้เป็นเพียงมุขของเทศนา. พึงทราบคาถาที่สองนี้ว่า ท้าวเวสวัณมหาราชกล่าวด้วยอํานาจของพระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์เหมือนกัน. ก็ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิตในโลกย่อมนอบน้อมพระโคดมพระองค์ใด ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระโคดมนั้น และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่มีมาก่อน แต่พระโคดมนั้น. บทว่า ยโต อุคฺคจฺฉติ ความว่า ย่อมขึ้นแต่ที่ใด.

    บทว่า พระอาทิตย์ ได้แก่บุตรของพระอาทิติ. หรือว่าบทนี้เป็นเพียงไวพจน์ของ สุริยศัพท์. พระอาทิตย์ชื่อว่า มัณฑลีมหา เพราะมีมณฑลใหญ่. บทว่า ยสฺส จุคฺคจฺฉมานสฺ ความว่า ครั้นพระอาทิตย์ใดขึ้นอยู่. บทว่า สํวรีปิ นิรุชฺฌติ ความว่ากลางคืนย่อมหายไป. บทว่า ยสฺส จุคฺคเต ความว่าครั้นพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว. บทว่า รหโท ความว่าห้วงน้ำ. บทว่า ในที่นั้น ความว่าในที่ที่พระอาทิตย์ขึ้น. บทว่า สมุทฺโท คือ สมุทรใด ท่านกล่าวว่า ห้วงน้ำ สมุทรนั้นไม่ใช่อื่น คือสมุทรนั้น

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 147

เอง. บทว่า มีน้ำแผ่เต็มไป คือน้ำไหลเอ่อ ความว่า แม่น้ำทั้งหลายมีประการต่างๆ แผ่เต็มไปหรือไหลเข้าไปในน้ำของสมุทรนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป. บทว่า ชนทั้งหลายย่อมรู้จักห้วงน้ำนั้นในที่นั้นอย่างนี้ ความว่า ย่อมรู้ห้วงน้ำนั้นในที่นั้นอย่างนี้. ถามว่า รู้จักว่าอย่างไร. ตอบว่า รู้จักอย่างนี้ว่า สมุทรมีน้ำแผ่ไปเต็มดังนี้. บทว่า แต่นี้ไป ความว่า แต่ภูเขาสิเนรุหรือ แต่ที่ที่พวกเทวดาเหล่านั้นนั่ง. บทว่า ชโน คือ มหาชนนี้. บทว่า มีชื่อเดียว คือมีชื่อเดียวว่า อินทะ. ได้ยินว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ตั้งชื่อของท้าวสักกเทวราชให้เป็นชื่อของโอรสเหล่านั้นทุกพระองค์. บทว่า อสีติ ทส เอโก จ คือบุตร ๙๑ พระองค์ บทว่า อินทนามะ คือมีชื่ออย่างนี้ว่า อินทะ อินทะ. บทว่า พระพุทธเจ้าผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ความว่า ผู้ตื่นแล้ว เพราะปราศจากความหลับ คือกิเลส ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะความเป็นผู้มีโคตรเสมอด้วยพระอาทิตย์. บทว่า พระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยความฉลาด ความว่า ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระสัพพัญุตญาณ อันไม่มีโทษ หรือละเอียด. บทว่า แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็พากันถวายบังคมพระองค์ ความว่า แม้อมนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูมหาชนด้วยสัพพัญุตญาณ แล้วก็พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น บทว่า สุตํ เนตํ อภิณฺหโส ความว่า ความข้อนั้นข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังเนืองๆ. บทว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถวายบังคมพระชินโคดม ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคมพระชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม. บทว่า ตายแล้ว ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนําออกไปโดยทิศใด

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 148

ความว่า ชนตายแล้วชื่อว่าเปรต ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนําชนผู้ตายแล้วเหล่านั้นออกไปโดยทิศใด. บทว่า พูดส่อเสียดกัดเนื้อข้างหลัง ความว่า ผู้กล่าวคําส่อเสียดนั่นแล เป็นดุจกัดเนื้อข้างหลัง และ ติเตียนลับหลัง ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จะนําชนเหล่านี้ออกไปโดยทิศใด. ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายนําคนเหล่านั้น แม้ทั้งหมดออกทางทิศทักษิณ จงเผา หรือจงทําลาย หรือจงฆ่า ด้านทิศทักษิณของพระนคร ดังนี้.

    บทว่า แต่นี้ไปทิศที่ชนเรียกกันว่า ทิศทักษิณนั้น ความว่า ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนําคนที่กล่าวส่อเสียดเป็นต้น ที่ตายไปแล้ว ออกไปโดยทิศาภาคใด แต่นี้ไปทิศที่ชนเรียกกันว่าทิศทักษิณนั้น. บทว่า แต่นี้ไป ความว่า แต่ภูเขาสิเนรุ หรือแต่ที่ที่เทวดาเหล่านั้นนั่ง. บทว่า เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกกุมภัณฑ์ ความว่า ได้ทราบว่าเทาดาเหล่านั้นเป็นผู้มีท้องใหญ่. อนึ่ง ลูกอัณฑะของเทวดาเหล่านั้นใหญ่ดุจหม้อ เพราะ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า กุมภัณฑ์. บทว่า พระอาทิตย์ตกในที่ใด ความว่า พระอาทิตย์อัสดงคตโดยทิศาภาคใด โดยทิศาภาคนั้น. บทว่า มหาเนรุ คือ ภูเขาหลวงชื่อสิเนรุ. บทว่า ดูงดงาม คือ ดูงามเพราะสําเร็จด้วยทอง. ด้วยว่า ข้างทิศปราจินของภูเขาสิเนรุสําเร็จด้วยเงิน ข้างทิศทักษิณสําเร็จด้วยแก้วมณี ข้างทิศปัจฉิมสําเร็จด้วยแก้วผลึก ข้างทิศอุดรสําเร็จด้วยทอง ข้างทิศอุดรนั้นเป็นข้างที่ดูเพลิน เพราะฉะนั้น ภูเขาสิเนรุ เป็นภูเขาที่ดูงดงาม โดยทิศาภาคใด นี้เป็นใจความในภูเขาสิเนรุนี้. บทว่า มนุสฺสา ตตฺถ ชายนฺติ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเกิดในอุตตรกุรุทวีปนั้น.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 149

บทว่า ไม่ยึดถือว่าเป็นของตน ความว่า เว้นจากความยึดถือว่าเป็นของเรา แม้ในผ้าอาภรณ์ น้ำดื่ม และของบริโภคเป็นต้น. บทว่า ไม่หวงแหนกัน คือ ไม่หวงแหนด้วยความหวงแหนในหญิง. อธิบายว่า ได้ยินว่า มนุษย์เหล่านั้นไม่มีความหวงแหนว่า นี้ภรรยาของเรา. ความกําหนัดด้วยความพอใจย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะเห็นมารดาหรือน้องสาว. บทว่า ไม่ต้องนําไถออกไถ ความว่า แม้ไถก็ไม่ต้องนําออกไปสู่นาด้วยความประสงค์ว่า เราจักทําการกสิกรรมในนานั้น. บทว่า ข้าวสาลีอันผลิตผลในที่ไม่ต้องไถ ความว่า ข้าวสาลีเกิดขึ้นเองในป่าอันเป็นพื้นที่ที่ไม่ต้องไถ. บทว่า เป็นเมล็ดข้าวสาร คือ ข้าวสารนั้นแล เป็นผลของพื้นที่นั้น บทว่า หุงในเตาอันปราศจากควัน คือ เกลี่ยข้าวสารลงไปในหม้อ แล้วหุงด้วยไฟอันปราศจากควัน และเถ้า. ได้ยินว่า ในที่นั้น ชื่อโชติกปาสาณะ ที่นั้นชนทั้งหลายวางหิน ๓ ก้อน แล้วยกหม้อขึ้นตั้ง ไฟตั้งขึ้นจากหินแล้วหุงข้าว. บทว่า บริโภคข้าวจากหม้อนั้นนั่นเอง ความว่า บริโภค โภชนะนั้นเองจากหม้อข้าวนั้น. ไม่แกงหรือผัดอย่างอื่น. อนึ่ง รสของข้าวนั้นเป็นรสบํารุงใจของผู้บริโภคอย่างดี. ชนเหล่านั้นย่อมให้แก่ผู้มาถึงที่นั้นทุกคน ชื่อว่าจิตตระหนี่ย่อมไม่มี. แม้พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงฤทธิ์มาก เสด็จไป ณ ที่นั้น ย่อมรับบิณฑบาต.

บทว่า ทําแม่โคให้มีกีบเดียว ความว่า ยักษ์ทั้งหลายผู้รับใช้ท้าวเวสวัณ จับแม่โคให้มีกีบเดียวเป็นพาหนะ เหมือนม้าแล้วขี่แม่โคนั้นติดตามไป สู่ทิศน้อยทิศใหญ่ คือ เที่ยวตามไปในทิศนั้นๆ. บทว่า กระทําปศุสัตว์ให้มีกีบเดียว ความว่า กระทําปศุสัตว์ ๔ เท้า ที่เหลือเว้นแม่โคให้มีกีบเดียว เป็นพาหนะ แล้วติดตามไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่. บทว่า กระทํา

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 150

สตรีให้เป็นพาหนะ ความว่า กระทํามาตุคามมีครรภ์ให้เป็นพาหนะแล้วนั่งบนหลัง มาตุคามนั้นเที่ยวไป. นัยว่า หลังของหญิงมีครรภ์นั้นอดกลั้นเมื่อจะก้มลง. หญิงนอกนี้ใช้เทียมยาน. บทว่า กระทําชายให้เป็นพาหนะ ความว่า จับชายให้เทียมยาน. อนึ่ง เมื่อจับไม่สามารถจับชนผู้เป็นสัมมาทิฏฐิได้. โดยมากจับพวกที่อยู่ชายแดน และคนป่าเถื่อน. ได้ยินว่า ชาวชนบทคนใดคนหนึ่งในจําพวกนี้นั่งหลับใกล้พระเถระรูปหนึ่ง. พระเถระถามว่า อุบาสกท่านหลับไปหรือ. เขาตอบ ท่านขอรับวันนี้ผมเพลีย เพราะรับใช้ท้าวเวสวัณตลอดคืน ขอรับ. บทว่า ทําเด็กหญิงให้เป็นพาหนะ ความว่า จับเด็กหญิงทําให้เป็นพาหนะเทียมรถ. แม้ในการจับเด็กชายให้เป็นพาหนะ ก็มีนัยนี้แล. บทว่า บรรดานางบําเรอของพระราชานั้น ความว่า หญิงผู้เป็นนางบําเรอของพระราชานั้น. บทว่า ยานช้าง ยานม้า ความว่า ไม่ใช่ยานโคอย่างเดียวเท่านั้น ขี่แม้ยานช้าง ยานม้า เป็นต้น เที่ยวไป บทว่า ยานทิพย์ ความว่า ยานทิพย์มากอย่างแม้อื่นก็ได้ปรากฏแก่มนุษย์เหล่านั้น. ยานเหล่านี้เป็นยานเข้าไปถึงมนุษย์เหล่านั้นก่อน. ก็มนุษย์เหล่านั้นนอนบนที่นอนอันประเสริฐที่ปราสาทและนั่งบนตั่งและวอเป็นต้น เที่ยวไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปราสาทและวอดังนี้. บทว่า ปรากฏแก่ท้างมหาราชผู้ทรงยศ ความว่า ยานเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ ผู้ถึงพร้อมด้วยอนุภาพอย่างนี้.

บทว่า และท้าวมหาราชนั้นได้ทรงนิรมิตนครไว้บนอากาศ ความว่า พระราชานั้นได้ทรงนิรมิตนครมี อาฏานาฏานครเป็นต้น เหล่านั้นไว้บนอากาศ คือ นครทั้งหลายได้มีแล้ว. ก็นครหนึ่งของท้าวมหาราชนั้น ได้ชื่อ อาฏานาฏา นครหนึ่งชื่อ กุสินาฏา นครหนึ่งชื่อ ปรกุสินาฏา

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 151

นครหนึ่งชื่อ นาฏปริยา นครหนึ่งชื่อ ปรกุสิฏนาฏา. บทว่า ทางทิศอุดรมีกปีอันตนคร ความว่า ตรงทิศอุดรมีนครอื่นชื่อ กปีวันตนคร ตั้งอยู่ในทิศอุดรนั้น. บทว่า อีกนครหนึ่งชื่อ ชโนฆะ ความว่า ในภาคอื่นของทิศอุดรนั้น มีนครอื่นชื่อ ชโนฆะ. บทว่า นวนวติยนคร ความว่า อีกนครหนึ่งชื่อ นวนวติยะ. อีกนครหนึ่งชื่อ อัมพรอัมพรวติยะ. บทว่า อาฬกมันทา ความว่ามีราชธานีอื่นอีกชื่อ อาฬกมันทา.

    บทว่า เพราะฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า ท้าวเวสวัณ ดังนี้ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ ท้าวมหาราชนี้เป็นพราหมณ์ ชื่อ กุเวร ได้สร้างโรงหีบอ้อย ประกอบเครื่องยนต์ ๗ เครื่อง กุเวรพราหมณ์ได้ให้ผลกําไรซึ่งเกิดขึ้นที่โรงเครื่องยนต์แห่งหนึ่ง แก่มหาชนที่มาแล้ว มาแล้วได้กระทําบุญ. ผลกําไรที่มากกว่า ได้ตั้งขึ้นในที่นั้น จากโรงที่เหลือ กุเวรพราหมณ์เลื่อมใสด้วยบุญนั้นจึงถือเอาผลกําไรที่เกิดขึ้น แม้ในโรงที่เหลือ ให้ทานตลอดสองหมื่นปี. เขาได้ถึงแก่กรรมไปเกิดเป็นเทพบุตรชื่อกุเวร ในสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา. ต่อมาได้ครองราชสมบัติในราชธานีชื่อ วิสาณะ. ตั้งแต่นั้น จึงเรียกว่า ท้าวเวสวัณ.

    บทว่า ย่อมปรากฏมีหน้าที่คนละแผนก ความว่า ยักษ์ผู้ดูแลแว่นแคว้น ๑๒ ตนเหล่าอื่นผู้เข้าไปพิจารณา พร่ําสอนประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมปรากฏมีหน้าที่คนละแผนก. ได้ยินว่า ยักษ์ผู้ดูแลแว่นแคว้นเหล่านั้น ถือข่าวไปประกาศแก่ยักษ์ผู้รักษาประตู ๑๒ ตน. ยักษ์ผู้รักษาประตูทั้งหลายประกาศข่าวนั้นแก่ท้าวมหาราช. บัดนี้ท้าวมหาราช เมื่อจะแสดงชื่อของ ยักษ์ผู้ดูแลแว่นแคว้นเหล่านั้น จึงกล่าวคํามีอาทิว่า ตโตละ ดังนี้. ได้ยินว่าบรรดายักษ์เหล่านั้น ยักษ์ตนหนึ่งชื่อ ตโตลา ตนหนึ่งชื่อ ตัตตลา ตนหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 152

ชื่อ ตโตตลา ตนหนึ่งชื่อ โอชลี ตนหนึ่งชื่อ เตชลี ตนหนึ่งชื่อ ตโตชลี. บทว่า สุโรราชา ความว่า ตนหนึ่งชื่อ สุโร ตนหนึ่งชื่อ ราชา ตนหนึ่งชื่อ สุโรราชา. บทว่า อริฏโ เนมิ ความว่า ตนหนึ่งชื่อ อริฏฐะ ตนหนึ่งชื่อ เนมิ ตนหนึ่งชื่อ อริฏเนมิ.

    บทว่า ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำชื่อธรณี ความว่า ก็ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำห้วงหนึ่งชื่อ ธรณี โดยชื่อ. ท่านกล่าวว่า มีสระโบกขรณีใหญ่กว้าง ๕๐ โยชน์. บทว่า เป็นแดนที่เกิดเมฆ ความว่า เมฆทั้งหลายรับน้ำจากสระโบกขรณี แล้วตกลงมา. บทว่า เกิดฝนตก ความว่า ฝนตกท่วม. ได้ยินว่า เมื่อเมฆตั้งเค้า น้ำเก่าย่อมไหลออกจากสระโบกขรณีนั้น. เมฆตั้งเค้าเบื้องบนยังสระโบกขรณีนั้นให้เต็มด้วยน้ำใหม่. น้ำเก่าเป็นน้ำมีในเบื้องต่ํา ย่อมไหลออกไป. เมื่อสระโบกขรณีน้ำเต็ม เมฆย่อมเคลื่อนไป. บทว่า สภา คือ สถานที่ประชุม ณ ฝังโบกขรณีนั้น มีมณฑปแก้วประมาณ ๑๒ โยชน์ล้อมด้วยเถาวัลย์ ชื่อ ภคลวดี. นี้ท่าน กล่าวหมายถึงมณฑปนั้น. บทว่า ปยิรุปาสนฺติ ความว่า นั่งอยู่ บทว่า ต้นไม้มีผลมาก ความว่า มณฑปแก้ว ย่อมแสดงถึงว่าต้นไม้มีมะม่วงและหว้า เป็นต้น ล้อมมณฑปนั้น ในที่นั้น แผ่ไปทุกเวลา และดอกไม้ มีดอกจําปาเป็นต้น บานอยู่เป็นนิจ. บทว่า ประกอบด้วยหมู่นกนานาชนิด คือ ดารดาษไปด้วยหมู่นกต่างๆ. บทว่า มีนกยูง นกกะเรียน เสียงหวาน ความว่า นกยูง นกกะเรียนมีเสียงหวาน ประสานเสียง. บทว่า ณ ที่นี้มีเสียงนกร้องว่า ชีวะ ชีวะ ความว่า ณ ที่นี้ มีเสียง นกชื่อ ชีว ชีวกะ ร้องอย่างนี้ว่า ชีวะ ชีวะ ดังนี้. บทว่า มีเสียงปลุกใจ ความว่า แม้นกมีเสียงปลุกใจ ก็ร้องอยู่อย่างนี้ ลุกขึ้นเถิด จิตตะ ลุกขึ้นเถิด

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 153

จิตตะ ดังนี้ ย่อมเที่ยวไปณ ที่นั้น. บทว่า ไก่ คือไก่ป่า. บทว่า ปู คือ ปูทอง. บทว่า ในป่า คือ ในสระประทุม. บทว่า โปกฺขรสาตกา ได้แก่ พวกนกชื่อ โปกฺขรสาตกา. บทว่า สุกสาลิกสทฺเทตฺถ ความว่า ในสระนั้น มีเสียงนกสุกะ และนกสาลิกา. บทว่า หมู่นกทัณฑมาณวก คือนกมีหน้าเหมือนคน. ได้ยินว่า นกเหล่านั้น เอาเท้าทั้งสองจับไม้ทองคํา แล้วเหยียบใบบัวใบหนึ่ง วางไม้ทองคําลงไปในบัวอันไม่มีระหว่าง เที่ยวไป. บทว่า สพฺพกาลํ สา ความว่า สระโบกขรณีนั้นงามตลอดกาล. บทว่า สระนพินีของท้าวกุเวร ความว่า สระนพินีของท้าวกุเวรเป็นสระปทุม สระนั้นชื่อ ธรณี งามอยู่ตลอดเวลาทุกเมื่อ.

    ท้าวเวสวัณ ยังอาฏานาฏิยรักษ์ให้สําเร็จลงแล้ว เมื่อจะแสดงการบริกรรมพระปริตนั้น จึงกล่าวบทนี้ว่า คนใดคนหนึ่ง. ในบทเหล่านั้น บทว่า เรียนดีแล้ว ความว่า อาฏานาฏิยรักษ์ อันผู้ใดผู้หนึ่ง ชําระอรรถ และพยัญชนะ และเรียนด้วยดี. บทว่า เล่าเรียนครบถ้วน ความว่า ไม่ให้บทและพยัญชนะเสื่อมแล้วเล่าเรียนครบถ้วน. ท่านแสดงไว้ว่า จริงอยู่พระปริต ย่อมไม่เป็นเดชแก่ผู้กล่าวผิดอรรถบ้าง บาลีบ้าง หรือว่าไม่ทําให้คล่องแคล่ว. พระปริตย่อมเป็นเดชแก่ผู้ทําให้คล่องแคล่ว ด้วยประการทั้งปวง แล้วกล่าวแน่แท้. แม้เมื่อเรียนเพราะลาภเป็นเหตุ แล้วกล่าวอยู่ ก็ไม่สําเร็จประโยชน์. พระปริตย่อมมีประโยชน์แก่ผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งการออกไปจากทุกข์ แล้วกระทําเมตตาให้เป็น ปุเรจาริก กล่าวอยู่นั่นแล. บทว่า ยักขปจาระ คือผู้รับใช้ยักษ์. บทว่า วัตถุ ได้แก่ วัตถุคือ เรือน. บทว่า ที่อยู่ ได้แก่การอยู่เป็นนิจในเรือนนั้น บทว่า สมิตึ คือ การสมาคม.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 154

บทว่า อนฺวยฺหํ ความว่าไม่ควรทําการอาวาหะ. บทว่า อวิวยฺหํ ความว่า ไม่ควรวิวาหะกับเขา. ความว่า ไม่พึงกระทําการอาวาหะ หรือวิวาหะกับเขา บทว่า ด้วยคําบริภาษอันบริบูรณ์ดังกล่าวแล้ว ความว่าอมนุษย์ทั้งหลายพึงน้อมเข้าไป ซึ่งอัตภาพของยักษ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ผู้มีตาสีคล้ำ ผู้มีฟันเหลืองดังนี้ แล้วบริภาษด้วยคําบริภาษอันมีพยัญชนะบริบูรณ์ดังที่กล่าวแล้ว. อธิบายว่า พึงด่าถ้อยคําของยักษ์. บทว่า บาตรแม้เปล่า ความว่า บาตรโลหะเช่นเดียวกับบาตรของภิกษุนั้นแหละ ครอบบาตรนั้นบนศีรษะตลอดถึงก้านคอ. เอาเสาเหล็กทุบบาตรนั้นในท่ามกลาง. บทว่า จณฺฑา คือ โกรธ รุทฺธา ได้แก่ ผิดพลาด. บทว่า รภสา คือ กระทําเกินเหตุ. บทว่า ไม่เชื่อท้าวมหาราช คือ ไม่ถือเอาคําพูด ไม่กระทําตามข้อบังคับ. บทว่า เสนาบดี ของท้าวมหาราช คือ เสนาบดียักษ์ ๒๘ ตน. บทว่า ปุริสกานํ ปุริสกานํ คือ อนุศาสน์ของยักษ์เสนาบดี. บทว่า อวรุทฺธา นาม ความว่า ปัจจามิตร คือ มีเวร. บทว่า พึงประกาศให้รู้ ความว่า ผู้ไม่สามารถจะกล่าวพระปริตให้พวกอมนุษย์หลีกไปได้ ควรประกาศให้ยักษ์ทั้งหลายรู้ ความว่าให้ยักษ์เหล่านั้นรู้. ก็แต่ว่าพึงยืนอยู่ ณ ที่นี้แล้ว กล่าวบริกรรมพระปริต.

อันที่จริงไม่ควรสวด อาฏานาฏิยสูตร ก่อนทีเดียว. ควรสวดพระสูตรเหล่านี้คือ เมตตาสูตร ธชัคคสูตร รตนสูตร ตลอด ๗ วัน. หากว่า พ้นไปได้ เป็นการดี หากไม่พ้น ควรสวดอาฏานาฏิยสูตร. ภิกษุผู้สวดอาฏานาฏิยสูตรนั้น ไม่ควรเคี้ยวแป้งหรือเนื้อ ไม่ควรอยู่ในป่าช้า. ถามว่าเพราะเหตุไร. ตอบว่า พวกอมนุษย์จะได้โอกาส. ที่ทําพระปริต ควรทําให้มีหญ้าเขียวชะอุ่ม ปูอาสนะให้เรียบร้อย ณ ที่นั้น แล้วพึงนั่ง. ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 155

ผู้กระทําพระปริต อันชนทั้งหลายนําออกจากวิหารไปสู่เรือน ควรล้อมด้วยเครื่องป้องกันคือกระดาน แล้วพึงนําไป. ไม่ควรนั่งนวดในที่แจ้ง. ภิกษุควรปิดประตูและหน้าต่างแล้วจึงนั่ง แวดล้อมด้วยมือเป็นอาวุธกระทําเมตตาจิต ในเบื้องหน้า แล้วสวด. ควรให้รับสิกขาบทก่อน แล้วสวดพระปริตแก่ผู้ตั้งอยู่ในศีล. แม้อย่างนี้ก็ไม่สามารถจะพ้นได้ ควรนําไปสู่วิหารให้นอนบนลานเจดีย์ให้ทําอาสนบูชา ตามประทีป ปัดกวาดลานเจดีย์ แล้วสวดมงคลกถา. ควรประกาศให้ประชุมทั้งหมด. ใกล้วิหาร มีด้านไม้ใหญ่ที่สุดอยู่ ควรส่งข่าวไป ณ ที่นั้นว่า หมู่ภิกษุย่อมรอการมาของพวกท่าน. ชื่อว่าการไม่มาในที่ประชุมทั้งหมด จะไม่ได้รับ แต่นั้น ควรถามผู้ที่ถูกอมนุษย์สิงว่า ท่านชื่อไร. เมื่อเขาบอกชื่อแล้ว ควรเรียกชื่อทีเดียว. ท่านควรปล่อยบุคคลชื่อนี้ เพราะส่วนบุญในการบูชาด้วยวัตถุมัดเอาไว้ และ ของหอมเป็นต้น ส่วนบุญในการบูชาอาสนะ ส่วนบุญในการถวายบิณฑบาตของท่าน หมู่ภิกษุสวดมหามงคลกถาเพื่อประโยชน์แก่บรรณาการของท่าน ด้วยความเคารพในหมู่ภิกษุ ขอท่านจงปล่อยเขาเถิด ดังนี้ หากอมนุษย์ไม่ปล่อย ควรบอกแก่เทวดาทั้งหลายว่า พวกท่านจงรู้ไว้เถิด อมนุษย์นี้ไม่ทําคําของพวกเรา เราจักกระทําพุทธอาชญาดังนี้.

    ควรสวดพระปริตนี้เป็นบริกรรมของคฤหัสถ์ก่อน ก็ถ้าภิกษุถูกอมนุษย์สิง ควรล้างอาสนะ แล้วประกาศให้ประชุมกันทั้งหมด ให้ส่วนบุญในการบูชามีของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วพึงสวดพระปริตนี้เป็นบริกรรมของภิกษุทั้งหลาย. บทว่า พึงประชุมกัน ความว่า พึงประกาศให้เสนาบดียักษ์ ๒๘ ตน ประชุมกันทั้งหมด. บทว่า พึงบอกกล่าว

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 156

ความว่า พึงบอกกล่าวกับเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นว่า ยักษ์นี้สิงดังนี้ เป็นต้น. บทว่า ติดตาม เป็นไวพจน์ของบทว่า สิง อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวว่า ติด คือ ไม่ออกไป. บทว่า เบียดเบียน ความว่า เบียดเบียน ทําให้โรคกําเริบบ่อยๆ. บทว่า ทําให้เกิดทุกข์ คือ ทําให้มีเนื้อและเลือดน้อย ให้เกิดทุกข์. บทว่า ไม่ปล่อย คือเป็นผู้ถูกจระเข้คาบ ไม่ปรารถนาจะปล่อย พึงบอกกล่าวเทวดาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้เพื่อแสดงถึงยักษ์ที่ควรบอกกล่าว จึงกล่าวคําเป็นต้นว่าแห่งยักษ์ทั้งหลายเหล่าไหนดังนี้

ในบทเหล่านั้น บทเป็นต้นว่า อินทะ โสมะ เป็นชื่อของยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้น ในยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้น ยักษ์ตนหนึ่งอาศัยอยู่ที่ภูเขา ชื่อว่า เวสสามิตตะ ชื่อยักษ์เวสสามิตตะ ยักษ์ที่อาศัยอยู่ที่ภูเขายุคนธระ ชื่อยักษ์ยุคนธระ ยักษ์ชื่อหิริเนตติ มัณฑิยะ มณิ มณิวระ ฑีฆะ และ เสรีสกะ กับยักษ์เหล่านั้น. บทว่า ควรประกาศให้ยักษ์น้อยยักษ์ใหญ่ เสนาบดี มหาเสนาบดีรู้ ความว่า พึงบอกแก่ยักษ์เสนาบดีทั้งหลายเหล่านี้ อย่างนี้ว่า ยักษ์นี้เบียดเบียนผู้นี้ ทําให้ผู้นี้เดือดร้อน ไม่ปล่อยผู้นี้ดังนี้ แต่นั้น ยักษ์เสนาบดีทั้งหลายเหล่านั้น จักกระทําความขวนขวายว่า หมู่ภิกษุย่อมกระทําธรรมอาชญาของตน แม้เราก็จะทําอาชญาของพระยายักษ์ของเราทั้งหลาย. ท้าวเวสวัณมหาราชเมื่อจะแสดงว่า โอกาสของพวกอมนุษย์จักไม่มี ด้วยอาการอย่างนี้ พุทธสาวกทั้งหลายก็จักอยู่สบาย จึงกราบทูลคําเป็นอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์ นี้นั้นแล ดังนี้. บททั้งหมดนั้น และบทอื่นจากนั้น มีความง่ายอยู่แล้วแล.

จบอรรถกถาอาฏานาฏิยสูตรที่ ๙