พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. จูฬราหุโลวาทสูตร ทรงโอวาทพระราหุล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ค. 2564
หมายเลข  34549
อ่าน  663

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 477

๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

ทรงโอวาทพระราหุล

อรรถกถาราหุโลวาทสูตร หน้า 483


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 477

๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

ทรงโอวาทพระราหุล

[๗๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหลีกเร้นประทับอยู่ในที่รโหฐาน ได้เกิดพระปริวิตกทางพระหฤทัยขึ้นอย่างนี้ว่า ราหุลมีธรรมที่บ่มวิมุตติแก่กล้าแล้วแล ถ้ากระไร เราพึงแนะนําราหุล ในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นเถิด.

[๗๙๖] ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองสบง ทรงบาตรจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ราหุล เธอจงถือผ้ารองนั่ง เราจักเข้าไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวันกัน ท่านพระราหุล ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วจึงถือผ้ารองนั่ง ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ก็สมัยนั้นแล เทวดา หลายพันคนได้ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปด้วยทราบว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงแนะนําท่านพระราหุลในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าถึงป่าอันธวันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่ท่าน พระราหุลปูลาด ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระราหุลก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

[๗๙๗] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 478

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

[๗๙๘] พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปร ปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

[๗๙๙] พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

[๘๐๐] พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน จักษุสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 479

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

ว่าด้วยเวทนาเป็นต้น

[๘๐๑] พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้น เที่ยง หรือไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เทียง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้า

[๘๐๒] พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน โสตเที่ยง หรือไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 480

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

[๘๐๓] พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา. นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

[๘๐๔] พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

[๘๐๕] . ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 481

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

[๘๐๖] พ. ดูก่อนราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

[๘๐๗] พ. ราหุล เธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้น เที่ยง หรือไม่เที่ยง

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า

[๘๐๘] พ. ราหุล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 482

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น.

ความเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น.

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกําหนัด เพราะคลายกําหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง นี้มีได้มี.

[๘๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุล จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล

ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคําเป็นไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของท่าน พระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น และเทวดาหลาย พันองค์นั้น ได้เกิดดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีหมดมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

จบ จูฬราหุโลวาทสูตร ที่ ๕

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 483

อรรถกถาราหุโลวาทสูตร

ราหุโลวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในพระสูตรนั้น คําว่า บ่มวิมุตติ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า บ่มวิมุตติ ก็เพราะทําวิมุตติให้สุกงอม. คําว่า ธรรม ได้แก่ธรรม ๑๕ อย่าง. ธรรมเหล่านั้น พึงทราบด้วยอํานาจแห่งของความหมดจดแห่ง อินทรีย์มีความเชื่อเป็นต้น สมจริง ดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า

(๑) อินทรีย์คือความเธอย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้คือ

ก. เว้นบุคคลผู้ไม่มีความเชื่อ

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้ บุคคลผู้มีความเชื่อ

ค. พิจารณาสูตรที่เป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใส

(๒) อินทรีย์คือความเพียรย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ

ก. เว้นบุคคลเกียจคร้าน

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร

ค. พิจารณาถึงความเพียรชอบ

(๓) อินทรีย์คือความระลึกย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านั้น คือ

ก. เว้นบุคคลผู้หลงลืมสติ

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งสติมั่น

ค. พิจารณาหลักการตั้งสติ (สติปัฏฐาน)

(๔) อินทรีย์คือความตั้งใจมั่นย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านั้น คือ

ก. เว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งใจมั่น


(๑) บาลี จูฬราหุโลวาทสูตฺต

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 484

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งใจมั่น

ค. พิจารณาฌานและวิโมกข์

(๕) อินทรีย์คือความรู้ชัดย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ

ก. เว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา

ค. พิจารณาญาณจริยาที่ลึกซึ้ง

เมื่อเว้นบุคคล ๕ พวกเสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคล ๕ พวก พิจารณา กองสูตร ๕ กองเหล่านี้ ดังว่ามานี้ ด้วยอาการ ๑๕ อย่างเหล่านี้ อินทรีย์ทั้ง ๕ อย่างก็ย่อมหมดจด. ยังมีธรรมสําหรับ บ่มวิมุตติอีก ๑๕ อย่างคือ อินทรีย์มีความเชื่อเป็นต้น เหล่านั้น ๕ อย่าง ความสําคัญอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด (นิพเพธภาคิยสัญญา) ๕ อย่างเหล่านี้คือ ความสําคัญว่าไม่เที่ยง ความสําคัญว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ความสําคัญว่าไม่ใช่ตัวตนในสิ่งที่เป็นทุกข์ ความ สําคัญในการละ ความสําคัญในวิราคะ และธรรมอีก ๕ อย่างมีความเป็น ผู้มีมิตรดีงามเป็นต้น ที่ตรัสแก้พระเมฆิยเถระ

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดําริอย่างนี้ในเวลาใดเล่า. ตอบว่า เมื่อพระองค์ทรงตรวจดูโลก ในสมัยใกล้สว่าง ก็ทรงมีพระดําริอย่างนี้. คําว่า เทวดาหลายพันองค์ ความว่า ทานพระราหุลตั้งความปรารถนาไว้ แทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในครั้งที่เป็น พญานาคชื่อปาลิต พร้อมกับเทวดาที่ตั้งความปรารถนาไว้เหมือนกัน. ก็แหละ บรรดาเทวดาเหล่านั้น บางพวกก็เป็นเทวดาอยู่บนแผ่นดิน. บางพวกก็เกิดใน อากาศ. บางพวกก็อยู่จาตุมหาราชิกา. บางพวกก็อยู่ในเทวโลก. บางพวกก็ เกิดในพรหมโลก. แต่ในวันนี้ เทวดาทั้งหมดมาประชุมกันในป่า อันธวัน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 485

นั่นแลในทีเดียวกัน คําว่า ดวงตาเห็นธรรม ความว่า ปฐมมรรค (โสดา ปัตติมรรค) ท่านเรียกว่าดวงตาเห็นธรรม ในอุปาลีโอวาทสูตรและทีฆนขสูตร ผลทั้งสามท่านเรียกว่าดวงตาเห็นธรรม ในพรหมายุสูตร. ในสูตรนี้ มรรค ๘ ผล ๔ พึงทราบว่าเป็น ดวงตาเห็นธรรม ก็แหละ ในบรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกก็ เป็นอนาคามี บางพวกก็เป็นพระขีณาสพ และก็การกําหนดด้วยอํานาจนับ จํานวนเทวดาเหล่านั้นว่าเท่านั้นเท่านี้ไม่มี คําที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาราหุโลวาทสูตร ที่ ๕