พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ฉฉักกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36154
อ่าน  943

[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 486

๖. ฉฉักกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 486

๖. ฉฉักกสูตร

[๘๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อันไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลางในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงคือ ธรรมหมวดหก ๖ หมวด พวกเธอจงพึงธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๘๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ หมวดเวทนา ๖ หมวดตัณหา ๖.

[๘๑๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้วนี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๑.

[๘๑๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 487

ดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้วนี้ธรรมหมวด ๖ หมวดที่ ๑.

[๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ อาศัยโสตและเสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณอาศัยชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าพึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั้น เราอาศัยวิญญาณนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่๓.

[๘๑๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะอาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าพึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยผัสสะนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหกหมวดที่๔.

[๘๑๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 488

อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ...

อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ...

อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ...

อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ...

อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าพึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัยเวทนานี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหกหมวดที่ ๕.

ว่าด้วยกองแห่งตัณหา

[๘๑๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ...

อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ...

อาศัยชิวหาและลิ้นเกิดชิวหาวิญญาณ...

อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ...

อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยตัณหานี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๖

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 489

[๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คําของผู้นั้นไม่ควรจักษุย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิดแม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไปเพราะฉะนั้น คําของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้จักษุจึงเป็นอัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คําของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อมสิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้นคําของผู้ที่กล่าวว่า รูปเป็นอนัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คําของผู้นั้น ไม่ควร จักษุวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิดแม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไปเพราะฉะนั้น คําของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คําของผู้นั้นไม่ควร จักษุสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขี้นแลเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คําของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 490

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คําของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คําของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตาจักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คําของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อมสิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้นคําของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา.

ว่าด้วยอนัตตา

[๘๑๙] ผู้ใดกล่าวว่า โสตเป็นอัตตา...

ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตาะ...

ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา...

ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา...

ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา คําของผู้นั้นไม่ควร มโนย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อมสิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้นคําของผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 491

ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตา คําของผู้นั้น ไม่ควรธรรมารมณ์ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไปเพราะฉะนั้น คําของผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา คําของผู้นั้นไม่ควร มโนวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิดแม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไปเพราะฉะนั้น คําของผู้ที่กล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควรด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตาธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา คําของผู้นั้น ไม่ควร มโนสัมผัสย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิดแม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไปเพราะฉะนั้น คําของผู้ที่กล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คําของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิดแม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คําของผู้ที่กล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 492

ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตาคําของผู้นั้น ไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อมสิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้นคําของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา นั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา.

ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ

[๘๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราเล็งเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่านั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่น เรา นั่น อัตตาของเราเล็งเห็นตัณหาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นโสตว่า นั่นของเรา... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นของเรา... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นของเรา... เล็งเห็นกายว่า นั่นของเรา... เล็งเห็นมโนว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราเล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

[๘๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ ดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 493

ของเรา เล็งเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเราเล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเราเล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเราเล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นโสตว่า นั่นไม่ใช่ของเรา... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา... เล็งเห็นกายว่านั่นไม่ใช่ของเรา... เล็งเห็นมโนว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเราเล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

ว่าด้วยความเป็นอฐานะ

[๘๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดํารงอยู่ด้วยความติดใจมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลําบากร่ําไห้ คร่ําครวญทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณโทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 494

ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทําวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทําที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตแลเสียง เกิดโสตวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทานาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดํารงอยู่ด้วยความติดใจจึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลําบากร่ําไห้ คร่ําครวญทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณโทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนายังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทําวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทําที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

[๘๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดํารงอยู่ด้วยความติดใจ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 495

จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกไม่ลําบาก ไม่ร่ําไห้ ไม่คร่ําครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทําที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่น เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตและเสียง เกิดโสตวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและลิ้น เกิดชิวหาวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดํารงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลําบาก ไม่ร่ําไห้ ไม่คร่ําครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้นความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริงจึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้น ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทําที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 496

[๘๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกําหนัดเพราะคลายกําหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้วและทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากําลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นแล.

จบ ฉฉักกสูตร ที่ ๖

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 497

อรรถกถาฉฉักกสูตร

ฉฉักกสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า อาทิกลฺยาณํ (อันไพเราะในเบื้องต้น) ความว่า เราจะทําให้ไพเราะคือให้ปราศจากโทษ ให้ดีในเบื้องต้น แล้วแสดง. แม้ที่ไพเราะในท่ามกลางและที่สุดก็ทํานองเดียวกันนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชมเชยอริยวงศสูตรด้วย ๙ บท มหาสติปัฏฐานสูตรด้วย ๗ บท มหาอัสสปุรสูตรด้วย ๗ บทเหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้. สําหรับพระสูตรนี้ ทรงชมเชยด้วย ๙ บทคําว่า พึงทราบ คือพึงทราบด้วยมรรคพร้อมกับวิปัสสนา. จิตที่เป็นไปในภูมิสามเท่านั้นทรงแสดงด้วยมนายตนะ. และธรรมที่เป็นไปในภูมิ๓ข้างนอกทรงแสดงด้วยธรรมายตนะ. ยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๕ คู่รวม ๑๐ ดวง) โลกิยวิบากจิต ๒๐ ดวงที่เหลือ ทรงแสดงด้วยมโนวิญญาณ.ผัสสะและเวทนาเป็นธรรมที่สัมปยุตด้วยวิบากวิญญาณตามที่กล่าวไว้แล้ว คําว่าตัณหา ได้แก่ตัณหาที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนะ อันมีวิบากเวทนาเป็นปัจจัยคําว่า จักษุเป็นตัวตน มีคําเชื่อมต่อเป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. ก็แลเพื่อแสดงความที่สัจจะ ๒ ข้อที่ตรัสไว้ในหนหลังไม่เป็นตัวตน จึงทรงเริ่มเทศนานี้ ในบทเหล่านั้น บทว่า ไม่ควร หมายถึงไม่เหมาะ. คําว่า เสื่อมไป คือปราศไป ดับไป. คําว่า อยํ โข ปน ภิกฺขเว (ภิกษุทั้งหลาย ก็... ดังต่อไปนี้) คือ แม้นี้ก็เป็นคําเชื่อมต่อที่เป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. จริงอยู่ เพื่อทรงแสดงวัฏฏะด้วยอํานาจความถือมั่น ๓ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้. บางท่านว่า เพื่อทรงแสดงวัฏฏะด้วยสัจจะ ๒ ข้อ คือ ทุกข์ สมุทัย ดังนี้ก็มีเหมือนกัน. ในคําว่านั่นของเรา เป็นต้น พึงทราบความถือมั่น ด้วยตัณหามานะ และทิฏฐินั่นแล.คําว่า ย่อมเล็งเห็น คือย่อมเห็นด้วยอํานาจความถือมั่นทั้ง ๓ อย่าง

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 498

ครั้นทรงแสดงวัฏฏะอย่างนี้แล้ว คราวนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะด้วยอํานาจปฏิปักษ์ต่อความถือมั่นทั้ง ๓ อย่าง หรือเพื่อทรงแสดงวิวัฏฏะด้วยอํานาจสัจจะ ๒ ข้อ คือ นิโรธ มรรค เหล่านั้น จึงตรัสว่า อยํ โข ปน ดังนี้ เป็นต้น.คําว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เป็นต้น เป็นคําปฏิเสธตัณหาเป็นต้น. คําว่า ย่อมเล็งเห็น คือ ย่อมเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน.

ครั้นทรงแสดงวิวัฏฏะอย่างนี้แล้ว คราวนี้ เพื่อจะทรงแสดงวัฏฏะด้วยอํานาจอนุสัยทั้งสามอย่างอีก จึงตรัสคําเป็นต้นว่า จกฺขุฺจ ภิกฺขเว (ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจักษุและรูป) ในคําเหล่านั้น คําเป็นต้นว่า ย่อมเพลิดเพลิน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอํานาจตัณหาและทิฏฐิเท่านั้น. คําว่า นอนเนื่อง คือยังละไม่ได้. คําว่าแห่งทุกข์ ได้แก่แห่งวัฏฏทุกข์และกิเลสทุกข์.

ครั้นทรงแสดงวัฏฏะด้วยอํานาจอนุสัยสามอย่างอย่างนี้แล้ว คราวนี้เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะด้วยอํานาจเป็นนัยที่ตรงกันข้ามแห่งอนุสัยทั้งสามอย่างนั้นจึงตรัสคําเป็นต้นว่า จกฺขุฺจ (จักษุ) อีกครั้งหนึ่ง. คําว่า ละอวิชชา คือละความไม่รู้อันเป็นรากเง่าของวัฏฏะได้แล้ว. คําว่า ยังวิชชา คือยังความรู้คืออรหัตตมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว.

คําว่า นั่น ย่อมเป็นฐานะที่มีได้คือด้วยกถามรรคเพียงเท่านี้แหละ พระองค์ก็ทรงเทศนาด้วยอํานาจวัฏฏะและวิวัฏฏะให้ถึงยอดได้แล้ว เมื่อจะทรงรวบรวมพระธรรมเทศนานั้นเอง ก็ได้ตรัสคําเป็นต้นว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว (ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้) อีกครั้งหนึ่ง. ในคําว่า ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป นี้ นั้นไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงแสดงเองแท้ๆ ภิกษุ ๖๐ รูป ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์. เพราะว่า แม้เมื่อท่านธรรมเสนาบดีแสดงสูตรนี้ ก็มีภิกษุ ๖๐รูปบรรลุเป็นพระอรหันต์ ถึงแม้พระมหาโมคคัลลานะแสดงก็ดี พระมหาเถระ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 499

๘๐ รูป แสดงก็ดี ก็มีภิกษุ ๖๐ รูป สําเร็จเหมือนกันนั่นแหละ แม้ข้อนี้ก็ไม่น่าอัศจรรย์. เพราะพระสาวกเหล่านั้น ท่านบรรลุอภิญญาใหญ่ (กันทั้งนั้น).

ก็แลในเวลาภายหลัง พระมาไลยเทพเถระในเกาะลังกา ก็ได้แสดงพระสูตรนี้ภายใต้โลหปราสาท. ถึงครั้งนั้นก็มีภิกษุ ๖๐ รูปสําเร็จเป็นพระอรหันต์.และพระเถระก็แสดงพระสูตรนี้ในประรําใหญ่เหมือนพระมาไลยเทพเถระแสดงในโลหปราสาทเหมือนกัน. พระเถระเมื่อออกจากมหาวิหารแล้วก็ไปเจดียบรรพตในที่นั้น ท่านก็แสดงเหมือนกัน. ต่อจากนั้น ท่านก็ไปแสดงที่วัดสากิยวงก์ที่วัดกูฏาสี ที่ระหว่างหนอง ที่ลานมุกดา ที่เขาปาตกา ที่ปาจีนฆรกะ (เรือนตะวันออก) ทีฆวาปี (หนองแวง) ที่ซอกเขาหมู่บ้านและพื้นที่เลี้ยงแพะแม้ในที่เหล่านั้น. ก็มีภิกษุ ๖๐ รูปๆ สําเร็จเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน.และเมื่อออกจากที่นั้นแล้วพระเถระก็ไปสู่จิตตลบรรพต. และคราวนั้น ที่วัดจิตตลบรรพต มีพระมหาเถระมีพรรษากว่า ๖๐. ใกล้สระบัวใหญ่มีท่าลึกชื่อว่า ท่ากุรุวัก. ที่ท่านั้นพระเถระคิดว่าเราจะอาบน้ำจึงลงไป. พระเทวเถระไปหาท่านแล้ว เรียนว่า กระผมจะตักน้ำสรงถวายท่าน ขอรับ. ด้วยการปฏิสันถารนั่นเอง พระเถระก็ทราบได้ว่า พวกคนเขาว่า มีพระมหาเถระชื่อมาไลยเทพ ท่านคงเป็นท่านรูปนี้ จึงถามว่า ท่านเป็นท่านเทพหรือ. ครับท่านคุณไม่มีใครที่ใช้มือถูร่างของเราตั้ง ๖๐ ปีแล้ว แต่คุณกลับจะอาบน้ำให้เราแล้วก็ขึ้นไปนั่งที่ตลิ่ง.

พระเถระก็ทําบริกรรมมือและเท้าจนทั่วแล้วก็สรงน้ำถวายพระมหาเถระ.และวันนั้นเป็นวันฟังธรรม. ที่นั้น พระมหาเถระจึงว่าคุณเทพ คุณควรให้ธรรมทานแก่เราทั้งหลาย. พระเถระรับว่า ตกลง ครับท่าน. ครั้นเมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว พวกคนก็ไปป่าวร้องฟังธรรมกัน. พวกท่านพระมหาเถระ ๖๐ รูป ล้วนแต่เลย ๖๐ พรรษาทั้งนั้น ได้พากันมาฟังธรรม. พระเทพเถระ ก็เริ่มสูตรนี้

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 500

เมื่อจบสวดทํานองแล้ว. และเมื่อจบพระสูตร พระมหาเถระ ๖๐ รูป ก็ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์. ต่อจากนั้นท่านก็ไปแสดงที่ติสสมหาวิหาร. แม้ในวัดนั้นก็มีพระเถระ ๖๐ รูป (ได้เป็นพระอรหันต์). ต่อจากนั้นก็แสดงที่นาคมหาวิหาร ใกล้หมู่บ้านกลกัจฉะ. แม้ในที่นั้นก็มีพระเถระ ๖๐. รูป (ได้เป็นพระอรหันต์). ต่อจากนั้น ก็ไปวัดกัลยาณี ในวัดนั้นท่านก็แสดงภายใต้ปราสาทในวันที่๑๔ ค่ํา. แม้ในที่นั้นก็มีพระเถระ ๖๐ รูป (ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์).ในวันอุโบสถก็แสดงบนปราสาท. ที่บนปราสาทนั้น ก็มีพระเถระ ๖๐ รูป (สําเร็จเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน) เมื่อพระเทพเถระนั่นแล แสดงพระสูตรนี้อย่างนี้ ในที่ ๖๐ แห่ง ก็มีผู้สําเร็จเป็นพระอรหันต์แห่งละ ๖๐ รูป ด้วยประการฉะนี้.

แต่เมื่อท่านจุลลนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก แสดงพระสูตรนี้ในวัดอัมพิลกฬกวิหาร มีบริษัทคนสามคาวุต. บริษัทเทวดาหนึ่งโยชน์. เมื่อจบพระสูตร มีภิกษุหนึ่งพันรูปได้เป็นพระอรหันต์. ส่วนในหมู่เทวดาจากจํานวนนั้นๆ แต่ละจํานวน มีปุถุชนเพียงจํานวน ๑ องค์เท่านั้นแล.

จบอรรถกถาฉฉักกสูตรที่ ๖