เรียนถามท่านอาจารย์สุจินต์ หรือท่านผู้รู้ครับ

 
aek_nida7
วันที่  15 เม.ย. 2550
หมายเลข  3448
อ่าน  1,097

ผมเองค่อนข้างใหม่กับที่มูลนิธิฯ และแทบไม่มีความรู้ทางพระอภิธรรมเลย เคยเข้าไปฟังอาจารย์สุจินต์ 2 ครั้ง ได้อ่านหนังสือของอาจารย์มาบ้างพอสมควรครับ

อยากเรียนถามว่า

1. ผมเข้าใจตามที่อาจารย์บอกว่า สิ่งต่างๆ ที่ปรากฎขึ้นทางตา หู ล้วนเป็นเพียงธรรมะที่ปรากฎขึ้น เพียงสี เสียงสูง ต่ำ ที่ปรากฎขึ้น แต่ด้วยความที่เราไม่สามารถแยกโลกทางตา หู กับโลกทางใจ ทำให้เห็น เป็นสิ่งที่เราจำได้ เข้าใจเป็นคำพูด ภาษา เสียง ต่างๆ ผมตรึกตรองแล้วเข้าใจครับ แต่ผมจะทำอย่างไรที่จะเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้โดยต่อเนื่อง กว่าจะพิจารณาว่าได้ยิน มันเป็นคำไปแล้ว แต่ผมมาพิจารณาย้อนหลังเอา ระหว่างที่พิจารณาว่าเป็นเพียงธรรมะที่ปรากฎของรูปธรรมและนามธรรม ก็มีอย่างอื่นปรากฏต่อเนื่องอีก ผมไม่สามารถแยกโลกทางตา หู กับโลกทางใจได้ทันเลยครับ ผมควรทำอย่างไรครับ ให้ปัญญาเกิดขึ้นได้ทันทีที่เห็น ได้ยิน หรือต้องพิจารณาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะคล่องเอง

2. ช่วงนี้ผมพอจะมีเวลาว่าง ผมอยากไปปฏิบัติธรรม แต่รู้สึกว่าอยากจะทำความเห็นในการปฏิบัติให้ถูกต้องก่อน ตามที่อาจารย์บอกไว้ในหนังสือต่างๆ ผมจะต้องเรียนพระอภิ-ธรรมไหมครับ แล้วเรียนที่ไหนจะเข้าใจง่ายๆ ถ้าผมจะปฏิบัติธรรมเลย ช่วยแนะนำสถานที่หน่อยครับ ที่สอนเหมือนอาจารย์ คือ ให้รู้สภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนั้นๆ ผมไม่รู้จะไปที่ไหนดีครับ ผมเคยไปปฏิบัติธรรมที่วัดหลวงพ่ออาสภะ ก็รู้สึกได้ปัญญาดีมากครับ หายสงสัยไปเยอะ แต่ต้องเจริญสติให้ต่อเนื่อง รู้ทันทุกอย่างที่มากระทบทางอายตนะทั้ง 6 แต่ไม่มีช่องว่างในการรู้เลยว่าจิตเป็นโลภะ โทสะ เพราะมันมีเรื่องให้กำหนดอย่างต่อเนื่องจนแทบไม่มีช่องว่างเลยครับ ผมเคยเห็นเหมือนที่อาจารย์บอกคือ ที่ผมเห็นเหมือนภาพตรงหน้าเบลอๆ ก็ได้แค่กำหนดไปตามที่พระอาจารย์บอก แค่เห็นเฉยๆ ว่าเป็นภาพเคลื่อนไหวไม่ได้เห็นว่าเป็นอะไร จนใจเข้าไปจับ จึงรู้ว่าเป็นคางคกกระโดดผ่าน ก็พอเข้าใจในธรรมะบ้างว่า สักแต่ว่าเห็นคือแบบไหน แต่พอมาฟังอาจารย์สุจินต์ อ่านหนังสือของอาจารย์ประกอบแล้วถึงเข้าใจมากขึ้น อยากจะปฏิบัติตามแนวทางที่อาจารย์สอน แต่ไม่ทราบจะไปที่ไหนครับ จะอยู่บ้านก็สภาพแวดล้อมไม่อำนวย สงสัยก็ไม่รู้จะถามใคร เกรงจะเป็นมิจฉาสมาธิ เสียเวลาเปล่าๆ รบกวนช่วยกรุณาแนะนำผมด้วยครับ

ขอกราบขอบพระคุณ สำหรับความเมตตากรุณาของท่านอาจารย์ และทีมงานทุกท่านครับ ท่านทำให้ผมตาสว่างขึ้นเยอะเลยครับ และก็ท้อเล็กน้อย ว่าผมนี่กิเลสหนาปัญญาน้อยจริงๆ เลยครับ

ขออนุโมทนากับทุกๆ ท่านด้วยครับ

(หากผมใช้ภาษาผิดพลาดจากที่ควร ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 เม.ย. 2550

๑. การอบรมเจริญปัญญาไม่ใช่เรื่องการทำครับ ต้องอาศัยการฟังมากๆ จนกว่าจะเข้าใจจริงๆ ว่าสิ่งที่ปรากฏแต่ละทวารนั้น เป็นเพียงธัมมะอย่างหนึ่งจริงๆ การที่จะพิจารณาต่อเนื่องหรือไม่ แล้วแต่ปัจจัย ถ้าเข้าใจอย่างมั่นคงย่อมเป็นปัจจัยให้สติเกิดขึ้นกระทำกิจได้มากขึ้น

๒. ค่อยๆ ศึกษาอบรมความรู้ความเข้าใจให้มากยิ่งๆ ขึ้น เมื่อเข้าใจมากขึ้น ความรู้ในลักษณะของสภาพธรรม เป็นกิจของปัญญา ปัญญาย่อมทำกิจของปัญญาไม่ใช่เราจะปฏิบัติ โดยศัพท์ ปฏิบัติธรรม คือ การถึงเฉพาะลักษณะของธรรมะ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน รู้อารมณ์อะไร หรืออยู่สถานที่ไหน เวลาไหนก็ตามสติและสัมปชัญญะเกิดขึ้นกระทำกิจ ขณะนั้นเรียกว่าปฏิบัติธรรม

ขอเชิญ คลิกอ่านเพิ่มเติม ...

การนั่งสมาธิเป็นการปฏิบัติธรรม

พื้นฐานเป็นสิ่งที่สำคัญ คงไม่ต้องรีบปฏิบัติ

คนที่ไปปฏิบัติกัน

ไม่มีปัญญา ไม่เรียกว่า ปฏิบัติธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Guest
วันที่ 15 เม.ย. 2550


ปัญญาย่อมเกิดและเจริญขึ้นตามลำดับ ไม่ก้าวกระโดด


ปัญญาย่อมเกิดและเจริญขึ้นตามลำดับ ไม่ก้าวกระโดดเหมือนกบกระโดด เบื้องต้น ปัญญาเกิดเพราะการฟังการศึกษา บางอย่างที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ เมื่อคิดพิจารณาภายหลัง ย่อมแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อเข้าใจมากยิ่งขึ้น ย่อมศึกษาตัวลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนั้น เมื่อ

ระลึกศึกษา จนปัญญาคมกล้ามากยิ่งขึ้น ย่อมแยกความเป็น นามและรูป

และปัจจัยของนามและรูป เมื่อวิปัสสนาปัญญามีกำลังมากขึ้น ย่อมเห็น

ความเกิดดับและเห็นเห็นโทษของนามรูป จากนั้นย่อมเบื่อหน่าย ใคร่จะ

พ้น เมื่อวางเฉยแก่นามรูป ย่อมพ้นด้วยอริยมรรค เมื่อพ้นย่อมรู้ว่าหลุดพ้น

แล้ว ระดับของปัญญาของพระอริยบุคคลย่อมเป็นไปตามลำดับ ตั้งแต่

พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ตามลำดับ

ไม่ข้ามขั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Guest
วันที่ 15 เม.ย. 2550


สภาพธรรมที่เป็นไปทุกๆ ขณะ เป็นอภิธรรม


พระอภิธรรมปิฎก คือ คัมภีร์จารึกคำสอนที่แสดงปรมัตถธรรม ๔ คือจิต เจตสิก รูป นิพพาน โดยนัยต่างๆ ปรมัตถธรรม ๔ ที่มีในชีวิตของเรา มี ๓ คือ จิต เจตสิก รูป จิตเป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้ เจตสิกเป็นธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต อาศัยที่เกิดเดียวกัน รูปเป็นสภาพไม่รู้อารมณ์ ปรมัตถธรรมทั้ง๓ เป็นไปในชีวิตประจำวันทุกๆ ขณะ เช่น ขณะที่เห็นทางตา จิตกระทำกิจเห็น เจตสิกก็เกิดร่วมกัน เช่น ผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นต้น ส่วนรูปในขณะนั้นก็คือ อารมณ์ของจิต ได้แก่สีต่างๆ และที่เกิดของจิตก็เป็นรูป ในทวารอื่นๆ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เช่นเดียวกัน มีทั้งจิต เจตสิก รูปเป็นไปตลอดชีวิตทุกๆ ชาติ สภาพธรรมที่เป็นไปทุกๆ ขณะ เป็นปรมัตถ-ธรรม เป็นอภิธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Guest
วันที่ 15 เม.ย. 2550

ความเข้าใจในสภาพธรรมยังไม่มากและยังไม่มั่นคงพอ


ปัญหาอยู่ที่ว่า ความเข้าใจในสภาพธรรมยังไม่มาก และยังไม่มั่นคงพอ

ประกอบกับการสะสมอวิชชามานานแสนนาน ทำให้ยังไม่สามารถประจักษ์สภาพธรรมในขณะนี้ตามความเป็นจริงได้ ความเห็นต่างๆ ของเรา จึงถูก

บ้าง ไม่ถูกบ้าง ด้วยความเป็นเรา และด้วยความที่ยังไม่ประจักษ์ เป็นเพียง

การรู้การเข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรม เราสามารถสอบทานตนเองได้ว่า

ทั้งๆ ที่รู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ สภาพธรรมที่ปรากฏทั้ง ๕ ทวาร ไม่ใช่เรา

และเป็นอนัตตา รู้อย่างนี้ แต่ก็ยังเห็นเป็น คน สัตว์ สิ่งของ อยู่ตั้งแต่ตื่น

มีแต่เรื่องราวและบุคคล สิ่งของ ตลอดทั้งวัน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 เม.ย. 2550

อนุโมทนาครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ