พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. มหาปทานสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 มิ.ย. 2564
หมายเลข  34458
อ่าน  1,059

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 1

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทีฆนิกาย มหาวรรค

๑. มหาปทานสูตร

มหาปทานสูตร หน้า 1

เรื่อง ภิกษุหลายรูปประชุมกัน หน้า 1

ประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ องค์ หน้า 2

ว่าด้วยพระโพธิสัตว์ หน้า 12

การพยากรณ์นิมิต หน้า 17

ว่าด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ หน้า 18

เรื่องพระเจ้าพันธุมราช หน้า 21

พระวิปัสสีราชกุมารทรงเห็นเทวทูต หน้า 28

พระวิปัสสีราชกุมารทรงผนวช หน้า 32

พระวิปัสสีราชกุมารทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท หน้า 34

ว่าด้วยพระปริวิตกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิปัสสี หน้า 39

ว่าด้วยการอาราธนาของพรหม หน้า 41

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิปัสสีทรงตรวจโลก หน้า 42

เรื่องคู่พระสาวกขัณฑะและติสสะ หน้า 45

เรื่องบรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป หน้า 47

ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา หน้า 52

ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ หน้า 55

ธรรมธาตุที่ทรงแทงตลอดด้วยดี หน้า 66

อรรถกถามหาปทานสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 13]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 1

๑. มหาปทานสูตร

เรื่องภิกษุหลายรูปประชุมกัน

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กุฏี ใกล้ไม้กุ่มน้ำ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.

ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป ในเวลาหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งประชุมกันในโรงกลมใกล้ไม้กุ่มน้ำ เกิดสนทนาธรรมกันขึ้นเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาสว่า บุพเพนิวาสแม้เพราะเหตุนี้ บุพเพนิวาสแม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับถ้อยคําเจรจาอันนี้ของภิกษุเหล่านั้น ด้วยพระทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังโรงกลม ใกล้ไม้กุ่มน้ำ ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ พระผู้มีพระภาคครั้นประทับนั่งแล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนาอะไรกัน แม้เพราะเหตุนี้ เรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้ เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 2

ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ในเวลาหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้นั่งประชุมกันในโรงกลม ใกล้ไม้กุ่มน้ำ แล้วเกิดสนทนาธรรมกันขึ้น เกี่ยวด้วยบุพเพนิวาสว่า บุพเพนิวาส แม้เพราะเหตุนี้ บุพเพนิวาสแม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระองค์พูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอปรารถนา หรือไม่ที่จะฟังธรรมีกถา ซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นการสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงกระทําธรรมีกถาซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ข้าแต่พระสุคต เป็นการสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงกระทําธรรมีกถาซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว จักได้ทรงจําไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นพวกเธอจงฟังจงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายนับแต่นี้ไป ๙๑ กัป ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก นับแต่นี้ไป ๓๑ กัป ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกัปที่ ๓๑ นั่นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า เวสสภู ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในภัททกัปนี้แหละ เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้อุบัติขึ้นแล้วในโลก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 3

[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมนาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในขัตติยสกุล พระผู้ มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในขัตติยสกุล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในขัตติยสกุล พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ได้เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในพราหมณสกุล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ได้เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในพราหมณสกุล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ได้เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในพราหมณสกุล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ได้เป็นกษัตริย์โดยชาติ อุบัติในขัตติยสกุล.

[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี เป็นโกญฑัญญโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี เป็นโกณฑัญญโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู เป็นโกณฑัญญโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ เป็นกัสสปโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ เป็นกัสสปโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ เป็นกัสสปโคตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ เป็นโคตมโคตร.

[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ประมาณ ๗๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 4

ประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนมายุของเราในบัดนี้มีประมาณไม่มากคือน้อยนิดเดียวผู้ที่มีชีวิตอยู่อย่างนานก็เพียง ๑๐๐ ปี บางทีก็น้อยกว่าบ้าง มากกว่าบ้าง.

[๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ตรัสรู้ที่ควงไม้กุ่มบก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู ตรัสรู้ที่ควงไม้สาละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ตรัสรู้ที่ควงไม้ซึก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจัา พระนามว่าโกนาคมนะ ตรัสรู้ที่ควงไม้มะเดื่อ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ตรัสรู้ที่ควงไม้ไทร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์.

[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี มีพระขัณฑะและพระติสสะเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี มีพระอภิภูและพระสัมภวะเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู มีพระโสณะและพระอุตตระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ มีพระวิธูระและพระสัญชีวะเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 5

มีพระภิยโยสะและพระอุตตระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ มีพระติสสะและพระภารทวาชะเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราในบัดนี้มีสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นคู่อัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ.

[๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้มีสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุหกล้านแปดแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแปดหมื่นรูป สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ซึ่งได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ได้มีสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแปดหมื่นรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุเจ็ดหมื่นรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ซึ่งได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู ได้มีสามครั้ง ครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแปดหมื่นรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุเจ็ดหมื่นรูป อีกครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุหกหมื่นรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู ซึ่งได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย การ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 6

ประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ได้มีครั้งเดียว มีจํานวนภิกษุสี่หมื่นรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ซึ่งได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ได้มีครั้งเดียว มีจํานวนภิกษุสามหมื่นรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ซึ่งได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ได้มีครั้งเดียว มีจํานวนภิกษุสองหมื่นรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งสาวกของเราในบัดนี้ ได้มีครั้งเดียว มีจํานวนภิกษุหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกของเราซึ่งได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น.

[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าอโสกะ เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าเขมังกระเป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าอุปสันตะ เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าวุฑฒิชะ เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าโสตถิชะ เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มี

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 7

พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าสัพพมิตตะ เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าอานนท์ ได้เป็นอัครอุปัฏฐากของเราในบัดนี้.

[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระนามว่าพันธุมเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่าพันธุมดีเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระนครชื่อว่าพันธุมดีได้เป็นราชธานีของพระเจ้าพันธุม พระราชาพระนามว่าอรุณเป็นพระชนก พระเทวี

พระนามว่าปภาวดีเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี พระนครชื่อว่าอรุณวดีได้เป็นราชธานีของพระเจ้าอรุณะ พระราชาพระนามว่าสุปปตีตะเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่ายสวดีเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู พระนครชื่อว่าอโนมะได้เป็นราชธานีของพระเจ้าสุปปตีตะ พราหมณ์ชื่อว่าอัคคิทัตตะเป็นพระชนก พราหมณีชื่อว่าวิสาขาเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ภิกษุทั้งหลาย ก็พระราชาพระนามว่าเขมะได้มีแล้วโดยสมัยนั้นแล พระนครชื่อว่าเขมวดีได้เป็นราชธานีของพระเจ้าเขมะ พราหมณ์ชื่อว่ายัญญตัตตะเป็นพระชนก พราหมณีชื่อว่าอุตตราเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ ก็พระราชาพระนามว่าโสภะได้มีแล้วโดยสมัยนั้นแล พระนครชื่อว่าโสภวดีได้เป็นราชธานีของพระเจ้าโสภะ พราหมณ์ชื่อว่าพรหมทัตตะเป็นพระชนก พราหมณีชื่อธนวดีเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ก็พระราชาพระนามว่ากิงกีได้มีแล้วโดยสมัยนั้นแล พระนครชื่อ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 8

ว่าพาราณสีได้เป็นราชธานีของพระเจ้ากิงกี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระ นามว่าสุทโธทนะเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่ามายาเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของเราในบัดนี้ พระนครชื่อว่ากบิลพัสดุ์ได้เป็นราชธานีของพระเจ้าสุทโธทนะ ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดั่งนี้แล้วจึงเสด็จลุกจากอาสนะ ทรงเข้าพระวิหาร.

[๑๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้สนทนากันขึ้นในระหว่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ไม่เคยมีแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตต้องทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก จึงจักทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทําให้เนิ่นช้าได้แล้ว มีวัฏฏะอันตัดแล้ว ทรงครอบงําวัฏฏะแล้ว ล่วงสรรพทุกข์แล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยประชุมแห่งพระสาวก ว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีชาติเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระนามเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระโคตรเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีศีลเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีธรรมเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระปัญญาเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีวิหารธรรมเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีวิมุตติเช่นนี้ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นอย่างไรหนอแล พระตถาคตพระองค์เดียวจึงทรงแทงตลอดธรรมธาตุนี้ เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงแทงตลอดธรรมธาตุแล้ว ฉะนั้นจึงทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ทรงตัดธรรมเครื่องทําให้เนิ่นช้าได้แล้ว

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 9

ทรงตัดความหมุนเวียน (เวียนว่ายตายเกิด) ได้แล้ว ทรงครอบงําความหมุนเวียนแล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกชนิดแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยประชุมแห่งสาวก ว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระชาติเช่นนี้ มีพระนามเช่นนี้ มีพระโคตรเช่นนี้ มีศีลเช่นนี้ มีธรรมเช่นนี้ มีพระปัญญาเช่นนี้ มีวิหารธรรมเช่นนี้ มีวิมุตติเช่นนี้ ดังนี้ หรือว่า เพราะความข้อนี้ พวกเทวดาได้กราบทูลแด่พระตถาคต พระตถาคตจึงทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ทรงตัดธรรมเครื่องทําให้เนิ่นช้าได้แล้ว ทรงตัดความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงครอบงําความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยประชุมแห่งพระสาวก ว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระชาติเช่นนี้ มีพระนามเช่นนี้ มีพระโคตรเช่นนี้ มีศีลเช่นนี้ มีธรรมเช่นนี้ มีพระปัญญาเช่นนี้ มีวิหารธรรมเช่นนี้ มีวิมุตติเช่นนี้ ก็ภิกษุเหล่านั้นยังค้างการสนทนา กันอยู่ตรงนี้.

[๑๑] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ประทับพักผ่อนในเวลาเย็น เสด็จตรงไปยังโรงกลมใกล้หมู่ไม้กุ่มน้ำ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนาอะไรกัน เรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามดังนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกข้าพระองค์ได้สนทนากันขึ้นในระหว่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ไม่เคยมีแล้ว ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตจะต้องทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก จึงจักทรง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 10

ระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ทรงตัดธรรมที่ทําให้เนิ่นช้าได้แล้ว ทรงตัดความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงครอบงําความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยประชุมแห่งพระสาวก ว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระชาติเช่นนี้ ฯลฯ มีวิมุตติเช่นนี้ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นอย่างไรหนอแล พระตถาคตพระองค์เดียว จึงทรงแทงตลอดธรรมธาตุนี้ เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงแทงตลอดธรรมธาตุแล้วฉะนั้น จึงทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทําให้เนิ่นช้าได้แล้ว ทรงตัดความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงครอบงําความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยประชุมแห่งพระสาวก ว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระชาติเช่นนี้ มีพระนามเช่นนี้ มีพระโคตรเช่นนี้ มีศีลเช่นนี้ มีธรรมเช่นนี้ มีพระปัญญาเช่นนี้ มีวิหารธรรมเช่นนี้ มีวิมุตติเช่นนี้ หรือว่าเพราะความข้อนี้ พวกเทวดาได้กราบทูลแด่พระตถาคต พระตถาคตจึงทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทําให้เนิ่นช้าได้แล้ว ตัดความหนุนเวียนได้แล้ว ทรงครอบงําความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงล่วงความทุกข์ทุกอย่างได้แล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม ฯลฯ แม้โดยประชุมแห่งพระสาวก ว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระชาติเช่นนี้ มีพระนามเช่นนี้ ฯลฯ มีวิมุตติเช่นนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระองค์พูดค้างไว้ พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 11

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตนี่แหละ แทงตลอดธรรมธาตุแล้ว ฉะนั้นตถาคตจึงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทําให้เนิ่นช้าได้แล้ว มีวัฏฏะอันตัดแล้ว ครอบงําวัฏฏะแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยการประชุมกันแห่งพระสาวก ว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระชาติเช่นนี้ มีพระนามเช่นนี้ ฯลฯ มีวิมุตติเช่นนี้ ความข้อนี้ แม้พวกเทวดาก็ได้กราบทูลแด่ตถาคต ตถาคตจึงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทําให้เนิ่นช้าได้แล้ว มีวัฏฏะอันตัดแล้ว ครอบงําวัฏฏะแล้ว ล่วงสรรพทุกข์แล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม ฯลฯ แม้โดยการประชุมกันแห่งพระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงได้มีพระชาติเช่นนี้ มีพระนามเช่นนี้ มีวิมุตติเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ปรารถนาหรือไม่ที่จะฟังธรรมีกถา ซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาสโดยยิ่งกว่าประมาณ ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นกาลสมควรแล้ว ข้าแต่ พระสุคต เป็นกาลสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงการทําธรรมีกถาซึ่ง เกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส โดยยิ่งกว่าประมาณ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคแล้วจักได้ทรงจําไว้.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เสด็จอุบัติแล้วในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติแล้วในขัตติยสกุลเป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 12

มีพระชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย มีพระขัณฑะและพระติสสะเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ การประชุมแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้มีแล้วสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุหกล้านแปดแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแปดหมื่นรูป ภิกษุทั้งหลาย พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ซึ่งได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าอโสกะ ได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระนามว่าพันธุมเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่าพันธุมดีเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระนครชื่อว่าพันธุมดีได้เป็นราชธานีของพระเจ้าพันธุม.

ว่าด้วยพระโพธิสัตว์

[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี จุติจากชั้นดุสิตแล้ว มีพระสติสัมปชัญญะ เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใดพระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา เมื่อนั้นในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์ แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ช่องว่างซึ่งอยู่ที่สุดในโลกมิได้ถูกอะไรปกปิดไว้ ที่มืดมิดก็ดี สถานที่

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 13

ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากปานนี้ ส่องแสงไปไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสองแห่งนั้น แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้นก็จํากันและกันได้ด้วยแสงนั้นว่า พ่อผู้เจริญ ได้ยินว่า ถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ย่อมหวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณย่อมปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา เทวบุตร ๔ องค์ ย่อมเข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔ โดยตั้งใจว่าใครๆ คือ มนุษย์หรืออมนุษย์ก็ตาม อย่าเบียดเบียนพระโพธิสัตว์หรือพระมารดาของโพธิสัตว์นั้นได้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์โดยปรกติ ทรงศีล งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการกล่าวเท็จ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของโพธิสัตว์ย่อมไม่เกิดมนัสซึ่งเกี่ยวด้วยกามคุณในบุรุษทั้งหลาย พระมารดาของโพธิสัตว์ย่อมเป็นหญิงที่บุรุษใดๆ ซึ่งมีจิตกําหนัดแล้วจะล่วงเกินไม่ได้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมได้กามคุณ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 14

๕ พระนางเพียบพร้อมพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบําเรออยู่ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา อาพาธใดๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของของพระโพธิสัตว์เลย พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทรงสําราญ ไม่ลําบากกาย และพระมารดาของพระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ซึ่งเสด็จอยู่ภายในพระครรภ์ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดง ขาวหรือนวล ร้อยอยู่ในนั้น. บุรุษผู้มีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นี้นั้นวางไว้ใน มือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา อาพาธใดๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงสําราญ ไม่ลําบากพระกาย และพระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ผู้เสด็จอยู่ณ ภายในพระครรภ์ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วได้ ๗ วัน พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทิวงคต เสด็จเข้าถึงชั้นดุสิต ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ หญิงอื่นๆ บริหารครรภ์ ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง จึงคลอด พระมารดาของพระโพธิสัตว์หาเหมือน

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 15

อย่างนั้นไม่ พระมารดาของพระโพธิสัตว์บริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ ครบ ๑๐ เดือน ถ้วน จึงประสูติ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมไม่ประสูติเหมือนหญิงอื่นๆ ซึ่งนั่งหรือนอนคลอด ส่วนพระมารดาของพระโพธิสัตว์ประทับยืนประสูติพระโพธิสัตว์ ข้อนี้เป็นธรรดาในเรื่องนี้.

[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาพระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา พวกเทวดารับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดาและยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตร ๔ องค์ ประคองรับพระโพธิสัตว์นั้นแล้ววางไว้เบื้องหน้าพระมารดา กราบทูลว่า ขอจงมีพระทัยยินดีเถิดพระเทวี พระโอรสของพระองค์ที่เกิดมีศักดิ์ใหญ่ นี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา เสด็จประสูติอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วยสิ่งไม่สะอาดอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แก้วมณีอันบุคคลวางลงไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ แก้วมณีย่อมไม่ทําผ้ากาสิกพัสตร์ให้เปรอะเปื้อนเลย ถึงแม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทําแก้วมณีให้ เปรอะเปื้อน เพราะเหตุไรจึงเป็นดังนั้น เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของบริสุทธิ์แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ก็ประสูติอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 16

ด้วยสิ่งไม่สะอาด อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ธารน้ำย่อมปรากฏจากอากาศสองธาร เย็นธารหนึ่ง ร้อนธารหนึ่ง สําหรับสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระโพธิสัตว์ผู้ประสูติแล้วได้ครู่หนึ่ง ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันสม่ําเสมอ ผินพระพักตร์ทางด้านทิศอุดร เสด็จดําเนินไปเจ็ดก้าว และเมื่อฝูงเทพดากั้นเศวตฉัตรตามเสด็จอยู่ ทรงเหลียวแลดูทั่วทุกทิศ เปล่งวาจาว่า เราเป็นยอดของโลก เราเป็นใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความเกิดของเรานี้เป็นครั้งที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใด พระโพธิสัตว์เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวาและมนุษย์ แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ช่องว่างซึ่งอยู่ที่สุดโลกมิได้ถูกอะไรปกปิด ที่มืดมิดก็ดี สถานที่ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์ เหล่านี้ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสงไปไม่ถึง ก็ดี ในที่ทั้งสองแห่งนั้น แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้นก็จํากันและกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นว่า พ่อผู้เจริญ ได้ยินว่าถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน และหมื่นโลกธาตุนี้ย่อมหวั่นไหว สะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณย่อมปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 17

การพยากรณ์นิมิต

[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระวิปัสสีราชกุมารประสูติแล้วแล พวกอํามาตย์ได้กราบทูลแด่พระเจ้าพันธุมว่า ขอเดชะ พระราชโอรสของพระองค์ประสูติแล้ว ขอพระองค์จงทอดพระเนตรพระราชโอรสนั้นเถิด ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าพันธุมได้ทอดพระเนตรเห็นพระวิปัสสีราชกุมาร แล้วรับสั่งเรียกพวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตมา แล้วตรัสว่า ขอพวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตผู้เจริญจงตรวจดูพระราชกุมารเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตได้เห็นพระวิปัสสีราชกุมารนั้นแล้ว ได้กราบทูลพระเจ้าพันธุมนั้นดังนี้ว่า

ขอเดชะ ขอพระองค์จงดีพระทัยเถิด พระราชโอรสของพระองค์ที่ประสูติแล้ว มีศักดิ์ใหญ่ข้าแต่มหาราช เป็นลาภของพระองค์ ผู้เป็นเจ้าของสกุลอันเป็นที่บังเกิดแห่งพระราชโอรส เห็นปานดังนี้ ขอเดชะ พระองค์ได้ดีแล้วเพราะพระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ซึ่งมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ํายีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชํานะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นของเขต ถ้าเสด็จออกผนวช เป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปิดหลังคาคือกิเลสแล้วในโลก.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 18

ขอเดชะ ก็พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่าไหน อันเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้วมีพระราชอาณาจักร มั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ฯลฯ ครอบครองแผ่นดินมี สาคร ๔ เป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก.

ว่าด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

[๒๙] ๑. ขอเดชะ ก็พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี (เรียบเสมอ) ข้าแต่สมมติเทพ การที่พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดีนี้ เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น.

๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราชกุมารนี้มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กําข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ข้าแต่สมมติเทพ แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราช กุมารนี้มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กําข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น.

๓. มีส้นพระบาทยาว.

๔. มีพระองคุลียาว.

๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม.

๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 19

๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ํา.

๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย.

๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลําได้ถึงพระชานุทั้งสอง.

๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก.

๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณแห่งทองคํา คือ มีพระตจะประดุจหุ้มด้วยทอง.

๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ในพระกายได้.

๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ .

๑๔. มีพระโลมชาติที่มีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอกอัญชัน ขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ.

๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม.

๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน.

๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของราชสีห์.

๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม.

๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกายของพระองค์เท่ากับวาของพระองค์.

๒๐. มีลําพระศอกลมเท่ากัน.

๒๑. มีปลายเส้นประสาทสําหรับนํารสอาหารอันดี.

๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์.

๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 20

๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน .

๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง.

๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม.

๒๗. มีพระชิวหาใหญ่.

๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสําเนียงดังนกการเวก.

๒๙. มีพระเนตรดําสนิท.

๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค.

๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างแห่งพระขนง มีสีขาวอ่อนควรเปรียบด้วยนุ่น.

๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้าแต่สมมติเทพ แม้การที่พระราชกุมารนี้ มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น.

[๓๐] ขอเดชะ พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้ ซึ่งมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชํานะแล้ว มีราชาอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการคือจักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณีนางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ํายีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชํานะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปิดหลังคาคือกิเลสแล้วในโลก.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 21

เรื่องพระเจ้าพันธุมราช

[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมโปรดให้พวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตนุ่งห่มผ้าใหม่แล้ว เลี้ยงดูให้อิ่มหนําด้วยสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกสิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งตั้งพี่เลี้ยงนางนมแก่พระวิปัสสีราชกุมาร หญิงพวกหนึ่งให้เสวยน้ำนม หญิงพวกหนึ่งให้สรงสนาน หญิงพวกหนึ่งอุ้ม หญิงพวกหนึ่งใส่สะเอว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราชบุรุษทั้งหลาย ได้กั้นเศวตฉัตรเพื่อพระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วนั้นทั้งกลางวันและกลางคืน ด้วยหวังว่า หนาว ร้อน หญ้า ละออง หรือน้ำค้าง อย่าได้ต้องพระองค์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของชนเป็นอันมาก ดอกอุบล ดอกประทุม หรือดอกปุณฑริก เป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของชนเป็นอันมาก แม้ฉันใด พระวิปัสสีราชกุมารก็ได้เป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของชนเป็นอันมาก ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ยินว่า พระวิปัสสีราชกุมารนั้น อันบุคคลผลัดเปลี่ยนกันอุ้มใส่สะเอวอยู่เสมอ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล เป็นผู้มีพระสุระเสียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน และเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ภิกษุทั้งหลาย หมู่นกการเวกบนหิมวันตบรรพตมีสําเนียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน และเป็นที่ตั้งแห่งความปรีดิ์เปรม ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีพระสุระเสียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน เป็นที่ตั้งแห่งความรัก.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิพยจักษุอันเกิดแต่กรรมวิบาก อันเป็นเหตุให้เห็นได้ไกลโดยรอบโยชน์หนึ่งทั้งกลางวันและกลางคืน ได้ปรากฏแก่พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 22

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล ไม่กะพริบพระเนตรเพ่งแลดู ภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไม่กะพริบเนตรเพ่งแลดูแม้ฉันใด พระวิปัสสีราชกุมาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่กะพริบพระเนตรเพ่งแลดู.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมญาว่า วิปัสสี ดังนี้แล ได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมประทับนั่งในศาลสําหรับพิพากษาคดี ให้พระวิปัสสีราชกุมารมานั่งบนพระเพลาไต่สวนคดีอยู่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า พระวิปัสสีราชกุมารประทับนั่งบนพระเพลาของพระชนก ณ ศาลาสําหรับพิพากษาคดีนั้น ทรงสอดส่องพิจารณาคดีแล้ว ย่อมทรงทราบได้ด้วยพระญาณ. ภิกษุทั้งหลายครั้งนั้น สมญาว่า วิปัสสี ดังนี้แล ได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีราชกุมารนั้น โดยยิ่งกว่าประมาณ ลําดับนั้นแล พระเจ้าพันธุมได้โปรดให้สร้างปราสาทสําหรับพระวิปัสสีราชกุมาร ๓ หลังคือ หลังหนึ่งสําหรับประทับในฤดูฝน หลังหนึ่งสําหรับประทับในฤดูหนาว อีกหลังหนึ่งสําหรับประทับในฤดูร้อน โปรดให้บํารุงพระราชกุมารด้วยเบญจกามคุณ ได้ยินว่า พระวิปัสสีราชกุมารได้รับการบํารุงบําเรอด้วยดนตรีไม่มีบุรุษปนตลอด ๔ เดือนในปราสาทสําหรับประทับในฤดูฝน ในบรรดาปราสาท ทั้ง ๓ หลังนั้น มิได้เสด็จลงสู่ปราสาทชั้นล่างเลย ดังนี้แล.

จบภาณวารที่หนึ่ง

[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนี้แล โดยกาลล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี พระวิปัสสีราชกุมารได้ตรัสเรียกนายสารถีมาสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย เธอจงเทียมยานที่ดีๆ เราจะไปสวนเพื่อชมพื้นที่อันสวยสด ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 23

ทั้งหลาย นายสารถีรับคําสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว เทียมยานที่ดีๆ เสร็จแล้ว จึงกราบทูลแด่พระวิปัสสีราชกุมารว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้เทียมยานที่ดีๆ เสร็จแล้ว บัดนี้ พระองค์ทรงกําหนดเวลาอันสมควรเถิด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีราชกุมารทรงยานอันดี เสด็จประพาสพระอุทยานพร้อมกับยานที่ดีๆ ทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมาร ขณะเสด็จประพาสพระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรชายชรา มีซี่โครงคดเหมือนกลอน หลังงอ ถือไม้เท้า เดินงกๆ เงิ่นๆ กระสับกระส่าย หมดความหนุ่มแน่น ครั้นทอดพระเนตรแล้ว จึงรับสั่งถามนายสารถีว่า นายสารถีผู้สหาย ก็ชายผู้นี้ ถูกใครทําอะไรให้แม้ผมของเขาก็ไม่เหมือนคนอื่นๆ แม้ร่างกายของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่นๆ

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า คนชรา.

นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่า คนชรา.

ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า คนชรา บัดนี้ เขาจักพึงมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน.

นายสารถี ถึงตัวเราจะต้องมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้หรือ.

ขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้า ล้วนแต่จะต้องมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้.

นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น วันนี้พอแล้วสําหรับภูมิภาคแห่งสวน เธอจงนําเรากลับสู่วังจากสวนนี้เถิด.

นายสารถีรับสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้นําเสด็จกลับไปยังภายในบุรีจากพระอุทยานนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระวิปัสสีราชกุมารเสด็จถึงวังแล้ว ทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัยทรง พระดําริว่า ผู้เจริญ ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าความ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 24

เกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่า เมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว.

[๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งหานายสารถีมาตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารได้อภิรมย์ในภูมิภาคแห่งสวนแลหรือ นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารพอพระทัยในภูมิภาคแห่งสวนแลหรือ นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงอภิรมย์ในภูมิภาคแห่งพระอุทยาน ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงพอพระทัยในภูมิภาคแห่งพระอุทยาน ดังนี้ ตรัส ถามต่อไปว่า ดูกรนายสารถีผู้สหาย ก็ราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาสสวน ได้ทอดพระเนตรอะไรเข้า.

นายสารถีได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาสพระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรชายชรามีซี่โครงคดเหมือนกลอน หลังงอ ถือไม้เท้าเดินงกๆ เงิ่นๆ กระสับกระส่าย หมดความหนุ่มแน่น ครั้นได้ทอดพระเนตรแล้ว ได้มีรับสั่งถามข้าพระพุทธเจ้าว่า นายสารถีผู้สหาย ก็ชายผู้นี้ ถูกใครทําอะไรให้ แม้ผมของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่นๆ แม้ร่างกายของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่นๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แล เรียกว่าคนชรา พระองค์ได้ตรัสถามย้ำว่า นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่าคนชรา เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่าคนชรา บัดนี้เขาจักพึงมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน พระราชกุมารได้ตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย ถึงตัวเราก็จะต้องมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้หรือ เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูล ว่าขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้าล้วนแต่จะต้องมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ พระองค์ตรัสสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น วันนี้พอแล้วสําหรับภูมิภาคแห่งสวน เธอจงนําเรากลับเข้าวังจากสวนนี้ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารับคําสั่งของพระวิปัสสีราชกุมาร แล้วได้นําเสด็จกลับเข้าวังจาก

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 25

พระอุทยานนั้น ขอเดชะ พระราชกุมารนั้นแล เสด็จถึงวังแล้ว ทรงเป็นทุกข์ เศร้าพระทัย ทรงพระดําริว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่า เมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมทรงดําริว่า วิปัสสีราชกุมารไม่เสวยราชย์เสียเลยไม่ได้ วิปัสสีราชกุมารอย่าออกผนวชเป็นบรรพชิตเลย ถ้อยคําของเนมิตตพราหมณ์อย่าพึงเป็นความจริงเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งให้บํารุงบําเรอพระวิปัสสีราชกุมารด้วยกามคุณ ๕ ยิ่งกว่าแต่ก่อน โดยอาการที่จะให้พระวิปัสสีราชกุมารเสวยราชย์ โดยอาการที่จะไม่ให้พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต โดยอาการที่จะให้ถ้อยคําของเนมิตตพราหมณ์เป็นผิด ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าครั้งนั้น พระวิปัสสีราชกุมารเพียบพร้อมพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับการบํารุงบําเรออยู่.

[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โดยกาลล่วงไปหลายปี พระวิปัสสีราชกุมาร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมาร ขณะเมื่อเสด็จประพาสพระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรคนเจ็บ ถึงความลําบาก เป็นไข้หนัก นอนจมอยู่ในมูตรและกรีสของตน คนอื่นๆ ต้องช่วยพยุงให้ลุก ผู้อื่นต้องช่วยให้กิน ครั้นทอดพระเนตรแล้ว จึงรับสั่งถามนายสารถีว่า นายสารถีผู้สหาย ก็ชายนี้ ถูกใครทําอะไรให้ แม้ตาทั้งสองของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่นๆ แม้ศีรษะของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่นๆ

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่าคนเจ็บ.

นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่าคนเจ็บ.

ขอเดชะ นี้แลเรียกว่าคนเจ็บ ไฉนเล่า เขาจะพึงหายจากความเจ็บนั้นได้.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 26

นายสารถีผู้สหาย ถึงตัวเราก็จะต้องมีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้หรือ.

ขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้า ล้วนจะต้องมีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้.

นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น วันนี้พอแล้วสําหรับภูมิภาคแห่งสวน เธอจงนําเรากลับไปวังจากสวนนี้เถิด.

นายสารถีรับสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้นําเสด็จกลับไปยังวังจากพระอุทยานนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จถึงวังแล้ว ทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัย ทรงพระดําริว่า ผู้เจริญ ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่า เมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏ ความเจ็บจักปรากฏ แก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว.

[๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งหานายสารถีมาตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารได้อภิรมย์ในภูมิภาคแห่งสวนแลหรือ นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารพอพระทัยในภูมิภาคแห่งสวนแลหรือ นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงอภิรมย์ในภูมิภาคแห่งพระอุทยาน ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงพอพระทัยในภูมิภาคแห่งพระอุทยาน ดังนี้ ตรัสถามต่อไปว่า นายสารถีผู้สหาย ก็ราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาสสวน ได้ทอดพระเนตรอะไรเข้า.

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาสพระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรคนเจ็บ ถึงความลําบาก เป็นไข้หนัก นอนจมอยู่ในมูตรและกรีสของตน บุคคลอื่นๆ ต้องช่วยพยุงให้ลุก ผู้อื่นต้องช่วยให้กิน ครั้นทอดพระเนตรแล้ว ได้รับสั่งถามข้าพระพุทธเจ้าว่า นายสารถีผู้สหาย

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 27

ชายคนนี้ถูกใครทําอะไรให้ แม้ตาทั้งสองของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่นๆ แม้ศีรษะของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่นๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า คนเจ็บ พระองค์ได้ตรัสถามย้ำว่า นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่าคนเจ็บ เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่าคนเจ็บ ไฉนเล่า เขาจะพึงหายจากความเจ็บนั้นได้ พระราชกุมารได้ตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย แม้ถึงตัวเราก็จะต้องมีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้หรือ แต่พอข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้า ล้วนแต่จะต้องมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้ พระองค์ตรัสสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น วันนี้พอแล้วสําหรับภูมิภาคแห่งสวน เธอจงนําเรากลับไปวังจากสวนนี้ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารับคําสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้นําเสด็จกลับไปวังจากพระอุทยานนั้น ขอเดชะ พระราชกุมารนั้นแล เสด็จถึงวังแล้ว ทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัย ทรงพระดําริว่า ผู้เจริญ ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่า เมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏ ความเจ็บป่วยจักปรากฏ แก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมทรงพระดําริว่า วิปัสสีราชกุมาร อย่าไม่เสวยราชย์เสียเลย วิปัสสีราชกุมารอย่าออกผนวชเป็นบรรพชิตเลย ถ้อยคําของเนมิตตพราหมณ์อย่าพึงเป็นความจริงเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งให้บํารุงบําเรอพระวิปัสสีราชกุมารด้วยกามคุณ ๕ ยิ่งกว่าแต่ก่อน โดยอาการที่จะให้พระวิปัสสีราชกุมารเสวยราชย์ โดยอาการที่จะไม่ให้พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต โดยอาการที่จะให้ถ้อยคําของเนมิตตพราหมณ์เป็นผิด ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระวิปัสสีราชกุมารเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับการบํารุงบําเรออยู่ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 28

พระวิปัสสีราชกุมารเห็นเทวทูต

[๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาส พระอุทยานได้ทอดพระเนตรหมู่มหาชนประชุมกัน และวอที่ทําด้วยผ้าสีต่างๆ ครั้นทอดพระเนตรแล้ว จึงรับสั่งถามนายสารถีว่า นายสารถีผู้สหาย หมู่มหาชนเขาประชุมกันทําไม และเขาทําวอด้วยผ้าสีต่างๆ กันทําไม นายสารถีได้กราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า คนตาย พระวิปัสสีราชกุมารได้ตรัสสั่งว่า นายสารถี ถ้าเช่นนั้น เธอจงขับรถไปทางคนตายนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายสารถีรับคําสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้ขับรถไปทางคนตายนั้น ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมารได้ทอดพระเนตรคนตายไปแล้ว ได้ตรัสเรียกนายสารถีมา รับสั่งถามว่า นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่าคนตาย

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่าคนตาย บัดนี้ มารดาบิดา หรือญาติสาโลหิตอื่นๆ จักไม่เห็นเขา แม้เขาก็จักไม่เห็นมารดาบิดา หรือญาติสาโลหิตอื่นๆ.

นายสารถีผู้สหาย ถึงตัวเราก็จะต้องมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้หรือ พระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่นๆ จักไม่เห็นเราหรือ แม้เราก็จักไม่เห็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่นๆ หรือ.

ขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้า ล้วนแต่จะต้องมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ พระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่นๆ จักไม่เห็นพระองค์ แม้พระองค์ก็จะไม่เห็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่นๆ นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้นวันนี้พอแล้วสําหรับภูมิภาคแห่งสวน เธอจงนําเรากลับไปวังจากสวนนี้เถิด.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 29

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายสารถีรับคําสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้นําเสด็จกลับไปวังจากอุทยานนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จถึงวังแล้ว ทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัย ทรงพระดําริว่า ผู้เจริญ ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่า เมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏ ความเจ็บจักปรากฏ ความตายจักปรากฏแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว

[๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งหานายสารถีมา ตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารได้ทรงอภิรมย์ในภูมิภาคแห่งสวนแลหรือ นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารพอพระทัยในภูมิภาคแห่งสวนแลหรือ นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงอภิรมย์ในภูมิภาคแห่งพระอุทยาน ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงพอพระทัยในภูมิภาคแห่งพระอุทยาน ดังนี้ ตรัสถามต่อไปว่า นายสารถีผู้สหาย ก็ราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาสสวนได้ทอดพระเนตรอะไรเข้า.

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาสพระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรหมู่มหาชนประชุมกันและวอที่ทําด้วยผ้าสีต่างๆ แล้วได้ตรัสถามข้าพระพุทธเจ้าว่า นายสารถีผู้สหาย หมู่มหาชนประชุมกันทําไม เขากระทําวอด้วยผ้าสีต่างๆ กันทําไม เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า นี้แล เรียกว่าคนตาย พระองค์ได้ตรัสสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น เธอจงขับรถไปทางคนตายนั้น ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารับคําสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้ขับรถไปทางคนตายนั้น ขอเดชะ พระราชกุมารได้ทอดพระเนตรคนตายเข้าแล้วได้ตรัสถามข้าพระพุทธเจ้าว่า นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่าคนตาย เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่าคนตาย บัดนี้ มารดาบิดา และญาติสาโลหิตอื่นๆ จักไม่เห็นเขา แม้เขาก็จักไม่เห็นมารดา

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 30

บิดา หรือญาติสาโลหิตอื่นๆ ดังนี้ พระองค์ได้ตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย ถึงตัวเราก็จะต้องมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้หรือ พระเจ้าแผ่นดิน พระเทวีหรือพระญาติสาโลหิตอื่นๆ จักไม่เห็นเราหรือ แม้เราก็จักไม่เห็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่นๆ หรือ เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้าล้วนแต่จะต้องมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ พระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่นๆ จักไม่เห็นพระองค์ แม้พระองค์ก็จักไม่เห็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่นๆ ดังนี้ พระองค์ตรัสสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น วันนี้พอแล้วสําหรับภูมิภาคแห่งสวน เธอจงนําเรากลับไปวังจากสวนนี้ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารับคําสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้นําเสด็จกลับไปวังจากพระอุทยานนั้น ขอเดชะ พระราชกุมารนั้นแล เสด็จถึงวังแล้ว ทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัย ทรงพระดําริว่า ผู้เจริญ ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่า ความเกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะเมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏ ความเจ็บจักปรากฏ ความตายจักปรากฏ แก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมทรงพระดําริว่า วิปัสสีราชกุมารอย่าไม่พึงเสวยราชย์เลย วิปัสสีราชกุมารอย่าออกผนวชเป็นบรรพชิตเลย ถ้อยคําของเนมิตตพราหมณ์ทั้งหลายอย่าเป็นความจริงเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมได้รับสั่งให้บํารุงบําเรอพระวิปัสสีราชกุมารด้วยกามคุณ ๕ ยิ่งกว่าแต่ก่อน โดยอาการที่จะให้พระวิปัสสีราชกุมารเสวยราชย์ โดยอาการที่จะไม่ให้พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต โดยอาการที่จะให้ถ้อยคําของเนมิตตพราหมณ์เป็นผิด ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระวิปัสสีราชกุมารเพียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับการบํารุงบําเรออยู่.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 31

[๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โดยกาลล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี พระวิปัสสีราชกุมารได้ตรัสเรียกนายสารถีมาสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย เธอจงเทียมยานที่ดีๆ เราจะไปในสวนเพื่อชมพื้นที่อันสวยสด ภิกษุทั้งหลาย นายสารถีรับคําสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว เทียมยานที่ดีๆ เสร็จแล้ว ได้กราบทูลแด่พระวิปัสสีราชกุมารว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า เทียมยานที่ดีๆ เสร็จแล้ว บัดนี้ พระองค์ทรงกําหนดเวลาอันสมควรเถิด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีราชกุมารทรงยานที่ดี เสด็จประพาสพระอุทยานพร้อมกับยานที่ดีๆ ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาสพระอุทยานได้ทอดพระเนตรบุรุษบรรพชิต ศีรษะโล้น นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ครั้นทอดพระเนตรแล้ว จึงรับสั่งถามนายสารถีว่า นายสารถีผู้สหาย บุรุษนี้ ถูกใครทําอะไรให้ แม้ศีรษะของเขาก็ไม่เหมือนคนอื่นๆ แม้ผ้าทั้งหลายของเขาก็ไม่เหมือนคนอื่นๆ

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า บรรพชิต.

นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่า บรรพชิต.

ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า บรรพชิต การประพฤติธรรมเป็นความดี การประพฤติสม่ําเสมอเป็นความดี การประพฤติกุศลเป็นความดี การกระทําบุญเป็นความดี การไม่เบียดเบียนเป็นความดี การอนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์เป็นความดี.

นายสารถีผู้สหาย ดีละ ที่บุคคลนั้นได้นามว่าบรรพชิต การประพฤติธรรมเป็นความดี การประพฤติสม่ําเสมอเป็นความดี การประพฤติกุศลเป็นความดี การกระทําบุญเป็นความดี การไม่เบียดเบียนเป็นความดี การอนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์เป็นความดี นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น เธอจงขับรถไปทางบรรพชิตนั้น.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 32

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายสารถีรับคําสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ขับรถไปทางบรรพชิตนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีราชกุมารได้ตรัสถามบรรพชิตนั้นว่า สหาย ท่านถูกใครทําอะไรให้ แม้ศีรษะของท่านก็ไม่เหมือนของคนอื่นๆ แม้ผ้าทั้งหลายของท่านก็ไม่เหมือนของคนอื่นๆ.

บรรพชิตนั้นได้ทูลว่า ขอถวายพระพร อาตมภาพแลชื่อบรรพชิต.

สหาย ก็ท่านหรือชื่อบรรพชิต.

ขอถวายพระพร อาตมภาพชื่อบรรพชิต การประพฤติธรรมเป็นความดี การประพฤติสม่ําเสมอเป็นความดี การประพฤติกุศลเป็นความดี การกระทําบุญเป็นความดี การไม่เบียดเบียนเป็นความดี การอนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์เป็นความดี.

ดีละสหาย ที่ท่านได้นามว่าบรรพชิต การประพฤติธรรมเป็นความดี การประพฤติสม่ําเสมอเป็นความดี การประพฤติกุศลเป็นความดี การกระทําบุญเป็นความดี การไม่เบียดเบียนเป็นความดี การอนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์เป็นความดี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีราชกุมารได้ตรัสเรียกนายสารถีมาสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น เธอจงนํารถกลับไปวังจากสวนนี้แหละ ส่วนเราจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต ณ สวนนี้แหละ.

พระวิปัสสีราชกุมารทรงผนวช

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายสารถีรับคําสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้พารถกลับไปยังวังจากสวนนั้น ส่วนพระวิปัสสีราชกุมารได้ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว ณ พระอุทยานนั้นเอง.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 33

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่มหาชนในพระนครพันธุมดีราชธานีประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ได้สดับข่าวว่า พระวิปัสสีราชกุมารได้ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิตเสียแล้ว ดังนี้ ครั้นแล้วมหาชนเหล่านั้น ได้ดําริดังนี้ว่า ก็พระวิปัสสีราชกุมารได้ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยใด พระธรรมวินัยนั้นคงไม่เลวทรามเป็นแน่ บรรพชานั้นคงไม่เลวทรามเป็นแน่ แต่พระวิปัสสีราชกุมารยังทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิตได้ พวกเราทําไมจึงจะบวชไม่ได้เล่า.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล หมู่มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ได้พากันโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต ตามเสด็จพระวิปัสสีโพธิสัตว์แล้ว ได้ยินว่า พระวิปัสสีโพธิสัตว์ อันบริษัทนั้นห้อมล้อม เสด็จเที่ยวจาริกไปในคาม นิคม ชนบท และราชธานี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์เสด็จหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้ทรงพระปริวิตกเช่นนี้ว่า การที่เราเป็นผู้ปะปนอยู่เช่นนี้ไม่สมควร ไฉนหนอ เราถึงหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว ภิกษุทั้งหลาย ครั้นสมัยต่อมา พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้เสด็จหลีกออกจากหมู่ประทับอยู่แต่พระองค์เดียว บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปได้พากันไปทางหนึ่ง พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้เสด็จไปทางหนึ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ผู้เสด็จหลีกออก เร้นอยู่ในที่ลับ ได้ทรงพระปริวิตกเช่นนี้ว่า โลกนี้ถึงความยาก ย่อมเกิด แก่ ตาย และเวียนตาย เวียนเกิด เออก็แหละบุคคลไม่รู้ชัดถึงอุบายเครื่องพ้นทุกข์ คือ ชราและมรณะนี้ การพ้นทุกข์ คือ ชราและมรณะนี้ จักปรากฏได้เมื่อไรเล่า.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 34

พระวิปัสสีทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท

[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชราและมรณะจึงมี ชราและมรณะมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี ชราและมรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชาติจึงมี ชาติมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อภพมีอยู่ชาติจึงมี ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ภพจึงมี ภพมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออุปาทานมีอยู่ภพจึงมี ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนออุปาทานจึงมี อุปทานมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อตัณหามีอยู่อุปาทานจึงมี อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงการทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ตัณหาจึงมี ตัณหามีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 35

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อเวทนามีอยู่ตัณหาจึงมี ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอเวทนาจึงมี เวทนามีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อผัสสะมีอยู่เวทนาจึงมี เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอผัสสะจึงมี ผัสสะมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อสฬายตนะมีอยู่ผัสสะจึงมี ผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ สฬายตนะจึงมี สฬายตนะมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปมีอยู่สฬายตนะจึงมี สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ นามรูปจึงมี นามรูปมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อวิญญาณมีอยู่นามรูปจึงมี นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 36

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ วิญญาณจึงมี วิญญาณมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปมีอยู่วิญญาณจึงมี วิญญาณมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า วิญญาณนี้ย่อมกลับเวียนมาแต่นามรูปหาใช่อย่างอื่นไม่ โดยความเป็นไปเพียงเท่านี้ สัตว์โลกพึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง ความเป็นไปนั้นคือวิญญาณมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสย่อมมีพร้อมเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปรีชา ความรู้แจ้งชัด แสงสว่างว่าสมุทัยๆ (เหตุเกิดขึ้นพร้อมๆ) ดังนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์มิได้สดับมาแล้วในกาลก่อนเลย.

[๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ได้ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชราและมรณะจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะย่อมไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบาย อันแยบคาย.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 37

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ ภพจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ อุปาทานจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานย่อมไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลายต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหาจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาย่อมไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนาจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี เพราะผัสสะ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 38

ดับ เวทนาจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะย่อมไม่มี เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สฬายตนะจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะย่อมไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปย่อมไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ วิญญาณจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปไม่มี วิญญาณย่อมไม่มี เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทําไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 39

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดําริว่า หนทางเพื่อความตรัสรู้นี้เราได้บรรลุแล้วแล คือเพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรามรณโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับโดยไม่เหลือ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีได้ด้วย ประการฉะนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปรีชา ความรู้แจ้งชัด แสงสว่างว่า นิโรธๆ (ความดับๆ) ดังนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์มิได้สดับมาแล้วในกาลก่อนเลย.

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นสมัยอื่น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและควานเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า ดังนี้รูป ดังนี้เหตุเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้เหตุเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้เหตุเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขาร ดังนี้เหตุเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณ ดังเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ไม่นานนัก จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่นแล.

จบภาณวารที่สอง

พระปริวิตกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิปัสสี

[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้ทรงพระดําริว่า ไฉนหนอ เราพึงแสดงธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 40

ว่าวิปัสสีได้ทรงพระดําริว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ บัณฑิต ส่วนหมู่สัตว์นี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็อันหมู่สัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะนี้ คือ ปัจจัยแห่งสภาวธรรมอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาท) ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะแม้นี้ คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา คลายความกําหนัด ดับทุกข์ ก็แหละเราพึงแสดงธรรม แต่สัตว์เหล่าอื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา นั้นพึงเป็นความลําบากแก่เรา นั้นพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า คาถาทั้งหลายที่ไม่อัศจรรย์ซึ่งพระองค์มิได้เคยสดับมาแล้วแต่ก่อน ได้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ดังนี้

บัดนี้ ไม่ควรเลยที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยแสนยาก ธรรมนี้อันสัตว์ที่ถูกราคะและโทสะครอบงําแล้ว ไม่ตรัสรู้ได้โดยง่าย สัตว์ที่ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองแห่งความมืดหุ้มห่อไว้แล้ว จักเห็นไม่ได้ซึ่งธรรมที่มีปรกติไปทวนกระแสอันละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู

[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พิจารณาเห็นดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย มิได้น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 41

ว่าด้วยการอาราธนาของพรหม

[๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งได้ทราบพระปริวิตกในพระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีด้วยใจแล้ว จึงดําริว่า ผู้เจริญทั้งหลายโลกจะฉิบหายเสียละหนอ ผู้เจริญทั้งหลายโลกจะพินาศเสียละหนอ เพราะว่าพระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อยเสียแล้ว มิได้น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมนั้นหายไปในพรหมโลก มาปรากฎเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เหมือนบุรุษที่มีกําลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกไว้ ฉะนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมกระทําผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกชาณุมณฑลเบื้องขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีประทับอยู่แล้ว ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรม ในโลกนี้สัตว์ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะมิได้ฟังธรรมสัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นกราบทูลเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ตรัสกะท้าวมหาพรหมนั้นว่า ดูกรพรหม แม้เราก็ได้ดําริแล้วเช่นนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงแสดงธรรม ดูกรพรหม แต่เรานั้นได้คิดเห็นดังนี้ว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง เห็นได้ยากรู้ตามได้ยาก สงบประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 42

บัณฑิต ส่วนหมู่สัตว์นี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็อันหมู่สัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะนี้ คือ ปัจจัยแห่งสภาวธรรมอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาท) ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะแม้นี้คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา คลายความกําหนัด ดับทุกข์ ก็และเราพึงแสดงธรรม แต่สัตว์เหล่าอื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรานั้น พึงเป็นความลําบากแก่เรา นั้นพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ดูกรพรหม คาถาที่ไม่น่าอัศจรรย์ซึ่งเรามิได้สดับมาแล้วแต่ก่อนหรือได้แจ่มแจ้งแล้วดังนี้ บัดนี้ไม่ควรเลยที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยแสนยาก ฯลฯ

ดูกรพรหม เมื่อเราพิจารณาเห็นดังนี้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย มิได้น้อมไปเพื่อจะแสดงธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่สองแล ท้าวมหาพรหมนั้น ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่สามแล ท้าวมหาพรหมนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรม ในโลกนี้สัตว์ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะมิได้ฟังธรรมสัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมีอยู่ดังนี้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิปัสสีทรงตรวจโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงทราบการทูลเชิญของพรหมแล้ว ทรงอาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์ จึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปัสสี เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 43

ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ง่าย บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกเป็นภัพพสัตว์บางพวกเป็นอภัพพสัตว์ บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

ในกออุบล หรือกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้ บางเหล่ายังจมอยู่ภายในน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำมิได้ติดใบ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ง่าย บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกเป็นภัพพสัตว์ บางพวกเป็นอภัพพสัตว์ บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมทราบพระปริวิตกในพระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีด้วยใจแล้ว จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีด้วยคาถาทั้งหลายความว่า

[๔๕] ผู้ที่ยืนอยู่ยอดเขาสิลาล้วน พึงเห็นประชุมชนโดยรอบ ฉันใด ท่านผู้มีเมธาดี มีจักษุโดยรอบ ฉันนั้นเหมือนกัน ขึ้นสู่ปราสาทอันสําเร็จแล้วด้วยธรรม เป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก ทรงพิจารณา

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 44

เห็นประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นไปด้วยความเศร้าโศก ถูกชาติและชราครอบงําแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ผู้ชนะสงครามแล้ว เป็นนายพวกปราศจากหนี้ ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้น เปิดเผยโลก ขอผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี.

[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นได้กราบทูลแล้ว ดังนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีจึงได้ตรัสกะท้าวมหาพรหมนั้นด้วยพระคาถาว่า

เราได้เปิดเผยประตูอมตะไว้สําหรับท่านแล้ว ผู้มีโสตจงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เรารู้สึกลําบาก จึงมิได้กล่าวธรรมอันประณีตซึ่งเราให้คล่องแคล่วแล้วในหมู่มนุษย์ ดังนี้.

[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมคิดว่า เราเป็นผู้มีโอกาสอันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้ทรงกระทําแล้ว เพื่อจะทรงแสดงธรรม จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี กระทําประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง.

[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสีทรงพระดําริว่า เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนเล่าหนอ ใครจะรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็วพลันทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้ทรงพระดําริว่า พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะนี้ ผู้อาศัยอยู่ในพระนครพันธุมดีราชธานี เป็นคนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีกิเลสเพียงดัง

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 45

ธุลีในจักษุเบาบางสิ้นกาลนาน ไฉนหนอ เราพึงแสดงธรรมแก่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะก่อน คนทั้งสองนั้นจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้รวดเร็วทีเดียว.

เรื่องคู่พระสาวกขัณฑะและติสสะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้หายพระองค์ที่ควงโพธิพฤกษ์ ไปปรากฏพระองค์ ณ มฤคทายวันชื่อว่าเขมะในพระนครพันธุมดีราชธานี เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกําลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกไว้ ฉะนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ตรัสเรียกคนเฝ้าสวนมฤคทายวันมาว่า มานี่ นายมฤคทายบาล เธอจงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี แล้วบอกกะพระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ ดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้เสด็จถึงพระนครพันธุมดีราชธานีแล้ว กําลังประทับอยู่ที่มฤคทายวันชื่อว่าเขมะ พระองค์ทรงพระประสงค์จะพบท่านทั้งสอง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายมฤคทายบาลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีแล้ว เข้าไปยังพระนครพันธุมดี แล้วแจ้งข่าวกะพระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะ ว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีเสด็จถึงพระนครพันธุมดีราชธานีแล้ว กําลังประทับอยู่ที่มฤคทายวันชื่อว่าเขมะ พระองค์ทรงพระประสงค์ที่จะพบท่านทั้งสอง.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะ สั่งให้บุรุษเทียมยานที่ดีๆ แล้วขึ้นสู่ยานที่ดีๆ ออกจาก

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 46

พระนครพันธุมดีราชธานีพร้อมกับยานดีๆ ทั้งหลาย ขับตรงไปยังมฤคทายวันชื่อว่าเขมะ ไปด้วยยานตลอดภูมิประเทศเท่าที่ยานจะไปได้ แล้วลงจากยาน เดินตรงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่ท่านทั้งสองนั้น คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ําช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกบวช เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่าท่านทั้งสองนั้นมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรงประกาศธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น ท่านทั้งสองนั้น เห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ก็แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 47

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะ ได้บรรพชา ได้อุปสมบท ในสํานักของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้ทรงยังท่านทั้งสองนั้น ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วประกาศโทษของสังขารอันต่ําช้าเศร้าหมอง และ อานิสงส์ในการออกบวช จิตของท่านทั้งสองนั้น ผู้อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ไม่นานนักก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ยึดมั่น.

เรื่องบรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่มหาชนชาวพระนครพันธุมดีราชธานีประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เสด็จถึงพระนครพันธุมดีราชธานีโดยลําดับแล้ว ประทับอยู่ ณ มฤคทายวันชื่อเขมะ ข่าวว่าพระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต ณ สํานักของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามวิปัสสีแล้วดังนี้ คนเหล่านั้นครั้นได้ฟังแล้วต่างคิดเห็นกันว่า ก็พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยใด พระธรรมวินัยนั้นคงไม่ต่ําทรามแน่นอน บรรพชานั้นคงไม่ต่ําทราม แต่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะยังปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิตได้ ไฉนพวกเราจึงจักออกบวชเป็นบรรพชิตบ้างไม่ได้เล่า.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล หมู่มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คนได้ชวนกันออกจากพระนครพันธุมดีราชธานี เข้าไปทางเขมมฤคทายวัน ที่พระผู้มี

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 48

พระภาคประทับอยู่ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่ชนเหล่านั้น คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ําช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกบวช เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่า ชนเหล่านั้น มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่หมู่มหาชน ๘๔,๐๐๐ คนนั้น ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น ชนเหล่านั้น เห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาค.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่มหาชน ๘๔,๐๐๐ คนเหล่านั้น ได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 49

วิปัสสีแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงยังภิกษุทั้งเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงประกาศโทษของสังขารที่ต่ําช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ในพระนิพพาน จิตของภิกษุเหล่านั้น ผู้อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ไม่นานนักก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ยืดมั่น.

[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้น ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เสด็จถึงพระนครพันธุมดีราชธานีโดยลําดับประทับอยู่ ณ มฤคทายวันชื่อว่าเขมะ และมีข่าวว่ากําลังทรงแสดงธรรมอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้น ได้พากันไปทางพระนครพันธุมดีราชธานีทางมฤคทายวันชื่อว่าเขมะ ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีประทับอยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี แล้วพากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่บรรพชิตเหล่านั้น คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ําช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกบวช เมื่อทรงทราบว่าบรรพชิตเหล่านั้นมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมที่ปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแล้วแก่บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปนั้น ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น บรรพชิตเหล่านั้นเห็นธรรม

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 50

ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสํานักของพระผู้มีภาค.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้นได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสีแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้ทรงยังภิกษุเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ทรงประกาศโทษของสังขารที่ต่ําช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ในพระนิพพาน (๑) จิตของภิกษุเหล่านั้น ผู้อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ไม่นานนัก ก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น.

[๕๑] ก็สมัยนั้น ในพระนครพันธุมดีราชธานีมีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่มาก ประมาณหกล้านแปดแสนรูป ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้เสด็จเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความรําพึงในพระทัยว่า บัดนี้ ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจํานวน


(๑) บาลี เนกฺขมฺเม.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 51

มาก ประมาณหกล้านแปดแสนรูป ถ้ากระไร เราพึงอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงในโลกนี้ สัตว์พวกนี้ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้จักมี แต่ว่าโดยหกปีๆ ล่วงไป พวกเธอพึงกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานีเพื่อแสดงพระปาติโมกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งได้ทราบความรําพึงในพระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ด้วยใจแล้ว จึงได้หายตัวที่พรหมโลก ไปปรากฏอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกําลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้น ท้าวมหาพรหมนั้นกระทําผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก ประมาณหกล้านแปดแสนรูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุญาตภิกษุทั้งหลายเถิดว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 52

ความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเสสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็จักกระทําโดยที่จะให้ภิกษุทั้งหลายกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปีๆ ล่วงไป.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวมหาพรหมนั้นได้กราบทูลดังนี้แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี กระทําประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง.

ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ในเวลาเย็น เสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา ว่า ภิกษุทั้งหลาย วันนี้ เราไปเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความรําพึงในใจว่า ในพระนครพันธุมดีราชธานีมีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจํานวนมากประมาณหกล้านแปดแสนรูป ถ้ากระไร เราพึงอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและ มนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเสสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แต่ว่าโดยหกปีๆ ล่วงไป พวกเธอพึงกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์ ภิกษุทั้งหลาย ทันใด

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 53

นั้นแล ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง ได้ทราบความรําพึงในใจของเราด้วยใจแล้ว จึงได้หายตัวที่พรหมโลก มาปรากฏเฉพาะหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกําลังเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น ท้าวมหาพรหมนั้น กระทําผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีมาทางเราแล้วพูดกะเราว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น บัดนี้ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก ประมาณหกล้านแปดแสนรูป ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุญาตภิกษุทั้งหลายเถิดว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็จักกระทําโดยที่จะให้ภิกษุทั้งหลายกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาฏิโมกข์โดยหกปีๆ ล่วงไป ภิกษุทั้งหลาย ท้าวมหาพรหมนั้นพูดกะเราดังนี้แล้ว ไหว้เรา กระทําประทักษิณ แล้วหายไป ในที่นั้นเอง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามใน

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 54

เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อม ทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แม้เราก็จักกระทํา โดยที่ให้พระนครพันธุมดีเป็นสถานที่อันเธอทั้งหลายพึงกลับมาแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปีๆ ล่วงไป ดังนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้เที่ยวจาริกไปในชนบท โดยวันเดียวเท่านั้นโดยมาก.

[๕๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ในชมพูทวีปมีอาวาสอยู่ ๘๔,๐๐๐ อาวาส เมื่อล่วงไปได้พรรษาหนึ่งแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปพรรษาหนึ่งแล้ว บัดนี้ยังเหลือห้าพรรษา โดยอีกห้าพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้สองพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปสองพรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือสี่พรรษา โดยอีกสี่พรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้สามพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้อง ประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปสามพรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือสามพรรษา โดยอีกสามพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้สี่พรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือสองพรรษา โดยอีกสองพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้ห้าพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปห้าพรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือพรรษาเดียวโดยอีกพรรษาเดียวล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 55

หกพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ล่วงไปหกพรรษาแล้ว บัดนี้ ถึงเวลาละ ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น บางพวกไปด้วยอิทธานุภาพของตน บางพวกไปด้วยอิทธานุภาพของเทวดา เข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี โดยวันเดียวเท่านั้น เพื่อสวดพระปาติโมกข์.

ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุมพระภิกษุสงฆ์ดังนี้-

ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ทําร้ายผู้อื่น ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย.

การไม่ทําบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทําจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทําร้าย ๑ ความสํารวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑ หกอย่างนี้ เป็นคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

[๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ควงไม้พญาสาลพฤกษ์ในป่าสุภวันใกล้อุกกัฏฐนคร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไปเร้นอยู่ในที่ลับ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 56

เกิดความรําพึงในใจว่า ชั้นสุทธาวาสซึ่งเรามิได้เคยอยู่เลยโดยเวลาอันยืดยาวนานนี้ นอกจากเทวดาเหล่าสุทธาวาสแล้ว ไม่ใช่โอกาสที่ใครๆ จะได้โดยง่าย ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปหาเทวดาเหล่าสุทธาวาสจนถึงที่อยู่ ภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้น เราได้หายไปที่ควงไม้พญาสาลพฤกษ์ในป่าสุภวันใกล้อุกกัฏฐนคร ไปปรากฏในพวกเทวดาเหล่าอวิหา เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกําลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นแล เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเราครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีเสด็จอุบัติในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีเป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในขัตติยสกุล เป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณแปดหมื่นปี พระองค์ได้ ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย มีคู่พระสาวกชื่อว่าพระขัณฑเถระและพระติสสเถระ ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้มีแล้วสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุหกล้านแปดแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนแปดหมื่นรูป พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีที่ได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ ทั้งสิ้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่ออโสกะ ได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระราชาพระนามว่าพันธุมเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่าพันธุมดีเป็นพระชนนี

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 57

บังเกิดเกล้าของพระองค์ พระนครชื่อว่าพันธุมดีเป็นราชธานีของพระเจ้าพันธุม ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีเป็นอย่างนี้ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้วจึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมาก ได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์นับแต่นี้ไป ๓๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีเสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในขัตติยสกุล เป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณเจ็ดหมื่นปี พระองค์ได้ตรัสรู้ควงไม้กุ่มบก มีพระอภิภูเถระและพระสัมภวเถระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีได้มีแล้วสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแปดหมื่นรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุเจ็ดหมื่นรูป ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ที่ได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อเขมังกระได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี พระราชาพระนามว่าอรุณะเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่าปภาวดีเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระองค์ พระนครชื่อว่าอรุณวดีเป็นราชธานีของพระเจ้าอรุณ

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 58

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีเป็นอย่างนี้ๆ พวกข้าพระองค์นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี คลายกามฉันทะในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้าหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทวดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในกัปที่ ๓๑ นั้นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภูได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในขันติยสกุล เป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณหกหมื่นปี พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้สาลพฤกษ์ มีพระโสนเถระและพระอุตตรเถระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภูได้มีแล้วสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแปดหมื่นรูป อีกครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุเจ็ดหมื่นรูป อีกครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุหกหมื่นรูป สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภูที่ได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าอุปสันตะได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู พระราชาพระนามว่าสุปปตีตะเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่ายสวดีเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระองค์ พระนครชื่อว่าอโนมะเป็นราชธานีของพระเจ้าสุปปตีตะ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความ

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 59

เพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภูเป็นอย่างนี้ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่าเวสสภู คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในพราหมณสกุล เป็นกัสสปะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณสี่หมื่นปี พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้ซึก มีพระวิธูรเถระและพระสัญชีวเถระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะได้มีแล้วครั้งเดียว เป็นจํานวนภิกษุสี่หมื่นรูป ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าวุฑฒิชะได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ พราหมณ์ชื่ออัคคิทัตตะเป็นพระชนก พราหมณีชื่อว่าวิสาขาเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็เวลานั้น พระเจ้าเขมะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระนครชื่อว่าเขมวดีเป็นราชธานีของพระเจ้าเขมะ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะเป็นอย่างนี้ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติ

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 60

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทวดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในพราหมณสกุล เป็นกัสสปะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณสามหมื่นปี พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้มะเดื่อ มีพระภิยโยสเถระและพระอุตตรเถระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์อการประชุมกันแห่งสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะได้มีแล้วครั้งเดียว เป็นจํานวนภิกษุสามหมื่นรูป พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อโสตถิชะเป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พราหมณ์ชื่อว่ายัญญทัตตะเป็นพระชนก พราหมณีชื่อว่าอุตตรา เป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระองค์ ก็ครั้งนั้น พระเจ้าโสภะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระนครชื่อว่าโสภวดีเป็นราชธานีของพระเจ้าโสภะ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักรของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ เป็นอย่างนี้ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 61

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทวดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในพราหมณ์สกุล เป็นกัสสปะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณสองหมื่นปี พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้ไทร มีพระติสสเถระและพระภารทวาชเถระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะได้มีแล้วครั้งเดียว เป็นจํานวนภิกษุสองหมื่นรูป ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าสัพพมิตะได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ พราหมณ์ชื่อพรหมทัตเป็นพระชนก พราหมณีชื่อธนวดีเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ครั้งนั้น พระเจ้ากิงกีเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระนครพาราณสีเป็นราชธานีของพระเจ้ากิงกี ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เป็นอย่างนี้ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 62

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทวดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในขัตติยสกุล เป็นโคตมโดยพระโคตร ประมาณพระชนมายุของพระผู้มีพระภาคน้อยนิดเดียว เร็วพลัน ผู้ที่มีชีวิตอยู่นานก็เป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี บางทีก็มีชีวิตอยู่น้อยกว่าบ้าง มากกว่าบ้าง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ มีพระสารีบุตรเถระและพระโมคคัลลานเถระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคได้มีแล้วครั้งเดียว เป็นจํานวนภิกษุหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบรูป ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สาวกของพระผู้มีพระภาคที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่ออานนท์ได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่ามายาเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาค พระนครชื่อกบิลพัสดุ์เป็นราชธานี ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักรของพระผู้มีพระภาคเป็นอย่างนี้ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เราพร้อมด้วยเทพดาเหล่าอวิหาได้เข้าไปหาเทพดาเหล่าอตัปปา ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เราพร้อมด้วยเทพดา เหล่าอวิหาและเหล่าอัตัปปา ได้เข้าไปหาเทพดาเหล่าสุทัสสา ภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 63

ครั้งนั้นแล เราพร้อมด้วยเทพดา เหล่าอวิหา เหล่าอตัปปา และเหล่าสุทัสสาได้เข้าไปหาเทพดาเหล่าสุทัสสี ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เราพร้อมด้วยเทพดา เหล่าอวิหา เหล่าอตัปปา เหล่าสุทัสสา และเหล่าสุทัสสี ได้เข้าไปหาเทพดาเหล่าอกนิฏฐาแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั่นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นับถอยหลังแต่นี้ไปได้ ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีเสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในขัตติยสกุล เป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณ แปดหมื่นปี พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย มีพระขัณฑเถระและพระติสสเถระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีได้มีแล้วสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุหกล้านแปดแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจํานวนภิกษุแปดหมื่นรูป พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีที่ได้ประชุมกัน ทั้งหมดครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่ออโสกะได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระราชาพระนามว่าพันธุมเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่า พันธุมดี เป็นพระชนนีบังเกิดเกล้าของพระองค์ พระนครชื่อพันธุมดีเป็นราชธานีของพระเจ้าพันธุม ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศ

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 64

พระธรรมจักรของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เป็นอย่างนี้ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นับถอยหลังแต่นี้ไป ๓๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ได้เสด็จอุบัติในโลกฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในกัปที่๓๑ นั่นเองแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู ได้เสด็จอุบัติในโลก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่าเวสสภู คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ได้เสด็จอุบัติในโลก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 65

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ ได้เสด็จอุบัติในโลก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นริทุกข์ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโกนาคมนะคลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั่นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้เสด็จอุบัติในโลก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ คลาย ความพอใจในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั่นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในขัตติยสกุล เป็นโคตมะโดยพระโคตร ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคน้อยนิดเดียวเร็วพลัน ผู้ที่มีชีวิตอยู่นานก็เป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี บางทีก็น้อย

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 66

กว่าบ้าง มากกว่าบ้าง ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระสารีบุตรเถระและพระโมคคัลลานเถระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคได้มีแล้วครั้งเดียว เป็นจํานวนภิกษุหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบรูป ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระสาวกของพระผู้มีพระภาคที่ได้ประชุมกันแล้วครั้งเดียวนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าอานันทะได้เป็นอัคร อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่ามายาเป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาค พระนครชื่อกบิลพัสดุ์เป็นราชธานี ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักษ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นอย่างนี้ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค คลายความพอใจในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ธรรมธาตุที่ทรงแทงตลอดด้วยดี

[๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ธรรมธาตุนี้ ตถาคตแทงตลอด แล้วอย่างดีด้วยประการฉะนี้แล ฉะนั้น พระพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว ปรินิพพานแล้ว ทรงตัดธรรมเป็นเหตุทําให้เนิ่นช้าได้แล้ว ทรงตัดความเวียนว่ายตายเกิดได้แล้ว ทรงครอบงําความเวียนว่ายตายเกิดได้แล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว ตถาคตย่อมระลึกถึงได้แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยการประชุมกันแห่งพระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงมี

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 67

พระชาติอย่างนี้ จึงมีพระนามอย่างนี้ จึงมีพระโคตรอย่างนี้ จึงมีศีลอย่างนี้ จึงมีธรรมอย่างนี้ จึงมีปัญญาอย่างนี้ จึงมีวิหารธรรมอย่างนี้ จึงมีวิมุติอย่างนี้.

แม้พวกเทพดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่ตถาคต ซึ่งเป็นเหตุให้ตถาคตระลึกถึงได้ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเป็นเหตุทําให้เนิ่นช้าได้แล้ว ทรงตัดความเวียนว่ายตายเกิดได้แล้ว ทรงครอบงําความเวียนว่ายตายเกิดได้แล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยการประชุมกันแห่งพระสาวก ว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงมีพระชาติอย่างนี้ จึงมีพระโคตรอย่างนี้ จึงมีศีลอย่างนี้ จึงมีปัญญาอย่างนี้ จึงมีวิหารธรรมอย่างนี้ จึงมีวิมุติอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.

จบ มหาปทานสูตร ที่ ๑