เมื่อพุทธจักรรับมือไม่ไหว กฏหมายต้องเข้ามาจัดการ

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  10 เม.ย. 2564
หมายเลข  34024
อ่าน  486

อ.จักรกฤษณ์ เจนเจษฎา  : ในปัญหาที่เกิดขึ้น คงจะต้องย้อนกลับไปเบื้องต้นก่อนว่า เราชาวพุทธ ไม่ได้มีความเข้าใจพระธรรมวินัยที่ถูกต้อง ดังนั้น สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น จึงออกมาในทางที่ผิดไปจากพระธรรมคำสอนหรือพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก มีการให้ความคิดเห็นหรือมีการโต้แย้งอะไรต่างๆ เกิดขึ้นในสังคมบ้านเราเป็นอย่างมากปัญหานี้ ไม่สามารถจะจบลงได้เลย ถ้าเราไม่ยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักก่อน คือถ้าไม่ยึดพระธรรมวินัย พระธรรมคำสอนที่ถูกต้องเป็นหลัก ปัญหาไม่สามารถจะยุติลงได้

ซึ่งในเรื่องนี้ ปัญหาไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะว่า ปัจจุบัน ชาวพุทธเราส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจในพระธรรมคำสอน ในพระธรรมวินัย อย่างจริงจัง แต่เราจะไปเน้นในเรื่องของประเพณี ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม อะไรต่างๆ แต่ว่า หลักจริงๆ ในพระธรรมคำสอน ในพระธรรมวินัย เราไม่ได้ให้ความสนใจ หรือไม่ได้ยึดถือ

ถึงแม้ว่าคณะสงฆ์ซึ่งได้บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาเอง แล้วก็จะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะว่าเป็นการขัดเกลากิเลส เพื่อที่จะให้ถึงเป้าหมาย นั่นก็คือการที่จะออกจากสังสารวัฏได้ ตรงนี้ก็ไม่ใช่เป็นเป้าหมายของภิกษุในยุคปัจจุบันที่บวชเข้ามา ก็มีเป้าหมายอื่น ซึ่งเป้าหมายนั้นก็ขัดต่อพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า บวชเข้ามาแล้ว ไม่ได้สละอาคารบ้านเรือน ในทางตรงกันข้าม ก็สะสม แล้วก็ทำเรื่องต่างๆ เหมือนกับคฤหัสถ์ ทุกประการ

ถ้าเรายังเป็นอยู่อย่างปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนาก็คงจะเสื่อมลงไปจนถึงที่สุด ตอนนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เสื่อม คือ เสื่อมเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า ถ้าเกิดเราตรวจสอบดูว่า มีชาวพุทธที่มีความรู้ ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา ในพระธรรมคำสอน ในพระธรรมวินัย มากน้อยแค่ไหน เราก็จะเห็นได้ว่า ในยุคปัจจุบันนี้ เราจะมีผู้ที่สนใจ แล้วก็มีความรอบรู้ น้อยลงไปจนไม่สามารถที่จะให้ความจริงหรือถ่ายทอดสิ่งที่ถูกต้อง ตามพระธรรมคำสอนได้ ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง

"..บางเรื่องอาจจะมีคนโต้แย้งว่า(การกระทำของเจ้าหน้าที่) ไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัย อย่างเช่น ให้ภิกษุสึก โดยภิกษุนั้นไม่ได้ยินยอม อย่างที่อาจารย์ทวีศักดิ์ยกตัวอย่างมาว่า ที่มีภิกษุ ๒ รูป ที่เข้าไปประท้วง แล้วก็ให้ทำการสึก ตรงนี้ อ้างว่า สึกไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัย แต่ทำไมไม่อ้างว่า ตัวเองก็มาประท้วง มาชุมนุม ไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัย ทำไมเลือกเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนมาอ้าง ซึ่งก็จะเป็นปัญหาอย่างนี้มากมาย

แต่ว่า สำหรับบ้านเมือง เนื่องจากพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ปวงชนชาวไทยให้ความเคารพนับถือ โดยเฉพาะ ถ้าเป็นภิกษุ เราก็ให้ความเคารพนับถือ เลื่อมใส ศรัทธา ดังนั้น การทำอะไรต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่พระพุทธศาสนา หากทางคณะสงฆ์หรือทางพุทธจักรเอง ไม่สามารถที่จะจัดการได้ กฏหมายเข้ามาดำเนินการได้

อย่างเช่น ภิกษุที่กระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเราเห็นในยุคปัจจุบัน เช่น ดื่มสุรา เสพยาเสพติด หรือว่า มีอะไรที่ประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสม ถึงแม้จะไม่ถึงขั้นปาราชิก แต่ถ้าทำให้เกิดความเสื่อมเสียกับพระพุทธศาสนา กฏหมายสามารถที่จะบังคับให้สึกออกมา ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เรื่องนี้เกิดขึ้นมาในอดีตมากมาย ก็บังคับให้สึกออกมา แล้วก็มีโทษด้วย

ดังนั้น สิ่งใดที่เกิดความเสียหายขึ้น ก็ต้องจัดการ ตามพระธรรมวินัยท่านรับไม่ไหว ทางฝ่ายอาณาจักรเองก็ต้องมีกฏหมายออกมาจัดการ ดังนั้น การสึก ก็เป็นการสึกตามกฏหมาย ถ้าเกิดกลับมาแต่งตัว กลับมาทำอะไรอีก กฏหมายก็บัญญัติไว้ว่า เป็นเรื่องที่ผิดกฏหมาย เป็นการปลอมบวช อันนี้ เป็นสิ่งที่กฏหมายต้องเข้ามาจัดการ เพื่อให้เกิดความสงบสุข ให้เกิดความถูกต้อง ในพระพุทธศาสนา..."

ติดตามบันทึกการสนทนาฉบับเต็มได้ที่ลิงก์ด้านล่าง : 


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 10 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ