[คำที่ ๑] กิเลส

 
Sudhipong.U
วันที่  1 ก.ย. 2554
หมายเลข  32121
อ่าน  1,061

ภาษาบาลีวันละคำ คติธรรมประจำสัปดาห์ : “กิเลส

โดย อ.คำปั่น อักษรวิลัย

กิเลส เป็นคำภาษาบาลี อ่านออกเสียงตามภาษาบาลีว่า กิ-เล-สะ อ่านตามภาษาไทยว่า กิ-เหลด หมายถึง เครื่องเศร้าหมองของจิต สิ่งที่ทำให้สัตว์เศร้าหมอง สิ่งที่ทำให้สัตว์เร่าร้อน และบางแห่งจะพบคำว่า สังกิเลส ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน ดังข้อความในพระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีปกรณ์ ว่า

ธรรมที่ชื่อว่า สังกิเลส เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เศร้าหมอง อธิบายว่า ย่อมเบียดเบียน คือ ทำให้สัตว์เร่าร้อน.

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ในเรื่องกิเลส ที่ควรจะได้พิจารณาเพิ่มเติม เช่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย ย่อมเป็นสภาพหยาบ ถ้ากิเลสเหล่านี้ มีรูปร่าง อันใครๆ พึงสามารถจะเก็บไว้ในที่บางแห่ง ได้ไซร้ จักรวาลก็แคบเกินไป พรหมโลกก็ต่ำเกินไป โอกาสของกิเลสเหล่านั้น ไม่พึงมี (ให้บรรจุ) เลย

(จาก... พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดากิเลส ย่อมไม่มีความชื่นบาน เพราะขจัดคุณความดี มีแต่จะให้ตกนรก

(จาก... พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก หาริตจชาดก)

กิเลส เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นนามธรรม เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต กิเลสเวลาที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะตัวเขาเองเท่านั้น ยังมีสภาพธรรมอื่นๆ เกิดร่วมด้วยและจะต้องเกิดร่วมกับกุศลจิตเท่านั้น กิเลสจะเกิดร่วมกับกุศลจิตเท่านั้น เกิดร่วมกับจิตฝ่ายดีไม่ได้เลย

กิเลสมีมากมายหลายประการ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยละเอียด ตามที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ เช่น โลภะ (สภาพธรรมที่ติดข้อง ยินดีพอใจ) โทสะ (ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจ) โมหะ (ความหลง ความไม่รู้) มานะ (ความสำคัญตน) มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม) อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อกุศลธรรม) อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวต่อกุศลธรรม) เป็นต้น ทั้งหมดนั้น เป็นธรรมที่มีจริง เป็นกุศลธรรม เป็นธรรมฝ่ายดำ ซึ่งจะถูกดับด้วยปัญญาขั้นที่เป็นโลกุตตระ

จะเห็นได้ว่า กิเลสในชีวิตประจำวัน มีมากมายมหาศาล แม้แต่ในวันนี้เอง เมื่อเทียบส่วนกันระหว่างกุศล กับ กุศล แล้ว เทียบส่วนกันไม่ได้เลย เพราะมีกุศลจิตเกิดขึ้นมากกว่ากุศล นั่นเอง ถ้ากิเลสมีรูปร่าง (แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะเป็นนามธรรม) ไม่มีที่เพียงพอสำหรับเก็บเลย ทุกครั้งที่กุศลจิตเกิด จะไม่ปราศจากกิเลสเลย ตามแต่ประเภทของกุศลจิตนั้นๆ และสะสมสืบต่ออยู่ในจิตทุกขณะอีกด้วย

เมื่อรู้ว่ามีกิเลสมากอย่างนี้ ก็ควรอย่างยิ่งที่จะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ เพื่อวันหนึ่งข้างหน้าปัญญาจะเจริญยิ่งขึ้นจนสามารถดับกิเลสประการต่างๆ ได้จริง ซึ่งจะต่างจากบุคคลผู้ที่ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้ศึกษาพระธรรม นับวันกิเลสก็มีแต่จะพอกพูนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่รู้ว่าตนเองมีกิเลส หรือ เพราะเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นผู้หมดกิเลสแล้ว นั่นเอง

เพราะฉะนั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง จึงเป็นเครื่องเตือนที่ดี เกื้อกูลให้เห็นกุศลธรรม และ เห็นโทษของกุศลธรรมตามความเป็นจริง พร้อมทั้งทรงแสดงให้เห็นถึงคุณของปัญญา ปัญญา เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เป็นโสภณธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่สำคัญมากในพระธรรมวินัยนี้ เพราะเหตุว่า บุคคลผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถดับกิเลสทั้งปวงได้เป็นสมุจเฉท (ถอนขึ้นได้อย่างเด็ดขาด) ไม่เกิดอีกเลย สามารถจะข้ามพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้ในที่สุด.


อ่านคำอื่นๆ คลิกที่นี่ ... บาลี ๑ คำ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ก.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ธีรพันธ์
วันที่ 24 ก.ค. 2563

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ก.ไก่
วันที่ 24 ก.ค. 2563

สาธุ สาธุ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
swanjariya
วันที่ 29 ก.ค. 2563

กราบขอบพระคุณ และกราบอนุโมทนาค่ะ 

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เฉลิมพร
วันที่ 28 ส.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ประสาน
วันที่ 10 ม.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
mon-pat
วันที่ 22 ม.ค. 2566

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
mon-pat
วันที่ 22 ม.ค. 2566

กราบอนุโมทนาครับ ​

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
nui_sudto55
วันที่ 18 มี.ค. 2567

สาธุครับ ได้ศึกษาและเผยแผ่ต่อกับสหายธรรมครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ