วิญญาณธาตุหาที่สุดไม่ได้

 
siwa
วันที่  27 มี.ค. 2550
หมายเลข  3190
อ่าน  1,720

วิญญาณธาตุหาที่สุดไม่ได้หมายความว่าอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 มี.ค. 2550

คำว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นชื่อของอรูปาวจรฌานขั้นที่ ๒ เรียกว่า วิญญาณัญจายตนจิต อรูปฌานขั้นนี้มีอรูปฌานขั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนจิตเป็นอารมณ์ อรูปฌานที่ ๒ นี้ เพราะมีอรูปฌานขั้นที่ ๑ อันมีอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

ข้อความบางตอนจากพระสูตร ๕.

ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๕

๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 27 มี.ค. 2550

วิญญาณธาตุ หมายถึง ธาตุรู้ ผู้่ที่ไ้ด้อรูปฌานขั้นที่ ๒ มีอากาสานัญจายตนจิตเป็นอารมณ์ และเรื่องของฌานเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก พระเทวทัตก็เคยได้ฌานเหาะเหินเดินอากาศได้ พอจิตคิดอยากเป็นใหญ่ ฌานจิตก็เสื่อม เหาะไม่ได้ ฌานจิตเกิดยาก เสื่อมง่าย อยากให้สนใจธรรมที่ใกล้ตัว ที่กำลังปรากฏขณะนี้ที่สามารถรู้ได้ดีกว่าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 มี.ค. 2550

แม้เราจะเข้าใจความหมาย เพื่อประกอบกับการศึกษาแล้ว แต่ก็ต้องไม่ลืม จุดประสงค์ ในการศึกษาธรรมครับ เป็นเรื่องดีที่จะเข้าใจโดยละเอียด แต่การศึกษาธัมมะ ก็เพื่อรู้ลักษณะของสภาพธัมมะ ในขณะนี้ว่า ไม่ใช่เรา แม้วิญญาณัญจายตนฌาณ เมื่อเกิดขึ้น ก็ไม่ใช่เราเป็นธัมมะ แต่เป็นเรื่องไกล เพราะเป็นเรื่องของสมถภาวนา ซึ่งไม่สามารถดับกิเลสได้ครับ ขอยกข้อความในพระไตรปิฎกครับ

แม้อบรมฌานขั้นนี้ ก็ยังยึดถือว่า เป็นเรา ไม่สามารถดับกิเลสได้ สติปัฏฐานเท่านั้น ดับกิเลสได้ เพราะรู้ว่าเป็นธัมมะ ไม่ใช่เรา ดังข้อความที่ยกมาครับ
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...

มูลปริยายสูตร

เขาไม่ได้กำหนดรู้ หมายถึง การเจริญวิปัสสนา ที่รู้ว่าไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน (ขั้นวิปัสสนาญาณ) ดังนั้น หนทางดับกิเลส จึงมีทางเดียว คือการเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่สมถภาวนา ที่เป็นขั้นวิญญาณัญจยตนฌาณ ตรงนี้ต้องมั่นคง ครับ พระพุทธศาสนา ไม่ใช่เพื่ออบรมฌาณ (สมถภาวนา) แต่เป้าหมายคือ ดับกิเลสด้วยวิปัสสนาดังข้อความที่ยกมาครับ

ข้อความบางตอนจากจูฬสาโรปมสูตร

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...จูฬสาโรปมสูตร ว่าด้วยที่สุดของพราหมณ์

[๓๖๐] ดูก่อนพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ (พระอรหันต์) เป็นประโยชน์ เป็นแก่น ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornchai.s
วันที่ 29 มี.ค. 2550

ความรู้ทั้งหลายทั้งมวลในจักรวาล รู้ไว้ ก็ดีกว่าไม่รู้ แต่ในชีวิตของเรา ซึ่งเป็นอยู่ไม่ถึงร้อยปี ควรจะรู้อะไร ควรจะศึกษาอะไร พวกเราเหล่าสหายธรรม ย่อมเห็นประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมว่า เป็นสิ่งสำีคัญที่สุดในชีวิต ซึ่งชีวิตในเพศฆราวาสจะอบรมขัดเกลากิเลส ประดุจ "สังข์ขัด" อย่างเพศบรรพชิต ย่อมไม่ใช่ฐานะ แต่เป็นฆราวาส ก็สามารถศึกษาพระธรรม อบรมเจริญวิปัสสนาได้ ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องแบ่งเวลา เป็นช่วงทำงาน กับช่วงปฏิบัติธรรม และการศึกษาพระธรรม กับ การปฏิบัติธรรม ก็ไม่แยกจากกัน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
siwa
วันที่ 29 มี.ค. 2550

เคยอ่านผ่านๆ ตา ในพระไตรปิฎก ได้ฟังจากแผ่น mp3 ก็พบกับคำว่า อากาศธาตุหาที่สุดไม่ได้ กาลเวลาหาที่สุดไม่ได้ และคำว่า วิญญาณธาตุหาที่สุดไม่ได้ จึงถามคำถามนี้ พอได้อ่านความคิดเห็นทุกท่านแล้ว ยอมรับว่า ยังยากเกินที่ปัญญาในขณะนี้ จะเข้าใจจริงๆ อย่างไรก็ตามขอบคุณกับทุกคำตอบค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
จิต89หรือ121
วันที่ 29 มี.ค. 2550

ในอัฏฐสาลินี อรรถกถา ธัมมสังคณีปกรณ์ จิตตุปหาทกัณฑ์ แสดงความกว้างใหญ่ที่สุด ๔ อย่างว่า ก็อนันตะ ๔ อย่าง คือ อากาศเป็นอนันตะ ไม่มีที่สุด ๑ จักรวาลเป็นอนันตะ ไม่มีที่สุด ๑ สัตตนิกายคือหมู่สัตว์เป็นอนันตะ ไม่มีที่สุด ๑ พุทธญาณเป็นอนันตะไม่มีที่สุด ๑ พุทธญาณชื่อว่าเป็นอนันตะแท้ แม้กว่าอนันตะทั้ง ๓ นั้น
ถ้าใครมีหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ก็เปิดดูได้ที่ หน้า 235 มีรายละเอียดมากกว่าที่ยกมาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 7 เม.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ