เผลอกล่าวว่า พระภิกษุ

 
kornzaq
วันที่  1 พ.ค. 2563
หมายเลข  31823
อ่าน  1,671

เมื่อผมเห็นคนประพฤติไม่เหมาะสม บางครั้งก็เผลอต่อว่าหรือด่าบ้าง

วันนี้ผมเห็นพระภิกษุ ในทีวี ร้องเพลง เลย"เผลอ"ด่าไปตามจริต ว่า "เป็นบ้าหรอ" ตอนนั้นผมไม่ได้ตั้งสติและไม่ได้ตั้งใจจะพูดแบบนั้นเลย มันเป็นไปตามจริต ตอนนี้รู้สึกกลัวบาปมาก และรู้สึกผิดมาก ควรทำอย่างไรดีครับ? สมมติ ไปขอขมาไม่ได้จริงๆ มีวิธีแก้กรรมแบบอื่นไหมครับ เช่น การสำนึกผิดด้วยใจจริง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 พ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อริยุปวาท คือ เจตนา ว่าร้ายพระอริยเจ้า ซึ่งมีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก รวมทั้งแม้พระอริยเจ้าที่เป็นคฤหัสถ์ การมีเจตนาด้วยจิตที่เป็นอกุศล เจตนาว่าร้ายและทำการว่าร้าย ชื่อว่า อริยุปวาท ซึ่งการติเตียนว่าร้ายพระอริยเจ้า ก็ด้วยการกล่าวว่าร้ายในสิ่งที่ไม่จริง เป็นต้น ว่ากล่าวว่าไม่มีคุณความดี ติโทษพระอริยเจ้าครับ ซึ่งโทษก็คือห้าม สวรรค์และมรรคผล นิพพาน โทษหนักเท่าอนันตริยกรรม

การกล่าวว่าร้ายพระอริยเจ้า คือ บุคคลนั้น จะต้องเป็นพระอริยเจ้า และไม่ใช่เพียงคิดในใจ แต่มีเจตนาพูดออกมาว่าร้ายท่าน ด้วยคุณธรรมของท่านเป็นสำคัญ ว่าท่านไม่ได้มีคุณธรรมอย่างนี้ เป็นต้น

อริยุปวาท สำคัญที่เจตนา ว่ามีเจตนาว่าร้ายที่เป็นผรุสวาจาหรือไม่ แม้การขอขมาก็เช่นกัน สำคัญที่เจตนา หากมีเจตนาขอขมา สำนึกผิด และกล่าวการขอขมา หากท่านมรณภาพไปแล้ว ก็สามารถที่จะไปที่วัดที่มีการทำการเผาศพท่านก็ได้ หรือ นึกถึงท่าน และ ขอขมาก็ได้ เพราะ มีเจตนาที่จะสำนึกในสิ่งที่ทำไป และกล่าวขอขมา ด้วยเจตนาการขอขมานี้ ก็เป็นการที่จะเห็นโทษ และ ไม่กั้นสวรรค์มรรคผล ในชาตินั้น สบายใจได้นะครับ

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 220

ถ้าพระอริยะนั้นเป็นเอกจาริกภิกขุ (ภิกษุผู้จาริกไปผู้เดียว) สถานที่อยู่ของท่านไม่มีใครรู้ สถานที่ไปขอท่านเล่าก็ไม่ปรากฏไซร้ ก็พึงไปหาภิกษุที่เป็นบัณฑิตรูปหนึ่ง แล้วบอก (ปรึกษาท่าน) ว่า "ท่านขอรับ กระผมได้กล่าวถึงท่าน กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้น วิปฏิสาร (เกิดมีแก่กระผมทุกทีที่ระลึกถึงท่าน กระผมทำอย่างไร (ดี) " ภิกษุบัณฑิตนั้นจะกล่าวว่า "ท่านอย่าคิดไปเลย พระเถระจะย่อมอดโทษให้แก่ท่าน ท่านจงทำจิตให้ระงับเถิด" ฝ่ายเธอก็พึงบ้างหน้าต่อทิศทางที่พระอริยะไป ประคองอัฐชลีกล่าว (ขึ้น) ว่า "ขมตุ" ขอพระเถระนั้นขงอดโทษเถิด"

ถ้าพระอริยะนั้นเป็นผู้ปรินิพานเสียแล้ว เธอพึงไป (ให้) ถึงที่ที่นับว่าเป็นเตียงที่ท่านปรินิพพาน กระทั่งถึงป่าช้าผิดิบก็ดี ขอขมา (ท่าน) เถิด เมื่อได้ทำ (การขอขมา) เสียได้อย่างนี้แล้ว กรรมนั้นก็ไม่เป็นสัคคาวรณ์ ไม่เป็นมัคคาวรณ์เลย (กลับ) เป็นปกติเท่านั้นเองแล เมื่อได้ทำผิดแล้ว สำนึกผิด เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วมีความจริงใจที่จะน้อมประพฤติในสิ่งที่ดีงามต่อไป ย่อมเป็นสิ่งที่ดี เป็นความประพฤติเป็นไปของคนดี

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจึงเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกอย่างแท้จริง ผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษา พิจารณาไตร่ตรอง แล้วน้อมที่จะประพฤติตามพระธรรม ขัดเกลากิเลสของตนเอง ย่อมจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ซึ่งเมื่อได้ศึกษาพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ก็จะเข้าใจได้ว่า ไม่มีคำสอนแม้แต่บทเดียวที่จะส่งเสริมหรือสนับสนุนให้คนเกิดอกุศลเลยแม้เพียงเล็กน้อย พระธรรม จึงเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสอย่างแท้จริง เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมเป็นเครื่องนำทางชีวิตแล้ว ก็จะทำให้ความประพฤติเป็นไปในชีวิตประจำวัน เป็นไปในทางที่ดีที่ถูกที่ควรยิ่งขึ้น ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ ครับ.

ขอเชิญอ่านคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ ครับ

ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็นความชัดเจน ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องอะไร ก็ควรที่จะให้ได้เข้าใจกระจ่างเท่าที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้น คุณบุษกรก็คงคิดถึงว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ปรินิพพานแล้ว แล้วเราจะไปขอขมาอะไรอย่างนี้ ก็ดูเหมือนว่า แล้วจะหายหรือ ที่เราได้กระทำไป ขอขมา แต่ว่าตามความเป็นจริง ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้กระทำกรรมแล้ว ถึงแม้คนอื่นจะยกโทษ แต่กรรมนั้นก็ยังเป็นเหตุให้เกิดผล ถูกไหมคะ

เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็มีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม โดยเฉพาะการที่จะกล่าวคำขอโทษ หมายความว่า คนนั้นต้องรู้สึกตัวจริงๆ ว่าทำสิ่งที่ผิด เพราะว่าไม่ควร เพราะฉะนั้น บางคนรู้ตัวว่าผิด ขอโทษไม่ได้ไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่ผิด ก็ไม่ยอมที่จะขอโทษ นั่นก็แสดงให้เห็นว่า ไม่มีกุศลจิต ไม่ละอายในอกุศลที่ได้กระทำแล้ว ต่อสิ่งที่เป็นพระรัตนตรัยหรือว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตาม เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่เกิดกุศลจิต นอบน้อมต่อผู้ที่เราขอขมา เป็นการแสดงความเคารพ ความนอบน้อมนั่นเองค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kornzaq
วันที่ 1 พ.ค. 2563

ถ้าเราทำแค่การสำนึกผิดจริงๆ เพียงพอไหมครับ??

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 1 พ.ค. 2563
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 2 โดย kornzaq

ถ้าเราทำแค่การสำนึกผิดจริงๆ เพียงพอไหมครับ??

ขณะที่สำนึกผิดเห็นโทษ ก็ชื่อว่ามีเจตนาดี ที่รู้กระทำสิ่งที่ผิดและสำนึกในสิ่งที่ทำ ก็ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kornzaq
วันที่ 1 พ.ค. 2563

ผมทำไปโดยที่ไม่ตั้งสติ และ รู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่ดี แต่ก็พลั้งเผลอพูดออกไป ถือว่าเป็นการเจตนาไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 1 พ.ค. 2563
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 4 โดย kornzaq

ผมทำไปโดยที่ไม่ตั้งสติ และ รู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่ดี แต่ก็พลั้งเผลอพูดออกไป ถือว่าเป็นการเจตนาไหมครับ

ผู้พูดย่อมรู้เองครับ ในขณะนั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 1 พ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การดุด่าว่าผู้อื่น การกล่าวคำที่ไม่น่าฟัง อันเกิดจากจิตที่เป็นอกุศล ย่อมไม่ควรโดยประการทั้งปวง

ควรที่จะได้พิจารณาจริงๆ ว่า สิ่งสำคัญ คือ ศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจ ถึงจะสามารถเข้าใจได้ว่า อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย อะไรคือสิ่งที่ผิด ไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัย เป็นกิจของปัญญาที่ทำหน้าที่เข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง เมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงแล้ว ก็กล่าวประกาศความจริง กระจายในสิ่งที่ถูกต้องให้ได้ทราบโดยทั่วกันในทุกที่ทุกสถาน ว่า ความจริงเป็นอย่างไร ก็เป็นการช่วยให้ผู้อื่นได้เข้าใจอย่างถูกต้อง และโดยส่วนตัวของผู้ที่ล่วงละเมิดพระวินัยจะมีความสำนึกหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของผู้นั้น สำหรับคฤหัสถ์ผู้ที่มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะไม่ทำในสิ่งที่ผิด แต่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kornzaq
วันที่ 2 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yongmer8
วันที่ 16 มี.ค. 2564

ตอนนั้นผมพยายามห้ามจิตคิดด่า แต่ผมจะพูดคำอื่นดันไปพูดคำด่านั้น แบบเบาๆ และไม่ได้รู้สึกสะใจ หรือสนุกเลย และไม่พอในคำพูดตอนนั้นด้วยคับ ผมจะต้องทำยังไงคับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สิริพรรณ
วันที่ 19 มี.ค. 2564

เรียน ความเห็นที่ 9
สภาพธรรมทุกอย่างเกิดเพราะเหตุปัจจัย แม้แต่ความคิด ก็ไม่มีใครที่จัดการจะให้เกิด หรือห้ามไม่ให้เกิด จิตที่คิดไม่ดี คิดร้าย เป็นคำที่ผุดขึ้นในใจ หรือความคิดที่ไม่พอใจในความคิดไม่ดีที่เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่เราที่ทำให้เกิดขึ้น แต่ก็เกิดแล้ว แสดงให้เห็นว่า สภาพธรรมที่ไม่ละอายต่ออกุศล กับสภาพธรรมที่ละอาย รังเกียจต่ออกุศล ก็มีจริง แต่ไม่เกิดขึ้นในขณะจิตเดียวกัน โดยที่เราไม่ได้จัดการให้เกิดขึ้น เพราะจริงๆ ไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรมทำกิจทั้งสิ้น

ถามว่า ผมจะต้องทำอย่างไร ขอเรียนว่า ฟังพระธรรมต่อไปเท่านั้นจริงๆ ค่ะ ความเข้าใจความจริงจากการฟังพระธรรม จะทำกิจหน้าที่ของสภาพธรรมฝ่ายดี อย่างเงียบๆ และมีกำลังเพิ่มขึ้น ด้วยความตรงของสภาพธรรม แม้จะช้า แม้จะนาน แต่วันหนึ่ง จะค่อยๆ พบความอัศจรรย์ของพระธรรม ที่ทำให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นด้วยการเข้าใจคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งไม่ใช่เราเปลี่ยน แต่เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามการปรุงแต่งจากความเข้าใจความจริงที่ทรงแสดงนั่นเอง

ความละอายต่ออกุศลมีจริง เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ความไม่รู้เป็นหัวหน้าของออกุศลทั้งหมด จึงเริ่มต้นฟังพระธรรม เพราะละอายต่อความไม่รู้ ค่ะ

ขออนุโมทนา

ศึกษาเพิ่มเติม คลิ๊กที่

ฟังเพื่อเข้าใจ

ธรรมะเป็นอนัตตา

จิตปรามาสพระพุทธเจ้าทำอย่างไร

หิริโอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลก

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 19 มี.ค. 2564

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ