ตัณหาละตัณหา

 
kusala
วันที่  14 มี.ค. 2550
หมายเลข  3055
อ่าน  3,261

ได้อ่านข้อความจากกระทู้ 2338 พบข้อความ ..

"อยากจะละความอยาก" ประโยคนี้คล้ายๆ กับที่พระอานนท์ท่านเคยสอนให้ใช้

ตัณหาละตัณหา (ขออภัยที่จำไม่ได้ว่าเป็นสูตรใด) เช่น ใช้ความอยากบรรลุมรรคผล

ละอกุศล เป็นต้น อยากให้ท่านช่วยตรวจสอบว่ามีที่มาจากพระไตรปิฎกหรือไม่ และ

หมายความว่าอย่างไร ที่ว่า .. ตัณหาละตัณหา เป็นไปได้อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 14 มี.ค. 2550

คำกล่าวที่อ้างถึงมีในพระไตรปิฎกจริง คือ มาจาก ภิกขุนีสูตร แต่ควรเข้าใจตามความเป็นจริงว่าอกุศลจะละอกุศลไม่ได้ คือถ้าเพียงมีตัณหาอยากบรรลุมรรคผล ไม่สามารถบรรลุได้ด้วยความอยาก แต่ผู้ที่ยังละตัณหาไม่ได้ รู้ตัณหาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา ปัญญาย่อมละตัณหาได้ และต้องเป็นปัญญาขั้นอรหัตตมรรคจึงละตัณหาได้เป็นสมุทเฉท

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 14 มี.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 14 มี.ค. 2550

ขณะืที่ตัณหาเกิดสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะของโลภะว่าเป็นนามธรรมขนิดหนึ่ง

ซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น อาศัยตัณหานั้นแหละที่ปัญญารู้แล้วละความไม่รู้

ว่า ตัณหาคือนามธรรมเท่าั้นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
devout
วันที่ 14 มี.ค. 2550

พระธรรมเป็นคำสอนของผู้ที่มีปัญญามาก การจะเข้าใจพระธรรมจึงต้องอาศัยการ

ไตร่ตรองและพิจารณาโดยละเอียดรอบคอบ คือต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจที่สมบูรณ์

พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ การที่ท่านกล่าวว่า "เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหา" ถ้า

ไม่พิจารณาให้ดี ก็คิดว่าตัณหานั้นละตัณหาได้ แต่ตามความเป็นจริงแล้ว สภาพ

ธรรมอะไรที่ขัดเกลาอกุศล? ถ้าไม่ใช่กุศล โดยเฉพาะกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา

เพราะความปรารถนาที่จะละอกุศลจึงเป็นเหตุให้เจริญกุศล แต่ขณะที่ละอกุศล

จริงๆ นั้น จิตเป็นกุศลค่ะ ไม่ปะปนกันระหว่างกุศลจิตกับอกุศลจิต ที่เกิดดับสลับกัน

ไปอย่างรวดเร็วมาก และโลภะนั้นจะดับได้เป็นสมุจเฉทก็ด้วยอรหัตมรรคเท่านั้น พระ

เสขะบุคคลยังมีโลภะอยู่ค่ะ ท่านย่อมมีความยินดีพอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความ

ปรารถนาในการบรรลุคุณธรรมขั้นที่สูงยิ่งขึ้นไป

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
TSP
วันที่ 14 มี.ค. 2550

ธรรมะทุกอย่างเป็นอนัตตา แม้แต่ตัณหาก็เป็นอนัตตา เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วก็

ดับไปการเกิดดับของจิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่เป็นโลภะก็เป็นอกุศล คนละขณะ

กับที่เป็นกุศลคนละขณะกัน ไม่ปะปนกันเลย ขณะที่ธรรมะปรากฏ สติสามารถละลึกรู้

ลักษณะของสภาพธรรมได้เลย ซึ่งเป็นขณะปัจจุบันเท่านั้น ขณะที่คิดก็เป็นลักษณะ

สภาพธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งในวันหนึ่งๆ นั้นเราคิดไม่หยุดเลย ก็เป็นแต่เพียงลักษณะที่

คิด เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน ใดๆ ทั้งสิ้นเลย

ขณะที่เห็นก็ไม่ได้คิดแล้ว แต่เห็นแล้วเราจำมาคิด ขณะที่ได้ยินก็ไม่ได้คิด แต่ได้

ยินแล้วจำมาคิด เป็นเรื่องราวมากมายทั้งวันจนเสมือนว่า ในวันหนึ่งๆ เราคิดไม่รู้จบ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จิต89หรือ121
วันที่ 15 มี.ค. 2550

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ