จาก 03014+03041 ..ที่ว่าไม่เป็นไปตามอำนาจ

 
WS202398
วันที่  13 มี.ค. 2550
หมายเลข  3046
อ่าน  1,039

ที่ว่าทนได้ยาก อธิบายทั่วไปในลักษณะที่ว่า เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นอย่าง

รุนแรง ทนได้ยากเพราะเป็นเวทนาที่ไม่น่าปรารถนา แต่เมื่อมีสุขเวทนา ทนได้

ง่ายเพราะเป็นเวทนาที่น่าปรารถนา ที่ว่าไม่เป็นไปตามอำนาจของใครๆ เลย คือ

ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาว่าอย่าเกิดหรืออย่าดับ อย่าแก่หรืออย่า

ตาย เป็นต้น


โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่ : 10-03-2550


ทุกข์อริยสัจ กับ ทุกขลักษณะในไตรลักษณ์ มีอรรถต่างกัน คือ

ทุกขอริยสัจ ได้แก่ สภาพธรรมที่ผู้เจริญอริยมรรคควรกำหนดรู้เป็นโลกีย

ธรรม มี ๑๖๐คือ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ เป็นธรรมที่น่าเกลียด ว่าง

เปล่า

ส่วนทุกขลักษณะ เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ ได้แก่

จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ รวมโลกุตตรจิตและเจตสิกที่ประกอบด้วย สรุป คือ ทุกขอริยสัจ ได้แก่ สภาพธรรม แต่ทุกขลักษณะ เป็นลักษณะ

ของสภาพธรรมที่เกิดดับ


โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา วันที่ : 13-03-2550

คือ บทว่า อนิจฺจา ความว่า เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี. (พอเข้าใจครับ)

บทว่า ทุกฺขา ความว่า เพราะอรรถว่า เบียดเบียน.บทว่า ทุกฺขา ความว่า ชื่อว่าทุกข์ด้วยอรรถว่า บีบคั้นเสมอบทว่า ทุกฺข ได้แก่ ชื่อว่าทุกข์ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ด้วยอรรถว่า ทนได้ยาก ด้วยอรรถว่า เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งความทนได้ยาก. ด้วยอรรถว่า บีบคั้นสัตว์ ด้วยการปฏิเสธความสุข.

เข้าใจยากครับ ตอนนี้ทราบแล้วว่า ทุกขอริยสัจ ได้แก่ สภาพธรรม แต่ทุกขลักษณะ เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับ แล้วทุกขเวทนาเจตสิกมีความเกี่ยวกับ ทุกข์ในไตรลักษณ์ และ ทุกขอริยสัจ ไหมครับ?

เพราะปกติเวลาคนทั่วไปพูดว่า อนิจจัง ก็เพ่งไปในลักษณะ ที่เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง ส่วนทุกขัง ก็มุ่งไปที่สภาพทุกขเวทนาเจตสิกของสัตว์ ทุกเวทนาเป็นผลจากทุกข์ในทุกขลักษณะเสมอไปหรือไม่? อรรถว่าเบียดเบียน บีบคั้นเสมอ ทนได้ยาก ถ้ามองอาการดังกล่าวโดยถือเอาการปรากฏของทุกขเวทนาเจตสิก ก็พอจะเห็นได้ แต่ถ้าเช่นนั้นลักษณะของรูปที่เบียดเบียน บีบคั้นเสมอ ทนได้ยาก จะมีลักษณะปรากฏอย่างไร? เช่น หินก้อนหนึ่งเป็นอนิจจัง เพราะสักวันก็จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ส่วนสภาพที่เป็นทุกข์ของก้อนหินจะปรากฏต่างจากสภาพที่ไม่เที่ยงอย่างไรครับ?

คำว่าอนัตตา เป็นปรมัตถธรรม ส่วนบทว่า อนตฺตา ความว่า เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ. ที่ว่าไม่เป็นไปตามอำนาจคืออำนาจของอัตตา ซื่งเป็นบัญญัติธรรมใช่ไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 13 มี.ค. 2550

ทุกขเวทนา มีทุกขลักษณะด้วย และเป็นหนึ่งในทุกขอริยสัจ เพราะ

ทุกขอริยสัจมีความหมายกว้าง ทุกขเวทนาไม่ได้เป็นผลจากทุกขลักษณะ

ลักษณะของความไม่เที่ยง และความเป็นทุกข์โดยมากท่านอธิบายเกี่ยวเนื่อง

กัน เพราะไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้จึงไม่เที่ยง คำว่าอัตตาจริงๆ

แล้วไม่มี เป็นความเข้าใจผิดว่ามีอัตตา เป็นความเห็นผิดมิจฉาทิฏฐิ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อิคิว
วันที่ 13 มี.ค. 2550

ถ้ามีคนถามท่านว่านั่นไม่ใช่ก้อนหินแต่มันเป็น มหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูป ท่านจะเข้าใจในอารมณ์เช่นนี้ได้หรือไม่ ถ้าได้ ท่านก็พิจารณาต่อไปว่า ตาที่เห็นหินและกายที่สัมผัสหิน นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ และเราไม่พึงได้ในรูปหรือสัมผัสว่า ขอรูปและสัมผัสนี้ จงอย่าเป็นอย่างนี้ หรืออย่าเป็นอย่างนั้นเลยก็ไม่ได้ จะเห็นได้ว่าทั้งตา และกาย กับ สีของหินและธาตุดิน ไม่เที่ยงเลยแม้ชั่ววินาทีเดียว มีความทุกข์บีบคั้นตลอด หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส ใจ ธรรมารมณ์ ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้ ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นกันไม่พ้นสภาพไตรลักษณ์ได้เลย

เชิญคลิกอ่าน...ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา [อนัตตลักขณสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Guest
วันที่ 13 มี.ค. 2550

เหตุที่ให้เจริญในธรรม ...

ข้อความในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค นิพเพธิกปัญญาสูตร พระผู้มีพระภาค

ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส ธรรม ๔ ประการ เป็น

ไฉน คือ

การคบสัตบุรุษ ๑

การฟังสัทธรรม ๑

การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑

การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ