ขอแสดงความเห็น - ถ้าไม่ไปวัดแล้วจะให้ไปทำบุญไปฟังธรรมที่ไหนครับ

 
ฉีฟ่งจื้อ
วันที่  8 ม.ค. 2562
หมายเลข  30368
อ่าน  817

เรียน ท่านวิทยากร

ถ้าไม่ไปวัดแล้วจะให้ไปทำบุญไปฟังธรรมที่ไหนครับ เพราะชาวบ้านผูกพันกับวัดมายาวนานแล้วเมื่อไปวัดอย่างน้อยพอได้ฟังพระธรรมก็งดเว้นบาบอกุศลได้ไม่มากก็น้อย เพราะปัญญาของคนเราไม่เหมือนกันที่พระพุทธองค์เปรียบบัว ๔ เหล่า ครั้นจะมาฟังพระอภิิธรรมจากท่านอ.สุจินต์ชาวบ้านคงเข้าใจยาก เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคนที่สะสมมาจริงๆ เอาแค่มีศีล ๕ ผมว่าก็รักษายากแล้ว ถ้าได้ฟังธรรมอย่างน้อยจิตใจเขาย่อมเป็นบุญ ดีกว่าอยู่บ้านเฉยๆ โดยไม่รู้เรื่องเลย อย่างน้อยก็ได้ถวายอาหารพระ แค่นี้จิตก็เป็นบุญแล้วครับ ถึงแม้จะไม่ประกอบด้วยปัญญาเขาก็ได้ไปสู่สุคติ ยิ่งในยุคนี้แล้วผมมองว่าคงหาพระที่ปฏิบัติตรงตามพระวินัยได้ยากเหมือนสมัยพุทธกาลโดยเฉพาะการ

รับเงิน เพราะรับกันมาหลายยุคแล้ว กระนั้นก็ดีผมว่าถ้าทำบุญต้องได้บุญอยู่แล้ว เพราะยังดีกว่าพระในยุคใกล้ ๕๐๐๐ ปี ในยุคนั้นถ้าทำบูญเป็นสังฆทานผลก็ยังมากอยู่ เพราะถ้าเลือกพระทำบุญหรือเลิกทำเลยก็จะทำให้พุทธศาสนาในไทยหมดลงได้ ก็คงเหลือ ๒ รัตนะ ไม่มีพระสงฆ์ให้กราบไหว้ ผมก็ขอแสดงความเห็นเท่านี้

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 8 ม.ค. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ควรที่จะได้พิจารณาว่า

-พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีความละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง ถ้าประมาท ไม่ศึกษา หรือ ศึกษาอย่างผิวเผิน ก็ย่อมเข้าใจผิด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เมื่อเข้าใจผิด ก็สอนผิด ทำให้มีการทำในสิ่งผิดๆ ตามๆ กันไป ด้วยความไม่รู้ ถ้ามีาการศึกษาด้วยความเคารพเห็นประโยชน์ของพระธรรมจริงๆ ความเข้าใจถูกเห็นถูกก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น เมื่อมีความเข้าใจ ก็สามารถเกื้อกูลผู้อื่นให้มีความเข้าใจถูกต้องได้ ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นพระภิกษุหรือเพศบรรพชิตเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ ก็สามรถศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาได้ และสามารถเกื้อกูลผู้อื่นให้เข้าใจถูกได้อีกด้วย แม้แต่ในเรื่องบุญ เป็นเรื่องของการขัดเกลากิเลส ไม่ใช่การทำด้วยความอยากความหวังที่จะได้บุญ ถ้ามีความเข้าใจอย่างถูกต้อง โอกาสของบุญมีมากทีเดียวในชีวิตประจำวัน เพราะที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ที่เป็นบุญกิริยาวัตถุมี ๑๐ ประการ คือ

๑. ทาน การให้วัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้รับ

๒. ศีล ได้แก่ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่เป็นกุศล คือ ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่นให้เดือดร้อน

๓. ภาวนา การอบรมจิตให้สงบ คือ สมถภาวนา ๑ และการอบรมให้เกิดปัญญา วิปัสสนาภาวนา ๑

๔. อปจายนะ การอ่อนน้อมต่อผู้ที่ควรอ่อนน้อม ก็เป็นบุญ เพราะว่าจิตใจในขณะนั้นไม่หยาบกระด้างด้วยความถือตัว

๕. เวยยาวัจจะ การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ควรสงเคราะห์ ไม่เลือกสัตว์ บุคคล ผู้ใดที่อยู่ในสภาพที่ควรสงเคราะห์ช่วยเหลือให้ความสะดวก ให้ความสบาย ก็ควรจะสงเคราะห์แก่ผู้นั้น แม้เพียงเล็กน้อยในขณะนั้น ก็เป็นกุศลจิต เป็นบุญ

๖. ปัตติทาน การอุทิศส่วนกุศล ให้บุคคลอื่นได้ร่วมอนุโมทนา ซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลจิตของบุคคลอื่นเกิดได้

๗. ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาแก่ผู้อื่นที่ได้กระทำกุศล เพราะเหตุว่า ถ้าเป็นคนพาล ไม่สามารถจะอนุโมทนาได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ได้ทราบการกระทำบุญกุศลของบุคคลอื่น ก็ควรเป็นผู้ที่มีจิตยินดี ชื่นชม อนุโมทนา ในกุศลกรรมของบุคคลอื่นที่ตนได้ทราบนั้น ไม่ใช่เป็นผู้ที่ตระหนี่แม้แต่จะชื่นชมยินดีในบุญกุศลของบุคคลอื่น

๘. ธัมมเทศนา การแสดงธรรมแก่ผู้ต้องการฟัง ไม่ว่าเป็นญาติ มิตรสหาย หรือบุคคลใดก็ตาม ซึ่งสามารถจะอนุเคราะห์ให้เขาได้เข้าใจเหตุผล ในพระธรรมวินัย ก็ควรที่จะได้แสดงธรรมแก่บุคคลนั้น

๙. ธัมมัสสวนะ การฟังธรรม เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก ในสภาพธรรม ตรงตามความเป็นจริง ก็เป็นบุญ

๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การกระทำความเห็นให้ตรง ตามสภาพธรรม และเหตุผล ของสภาพธรรมนั้นๆ ธรรมใดที่เป็นกุศล ก็ให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริง ว่า เป็นกุศลจริงๆ ธรรมใดที่เป็น อกุศล ก็ให้พิจารณากระทำความเห็นให้ตรงตาม สภาพธรรม จริงๆ ว่า สภาพธรรมนั้นเป็นอกุศล ไม่ปะปนกุศลธรรมกับอกุศลธรรม

พระธรรมที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา มีความละเอียด ลึกซึ้ง เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ได้ศึกษา และมีความเข้าใจ ไปตามลำดับอย่างแท้จริง เพราะทุกส่วนของคำสอนที่พระองค์ทรงแสดงนั้น เป็นไป เพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมอย่างแท้จริง

ดังนั้น ผู้ที่เห็นประโยชน์ของ การขัดเกลากิเลส ก็จะไม่ละเลยโอกาส ในการเจริญกุศลประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะถ้ากุศลไม่เกิด ก็จะเป็นโอกาสให้ อกุศลเกิด พอกพูนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ

-สิ่งที่ผิด ไม่ควรชื่นชมสรรเสริญเลย เช่น การถวายเงินของคฤหัสถ์ที่มีต่อพระภิกษุ และ การรับเงินของพระภิกษุ ควรที่จะได้พิจารณา ว่า การถวายเงินแก่พระภิกษุ ไม่ได้บุญ ไม่เป็นบุญเลย เพราะทำไปด้วยความอยาก ด้วยความไม่รู้ เป็นเหตุให้พระภิกษุล่วงละเมิดพระวินัย ทำให้ท่านลำบากอย่างยิ่ง เพราะถ้าพระภิกษุมรณภาพไปในขณะที่ท่านยังมีอาบัติอยู่ ชาติหน้าท่านเกิดในอบายภูมิเท่านั้น เป็นประหนึ่งว่าเรานั่นเองที่เป็นผู้ผลักท่านลงอบายภูมิ การกระทำอย่างนั้น จะเป็นบุญได้อย่างไร เมื่อรู้ว่า สิ่งใด ผิด ไม่ควรส่งเสริมสิ่งนั้น และบุคคลผู้กระทำผิด ทำลายพระธรรมวินัย ยังจะส่งเสริมสนับสนุนบุคคลเหล่านั้นอีกหรือ ไม่ใช่ด้วยความหยาบกระด้างแห่งจิต แต่ด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้องว่า สิ่งใด ควร สิ่งใดไม่ควร ปัญญาทำกิจของปัญญา เกื้อกูลให้ทำสิ่งที่ถูกต้องดีงามเท่านั้น

-สังฆรัตนะ คือ พระอริยบุคคลในฐานะที่เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ตาม สังฆรัตนะ เป็นหมู่ของบุคคลผู้ขัดเกลากิเลสรู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคล นอกจากนั้นไม่ใช่สังฆรัตนะ ภิกษุผู้ทุศีล ไม่ใช่สังฆรัตนะ และไม่มีโอกาสถึงความเป็นสังฆรัตนะได้ เพราะยังมีโทษคืออาบัติติดตัวอยู่ ไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ แม้จะเป็นภิกษุผู้มีศีล แต่ถ้ายังไม่ได้บรรลุธรรมถึงความเป็นพระอริยบคคล ก็ไม่ใช่สังฆรัตนะ ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
hetingsong
วันที่ 8 ม.ค. 2562

ทิฎฐุชุกรรม สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
lovedhamma
วันที่ 8 ม.ค. 2562

ถ้าคุณฉีฟ่งจื้อได้ศึกษาธรรมะจากมูลนิธิมาจนเข้าใจระดับหนึ่ง แล้วไม่เอาความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน มาเกี่ยวข้องก็คงจะไม่มีปัญหาอะไรใช่มั้ยครับ ในเรื่องว่าอยากได้บุญ...ถ้าเข้าใจว่าบุญ (ในทางพระพุทธศาสนา) คืออะไร ซึ่งก็คือ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่างที่อาจารย์คำปั่นบอก แต่สิ่งที่น่าพิจารณาที่สุดคือ ทุกคำในพระพุทธศาสนาควรรู้ก่อนว่าคำๆ นั้นแปลว่าอะไร คำว่า บุญ หมายถึง สภาพของจิตที่ดีงาม ซึ่งในความเป็นจริงบุญจะประกอบด้วยปัญญาหรือไม่ก็ได้ ซึ่งอาหารที่จะทำให้เกิดปัญญาก็คือ ความเข้าใจพระอภิธรรมพื้นฐานและเรื่องปรมัตถธรรม ก็นับว่าเป็นส่วนที่ควรศึกษาก่อนนะครับสำหรับคนที่จะบอกว่าตนเป็นขาวพุทธ เพราะคนที่ปัญญาเริ่มเกิดจากการศึกษาธรรมจะรู้ว่าความดีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ต่างกับที่ชาวโลกสมมติกัน เพราะเป็นความดี (รวมทั้งความชั่วด้วย) ที่ตรงตามสภาพจริงๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
lokiya
วันที่ 9 ม.ค. 2562

สามารถบำรุงพระศาสนาด้วยเงินได้ครับ แต่ไม่ใช่มอบให้พระ (จะทำให้พระอาบัติ) แต่กระทำได้โดยมอบให้ไวยาวัจกรเป็นผู้จัดการ หรือ ผู้ที่ภิกษุได้ปวารณาไว้ จึงจะถูกต้องกว่านะครับ

พระวินัยหรือคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นคำจริง ไม่จำกัดกาล ไม่เปลี่ยนตามยุคสมัย เพราะเป็นวิสัยของผู้เป็นสัพพัญญู

สมัยพุทธกาลพระอรหันต์จำนวนมากก็เป็นลูกเศรษฐี ลูกคหบดี ลูกกษัตริย์ทั้งนั้น แต่ท่านก็ไม่ได้ใช้เงินเลยนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prasan.byo
วันที่ 10 ม.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Somporn.H
วันที่ 10 ม.ค. 2562

ทุกส่วนของคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมอย่างแท้จริง

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
j.jim
วันที่ 11 ม.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
abhirak
วันที่ 16 ม.ค. 2562

ความเห็นของท่านผู้ถามทั้งหมดนี่คล้ายกับความเห็นที่ผมมีเมื่อก่อนหน้าที่จะได้ฟังพระธรรม จากความเอื้อเฟื้อของ มศพ. และก่อนหน้าที่จะได้ฟังผู้ที่เป็นครูผู้เปรื่องปราดกล่าวคำจริงที่ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่สุดในยุคนี้ ก็คือผมเผินทุกเรื่อง ประมาทในพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารวมถึงประมาทในการฟังธรรมด้วยคือฟังด้วยความไม่เคารพ และไม่รู้ว่าสังฆรัตนคืออย่างไร เมื่อไม่รู้ก็นำไปสู่ความผิดพลาดนานับประการที่ได้กระทำลงไป คิดย้อนแล้วก็สลดใจอย่างยิ่ง

ความเห็นของผู้ถามไม่ว่าจะเรื่อง การให้ทาน การทำบุญ การรักษาศีล การภาวนาให้ปัญญาเจริญ ส่องให้เห็นถึงความประมาทเช่นเดียวกับที่ผมมีก่อนหน้านี้ (และก็ยังมีหลงเหลืออยู่อีกมากในปัจจุบัน) คือเจือไปด้วยความไม่รู้และความเห็นผิด เมื่อได้ยินได้ฟังผู้ที่กล่าวคำจริงที่ไม่ตรงกับความเห็นที่ตนเองมีอยู่ (ซึ่งตนเองได้ฟังแต่คำไม่จริงจากบรรดาเกจิมา) ก็จะเกิดความสงสัยขึ้นสารพัด ว่าทำไมไม่อย่างนั้น ทำไมไม่อย่างนี้ไปตามแรงกิเลสที่ตนเองสั่งสมมา ขอเรียนว่าพระธรรมที่แท้จริงเมื่อได้ฟังจากท่านผู้ใดก็ตามที่เป็นผู้รู้แท้ นำมาเปิดเผย นำมาแสดง หากยังพอมีอนุสัยในการฟังสั่งสมมาบ้างก็จะรู้ได้ทันทีว่ามีความต่างจากผู้ที่ไม่รู้แสดงซึ่งมักเจือความเห็นของตนลงไป ซึ่งทาง มศพ. เปิดโอกาสให้ซักถามได้ทุกแง่มุมเพราะนัยหนึ่งคือจะเป็นการช่วยกันเปิดเผยพระสัทธรรมให้รุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นได้

พระธรรมที่แท้เมื่อฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา (ปัญญาคือความเข้าใจถูก ความเห็นตรง) เมื่อมีปัญญา ปัญญานั้นเองก็ปฏิบัติกิจของปัญญาโดยไม่มีเราเข้าไปใช้ (ที่ชอบพูดว่า ใช้ปัญญา = ผิด) ปัญญาญาณที่เกิดจะรู้ได้ตามกำลังเองว่า อย่างไรคือบุญ อย่างไรคือทาน อย่างไรที่เป็นศีล เมื่อนั้นความสงสัยในพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณของพระพุทธองค์ก็จะมีลดน้อยลงเรื่อยๆ เช่นกัน การกระทำใดๆ ก็ตามที่กระทำลงไปเมื่อประกอบด้วยปัญญาแล้วก็จะไม่ผิดเลย เมื่อกระทำไม่ผิดผลที่ได้ก็จะเป็นผลดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ต้องไปกังวลหรอกครับว่าจะมีพระมั๊ย จะได้บุญมั๊ย กลับจะมองเรื่องสงสัยเหล่านี้เป็นเรื่องน่าขบขัน

ขอกราบอนุโมทนาในกุศลทั้งปวงของท่านผู้ถามและผู้ร่วมตอบคำถามทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
วิริยะ
วันที่ 17 ม.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
โพธิ์งามพริ้ง
วันที่ 22 ม.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
พัชรีรัศม์
วันที่ 23 ม.ค. 2562

คำตอบชัดเจนค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
sirijata
วันที่ 31 ม.ค. 2562

พระพุทธศาสนาจะยังคงอยู่ พระรัตนตรัยจะยังคงอยู่ ตราบเท่านาน ถ้าภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศึกษาพระธรรมวินัย ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ไตร่ตรอง ทบทวน ทรงจำตามพระธรรมวินัย ฟังบ่อยๆ ด้วยความพากเพียร อดทน ที่จะรู้ จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฎอยู่ขณะนี้ ที่เป็นธรรมะ เป็นอนัตตา เกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่กลับมาอีก ไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่นไว้

ถ้าคุณฉีฯ ฟังพระธรรมวินัยอยู่่เช่นนี้ ก็ไม่ต้องกังวลอื่นใดค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ