เปรตและญาติผู้ล่วงลับ ไม่ได้รับส่วนบุญที่ถวายภิกษุไม่มีศีล
แม้แต่เปรต แม้ผู้ถวายทานกับพระภิกษุ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ เปรตไม่อนุโมทนาเลย เพราะ ภิกษุเป็นผู้ทุศีล (ไม่มีศีล) เป็นผู้ตรงไหม? จะอนุโมทนาในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ในการกระทำที่ผิดได้อย่างไร นั่นเปรตนะคะ ภิกษุคือ ผู้ที่บวชและไม่ศึกษาธรรม ไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย (เช่น รับเงินทอง) แล้วทำอะไร? แล้วคฤหัสถ์ก็ถวายทานให้ใคร ไปทำอะไร ทำไมไม่คิดให้ลึกซึ้ง แต่ถ้าใครก็ตามที่ทำกุศล คนยากจน เด็กนักเรียน ชาวนาชาวไร่ ไม่มีที่ดิน อนุโมทนาในกุศลของเขาที่ทำประโยชน์ ทำสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์ ให้เขาได้มีโอกาสให้มีชีวิตที่สะดวกสบาย ให้โอกาสกับคนด้อยโอกาส เป็นต้น
ดังนั้น ให้อาหารไปทำอะไร ให้แล้วพระภิกษุทุศีลไปทำสิ่งที่ไม่ดีอีก แล้ว อนุโมทนาไหม? เปรตที่เห็นความไม่ดีของพระภิกษุ เห็นแม้ในที่ลับ จะอนุโมทนาในทานของบุคคลที่ถวายให้กับพระภิกษุผู้ทุศีลไหม? ไม่เลย!! ดังนั้น ทางไหนที่จะทำให้พระภิกษุทุศีล (ไม่มีศีล) ได้เข้าใจถูกต้อง นั่นคือ เป็นมิตรที่ดี ไม่ใช่ปล่อยให้ทำสิ่งที่ผิดต่อไป เพราะฉะนั้น พระธรรมวินัยทั้งหมด เพื่อเกื้อกูลผู้ที่กระทำผิดได้รู้สึกตัว
ขอเชิญอ่านข้อความจากธรรมของพระพุทธเจ้าดังนี้
ทำบุญพระทุศีล เปรตไม่อนุโมทนา
(ไม่ได้รับส่วนกุศล) กล่าวว่า ภิกษุทุศีลปล้นฉัน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 409
" ... ได้ยินว่า นายพรานนั้น เมื่อให้ทุกขิณาอุทิศถึงผู้ตายได้ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่งนั้น แลถึง ๓ ครั้ง. ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์ร้องขึ้นว่า ผู้ทุศีลปล้นฉัน ดังนี้. ในเวลาที่พรานนั้นถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่งมาถึง ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา. พึงแสดงอสทิสทานในคำนี้ว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ ฝ่ายทายกเท่านั้น ... "
เปรตไม่ได้รับกุศลที่ถวายทานกับพระไม่มีศีล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
ข้อความบางตอนจาก
จูฬเสฏฐีเปตวัตถุ
" ... พระราชาจึงตรัสสั่งเขาว่า ถ้าท่านไปได้เสวยผลทานนั้น พึงรีบกลับมาบอก เหตุที่มีจริงแก่เรา เราฟังคำอันมีเหตุผล ควรเชื่อถือได้แล้วจักทำการบูชาบ้าง จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระดำรัสแล้ว ได้ไปยังอันธกวินทนครนั้น แต่ไม่ได้รับผลแห่งทานนั้น เพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่บริโภคภัตร เป็นผู้ไม่มีศีล ไม่สมควรแก่ทักษิณา ภายหลัง จูฬเศรษฐีเปรต กลับมายังกรุงราชคฤห์อีก ได้ไปแสดงกายให้ปรากฏ เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน ... "