สอบถามเรื่องพระวินัย

 
Chaowat
วันที่  20 เม.ย. 2560
หมายเลข  28778
อ่าน  1,042

เวลาที่บิณฑบาตตอนเช้า หากมีญาติโยมจะถวายเงินใส่ซอง เพื่อจะนำเงินมาทำบุญ ในฐานะพระภิกษุควรจะมีวิธีการพูดกับญาติโยมอย่างไร หากเขามีเจตนาดีที่จะนำเงินมาทำบุญ แต่เงินนั้นไม่สมควรกับพระภิกษุ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 เม.ย. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ภิกษุสามารถปฏิเสธ กับ ฆราวาส ก่อนที่จะนำเงินมาถวาย ได้ โดย กล่าวธรรมว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทอง ควรถวาย ปัจจัย ที่เหมาะสมกับเพศพระภิกษุที่ไม่ทำให้พระภิกษุอาบัติ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 20 เม.ย. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมวินัย ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อการกำจัดกิเลสที่แต่ละบุคคลได้สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ แต่ถ้าไม่ได้ศึกษา ไม่ได้เข้าใจถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยแล้วโอกาสที่จะกระทำผิด ก็ย่อมจะมีได้ หรือ ในอีกกรณีหนึ่ง คือ ทั้งๆ ที่รู้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามพระธรรมวินัย แต่ก็มีเจตนาที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นๆ เพราะกำลังของกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัวต่ออกุศล นั่นเอง สำหรับเงินและทอง นั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควรแก่เพศพระภิกษุ โดยประการทั้งปวงเป็นเครื่องเศร้าหมองของบรรพชิตจริงๆ ทำให้เกิดความติดข้อง เป็นห่วงกังวล และไม่ต่างอะไรกับคฤหัสถ์ เพราะพระภิกษุ รับเงินและทอง ไม่ได้ เป็นอาบัติ ไม่ว่าจะรับเพื่อตนหรือ เพื่อสิ่งอื่น เช่น สร้างกุฏิ สร้างพระอุโบสถ เป็นต้น ก็เป็นอาบัติ ถ้ารับเมื่อใด ไม่ว่ากรณีใดๆ ล้วนไม่พ้นจากอาบัติ ชีวิตพระภิกษุ เป็นชีวิตที่ขัดเกลาเป็นอย่างยิ่ง เงินทองไม่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ พระภิกษุผู้ที่ไม่ละอาย ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรมวินัย ก็มีการล่วงสิกขาบทต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือ การรับเงินรับทอง, การรับเงิน รับทอง เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ การที่จะแสดงอาบัติข้อนี้ ให้ตนเองเป็นผู้พ้นจากอาบัติได้ ต้องมีการสละให้ถูกต้องตามพระวินัยเสียก่อนแล้วจึงจะแสดงอาบัติตก แต่ถ้าไม่ทำการสละเลย แล้วแสดงอาบัติ ก็ไม่พ้นจากอาบัติเป็นผู้มีอาบัติติดตัวเป็นอันตรายมากในเพศบรรพชิต

ดังนั้น พระภิกษุที่ท่านเคารพยำเกรงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจะไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต สำหรับในกรณีที่มีคฤหัสถ์ถวายเงินแก่ท่าน ท่านก็จะปฏิเสธ ไม่รับโดยประการทั้งปวง ห้ามด้วยกาย ก็ได้ ห้ามด้วยวาจาก็ได้ ว่า เงินทองเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะควร เพียงเท่านี้ ท่านก็ไม่ต้องอาบัติแล้ว และไม่ต้องกล่าวต่อไปว่า อาตมารับเงินไม่ได้ ขอให้เอาไปฝากไว้กับไวยาวัจกร อย่างนี้ ก็ไม่ถูก เพราะยังไม่พ้นจากการรับอยู่ดี หรือ จะไปกล่าวว่า อาตมารับเงินไม่ได้ รับได้แต่อาหาร พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้อีก เพราะเหตุว่า เหมือนกับไปออกปากขอกับบุคคลที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ พระวินัย เป็นเรื่องละเอียดมาก เป็นเรื่องของการขัดเกลากิเลส จริงๆ ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
thilda
วันที่ 20 เม.ย. 2560

เรียนถามอาจารย์ค่ะ การแสดงไวยาวัจกร ต้องให้คฤหัสถ์เป็นผู้ถามก่อนว่าถ้าจะถวายเงิน ต้องทำอย่างไร พระภิกษุถึงจะแสดงได้ใช่ไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
p.methanawingmai
วันที่ 21 เม.ย. 2560

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 21 เม.ย. 2560
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 3 โดย thilda

เรียนถามอาจารย์ค่ะ การแสดงไวยาวัจกร ต้องให้คฤหัสถ์เป็นผู้ถามก่อนว่าถ้าจะถวายเงิน ต้องทำอย่างไร พระภิกษุถึงจะแสดงได้ใช่ไหมคะ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า พระภิกษุรับเงินไม่ได้ ยินดีในเงินทองไม่ได้โดยประการทั้งปวง คฤหัสถ์ต้องถามพระภิกษุก่อนว่า ท่านมีไวยาวัจจกรไหม ที่ถาม นี้ ไม่ได้หมายความว่าจะถวายเงิน แต่จะมอบเงินไว้ให้กับไวยาวัจจกร เพื่อจัดหาสิ่งที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตมาถวาย จึงจะเป็นโอกาสให้พระภิกษุแสดงไวยาวัจจกร ว่า บุคคลผู้นี้เป็นไวยาวัจจกร บุคคลผู้อยู่บ้านโน้น เป็นไวยาวัจกร หรือ ไม่ก็คฤหัสถ์ผู้นั้น ดำเนินการเอง แสดงไวยาวัจจกรเอง โดยมอบหมายให้บุคคลผู้มีความรู้พระวินัย เพื่อให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามพระวินัย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
thilda
วันที่ 21 เม.ย. 2560

เป็นเรื่องละเอียดอย่างยิ่งเกี่ยวกับคำที่ใช้และอื่นๆ ถ้าไม่ศึกษาก็ไม่รู้เลย ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 1 พ.ค. 2560

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ