ใช้รหัส wifi ของพระอีกรูป

 
tamma999
วันที่  12 ส.ค. 2559
หมายเลข  28070
อ่าน  1,036

ข้าพเจ้าได้รับรหัส wifi จากเณร ซึ่งเป็นของพระอีกรูปหนึ่ง เราเอามาใช้โดยไม่บอกกล่าว แบบนี้จะผิดปาราชิกหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 13 ส.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่ควรพิจารณาตั้งแต่ต้น คือ เป็นพระภิกษุ เพื่ออะไร? ถ้าไม่ใช่เพื่อศึกษาพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสของตนเอง มีความประพฤติคล้อยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประพฤติตามพระวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ การใช้อินเทอร์เน็ต มีโทรศัพท์มือถือ เล่นไลน์ เข้าเฟสบุค เป็นเรื่องของคฤหัสถ์ ไม่ใช่กิจของบรรพชิต เพราะนำมาซึ่งความไม่สงบ และจะเป็นเหตุให้ต้องอาบัติหลายข้อ เช่น เรื่องเงิน การใช้จ่ายเงิน เป็นต้น เป็นโทษกับตนเองโดยส่วนเดียว เพราะอาบัติที่ต้องเข้าแล้ว จะเล็กน้อยหรือหนัก ถ้าไม่แก้ไขตามพระธรรมวินัย เป็นเครื่องกั้นการเกิดในสุคติภูมิ กั้นการบรรลุมรรคผลนิพพาน ถ้ามรณภาพไปในขณะที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ก็ไปเกิดในอบายภูมิ เท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลย

จากประเด็นคำถาม จะเป็นอาบัติปาราชิกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดหลายประการ เช่น ทรัพย์ที่เจ้าของหวงแหน มูลค่าสิ่งของที่ได้ราคาตั้งแต่ ๕ มาสก เป็นต้นไป มีเจตนาที่จะลัก เป็นต้น ถ้าได้ขออนุญาตจากเจ้าของเสียก่อนแล้วจึงใช้ อย่างนี้ไม่ต้องอาบัติปาราชิก และ ถือเอาด้วยความคุ้นเคยกัน (วิสาสะ) ก็ไม่เป็นอาบัติปาราชิก ซึ่งทั้งหมดก็มีรายละเอียดมากพอสมควร ควรศึกษาจากพระวินัยปิฎกและอรรถกถา และพระวินัยธร ผู้ทรงจำและเข้าใจ ครับ

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

พระใช้มือถือ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 13 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 13 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 16 ส.ค. 2559

สำคัญที่เจตนา มีเจตนาลักหรือเปล่า แล้วเจ้าของหวงแหนไหม แล้วของที่ใช้มีราคา 5 มาสกไหม จริงๆ แล้วพระภิกษุรับเงินทองไม่ได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Bigx
วันที่ 13 ธ.ค. 2563

แล้วพระใช้WiFi เพื่อศึกษาธรรมมันผิดหรา WiFi มันไม่ใช่สิ่งของที่จำต้องได้ไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหนราคาก้อวัดไม่ได้

แล้วถ้ามีเจตนาไม่อยากให้เค้ารู้ล่ะคับจะอาบัติไหม

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ธ.ค. 2563

ข้อความบางตอนจากความเห็นที่ 1

การใช้อินเทอร์เน็ต มีโทรศัพท์มือถือ เล่นไลน์ เข้าเฟสบุค เป็นเรื่องของคฤหัสถ์ ไม่ใช่กิจของบรรพชิต เพราะนำมาซึ่งความไม่สงบ และจะเป็นเหตุให้ต้องอาบัติหลายข้อ เช่น เรื่องเงิน การใช้จ่ายเงิน เป็นต้น เป็นโทษกับตนเองโดยส่วนเดียว เพราะอาบัติที่ต้องเข้าแล้ว จะเล็กน้อยหรือหนัก ถ้าไม่แก้ไขตามพระธรรมวินัย เป็นเครื่องกั้นการเกิดในสุคติภูมิ กั้นการบรรลุมรรคผลนิพพาน ถ้ามรณภาพไปในขณะที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ก็ไปเกิดในอบายภูมิ เท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลย

จากประเด็นคำถาม จะเป็นอาบัติปาราชิกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดหลายประการ เช่น ทรัพย์ที่เจ้าของหวงแหน มูลค่าสิ่งของที่ได้ราคาตั้งแต่ ๕ มาสก เป็นต้นไป มีเจตนาที่จะลัก เป็นต้น ถ้าได้ขออนุญาตจากเจ้าของเสียก่อนแล้วจึงใช้ อย่างนี้ไม่ต้องอาบัติปาราชิก และ ถือเอาด้วยความคุ้นเคยกัน (วิสาสะ) ก็ไม่เป็นอาบัติปาราชิก ซึ่งทั้งหมดก็มีรายละเอียดมากพอสมควร ควรศึกษาจากพระวินัยปิฎกและอรรถกถา และพระวินัยธร ผู้ทรงจำและเข้าใจ ครับ

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม จากกระทู้...

ทำไมบวช

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ธ.ค. 2563

ขอเชิญดาว์นโหลดและอ่านจากหนังสือ..

ทำไมบวช

คนที่ไม่เข้าใจธรรม ไม่เห็นกิเลสของตัวเองและไม่ได้สะสมอุปนิสัยในการสละเพศคฤหัสถ์ แล้วบวช นั้น ไม่ใช่ผู้ที่จริงใจและไม่ใช่ผู้ตรง เพราะถามว่าบวชทำไม ถ้าตอบว่าเพราะเหตุนั้นๆ แต่ไม่ใช่เพราะได้เข้าใจพระธรรมและรู้อัธยาศัยของตนเองว่าเพื่อศึกษาพระธรรมและขัดเกลากิเลสในเพศภิกษุตามพระธรรมวินัยแล้ว สมควรบวชไหม การบวชเป็นภิกษุไม่ใช่เป็นอยู่อย่างสบายให้ผู้คนกราบไหว้ แต่เพราะเป็นผู้ที่เห็นกิเลสและเห็นโทษของกิเลส และรู้ว่าหนทางเดียวที่จะขัดเกลากิเลสก็ด้วยความเข้าใจพระธรรมจึงบวชเพื่อศึกษาธรรมและขัดเกลากิเลสยิ่งกว่าคฤหัสถ์ ฉะนั้น การดำรงชีวิตของคฤหัสถ์และบรรพชิตจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ภิกษุลามก อุบาสกจัณฑาล บริษัทดื้อด้าน วิกฤติพระพุทธศาสนา

ตามพระธรรมวินัยแสดงไว้ชัดเจนว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยไม่รับและไม่ยินดีในเงินและทอง ไม่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งของใดๆ ผู้ที่กระทำละเมิดเยี่ยงนี้ไม่รู้ว่า ภิกษุคือใคร หรือพระไม่รู้จักพระ ไม่รู้เลยว่าหน้าที่ของภิกษุมีอย่างไรบ้าง ปัญญาชนย่อมเห็นได้ว่าสิ่งที่ทำไปในลักษณะเช่นนั้น เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะควรแก่ภิกษุเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุต้องเป็นผู้สันโดษ สงบ ไม่คลุกคลีวุ่นวายเรื่องทางโลก

วัดซึ่งควรจะเป็นศูนย์กลางของความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ กลับไม่ได้มีสิ่งเหล่านี้เลย เนื่องจากภิกษุไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลก ทำธุรกิจแลกเปลี่ยนค้าขาย รับเงินและทอง เป็นเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ เป็นเรื่องไม่ควรและเป็นอาบัติซึ่งหมายถึงการตกไปจากความดี ไม่ดำรงอยู่ในเพศของผู้ที่ประเสริฐ ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อออกจากสังสารทุกข์ กลับทำการเหมือนกับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ไม่เกิดประโยชน์ใดที่คนเหล่านี้บวชเข้ามาเป็นเพศบรรพชิต และประกาศตนเองว่าเป็นสมณะ แต่มิได้ประพฤติเยี่ยงสมณะแม้แต่น้อย นำความเสื่อมมาสู่พระศาสนาอย่างมากมาย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ