ตามดูจิตหมายความว่าอย่างไร

 
email
วันที่  23 ม.ค. 2550
หมายเลข  2696
อ่าน  3,076

อ่านหนังสือธรรมะ หรือข้อความที่ post มาในกระดานสนทนา มีหลายท่านใช้คำว่า ดูจิต หรือตามดูจิต อยากให้ช่วยทำความเข้าใจด้วยครับ ว่าหมายความว่าอย่างไร เหมือนกับว่าจะทำกันได้ จะดูอย่างไร หรือตามดูจิตอย่างไร


Tag  ดูจิต  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 ม.ค. 2550

ในพระไตรปิฎกมีแสดงว่า พิจารณาเห็นจิต คือ การรู้จิตตามความเป็นจริงด้วยปัญญา ไม่ใช่การดูจิตด้วยตาหรือการรู้จิตด้วยอกุศล เพราะธรรมดาทั่วไป แม้ผู้ไม่ศึกษาธรรมะก็รู้ว่า จิตโกรธ จิตโลภ แต่เป็นเราทั้งหมด เมื่อศึกษาพระธรรม ย่อมค่อยๆ รู้ความจริงว่า ไม่มีเรา จิตไม่ใช่เรา เป็นแต่ธรรมะอย่างหนึ่งเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 23 ม.ค. 2550

ก็ไม่พ้นไปจากความต้องการอย่างละเอียด คือ การจดจ้อง ซึ่งเราต้องมีความเข้าใจพื้นฐาน แม้ขั้นฟังเสียก่อนว่าธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ แล้วแต่เหตุปัจจัยที่เขาจะเกิด ที่พูดกันว่า ดูจิต เขาย่อมหมายถึง สติเจตสิก แต่เราไม่ควรลืมว่าไม่มีใครบังคับบัญชาให้สติเกิดตามใจชอบได้ ถ้าตามดูจิตได้ สติก็คงจะเกิดบ่อยมาก คงบรรลุได้เร็ว สุญญสูตรก็แสดงไว้แล้วว่าว่างจากตน ตัวตนเป็นเพียงธัมมะ จึงไม่มีตัวตนที่จะไปบังคับตามดูจิต แล้วใครจะไปตามดูจิตได้ ทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัย ครับ

อีกประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องละเอียดในการเจริญสติปัฏฐาน สติต้องมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ของสติ มีลักษณะให้สติระลึก นั่นคือ นามธรรมและรูปธรรม แต่ขณะที่ดูจิตที่กล่าวกันนั้น ขณะที่สภาพธัมมะเกิดก็ตามดู แต่ไม่รู้เลยว่าจริงๆ แล้ว ขณะนั้นคิดนึกถึงสภาพธัมมะที่ดับไปแล้ว ซึ่งขณะที่คิดนึก ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม

ยกตัวอย่าง ขณะที่เห็น ก็คิดนึกว่า ขณะนี้เห็นเป็นเพียงนามธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งขณะที่คิดอย่างนั้น เราก็ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธัมมะนั้นจริงๆ เป็นแต่เพียงคิดนึกถึงสภาพธัมมะที่ดับไปแล้วครับ คิดนึกจึงไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน ครับ ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ถ้าไม่ศึกษาอภิธรรมให้สอดคล้องกับสติปัฏฐาน จะหลงทางได้ง่าย

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 23 ม.ค. 2550

จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ จิตเศร้าหมองก็รู้ว่าจิตเศร้าหมอง จิตเป็นอกุศลก็รู้ว่าจิตเป็นอกุศล จิตเป็นกุศลก็รู้ว่าจิตเป็นกุศลเป็นต้น นี้เป็นปัญญาที่รู้ ไม่ใช่เรารู้ ไม่มีสัตว์ บุคคล มีแต่ปรมัตถ์คือจิต เจตสิก รูป เว้น นิพพาน เพราะยังไม่ถึง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JOB
วันที่ 24 ม.ค. 2550

อัตตาเจตสิกคืออะไร แตกต่างจากคำว่าอัตตาตัวตนหรือไม่ ถ้าแตกต่างๆ อย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 ม.ค. 2550

ตามความเข้าใจนะครับ อัตตาหรือความเป็นเรา มี ๓ อย่าง คือ

๑. เป็นเราด้วยโลภเจตสิก

๒. เป็นเราด้วยมานเจตสิก

๓. เป็นเราด้วยทิฏฐิเจตสิก

ซึ่งที่คุณบอกว่าแตกต่างจากอัตตาตัวตนอย่างไร

ก็คือ อัตตาตัวตน นั้น โดยทั่วไป จะหมายถึงเป็นเราด้วยทิฏฐิ คือ ยึดถือว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล ตัวตน แต่ความเป็นเรานั้นมีความหมายกว้างกว่านั้นตามที่อธิบายมา ๓ ข้อ ข้างต้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 20 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
natre
วันที่ 3 ธ.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sea
วันที่ 12 มี.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
มังกรทอง
วันที่ 12 มี.ค. 2565

ถ้าศึกษาธรรมโดยไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม จะชื่อว่าศึกษาธรรมหรือเปล่า แล้วไปเข้าใจอะไรคะ ถ้าศึกษาธรรมโดยไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นธรรมหรือเปล่า เมื่อฟังแล้วจำได้ว่า สิ่งที่มีจริงเป็นธรรม เพราะฉะนั้นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาขณะนี้เป็นธรรม แต่ยังไม่เข้าถึงความเป็นธรรมซึ่งเป็นธรรมจริงๆ ไม่เป็นใคร ไม่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยทั้งสิ้น กราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ