โลกธรรม ๘

 
nattawan
วันที่  11 ส.ค. 2558
หมายเลข  26910
อ่าน  2,484

โลกธรรม ๘ ย่อมหมุนไปตามโลก

โลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘

กรุณาอธิบายข้อความนี้ด้วย ขอบคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 11 ส.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โลกธรรม 8 คือ ความเป็นธรรมดาของโลก ที่จะต้องเป็นอย่างนี้เป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคต ซึ่ง โลกธรรม 8 ประกอบด้วย

ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑

ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑

นินทา ๑ สรรเสริญ ๑

สุข ๑ ทุกข์ ๑

ซึ่งจากคำถามที่ว่า

โลกธรรม หมายถึง ความเป็นธรรมดาของโลกที่ต้องเป็นไป คือ มีสุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา เป็นต้น ซึ่ง โลกธรรม ๘ ย่อมหมุนไปตามโลก โลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ หมายถึง ธรรมดาของโลก คือ สุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา แม้พระพุทธเจ้า ก็ไม่ทรงพ้นจากโลกธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าหมุนไปตามโลก และ โลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม คือ สัตว์โลก ย่อมถูกโลกธรรมติดตามไป หมุนไปตามไปเสมอ เพราะเป็นสัจจะความจริง ที่จะต้องคู่กันไปอย่างนี้ จนกว่า จะไม่เกิดอีกเลย ครับ

เชิญอ่านที่ท่านอาจารย์สุจินต์เพิ่มเติมดังนี้ ครับ

ท่านอาจารย์ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม โดยพระธรรมที่ทรงแสดง เช่น เรื่องของ "โลกธรรม" เพราะอะไรคะ ทุกคนถึงได้ขวนขวายต้องการโลกธรรมฝ่ายดี ถ้าไม่ใช่เพื่อตัวเอง เพราะว่ามีความยึดมั่นในความเป็นตัวตนอย่างมาก เพราะฉะนั้นจึงเห็นว่า ลาภก็ดี ยศก็ดี สรรเสริญก็ดี สุขก็ดี เป็นเรา เพราะฉะนั้นจึงขวนขวาย แต่ถ้ารู้ว่า ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นก็เห็นว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือว่า เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เป็นของธรรมดาค่ะ และถ้าสามารถรู้จนกระทั่งว่า เป็นเพียงชั่วขณะจิตเดียว ตัวตนอยู่ที่ไหน ไม่มีเลย หลงยึดถือ สิ่งที่เกิดดับว่าเป็นเรา ว่าเป็นตัวตน ต่อเมื่อใด ปัญญาเจริญขึ้น คลายความยึดถือสภาพธรรมที่เกิดดับ และรู้ว่าไม่ว่าจะเป็นธรรมฝ่ายใดก็เป็นแต่เพียง นามธรรมและรูปธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อเกิดแล้ว ดับแล้ว เราจะอยู่ที่ไหน เราเมื่อกี้อยู่ที่ไหน เราชั่วขณะเดียวที่ได้ยิน เมื่อกี้นี้อยู่ที่ไหน ก็ไม่มี

เพราะฉะนั้นถ้าสามารถจะคลายความเป็นตัวตนได้ ก็จะเข้าใจว่า แม้ธรรมที่เป็น "โลกธรรม" ที่พระผู้ฯ ทรงแสดง ก็เกื้อกูล ในการที่จะคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนได้

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ

โลกธรรม ๘ ประการ [โลกธรรมสูตร]

ความเข้าใจสภาพธรรม ๐๑ ... โลกธรรม ๘ ประการ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 11 ส.ค. 2558

ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 11 ส.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บุคคลผู้ที่เกิดมามีชีวิตอยู่ในวัฏฏะที่ยังเป็นไปกับโลก ย่อมประสบกับธรรมประจำโลกหรือโลกธรรม, โลกธรรม ในส่วนที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ เช่น เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา เป็นต้นนั้น เป็นธรรมประจำโลก ซึ่งมีทุกยุคทุกสมัย แม้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด เลิศที่สุดในโลก พระองค์ยังไม่พ้นการถูกว่าร้ายจากพวกอัญเดียรถีย์ (นักบวชนอกศาสนา) ที่สำคัญเราไม่สามารถไปแก้หรือไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แต่สามารถเข้าใจความจริงได้ โดยมีรากฐานที่สำคัญคือการมีโอกาสได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เมื่อประสบกับโลกธรรมฝ่ายที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เศร้าโศกเสียใจ เพราะได้เข้าใจความจริง หรือเมื่อประสบกับโลกธรรมฝ่ายที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ เมื่อมีความเข้าใจตามความเป็นจริง ก็ย่อมไม่หลงระเริง ไม่มัวเมากับลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข ที่เกิดขึ้น ไม่ตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านี้ ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 11 ส.ค. 2558

ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปวีร์
วันที่ 12 ส.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
tanrat
วันที่ 12 ส.ค. 2558

ฟังจนค่อยๆ เข้าใจ ฟังไว้

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wirat.k
วันที่ 12 ส.ค. 2558
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาทั้งท่านผู้ถามและท่านผู้ให้คำตอบเป็นอย่างยิ่งครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jran
วันที่ 13 ส.ค. 2558

ที่สำคัญเราไม่สามารถไปแก้หรือไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แต่สามารถเข้าใจความจริงได้ โดยมีรากฐานที่สำคัญคือการมีโอกาสได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เมื่อประสบกับโลกธรรมฝ่ายที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เศร้าโศกเสียใจ เพราะได้เข้าใจความจริง หรือเมื่อประสบกับโลกธรรมฝ่ายที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ เมื่อมีความเข้าใจตามความเป็นจริง ก็ย่อมไม่หลงระเริง ไม่มัวเมากับลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข ที่เกิดขึ้น ไม่ตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านี้

ขอขอบคุณอาจารย์และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 15 ส.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Jarunee.A
วันที่ 9 ก.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ