การทำให้พ่อแม่ตาย โดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นอนันตริยกรรมหรือไม่

 
tmangkon
วันที่  20 ก.ค. 2558
หมายเลข  26805
อ่าน  1,676

ขอยกตัวอย่างเช่น ขณะลูกขับรถเข้าบ้าน แล้วเกิดพลาด ทำให้รถพุ่งชนบ้าน โดยพ่อ,แม่โดนรถชน จนเสียชีวิต และอีกกรณีหนึ่งคือ นาย ก ต้องการฆ่านาย ข แต่นาย ข หลบ ทำให้ไปโดนบิดาของนาย ก เสียชีวิต ทั้ง 2 กรณีนี้ เป็นอนันตริยกรรมหรือเปล่าคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ก.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อนันตริยกรรม อนนฺตร (ไม่มีระหว่าง) + อิย ปัจจัย + กมฺม (การกระทำ)

การกระทำที่ให้ผลในภพไม่มีระหว่าง หมายถึง ครุกรรมในฝ่ายอกุศลซึ่งจะให้ผลเป็นชนกกรรม นำปฏิสนธิในอบายภูมิ หลังจากสิ้นชีวิตจากชาตินี้แล้วแน่นอน ไม่ว่าจะเจริญกุศลที่มีอานิสงส์มากอย่างไรก็ไม่สามารถล้างการให้ผลของอนันตริยกรรมได้

อนันตริยกรรม มี ๕ อย่าง คือ ...

๑. ฆ่ามารดา

๒. ฆ่าบิดา

๓. ฆ่าพระอรหันต์

๔. ทำโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ

๕. ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน

จากตัวอย่างที่ยกมา ตัวอย่างแรก ไม่ได้มีเจตนาฆ่าใคร ขับรถชน บิดา มารดา เสียชีวิต ไม่เป็นอนันตริยกรรม เพราะ ไม่ได้ประกอบด้วยเจตนาฆ่า แต่ ตัวอย่างที่ 2 มีเจตนาฆ่าอยู่ ไม่ว่าจะฆ่าใครก็ตาม แต่ สภาพธรรม คือ เจตนาฆ่ามีแล้ว พลั้งไปโดนบิดา มารดา เจตนาฆ่ามี ทำ บิดา มารดา เสียชีวิต เป็นอนันตริยกรรม ครับ

เมื่อเริ่มศึกษา เริ่มเห็นคุณของพระธรรม ก็จะค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ ทำให้เป็นผู้ถอยกลับจากอกุศลมากขึ้นๆ ไม่กระทำอกุศลกรรมโดยประการทั้งปวง ไม่ว่าจะหนักหรือไม่หนักก็ตาม เพราะขึ้นชื่อว่า อกุศลกรรม แล้วนำมาซึ่งโทษโดยส่วนเดียวเท่านั้น ไม่นำประโยชน์สุขใดๆ มาให้เลยแม้แต่น้อย, การอบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับเท่านั้น ที่จะทำให้เป็นผู้รอดพ้นจากอกุศลได้ในที่สุด ควรอย่างยิ่งที่จะมีชีวิตอยู่ เพื่อสะสมความดี และ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ต่อไป ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 20 ก.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สำคัญที่เจตนา เพราะองค์ประกอบประการหนึ่งของการที่จะเป็นปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์ให้ถึงความสิ้นชีวิต) นั้น คือ มีเจตนาฆ่า ดังนั้น ถ้าไม่มีเจตนาที่จะฆ่า ย่อมไม่เป็นปาณาติบาต และผู้ที่ตาย แม้จะเป็นบิดามารดา ก็ไม่เป็นอนันตริยกรรม เพราะไม่มีเจตนาฆ่า แม้ในตัวอย่างของพระวินัย ก็มีให้เทียบเคียง คือ กรณีที่พระภิกษุดุนหลังของบิดาของตน ๒ รูป กระทำเหมือนกัน แต่สภาพจิตต่างกัน รูปหนึ่งดุนหลังประสงค์จะให้บิดาเดินเร็ว อีกรูปหนึ่งดุนหลังประสงค์จะให้บิดาล้มลงตาย รูปที่ไม่มีความประสงค์ที่จะให้บิดาตาย ไม่เป็นอาบัติปาราชิก ส่วนรูปที่ประสงค์จะให้บิดาล้มลงตาย เป็นอาบัติปาราชิก ดังนั้น จึงสำคัญที่เจตนา ส่วนประเด็นหลังนั้น ก็ชัดเจนอยู่แล้วเพราะมีเจตนาฆ่า ไม่ว่าผู้ถูกฆ่าจะเป็นใคร ถ้าเป็นบิดามารดาก็เป็นอนันตริยกรรม
ปุถุชน มีโทษมาก เพราะมากไปด้วยกิเลส อาจจะกระทำกรรมที่หนักๆ ได้ ซึ่งจะประมาทกำลังของกิเลสไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จะขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาและสะสมความดีในชีวิตประจำวันไม่ได้เลย ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
tanrat
วันที่ 21 ก.ค. 2558

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ประสาน
วันที่ 21 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
tmangkon
วันที่ 21 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 22 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 22 ก.ค. 2558

ผู้ที่ทำอนันตริยกรรม ชาตินั้นเป็นเครื่องกั้นสวรรค์ มรรค ผล นิพพาน ตายไปเกิดในนรกทันที เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู ฆ่าบิดา ภายหลังสำนึกผิด และทำกุศลมากมาย ก็ยังไปเกิดในอเวจีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
tongnasa
วันที่ 23 ก.ค. 2558

ขออนุโมทนาคับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
kullawat
วันที่ 24 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
aurasa
วันที่ 24 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Miracle
วันที่ 19 พ.ย. 2561

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Jarunee.A
วันที่ 13 ต.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ