กาลวิบัติ – ทิฏฐิวิบัติ – จิตวิบัติ

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  19 ม.ค. 2558
หมายเลข  26058
อ่าน  7,601

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ขอเรียนถาม เกี่ยวกับ “กาลวิบัติ – ทิฏฐิวิบัติ – จิตวิบัติ”

๑. มีข้อความในพระไตรปิฎกอย่างไรบ้าง

๒. ความหมายและลักษณะของแต่ละคำ

๓. อะไรเกิดก่อนหลัง

๔. อะไรเป็นเหตุให้เป็นไปอย่างนั้น

๕. สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมของแต่ละคำ

๖. เขียนอย่างไรให้ถูกต้อง โดยเฉพาะ ทิฏฐิ หรือ ทิฏฐิ

สาธุ อนุโมทนา และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง สำหรับคำตอบ ค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 ม.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

- กาลวิบัติ คือ ช่วงเวลาที่ไม่ดี ไม่สมควร เช่น ช่วงเวลาที่ข้าวยากหมากแพง เกิดสงคราม เป็นต้น

- ทิฏฐิวิบัติ คือ ผู้ที่มีความเห็นผิด เช่น เห็นว่าตายแล้วไม่เกิด กรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี เป็นต้น

- จิตวิบัติ คือ จิตที่เสีย ด้วยอำนาจโทสะ ขุ่นใจ

- เหตุให้เกิด กาลวิบัติ คือ ความเป็นไปของสภาพธรรมด้วยหลายปัจจัย คือ อุตุ เป็นปัจจัยให้เกิดสภาพอากาศไมดี เป็นต้น

- เหตุให้เกิด ทิฏฐิวิบัติ คือ เหตุให้เกิดความเห็นผิด คือ อวิชชา ความไม่รู้ เพราะไม่รู้จึงเห็นผิด เป็นทิฏฐิวิบัติ ครับ

- เหตุให้เกิด จิตวิบัติ ให้เกิดโทสะ คือ ความไม่รู้ อวิชชา เช่นกัน ครับ ที่ทำให้เกิดวิบัติประการต่างๆ เพราะกิเลสเป็นสำคัญ

- การเขียน ทิฏฐิ ที่ถูกต้อง คือ ทิฏฐิ ครับ

ขออนุโมทนา

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 534

จิตตวิบัติ เป็นอย่างไร คนลางคนในโลกนี้ เป็นคนมีอภิชฌา (เห็นแก่ได้)

มีใจพยาบาท นี่เรียกว่าจิตตวิบัติ

ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร คนลางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฎฐิ มีความเห็นวิปริต (ผิดจากคลองธรรม) ว่า

(๑) ทานไม่มีผล

(๒) การบูชาไม่มีผล

(๓) การบวงสรวงไม่มีผล

(๔) ผลวิบากของกรรมดีและชั่วไม่มี

(๕) โลกนี้ไม่มี

(๖) โลกอื่นไม่มี

(๗) มารดาไม่มี

(๘) บิดาไม่มี

(๙) สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี

(๑๐) สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินถูกทางผู้ปฏิบัติชอบที่กระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้ ไม่มีในโลก

นี่เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 19 ม.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิบัติ หมายถึง ความเสื่อม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมุ่งหมายถึงวิบัติอะไร ถ้าเป็นความวิบัติที่น่ากลัว มีโทษ ก็คือ ความวิบัติหรือความเสื่อมของใจ ซึ่งก็คือใจที่ประกอบด้วยอกุศลธรรม นั้นเอง ซึ่งทำให้เป็นผู้มีจิตวิบัติ คือ อกุศลจิต ประเภทที่มีความติตข้องต้องการเกิดร่วมด้วย หรือประเภทที่มีความโกรธความขุ่นเคืองใจเกิดร่วมด้วย และ เป็นทิฏวิบัติ เมื่อเป็นผู้ที่มีความเห็นผิดคือ มิจฉาทิฏฐิ

มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอกุศลธรรม เพราะมีความเห็นผิดเกิดขึ้นเป็นไป จึงเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นบุคคลผู้มีความเห็นผิด เป็นผู้มีความเห็นที่ไม่ตรง มีความเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงของสภาพธรรม เมื่อเห็นผิดแล้ว ทุกอย่างก็ผิดไปหมด ความประพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจา และทางใจ ก็ย่อมผิดไปด้วย กล่าวได้ว่า คิดผิด พูดผิด ทำผิด ปฏิบัติผิด คล้อยตามความเห็นที่ผิด ถ้าได้กระทำอกุศลกรรมประการต่างๆ ก็จะเป็นเหตุให้ตนเองยิ่งตกต่ำมากยิ่งขึ้น คือ ตกไปสู่อบายภูมิ ยากที่ข้ามพ้นได้ ทั้งหมด ล้วนสืบเนื่องมาจากความเห็นผิด ทั้งนั้น ความเห็นผิด เป็นอกุศลธรรม ที่อันตรายและมีโทษมากเป็นอย่างยิ่ง

ขณะที่ความเห็นผิดเกิดขึ้น เสื่อมแล้ว เสื่อมจากปัญญา เสื่อมจากคุณความดีทั้งปวง เช่น เห็นผิดว่าบุญบาป ไม่มี ก็ลองคิดดูว่าถ้าเห็นผิดอย่างนี้แล้วจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ทำดี มีแต่ทำชั่วต่างๆ นานา นี้คือ ตัวอย่างของความเห็นผิด ซึ่งเป็นความเสื่อมอย่างหนึ่ง

การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยความละเอียดรอบคอบ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกเท่านั้น ที่จะเป็นไปเพื่อละคลายความเห็นที่ผิด ที่ไม่ตรง ได้ในที่สุด เราไม่สามารถที่จะทราบได้เลยว่าโอกาสที่เราจะเข้าใจธรรมในภพนี้ชาตินี้ จะเหลืออีกเท่าใด เพราะฉะนั้นแล้ว เวลาที่เหลืออยู่นี้จึงเป็นเวลาที่มีค่าที่สุดในการที่จะให้ตนเองมีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะเป็นไปเพื่อการดับกิเลส มีความเห็นผิด เป็นต้น ซึงจะทำให้พ้นจากวิบัติประการต่างๆ ได้ในที่สุด ครับ.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

อยสูตร.. วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 19 ม.ค. 2558

แต่ตอนนี้เป็นขณะที่ประเสริฐที่สุดที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้คบสัตบุรุษ ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ก็อย่าประมาทกับการเจริญกุศล และ อบรมปัญญาให้ยิ่งๆ ไปค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 21 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 21 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ