ภวตัณหาคืออะไรครับ

 
ธนฤทธิ์
วันที่  15 ธ.ค. 2557
หมายเลข  25902
อ่าน  31,762

ภวตัณหาคืออะไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ตัณหา (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา)

ตัณหา คือ สภาพธรรมที่ยินดี พอใจ ติดข้อง ดังนั้นความเป็นจริง ตัณหา ก็คือโลภะนั่นเองครับ อันเป็นชื่อหนึ่งของโลภะ และแม้แต่เรื่อง ตัณหา หรือ โลภะที่เป็นความติดข้อง ต้องการ ยินดี ก็มีหลากหลายนัยตามลักษณะความติดข้อง คือ ต้องมีสิ่งที่ให้ติดข้อง สิ่งที่ให้ติดข้องมีหลายอย่าง หลายประการ เพราะฉะนั้นตัณหาจึงหลายอย่าง บางครั้งพระองค์แสดงถึง ตัณหา ๓ อย่าง บางครั้งแสดง ตัณหา ๖ หรือตัณหา ๑๘ หรือตัณหา ๑๐๘ ก็เพื่อเข้าใจถึงความละเอียดของสภาพธรรมที่เป็นตัณหา คือ ความยินดีพอใจติดข้องในสิ่งต่างๆ ที่มีมากมายนั่นเองครับ

สำหรับประเด็นคำถามเรื่อง วิภวตัณหานั้นก็มาจากการแบ่ง ตัณหา เป็น ๓ ประการคือ ๑.กามตัณหา ๒.ภวตัณหา ๓.วิภวตัณหา

กามตัณหา หมายถึง ความยินดี พอใจติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสที่มีในชีวิตประจำวัน เช่น เห็นสิ่งใดแล้วก็ชอบ เพียงแค่นี้ก็เป็นกามตัณหาแล้วครับได้ยินเสียงก็ติดข้อง แม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นกามตัณหาอีกเช่นกัน ดังนั้นจึงมีกามตัณหาเป็นปกติในชีวิตประจำวันโดยส่วนมากครับ

ภวตัณหา คือ ความยินดี พอใจ โลภเจตสิกที่ติดข้องยินดีในการเกิดขึ้นของนาม รูป ยินดีในความมีชีวิตอยู่ หรือ หมายถึง โลภเจตสิกที่เจือด้วยสัสสตทิฏฐิ คือมีความเห็นผิดยึดถือว่าเที่ยง คือ ยินดีพอใจในความเห็นผิดว่าตายแล้วต้องเกิด มีสัตว์ บุคคล ที่เกิดต่อไปในภพหน้า (สัสสตทิฏฐิ) เห็นว่าโลกเที่ยง เคยเกิดเป็นสัตว์หรือบุคคลเช่นไร เมื่อตายไปแล้ว ก็จะเกิดเป็นบุคคลเช่นนั้นอีก ขณะที่มีความเห็นผิดเช่นนี้ ขณะนั้นต้องมีความยินดี พอใจเกิดร่วมด้วย ทีเป็นตัณหา หรือ โลภะ จึงเรียกว่า ภวตัณหา

วิภวตัณหา คือ โลภะ หรือความยินดีพอใจ ในความเห็นที่ผิดว่า ตายแล้วก็ไม่เกิดอีกจบกัน ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) การที่ยินดีพอใจในความเห็นนั้น ขณะนั้นเป็นวิภวตัณหาเป็นความยินดีพอใจในความเห็นผิดนั้นที่สัตว์ตายแล้วไม่เกิดอีกนั่นเองครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 15 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 15 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม มีความละเอียดลึกซึ้งมาก เพราะแสดงถึงสิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริง แม้แต่ตัณหา หรือโลภะ ก็เป็นธรรมที่มีจริง เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว เป็นความติดข้องยินดี พอใจ ไม่ปล่อยในอารมณ์นั้นๆ

ตามความเป็นจริงแล้ว ปุถุชนยังมีตัณหาทั้ง ๓ ทั้งกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ในบางกาลอาจจะไม่มีตัณหาบางประเภทเกิดขึ้นเป็นไป แต่ยังดับไม่ได้ เพราะผู้ที่จะดับตัณหาได้อย่างหมดสิ้น ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์

พระโสดาบัน พระสกทาคามี ยังมีกามตัณหา และภวตัณหา

พระอนาคามี ยังเหลือภวตัณหาอย่างเดียว

พระอรหันต์ ดับตัณหาได้หมดแล้ว ไม่มีตัณหา และไม่มีกิเลสใดเกิดขึ้นอีกเลย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 15 ธ.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
papon
วันที่ 15 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 15 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
sairung
วันที่ 15 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
tanrat
วันที่ 16 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
siraya
วันที่ 16 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 16 ธ.ค. 2557

สาธุ สาะุ สาธุ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
peem
วันที่ 16 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ประสาน
วันที่ 17 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 24 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Sea
วันที่ 24 มี.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 14 ส.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
muda muda
วันที่ 7 พ.ค. 2566

กราบอนุโมทนา สาธุค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ