พูดธรรมที่ผิดกับแม่

 
schwinn
วันที่  20 ส.ค. 2557
หมายเลข  25345
อ่าน  868

พอดีมีอยู่วันหนึ่งผมได้พูดคุยกับมารดาของผม แล้วผมไปหลงคิดว่าผมละสังโยชน์ที่ ๔ คือกามราคะ ได้แล้ว ผมได้บอกมารดาของผมเช่นนั้น อีกอย่างหนึ่งที่ผมพูดซึ่งมั่วมากๆ คือผมยังละ แต่ไม่ได้เป็นอารมณ์ ผมจำไม่ค่อยได้ว่าผมบอกว่า ผมไม่รู้จักความหมายที่แท้จริงของคำนี้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามผมก็พูดในสิ่งที่เป็นมิจฉาทิฎฐิโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ อย่างนี้มันบาปขนาดไหนครับ ถือว่าเป็นการโกหกมารดาใช่ใหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สังโยชน์ มี ๑๐ อย่าง คือ

๑. กามราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิต ๘ ดวง เช่น ขณะที่ยินดีพอใจ ในอาหารที่ทาน ขณะนั้นก็เป็นกามราคะสังโยชน์ สรุปได้ว่า เป็นความยินดีพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รสสิ่งที่กระทบสัมผัส ครับ

๒. รูปราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวง คือ ความยินดีพอใจ ในการกิดในรูปพรหม ครับ

๓. อรูปราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวง คือ ความยินดีพอใจในการเกิดในอรูปพหรม

๔. ปฏิฆสังโยชน์ ได้แก่ โทสเจตสิกที่เกิดกับโทสมูลจิต ๒ ดวง คือ ความโกรธที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ครับ

๕. มานสังโยชน์ ได้แก่ มานเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวง คือ ขณะที่เปรียบเทียบว่า เราเก่งกว่า ด้อยกว่า เป็นมานะในขณะนั้น ครับ เป็นมานะสังโยชน์

๖. ทิฎฐิสังโยชน์ ได้แก่ ทิฏฐฺเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ดวง คือ ขณะที่เห็นผิด เช่นเกิดควาเมห็นผิดว่า ตายแล้วไม่เกิด ตายแล้วไปอยู่ในสถานที่ที่เที่ยง กรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี เป็น ความเห็นผิดในขณะนั้น เป็น ทิฏฐิสังโยชน์ ครับ

๗. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ได้แก่ ทิฎฐิเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ดวง คือ ความเห็นผิดเช่นกัน ครับ แต่ เป็นความเห็นผิดในข้อวัตรปฏิบัติ เช่น เข้าใจว่าการทรมานตนเองจะทำให้หลุดพ้น เป็นต้น

๘. วิจิกิจฉาสังโยชน์ ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิกที่เกิดกับโมหวิจิกิฉา สัมปยุตจิต ๑ ดวง คือ ความลังเลสงสัย เช่น ขณะที่คิดว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ สงสัยในพระรัตนตรัยนั่นเอง สงสัยว่า ข้อปฏิบัติที่จะถึงการดับทุกข์มีจริงหรือ เป็นต้น ครับ

๙. อุทธัจจสังโยชน์ ได้แก่ อุทธัจจเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวง คือ ความฟุ้งซ่าน ขณะที่คิดด้วยอกุศล ขณะนั้น ก็ฟุ้งซ่านไป มีการคิดเรื่องการงาน เป็นต้น ครับ

๑๐. อวิชชาสังโยชน์ ได้แก่ โมหเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวง คือ ความไม่รู้ เช่น ขณะที่คิดไม่ออก หลงลืมสติ ขณะนั้น ก็เป็นโมหะ

ผู้ที่จะละสังโยชน์ได้ ต้องเป็นพระอริยบุคคลขึ้นไป ซึ่งจากกรณีที่ผู้ถามกล่าวมานั้น ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาในขณะนั้นว่า มีเจตนาพูดไม่จริงหรือไม่ ให้คนอื่นเข้าใจ และ ถ้าผู้ฟัง คือ มารดา ไม่เชื่อในเรื่องนั้น ก็ไม่ครบกรรบถ ไม่ได้มีโทษ ที่จะต้องให้ผล ไปอบาย เป็นบาปมาก ครับ เพราะฉะนั้น การกล่าวอะไรต่อไปก็คงต่้องพิจารณาตามความเป็นจริง ก่อนกล่าว ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 20 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรม ต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ ไม่ประมาทในแต่ละคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะทั้งหมด เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกโดยตลอด

สำหรับพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงนั้น มีมากมาย นับไม่ถ้วน แต่ไม่ว่าจะกล่าวถึงเรื่องใด ก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงๆ แม้แต่ในเรื่องของ สังโยชน์ ก็มีจริงๆ เป็นอกุศลธรรมที่ผูกมัดเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ทำให้อยู่ในวัฏฏะ ไม่พ้นไปจากโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น และ ผู้ที่จะดับสังโยชน์ได้ ต้องเป็นพระอริยบุคคลในระดับต่างๆ เท่านั้น

» ความเห็นผิด ความลังเลสังสัยในสภาพธรรม พระโสดาบันดับได้

» กามราคะ (ความติดข้องยินดีพอใจในกาม) ความโกรธ พระอนาคามี ดับได้

» ความติดข้องยินดีในภพ ความสำคัญตน และอวิชชา พระอรหันต์ ดับได้

ดังนั้น ปุถุชนยังมากไปด้วยกิเลส ยังไม่พ้นไปจากสังโยชน์ ละสังโยชน์ยังไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็จะต้องฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาต่อไป เพราะการละกิเลส ละสังโยชน์นั้น เป็นเรื่องที่ไกลมาก และที่สำคัญ ที่จะกล่าวธรรม ก็ต้องกล่าวในสิ่งที่ตนเองเข้าใจ เท่านั้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
schwinn
วันที่ 20 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nopwong
วันที่ 20 ส.ค. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
schwinn
วันที่ 20 ส.ค. 2557
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 1 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สังโยชน์ มี ๑๐ อย่าง คือ

๑. กามราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิต ๘ ดวง เช่น ขณะที่ยินดีพอใจ ในอาหารที่ทาน ขณะนั้นก็เป็นกามราคะสังโยชน์ สรุปได้ว่า เป็นความยินดีพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รสสิ่งที่กระทบสัมผัส ครับ

๒. รูปราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวง คือ ความยินดีพอใจ ในการกิดในรูปพรหม ครับ

๓. อรูปราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวง คือ ความยินดีพอใจในการเกิดในอรูปพหรม

๔. ปฏิฆสังโยชน์ ได้แก่ โทสเจตสิกที่เกิดกับโทสมูลจิต ๒ ดวง คือ ความโกรธที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ครับ

๕. มานสังโยชน์ ได้แก่ มานเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวง คือ ขณะที่เปรียบเทียบว่า เราเก่งกว่า ด้อยกว่า เป็นมานะในขณะนั้น ครับ เป็นมานะสังโยชน์

๖. ทิฎฐิสังโยชน์ ได้แก่ ทิฏฐฺเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ดวง คือ ขณะที่เห็นผิด เช่นเกิดควาเมห็นผิดว่า ตายแล้วไม่เกิด ตายแล้วไปอยู่ในสถานที่ที่เที่ยง กรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี เป็น ความเห็นผิดในขณะนั้น เป็น ทิฏฐิสังโยชน์ ครับ

๗. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ได้แก่ ทิฎฐิเจตสิกที่เกิดกับทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ดวง คือ ความเห็นผิดเช่นกัน ครับ แต่ เป็นความเห็นผิดในข้อวัตรปฏิบัติ เช่น เข้าใจว่าการทรมานตนเองจะทำให้หลุดพ้น เป็นต้น

๘. วิจิกิจฉาสังโยชน์ ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิกที่เกิดกับโมหวิจิกิฉา สัมปยุตจิต ๑ ดวง คือ ความลังเลสงสัย เช่น ขณะที่คิดว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ สงสัยในพระรัตนตรัยนั่นเอง สงสัยว่า ข้อปฏิบัติที่จะถึงการดับทุกข์มีจริงหรือ เป็นต้น ครับ

๙. อุทธัจจสังโยชน์ ได้แก่ อุทธัจจเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวง คือ ความฟุ้งซ่าน ขณะที่คิดด้วยอกุศล ขณะนั้น ก็ฟุ้งซ่านไป มีการคิดเรื่องการงาน เป็นต้น ครับ

๑๐. อวิชชาสังโยชน์ ได้แก่ โมหเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวง คือ ความไม่รู้ เช่น ขณะที่คิดไม่ออก หลงลืมสติ ขณะนั้น ก็เป็นโมหะ

ผู้ที่จะละสังโยชน์ได้ ต้องเป็นพระอริยบุคคลขึ้นไป ซึ่งจากกรณีที่ผู้ถามกล่าวมานั้น ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาในขณะนั้นว่า มีเจตนาพูดไม่จริงหรือไม่ ให้คนอื่นเข้าใจ และ ถ้าผู้ฟัง คือ มารดา ไม่เชื่อในเรื่องนั้น ก็ไม่ครบกรรบถ ไม่ได้มีโทษ ที่จะต้องให้ผล ไปอบาย เป็นบาปมาก ครับ เพราะฉะนั้น การกล่าวอะไรต่อไปก็คงต่้องพิจารณาตามความเป็นจริง ก่อนกล่าว ครับ ขออนุโมทนา

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ ถ้าผมไม่ได้ตั้งใจที่จะกล่าวธรรมที่เป็นเท็จมันจะส่งผลให้ผมไปอบายไหมครับ แล้วถ้าท่านจำไม่ค่อยได้หรือไม่เข้าใจนั้น มันก็จะไม่มีโทษใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 20 ส.ค. 2557

ถ้าไม่มีเจตนาโกหก เพียงแต่เข้าใจผิด พูดตามที่คิด ขณะนั้นเป็นอกุศลจิต ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ