คอรัปชั่น (corruption) ผิดศีล 5 เป็นอทินนาทานไหมครับ

 
chatchai.k
วันที่  30 ก.ค. 2557
หมายเลข  25188
อ่าน  3,159

คอรัปชั่น (corruption) ครบองค์อทินนาทานไหมครับ

เพราะบางครั้งทำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คอรัปชั่น ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็น จิต เจตสิก ซึ่งก็คือ จิตที่ไม่ดี เป็นอกุศลจิต อกุศลธรรม ที่มีเจตสิกที่ไม่ดี มีความโลภ เป็นต้น เกิดขึ้นร่วมด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยสภาพจิตแล้ว การคอรัปชั่น จะด้วยวิธีทำตามกฎหมาย ก็จะต้องเป็นอกุศลธรรมอยู่ดี เพราะมีเจตนาทุจริต เจตนาที่ไม่ดี ในขณะนั้น ครับ เพราะฉะนั้น พระธรรมจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง ลึกซึ้ง เพราะพิจารณาที่สภาพจิต เจตสิก ทีเป็นตัวปรมัตธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริงที่ไม่เปลี่ยนลักษณะ ไม่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ไม่เปลี่ยนไปตามกฎหมาย เรื่องราวทางโลกที่กำหนดไว้ว่า ทำอย่างนี้ถูก แต่หากสภาพธรรมที่เกิดขึ้นจะไม่เปลี่ยนลักษณะเป็นไปตามเรื่องราวทางโลก เพราะฉะนั้น คอรัปชั่น แม้จะทำตามกฎหมาย ที่เรียกว่า เลี่ยงการทำผิด แต่มีเจตนาทุจริตในขณะนั้น แม้ทำตามกฎหมายก็ตาม สภาพจิตไม่ดีเกิดแล้ว จึงเป็นอกุศลธรรม เป็นทุจริตในขณะนั้น แต่หากถามว่าจะเป็นการผิดศีล ๕ ถึงอทินนาทานหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาองค์กรรมบถ ข้อต่างๆ อีกเช่นกัน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๙๐

ข้อความบางตอนจาก...วรรณาจุลศีล

อทินนาทาน มีองค์

อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. ปรปริคฺคหิตํ ของที่เจ้าของหวงแหน

๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน

๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดลัก

๔. อุปกฺกโม พยายามลัก

๕. เตน หรณํ ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น

หากว่ามีเจตนาทุจริต และทำทรัพย์สินของรัฐ หรือ องค์กรเสียหาย แม้จะทำตามกฎหมาย ตามระเบียบ แต่ทรัพย์สินนั้นเสียหายแล้ว ด้วยเจตนาขโมย ทุจริต สิ่งที่เป็นเครื่องตัดสินความถูกผิด จึงไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นสภาพธรรมที่เป็นจิตในขณะนั้น ที่ทุจริต เป็นอกุศลธรรม ด้วยความโลภ และกรรมสำเร็จ เมื่อทรัพย์สินเสียหาย ถูกขโมย ยักยอกไป ก็เป็นอทินนทาน ผิดศีล ข้อ ๒ แต่ ถ้าไม่ถึงกับทำให้เสียทรัพย์สิน คิดจะทำแต่ทำไม่สำเร็จ หรือไม่ได้ทำ แม้คิดจะทำ ก็เป็นเจตนาทุจริต แต่ไม่ถึงกรรมบถที่จะล่วงศีล ข้อ ๒ ครับ

สรุปได้ว่า การตัดสินความถูกต้องที่เป็นสัจจะ ไม่ใช่เรื่องราวทางกฎหมายทางโลก แต่ตัดสินที่สภาพธรรมทีเป็นสภาพธรรมทีเป็นจิต เจตสิก ที่เป็นกุศลธรรม หรือ อกุศลธรรม เป็นสำคัญ ครับ

ขอนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความถูกต้อง ต้องเป็นเรื่องของคุณความดี ถ้ากระทำการใดๆ ด้วยความไม่ตรงต่อความจริง ไม่ตรงต่อกุศลธรรมแล้ว นั่นไม่ใช่ความถูกต้องเลย การคอรัปชั่นเป็นการแสวงหาประโยชน์ด้วยการฉ้อราษฏร์บังหลวงแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบเป็นการโกงประชาชน ยักยอกนำเอาสมบัติส่วนรวมมาเป็นส่วนตน หรือเพื่อพวกพ้อง เป็นคนโกง ไม่ตรง เป็นเหตุให้ผิดศีลข้อที่เห็นได้ชัดคือ ลักทรัพย์ และในส่วนของการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง ไม่ตรงตามที่เป็นจริง

บุคคลผู้โกงกิน เป็นคนพาล เป็นบุคคลผู้เขลา ไม่รู้ มีปกติคิดชั่ว ทำชั่ว พูดชั่ว เมื่อมีความโลภ มีความติดข้อง อยากได้ทรัพย์สินเงินทองมากๆ จึงมีการประพฤติ ทุจริตกรรมประการต่างๆ เบียดเบียนบุคคลอื่นให้เดือดร้อน กล่าวได้ว่าเป็นผู้มองเห็นเฉพาะโลกนี้เท่านั้น ไม่ได้มองเห็นโลกหน้า คือ จะทำให้ตนเองได้รับความสุขสบายในชาตินี้ เท่านั้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา นั่นก็คือ เมื่อกรรมชั่วที่เขาทำ ให้ผล เขาต้องได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อนต่างๆ มากมาย มีการเกิดในนรก เป็นต้น ซึ่งไม่มีใครทำให้เลย นอกจากตัวเอง เท่านั้น ที่ทำให้กับตัวเอง บุคคลประเภทนี้ ควรอย่างยิ่งที่เราจะเห็นใจเขาควรสงสารเขาในการสร้างเหตุที่ไม่ดีให้กับตัวเขาเองไม่ควรเลยที่จิตของตนเองจะเป็นอกุศลเพราะอกุศลของผู้อื่นและไม่ควรเอาเป็นอย่าง แต่ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นบัณฑิต ด้วยการสะสมกุศล (ความดี) พร้อมทั้งศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญาสะสมความเข้าใจถูก เห็นถูก เพื่อเป็นที่พึ่งในภายหน้า จนกว่าจะบรรลุถึงความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสได้ในที่สุด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 30 ก.ค. 2557

คอรัปชั่น ผิดศีล เป็นอาทินนาทาน แม้ถูกทางกฎหมาย แต่ไม่ถูกหลักธรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Chalee
วันที่ 31 ก.ค. 2557

สาธุๆ สาธุๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 31 ก.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Dechachot
วันที่ 31 ก.ค. 2557

"ไม่ควรเลย ที่จิตของตนเอง

จะเป็นอกุศล เพราะอกุศลของผู้อื่น และไม่ควรเอาเป็นอย่าง"

ข้อความนี้ เตือนจิตได้อย่างดียิ่งครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wirat.k
วันที่ 1 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Parinya
วันที่ 2 ส.ค. 2557

ขออนุญาตแสคงความคิดเห็นด้วยคนนะครับ จากส่วนหนึ่งที่อาจารย์คำปั่นเขียน "บุคคลประเภทนี้ ควรอย่างยิ่งที่เราจะเห็นใจเขา ควรจะสงสารเขาในการสร้างเหตุที่ไม่ดีกับตัวเขาเอง" ก็ขออนุโมทนากับเมตตาจิตของอาจารย์คำปั่นด้วยครับ เมตตาเป็นกุศลธรรมต้องเป็นผู้ที่สะสมกุศลไว้มากถึงกระทำได้ เมตตาเกิดกับจิต โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่จะมีความเมตตากับลูกหลานของตน กับคนยากไร้ ความเมตตามีขึ้นได้ง่ายกว่าความเมตตาต่อบุคคลที่ได้กระทำ Corruption กระผมเองก็ยังขาดความเมตตาต่อบุคคลที่ได้กระทำ Corruption ไปแล้ว แต่ถ้าได้พิจารณาคำสอนของอาจารย์ ก็รู้ว่าการมีเมตตากับบุคคลที่ได้กระทำผิดไปแล้ว ก็จะเพิ่มความสามัคคีในชาติมากขึ้น

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ประสาน
วันที่ 2 ส.ค. 2557

คอรัปชั่นไม่มีถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าสิ่งที่ทำถูกต้องตามกฎหมายไม่ใช่คอรัปชั่น (ในทางโลก) อกุศลย่อมเป็นอกุศล จะเป็นกุศลไม่ได้

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ