กรุณายกตัวอย่างโลภะมูลจิตดวงใดดวงหนึ่งใน 8 ดวงพรัอมกับเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทางชวนวิถี

 
Tipjeensalute
วันที่  30 เม.ย. 2557
หมายเลข  24784
อ่าน  3,763

กรุณายกตัวอย่างโลภมูลจิตดวงใดดวงหนึ่งใน 8 ดวงพรัอมกับเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทางชวนวิถี ที่เกิดทั้งทางปัญจทวาร และทางมโนทวาร เริ่มจากภวังจิต จบลงที่ตทาลัมพณจิต ว่าจิตแต่ละดวงมีเจตสิกเกิดด้วยเท่าไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 เม.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เจตสิก หมายถึงสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และสำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต เจตสิกมีมากมายถึง ๕๒ ประเภท มีผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นต้น เป็นจริงแต่ละหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะของตนๆ เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของตนๆ แล้วก็ดับไป เจตสิกย่อมเกิดขึ้นกับจิตตามสมควรแก่จิตประเภทนั้นๆ

สิ่งที่มีจริงคือเจตสิก จึงหมายถึง สภาพธรรมที่ประกอบกับจิต คือเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน เกิดที่เดียวกัน และรู้อารมณ์เดียวกันกับจิต จึงเป็นสัมปยุตตธรรมซึ่งกันและกัน เพราะเป็นนามธรรมที่สามารถกลมกลืนกันได้อย่างสนิท เจตสิกมี ๕๒ ดวง (ประเภท) จำแนกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้ ๓ พวก คือ...

๑. อัญญสมานาเจตสิกมี ๑๓ ดวง เป็นเจตสิกที่เสมอกันกับจิตอื่น คือเกิดกับจิต ชาติใดก็เป็นชาตินั้น อัญญสมานาเจตสิกจึงเกิดได้กับจิตทั้ง ๔ ชาติ

๒. อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตเท่านั้น แต่ก็ยังแยกประเภท เช่น โลภเจตสิกเกิดได้กับโลภมูลจิต โทสเจตสิกเกิดได้กับโทสมูลจิต โมหเจตสิกเกิดได้กับอกุศลจิตทุกดวง เป็นต้น

๓. โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับโสภณจิต ซึ่งโสภณจิตแต่ละดวงมีเจตสิกเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง แล้วแต่การประกอบ

ซึ่งขอยกตัวอย่าง โลภมูลจิต ที่เกิดขึ้น ในชวนวิถี ส่วน จิตอื่นๆ ก็เกิดขึ้นตามสมควร

โลภเจตสิก ที่เกิดร่วมกับ จิต เป็นโลภมูลจิต ซึ่ง มี 8 ดวง ดังนี้

โลภมูลจิตมี ๘ ดวง เพราะความต่างกันของสภาพธรรม ๓ อย่าง คือ ...เวทนา ๑ สัมปยุตต์ ๑ สังขาร ๑ ได้แก่

๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)

๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)

๓. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)

๔. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)

๕. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)

๖. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)

๗. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)

๘. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน

------------------------------

ซึ่งขณะที่โลภเจตสิกเกิด เป็นโลภมูลจิต ซึ่งสามารถมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยดังนี้

อัญญสมานาเจตสิกทั้ง 13 ดวง คือ ผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก ชีวิตินทริยเจตสิก มนสิการเจตสิก ซึ่งเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ แล้วก็มีปกิณณกเจตสิก 6 คือ วิตักกเจตสิก วิจารเจตสิก อธิโมกขเจตสิก วิริยเจตสิก ฉันทเจตสิก ปีติเจตสิก ซึ่ง ปีติ จะเกิดร่วมกับเวทนาที่เป็นโสมนัส

อกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย

1.ทิฏฐิเจตสิก

2.มานะเจตสิก

3.โมหเจตสิก

4.อหิริกเจตสิก

5.อโนตัปปะเจตสิก

6.อุทธัจจะเจตสิก

ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ทั้ง 6 อกุศลเจตสิก จะต้องเกิดพร้อมกัน ร่วมกันกับ โลภมูลจิต และ โลภเจตสิก เกิดไม่พร้อมกัน บางเจตสิก ตามสมควรแต่ประเภทของจิตในขณะนั้นครับ เช่น ขณะที่โลภเจตสิกเกิดร่วมกับ ทิฏฐิเจตสิก ก็จะไม่มีมานะเจตสิก เป็นต้น ครับ หรือ โลภเจตสิก ก็ไม่จำเป็นจะต้องเกิดกับบางเจตสิกได้ เช่น มีโลภเจตสิก แต่ไม่มี ทิฏฐิเจตสิก คือ ติดข้อง แต่ไมได้เห็นผิดในขณะนั้นก็ได้ ครับ และ อกุศลจิตทุกดวง และ โลภเจตสิก จะต้องเกิดร่วมกับ อกุศลเจตสิก 4 ดวงนี้เสมอ คือ โมหเจตสิก อหิริกะเจตสิก อโนตัปปะเจตสิก และ อุทธัจจะเจตสิก

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 เม.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การศึกษาพระธรรม ก็เป็นการค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กละน้อย ไม่สามารถที่จะเข้าใจในทุกๆ เรื่องได้ในวันหรือสองวัน ต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนานในการสะสมอบรม ทั้งจากการฟัง การอ่าน การพิจารณาไตร่ตรอง ทบทวนในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง

เบื้องต้นที่พอจะเข้าใจได้ คือ จิต คือ อะไร เจตสิก คือ อะไรมีจริงๆ ในขณะนี้หรือไม่ ตามความเป็นจริงแล้ว จิตและเจตสิก มีจริงๆ ในขณะนี้ ไม่ได้อยู่ในตำรา แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นธรรม จนกว่าจะได้เริ่มฟังเริ่มศึกษาพระธรรมจริงๆ จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ทุกขณะไม่เคยขาดจิตเลย มีจิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย จิตขณะหนึ่งดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อทันที และ จิตแต่ละขณะก็จะต้องมีเจตสิก คือ สภาพธรรมที่ประกอบกับจิต เกิดร่วมด้วยตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ เช่น จิตเห็นประกอบด้วยเจตสิก ๗ ประเภท เป็นต้น ไม่มีเราแทรกอยู่ในสภาพธรรมเหล่านั้นเลย มีแต่สภาพธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ขอยกตัวอย่างของโลภมูลจิต ดวงที่ ๑ คือ จิตที่มีโลภะเป็นมูล ประกอบด้วย ความเห็นผิด มีเวทนาเป็นโสมนัส มีกำลังกล้าเกิดโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ ดวง คือ มีอัญญสมานาเจตสิกทั้ง ๑๓ ดวง มี ผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก ชีวิตินทริยเจตสิก มนสิการเจตสิก ซึ่งเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ แล้วก็มีปกิณณกเจตสิก ๖ คือ วิตักกเจตสิก วิจารเจตสิก อธิโมกขเจตสิก วิริยเจตสิก ฉันทเจตสิก ปีติเจตสิก เพราะปีติ จะเกิดร่วมกับเวทนาที่เป็นโสมนัส นอกจากนั้นก็มีอกุศลสาธารณเจตสิก ๔ ดวงคือ โมหเจตสิก ๑ อหิริกเจตสิก ๑ อโนตตัปปเจตสิก ๑ อุทธัจจเจตสิก ๑ เกิดร่วมด้วย และมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒ ดวง คือโลภเจตสิก ๑ ทิฏฐิเจตสิก ๑ เพราะเหตุว่ามีความเห็นผิด เกิดร่วมด้วย จึงรวมเป็นเจตสิก ๑๙ ดวง

แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร และเมื่อเป็นธรรมแต่ละหนึ่งๆ ก็ไม่ใช่เรา ครับ

....ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 30 เม.ย. 2557

กำลังของกิเลส เช่น โลภะ ความติดข้อง ความต้องการ แม้ภวัคคพรหมก็ไม่มีที่เก็บค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
j.jim
วันที่ 29 พ.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ