"บัญญัติปิดบังปรมัตถ์"หมายความว่าอย่างไรครับ

 
papon
วันที่  28 ก.ย. 2556
หมายเลข  23717
อ่าน  1,245

"บัญญัติปิดบังปรมัตถ์"หมายความว่าอย่างไรครับขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บัญญัติ คือ ขณะที่เป็นเรื่องราว ขณะนั้น ไม่ได้มีปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป

เป็นอารมณ์ ก็ทำให้ ปิดบังความจริงในขณะนั้น เช่น ขณะนี้เห็นเป็นสัตว์ บุคคล

ขณะนั้นเป็นบัญญัติเรื่องราว ซึ่ง ขณะนั้น ก็มี บัญญัติเป็นอารมณ์ ขณะนั้น จึง

ปิดบังความจริงไม่ให้รู้ ตัวปรมัตในขณะนั้น ซึ่ง ในความเป็นจริงแล้ว ก่อนที่จะ

เห็นเป็นสัตว์บุคคล ก็มี สภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นอารมณ์ก่อน คือ สี แต่เพราะ

ปัญญาไม่เกิด และ เกิดดับย่างรวดเร็วของวิถีจิต ทางใจก็คิดนึกต่อเป็นบัญญัติ

เรื่องราว ก็ปิดบังไม่ให้รู้ปรมัตในขณะนั้น ครับ แต่ เมื่อใด สติปัฏฐานเกิด รู้ความ

จริงในขณะที่ปรมัตเป็นอารมณ์ คือ ขณะที่สีกำลังปรากฎ ขณะนั้น สติปัฏฐาน

ก็เปิดความจริง ให้ บัญญัติไม่ปิดบังปรมัตในขณะนั้น ครับ ซึ่งสำหรับ คำถาม

ในประเด็นนี้ ท่านอาจารย์อธิบายไว้อย่างละเอียดและชัดเจนอยู่แล้ว เชิญอ่าน ครับ

ท่านอาจารย์.....เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่แม้ว่าจะได้ฟังเรื่องของการเจริญสติปัฎฐานที่

จะใช้คำ ก็ควรจะใช้ให้ถูกต้องเพื่อที่จะแสดงให้เห้นว่า ความเข้าใจเรื่องการเจริญสติ-

ปัฏฐานนี้ไม่คลาดเคลื่อน เช่นไม่สมควรใช้คำว่า ใช้สติ ซึ่งบางคนอาจจะได้ยิน

บ่อยๆ และบางท่านก็บอกว่า เป็นคำพูดที่ติดปากเท่านั้นเอง แต่ความจริงแล้วการที่จะ

ใช้คำพูดใดๆ ก็ตาม ย่อมแสดงถึงความเข้าใจว่า ยังมีข้อที่คลาดเคลื่อนหรือเปล่า

เพราะว่าไม่มีใครที่จะใช้สติได้ เพียงแต่ว่าสามารถที่จะเกิดสติระลึกรู้ลักษณะของ

สภาพธรรมขณะใดขณะนั้นก็เป็นขณะที่มีสติ ส่วนขณะใดที่สติไม่เกิด ไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นก็หลงลืมสติ แม้ว่าเป็นผู้ที่ได้ยินได้ฟังเรื่องของการเจริญสติปัฏฐานมามาก และกำลังเป็นผู้ที่เรี่มอบรมเจริญสติปัฏฐานก็ตาม แต่การที่จะได้ฟังเรื่่องของการเจริญสติปัฏฐานบ่อยขึ้น ก็เป็นทางที่จะทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมพร้อมกับขณะที่สติระลึกได้ละเอียดขึ้น เช่นถ้าสังเกตจะรู้ได้ว่าในขณะที่สติเกิด ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นเป็นขณะทีเรี่มรู้ว่า ขณะที่คิดนึกเป็นเรื่องราวต่างๆ ทั้งวันนั้น ไม่ใช่ขณะที่มีสภาพปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์

นี่ค่ะเป็นสี่งที่จะต้องพูดถึงบ่อยๆ เพราะว่าทุกคนคิดมากทีเดียวทุกวัน แต่ว่าใน

ขณะใดก็ตามที่กำลังคิดเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ ขณะนั้นไม่ใช่มีลักษณะของปรมัตถธรรม

เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ ก็จะตรวจสอบรู้จักตนเองตามความเป็นจริงได้ว่ามีการ

รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม มากน้อยแค่ไหน เพราะว่าขณะที่กำลังคิดขณะนั้นไม่มี

ปรมัตถอารมณ์ แล้ววันหนึ่งๆ ก็คิดมาก แม้ในขณะนี้เอง ก็เป็นการที่จะพิสูจน์ได้ว่าใน

ขณะนี้ กำลังมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ หรือว่ากำลังคิดเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง

วันหนึ่งๆ บางเรื่องก็คิดสั้น บางเรื่องที่คิดก็ยาว และคิดวันก่อนก็ยังไม่จบ ก็ยังต่อ

อีกนะคะ วันรุ่งขึ้นก็ยังคิดอีก แล้วก็วันต่อๆ ไปเรื่องเดียวกันนั้น ก็ยังไม่จบอีก ก็อาจจะ

เป็นเรื่องที่ไม่ยาวแต่เฉพาะในวันหนึ่งๆ แต่ว่ายาวต่อไปทั้งอาทิตย์หรือว่า ยาวต่อไป

ทั้งปี ทั้งชาติ ก็เป็นได้

เพราะฉะนั้นจะเห็นได้จริงๆ ว่า ขณะใดที่สติปัฏฐานไม่เกิด ขณะนั้นความ

คิดนึกจะปิดบังไม่ให้รู้ลักษณะของปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นใน

ขณะนี้ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานด้วย และกำลังฟังเรื่องของการเจริญสติปัฏฐานย่อม

จะมีโอกาส มีปัจจัยที่สติจะเกิด ระลึกได้ในขณะที่กำลังฟังนี้เอง ระลึก

ลักษณะของปรมัตถธรรมสลับกับความคิดนึกก็ได้ เพราะฉะนั้นสติปัฏฐาน

เมื่อมีปัจจัยก็เกิดขึ้น ระลึกรู้สี่งที่กำลังปรากฏ แม้เพียงเล็กน้อย ก็รู้ว่า

ปรมัตถธรรมกำลังสลับกับความคิดนึก

เช่นทางตาที่กำลังเห็น เป็นปรมัตถธรรมเป็นสภาพธรรมที่มีจริง สี่งที่ปรากฏทางตาก็

เป็นปรมัตถธรรม เป็นสี่งที่มีจริง เพราะฉะนั้นถ้าขณะใดที่เกิดระลึกศึกษา ว่าขณะนี้

เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาเท่านั้น บางคนอาจจะรู้สึกว่า หลับตาแล้วก็

สบายดีเหมือนกันวลาที่ฟังพระธรรม เพราะว่าไม่จำเป็นจะต้องลืมตาและมองดูสี่นั้นสี่งนี้

ไม่ใช่ให้มีเจตนาที่ให้หลับ เพื่อที่จะได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมชัดเจน ไม่ใช่อย่างนั้น

นะคะ แต่ว่าใครจะพักสายตาแล้วก็ฟังพระธรรม ก็เป็นสี่งที่เป็นไปได้ อาจจะลืมแล้ว

อาจจะหลับสลับกัน เพราะว่าขณะใดที่เห็น ขณะนั้นระลึกว่าเป็นเพียง สี่งที่ปรากฏ

ทางตาแล้วขณะทีได้ยินก็เปลี่ยนจากลักษณะที่ปรากฏทางตา เป็นสภาพธรรมอีกชนิด

หนึ่ง อีกทางหนึ่ง เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังฟังนี้เอง สติปัฏฐานก้เกิดระลึกรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนกว่าจะรู้ชัดจริงๆ ว่า สี่งที่ปรากฏทางตา

ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน เกิดแล้วก็หมดไป ในขณะที่ได้ยินเสียงเป็นอีกขณะหนึ่ง อีก

สภาพธรรมหนึ่ง เพราะฉะนั้นในขณะนี้ ก็มีทั้งเห็นและก็มีทั้งได้ยิน ก็พิจารณาได้

สติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ สลับกันในขณะนี้ได้ตามความเป็นจริง

แต่ทุกคนก็ต้องรู้ขณะที่สติเกิดกับขณะที่หลงลืมสติ

ว่าเป็นขณะที่ต่างกัน

ขณะที่หลงลืมสติ จะไม่มีการที่จะสังเกตรู้ลักษณะของสี่งที่กำลังปรากฏ

เพราะฉะนั้นที่กำลังเป็นโลภะ ความไวจะทำให้ระลึกได้ว่า ขณะนั้นไม่ใช่ขณะที่กำลัง

สังเกตศึกษารู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะที่เป็นโลภะ ขณะนั้นมีอะไรเป็นอารมณ์

เป็นปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์หรือว่าเป็นบัญญํติอารมณ์ ขณะที่กำลังชอบสี่งหนึ่งสี่งใด

ก็พออที่จะสังเกตได้ เพื่อที่จะคลายการยึดถือสี่งที่ปรากฏ ด้วยการรู้แจ้งว่าอารมณ์ใน

ขณะนั้นเป็นอะไร ทีกำลังชอบกำลังพอใจ หรือว่าขณะที่กำลังโกรธ ขุ่นเคืองใจไม่ชอบ

ขณะนั้นกำลังโกรธบัญญัติ เพียงแต่นึกถึงชื่อ ของบางคนก็อาจจะหงุดหงิด

ขณะนั้นไม่มีปรมัตถธรรม ไม่มีคนจริงๆ ไม่มีอะไรเลย เป็นแต่พียงเรื่องราว ที่คิดขึ้น

เกียวกับความทรงจำเป็น บุคคลนั้น บุคคลนี้

เพราะฉะนั้นในขณะนี้ไม่ได้รู้ตัวเลยว่าโกรธบัญญัติ ไม่ได้มีปรมัตถธรรมเป็น

อารมณ์ หรือแม้แต่ขณะที่ทำทานกุศล ขณะใดที่สติไม่เกิด ไม่่ระลึกรู้ลักษณะของ

ปรมัตถธรรม ขณะนั้นก็มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ขณะที่วิรัติทุจริต หรือขณะที่สงบก็ตาม

ขณะใดก็ตามที่สติไม่เกิด ไม่ระลึกลักษณะของปรมัตถธรรม ขณะนั้นก้มีบัญัตัติเป็น

อามณ์ทั้งนั้น

เพราะฉะนั้นก็จะรู้ได้นะคะว่า

บัญญัติในวันหนึ่งๆ ปิดบังไม่ให้รู้ลักษณะของปรมัตถธรรมตามความเป็นจริง

เพราะฉะนั้น ขณะใดที่สติเกิดเท่านั้นที่จะค่อยๆ เรีมศึกษา รู้ลักษณะของ

ปรมัตถถธรรมว่าไม่ใช่บัญัติ ที่เคยคิดเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ แต่เป็นสภาพธรรม

ที่มีลักษณะ ที่จะต้องศึกษาสังเกตพิจารณา จนกว่าจะรู้ชัดใน ลักษณะของ

สภาพธรรมที่เป็น นามธรรม หรือเป็น รูปธรรม ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง.....กาย

บ้า้ง ใจบ้าง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
peem
วันที่ 29 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 29 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ชีวิตประจำวัน ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรม มีแต่ธรรมเท่านั้น

จริงๆ แต่ที่เห็นเป็นคนนั้นคนนี้ เป็นเรื่องราวต่างๆ นั้น ไม่ใช่ปรมัตถ์ แต่เป็น

บัญญัติ เพราะมีปรมัตถธรรมเกิดขึ้นเป็นไป จึงมีบัญญัติ ถ้าไม่มีธรรมอะไรๆ ก็ไม่มี

สำหรับผู้ที่มีความเข้าใจในธรรม ก็จะไม่สับสนว่าอะไร คือ ปรมัตถ์ และ อะไร คือ

บัญญัติ ซึ่งจะขาดการฟังการศึกษาพระธรรมไม่ได้เลย ครับ

คำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มีดังนี้ ในวันหนึ่งๆ "บัญญัติ" ปิดบัง "ลักษณะของปรมัตถธรรม" ทั้งทางตา ทางหู

ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจจึงทำให้ไม่รู้ ลักษณะของ ปรมัตถธรรม ซึ่งหมาย

ถึง ลักษณะของสถาพธรรมตามความเป็นจริงเช่น สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา

ความจริงแล้ว ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนแต่เป็น สีสัน-วัณณะ....ซึ่งเป็น "รูปธรรม"

ประเภทหนึ่ง ซึ่งปรากฏได้ เมื่อมีการกระทบกับจักขุปสาทรูป เท่านั้น เมื่อใดที่

"ปัญญา" เจริญขึ้นจนสามารถ รู้ ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะ

ที่กำลังเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และ คิดนึกก็จะสามารถละคลาย

"ความยึดถือ" ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ฯ ว่าเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน

และสามามารถ รู้ "ความต่างกัน" ของขณะที่เป็น ปรมัตถอารมณ์ และ บัญญัติ

อารมณ์ ได้ทั้ง ๖ ทวาร

ขณะที่กำลังฝัน.....มีอะไร เป็นอารมณ์.?ทุกคนมีขณะที่ฝันแน่นอน เพราะว่า ผู้ที่

ไม่ฝันเลย คือ พระอรหันต์ในเมื่อทุกคนฝัน และ เมื่อตื่นขึ้นมา ก็บอกว่า เห็นญาติผู้

ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือสิ่งต่างๆ เป็นต้นฝันเห็นบัญญัติ หรือ ฝันเห็นปรมัตถธรรม?

ถ้าไม่พิจารณา ก็จะไม่รู้เลย....เพราะเสมือนว่า เห็น.!แต่ ความจริงนั้น....เมื่อถามว่า

เห็นอะไร.? ก็ตอบว่า เห็นคน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ นั่นคือ การฝันเห็น เรื่องราว คือ "บัญญัติ" เพราะว่าขณะนั้น จักขุทวารวิถีจิต ไม่ได้เกิดขึ้นเลย เพราะว่ากำลัง

หลับ แต่ ขณะใดที่ มโนทวารวิถีจิต เกิดขึ้น และ คิดนึกถึงเรื่องราวของบัญญัติจาก

สิ่งที่เคยเห็น หรือเคยได้ยิน ฯเช่น ท่านที่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีเรื่องราวต่างๆ

และ มีรูปภาพประกอบด้วย ขณะที่กำลังรู้เรื่องราว และ เห็นภาพต่างๆ นั้นล้วนเป็นขณะที่คิดนึกถึง "บัญญัติ"

ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิดชีวิตปกติในวันหนึ่งๆ จึงไม่รู้ลักษณะของ

ปรมัตถ์ ว่าต่างกับ บัญญัติ อย่างไร เพราะไม่ว่าจะเห็นทางตา อ่านหนังสือ หรือทำ

กิจการงานอยู่ที่ไหนขณะนั้น มีการคิดนึกถึง "บัญญัติ"

สภาพปรมัตถธรรมในชีวิตประจำวัน ถูกปกปิดไว้ด้วย "อวิชชา" คือ ความไม่รู้คือ

ไม่รู้ ความต่างกัน ของ ปรมัตถธรรม และ บัญญัติฉะนั้น จึงไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า

สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจซึ่ง

ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน นั้น.....เป็นอย่างไร.! ด้วยเหตุนี้ การศึกษาเรื่องของจิต

เจตสิก รูป โดยละเอียดจึงเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ "ปัญญาในขั้นการฟัง" เจริญขึ้น

เป็นสังขารขันธ์ ปรุงแต่งให้เกิดสติ ระลึก รู้ ลักษณะของปรมัตถธรรมซึ่งทำให้

ละคลายความยึดมั่น ใน "นิมิต-อนุพยัญชนะ"ซึ่งเป็น "อาการปรากฏของบัญญัติ"

...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 29 ก.ย. 2556

ชื่อครอบงำสิ่งทั้งปวง ติดในชื่อเพราะๆ ติดในเรื่องราว ในบัญญัติต่างๆ ที่ไม่ใช่

ของจริง ไม่เป็นไปเพื่อการละคลายกิเลสค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 29 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 9 ต.ค. 2559

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ