ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๐๙๖

 
khampan.a
วันที่  23 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23082
อ่าน  1,675

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจสั้นๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะเป็นข้อความที่สั้น แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์อยู่ในตัว ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้

[ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๙๖]

ทุกทางที่จะทำให้จิตของท่านผู้ฟังบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดง

ไว้ ไม่ทรงส่งเสริมให้ผู้ใดมีอกุศลจิต จิตของผู้ใดเป็นอกุศล แล้วทำอกุศลกรรมไว้

มากมายเท่าไร ก็เป็นเรื่องจิตของบุคคลนั้น เป็นเรื่องของอกุศลกรรมของบุคคลนั้น

ที่จะทำให้เกิดผลที่เป็นทุกข์ของบุคคลนั้น แต่ว่าผู้ใดที่ระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่

ตนเองได้สะสมมาตามความเป็นจริงถูกต้อง ก็จะทำให้ผู้นั้นขัดเกลากิเลสละเอียด

ยิ่งขึ้น แล้วก็สามารถที่จะดับการยึดถือนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นตัวตนได้

ขณะที่ศรัทธาเกิด ขณะนั้นปราศจากอกุศล ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

ขณะนี้ มีธรรม มีสิ่งที่มีจริงๆ ควรรู้ ควรฟังให้เข้าใจหรือเปล่า? ขึ้นอยู่กับ

แต่ละคนว่า จะมีศรัทธาที่จะฟังที่จะศึกษาให้เข้าใจหรือไม่ เมื่อไม่เห็นประโยชน์

ก็ไม่มีศรัทธาที่จะฟัง (คนไม่ฟังพระธรรม คือ คนไม่มีศรัทธา) แต่ถ้าเห็นประโยชน์

แล้ว ย่อมมีศรัทธาที่จะฟังที่จะศึกษาอย่างแน่นอน

ความคิดของผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรม กับ ผู้ไม่เห็นประโยชน์ของพระธรรม

ต่างกัน

สิ่งใดที่สามารถแสวงหามาด้วยทรัพย์สมบัติ สิ่งนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ประเสริฐ ความ

เข้าใจถูกเห็นถูก ไม่สามารถหาซื้อมาได้ด้วยทรัพย์ แล้วจะประเสริฐมากสักแค่ไหน

ทรัพย์ที่ประเสริฐ มี ศรัทธา เป็นต้น ไม่นำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนใดๆ

เลย แต่เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง

จะเข้าใจธรรมได้อย่างไร ถ้าไม่มีการฟัง การศึกษาพระธรรมที่พระสัมมา

สัมพุทธเจ้าทรงแสดง

สำนึกผิดได้ เพราะมีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อทุกข์โทษภัยของอกุศล

สำนึกผิดจริงๆ ต้องมาจากใจ และที่จะมีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อทุกข์

โทษภัยของอกุศล ได้ ก็เพราะมีการฟังพระธรรม นั่นเอง

ทำผิดแล้ว ไม่สำนึกผิด ไม่ขอโทษ แล้วจะไปถึงอริยทรัพย์ได้อย่างไร

ลืมอะไรหรือเปล่า? ลืมว่าขณะนี้เป็นธรรม

เป็นคนดี ตรง จริงใจ ใครจะรักหรือไม่รัก ความผิดของเราหรือเปล่า?

ในเมื่อเราจริงใจ ดี และเป็นมิตร ถ้าใครจะไม่ชอบ ก็ไม่ใช่ความผิดของ

เราเลย

ผู้ไม่มีปัญญา ย่อมไม่สามารถที่จะขัดเกลากิเลสของตนได้เลย เพราะปัญญา

เท่านั้นที่จะสามารถสละกิเลสได้

เห็นโทษเห็นภัยของความไม่รู้ จึงมีการฟังพระธรรม ทำให้เป็นผู้กล้าหาญที่

จะรู้ความจริง

ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ไม่มีเรา ไม่มีเขา มีแต่ธรรม

สิ่งที่มีจริง เป็นธรรม แต่เพราะไม่รู้ จึงศึกษาพระธรรม

ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏแล้วปัญญาจะรู้อะไร ปัญญาจะต้องรู้ในสิ่งที่มีจริง

แล้วปัญญาจะเจริญได้อย่างไร ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ เริ่มศึกษา สะสมความ

เข้าใจถูกเห็นถูก ต่อไป

เพราะสะสมความไม่รู้มานานแสนนาน จึงทำให้ยากต่อการที่จะเข้าใจสภาพธรรม

ที่มีจริงในขณะนี้ตามความเป็นจริง

ประโยชน์สูงสุดของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม คือ ดับกิเลสจนหมดสิ้น

เงินทองมากมายมหาศาลเพียงใด ก็เพียงแค่สามารถหาซื้อในสิ่งที่นำมาซึ่ง

ความสุขเพียงชั่วคราว แต่ไม่สามารถหาซื้อปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกได้เลย

ด้วยเหตุนี้จึงต้องฟังพระธรรม ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ

ละเว้นจากทุจริตกรรม เพราะเห็นโทษของทุจริตกรรม

มีศรัทธาแล้ว จะไปทำทุจริตกรรมหรือ?

มีการคบหาสมาคมกับคนดี ไม่คบหาคนชั่ว ก็แสดงว่ามีศรัทธาแล้ว

ทุกขณะเป็นอายตนะ (สภาพธรรมที่ประชุมกันในขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์) ฟัง

พระธรรมเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง

เราอยู่ที่ไหน? แม้ในขณะที่เห็น มีสภาพธรรมที่ประชุมกัน คือ มีตา มีสี

มีจิตและเจตสิก เกิดขึ้นเป็นไป แล้วจะมีเราได้อย่างไร มีแต่ธรรมเท่านั้นจริงๆ

เมื่อเห็นความละเอียดลึกซึ้งของพระธรรม มีศรัทธาที่จะฟังที่จะศึกษาต่อไป

หรือไม่?

สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดขึ้นเป็นไปนั้น เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่าง

เช่น จิตเห็นขณะนี้ ต้องอาศัยตา ถ้าไม่มีตา จิตเห็นก็เกิดไม่ได้แล้ว

คิดไปไกลถึงการละกิเลส แม้ความไม่รู้ในขณะนี้ก็เป็นกิเลส จึงต้องฟังพระธรรม

ศึกษาพระธรรมสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก จึงจะเป็นไปเพื่อขัดเกลาความไม่รู้ได้

พระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมด เป็นไปเพื่อปัญญาโดยตลอด

โลภะ (ความติดข้อง) ไม่ได้เกิดเฉพาะตอนดูละคร สิ่งที่มีจริงทั้งหมด ปัญญา

สามารถรู้ตามความเป็นจริงได้ รวมถึงโลภะ ด้วย

ชีวิตดำเนินไปตามปกติ แต่มีความเข้าใจขึ้น เมื่อเข้าใจขึ้น สภาพธรรมฝ่ายดี

มี ศรัทธา เป็นต้น ก็เจริญขึ้นด้วย

แต่ละคนสะสมความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในธรรมมากน้อยแค่ไหน

วัดได้จากการกระทำและคำพูดทุกวันนี้.

ขอเชิญคลิกอ่านย้อนหลังครั้งที่ ๙๕ได้ที่นี่ครับ

ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๙๕...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่งและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตร่วมปันธรรม ด้วยครับ

- เมื่อได้กระทบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจประการต่างๆ แล้วหงุดหงิด ไม่พอใจ เกิด

ความขุ่นเคืองใจขึ้นในขณะนั้น ก็เพราะว่า เป็นบุคคลที่ได้สั่งสมมาที่จะมีอุปนิสัย

อย่างนั้น ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจ จึงเกิดขึ้น และเกิดบ่อย มากกว่าบุคคลผู้

ที่ได้สั่งสมมาในเรื่องของความอดทน ขณะที่ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ เกิดขึ้น

ตนเองเท่านั้นที่เป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะกิเลสคือโทสะ คนอื่นจะทำให้ไม่ได้เลย

คนอื่นไม่เป็นประมาณเลย

- สัตว์โลกย่อมรักตนเอง ขณะใดที่ไม่ช่วยเหลือ ขณะนั้นไม่ได้นึกถึงคนอื่น ช่วย

ไม่แบ่งแยกเลยว่าจะเป็นคนไหน ไม่ว่าจะเป็นคนที่รักหรือไม่รัก เพราะการช่วยเหลือ

เป็นสิ่งที่ดี

- ความหวังที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในจิตนั้น แท้จริงแล้ว เป็นความรักตนเห็นแก่ตน

ที่เหนียวแน่น และฝังลึกยากจะถ่ายถอน เป็นอกุศลจิตที่ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรม

ขั้นละเอียดแล้ว จะไม่เห็นเลยว่าเป็นโทษเป็นภัย และขัดขวางการอบรมเจริญบารมี

เพื่อถึงฝั่ง (พระนิพพาน)

- สังคมคงจะสงบร่มเย็นขึ้นถ้าทุกคนรู้จักคำว่า “พอ” แต่มนุษย์ปุถุชนใครเลยจะละ

กิเลสได้ เพราะคำว่ า ปุถุชน แปลว่า ผู้หนาแน่นด้วยกิเลส ในเมื่อยังละกิเลสไม่ได้

เราควรที่จะศึกษาพระธรรม เพื่อรู้จักลักษณะของกิเลสต่างๆ จะได้หมั่นคอยสำรวจ

จิตตนเองเมื่อกิเลสเกิดขึ้น จะทำให้รู้จักตนเองตามที่เป็นจริงว่ามีกิเลสมากแค่ไหน

เมื่อใดมีปัญญามากขึ้น เห็นโทษภัยของกิเลสอย่างแท้จริง ปัญญานั่นเองจะทำหน้าที่

ละกิเลส การรู้จักกิเลสของตนเอง มีประโยชน์กว่าคอยจ้องจับผิดกิเลสของผู้อื่น

เพราะจะเป็นเหตุให้สำรวมกายวาจา ใจ ของตนให้เรียบร้อยดีงาม มีความประพฤติ

หรือแสดงออกที่ดีเป็นกุศลกรรมต่อไป

- การทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน (ลาภ ยศ สรรเสริญ) เป็นสิ่งที่ควรกระทำ

เพราะขณะที่ทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทนนั้นเป็นขณะที่กุศลจิตมีกำลัง กุศลกรรม

ในขณะนั้นทำให้อกุศลกรรมระงับไป ดังนั้น ทุกคนควรหมั่นพิจารณาจิตของตน ว่าใน

แต่ละวันจิตเป็นอกุศลหรือกุศลมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นการเจริญกุศลอย่างยิ่งประการ

หนึ่ง อีกทั้งเป็นการสะสมเหตุแห่งความสุขความเจริญทั้งในชาติปัจจุบันและชาติต่อๆ ไป

- หลายคนคิดว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม

นั้น เป็นเทคนิค หรือ วิธีการขู่ให้คนเกรงกลัวการกระทำชั่ว และคิดว่าเป็นอุบายให้คน

กระทำความดี แต่เมื่อได้ศึกษาธรรมขั้นละเอียด (พระอภิธรรม) ในเรื่องของจิต การ

ทำงานของจิต และวิถีจิตแล้ว จะทราบได้ด้วยตนเองว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ขู่ ไม่ได้คิด

กลยุทธ์ใดๆ ทั้งสิ้น แต่พระพุทธองค์ทรงแสดงความจริงให้รู้ ซึ่งความจริงอันประเสริฐนี้

พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีมายาวนานกว่าจะบรรลุสัจธรรม

- ถ้าฟังพระธรรมแล้ว ยังมากไปด้วยความลำเอียงในชีวิตประจำวัน ก็จะไม่สามารถ

สะสมความเป็นผู้ตรงได้เลย เพราะ หนทางการละกิเลส จะต้องเป็นผู้ตรง ตรงต่อความ

จริง ปัญญาความเข้าใจพระธรรม ย่อมไม่ทำให้เกิดความลำเอียง และ อบรมปัญญา

อันเป็นหนทางที่ตรง ละโทษ คือ ความไม่ตรง คือ กิเลสได้

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Lamphun
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
daris
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
bsomsuda
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

"เพราะสะสมความไม่รู้มานานแสนนาน

จึงทำให้ยากต่อการที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ตามความเป็นจริง"

" ความหวังที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในจิตนั้น

แท้จริงแล้ว เป็นความรักตน เห็นแก่ตน ที่เหนียวแน่น และฝังลึกยากจะถ่ายถอน

เป็นอกุศลจิต ที่ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรมขั้นละเอียดแล้ว

จะไม่เห็นเลยว่าเป็นโทษเป็นภัย

และขัดขวางการอบรมเจริญบารมีเพื่อถึงฝั่ง (พระนิพพาน) "

"ในมื่อ ยังละกิเลสไม่ได้

เราควรที่จะศึกษาพระธรรม เพื่อรู้จักลักษณะของกิเลสต่างๆ

จะได้หมั่นคอยสำรวจจิตตนเองเมื่อกิเลสเกิดขึ้น

จะทำให้รู้จักตนเองตามที่เป็นจริง ว่ามีกิเลสมากแค่ไหน

เมื่อใด มีปัญญามากขึ้น

เห็นโทษภัยของกิเลสอย่างแท้จริง ปัญญานั่นเองจะทำหน้าที่ละกิเลส"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนา อ.ผเดิม อ.คำปั่น และทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เข้าใจ
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nongnooch
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ธรรม เป็นสภาพธรรม ที่ละเอียดลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจได้ ดิฉันจะใช้ขันติเป็นที่ตั้งเพื่อให้เป็นหลักในการศึกษา การฟัง และประพฤติปฏิบัติ ค่ะ

ขออนุโมทนากับ ท่าน อ.ผเดิม ท่าน อ.คำปั่น และทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
j.jim
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pat_jesty
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
panasda
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
jaturong
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
kinder
วันที่ 24 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 24 มิ.ย. 2556
ขอบคุณและขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เมตตา
วันที่ 25 มิ.ย. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนา อ.คำปั่น อ.ผเดิม และทุกท่านค่ะ

ขอร่วมแบ่งปันธรรม ด้วยค่ะ

- ขณะนี้สติปัฏฐานยังไม่เกิด เดือดร้อนไหม? ขณะนี้มีปัจจัยพร้อม สติปัฏฐาน

เกิด ก็แล้วแต่เหตุ ไม่เดือดร้อน... สติปัฏฐานยังไม่เกิด หากเดือดร้อน ก็ตกเป็น

ทาสของโลภะ

- ชำระจิตให้พ้นจากความไม่รู้ โลภะ ความติดข้อง ทั้งหมดเป็นเรื่องของปัญญา

ไม่ใช่ตัวตนที่จะไปทำ ไปปฏิบัติ จงใจไปรู้ ไปบังคับให้สภาพธรรมเกิดย่อมเป็น

ไปไม่ได้ ต้อง ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปด้วยความหวัง แต่เป็นไปด้วยเหตุปัจจัย

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 25 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
wirat.k
วันที่ 27 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
nong
วันที่ 27 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
papon
วันที่ 29 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
Jans
วันที่ 30 มิ.ย. 2556

แต่ละคนสะสมความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในธรรมมากน้อยแค่ไหน

วัดได้จากการกระทำและคำพูดทุกวันนี้

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
มังกรทอง
วันที่ 27 ก.พ. 2565

เห็นโทษเห็นภัยของความไม่รู้ จึงมีการฟังพระธรรม ทำให้เป็นผู้กล้าหาญที่จะรู้ความจริงฟังพระธรรมให้เข้าใจ ไม่มีเรา ไม่มีเขา มีแต่ธรรมสิ่งที่มีจริง เป็นธรรม แต่เพราะไม่รู้ จึงศึกษาพระธรรมถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏแล้วปัญญาจะรู้อะไร ปัญญาจะต้องรู้ในสิ่งที่มีจริงแล้วปัญญาจะเจริญได้อย่างไร ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ เริ่มศึกษา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก ต่อไปน้อมกราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ