ใครไม่มีเงิน แล้วไม่ทุกข์บ้าง

 
พอแล้ว
วันที่  18 มี.ค. 2556
หมายเลข  22644
อ่าน  2,324

ผมเคยมีเงิน 2000 บาท แล้วไม่กี่วันก็เหลืออยู่ 200 กว่าบาท รู้สึกความสุขมันน้อยลง และเต็มไปด้วยความทุกข์ เป็นคนธรรมดานี่ลำบากกว่าพระเยอะเลย ต้องหาเงินหาทองมาเลี้ยงชีพ และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในบ้านหลายอย่าง มีใครยังเป็นคนธรรมดา แล้วเงินหาย แล้วไม่ทุกข์บ้างอยากรู้จริงๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความทุกข์มีจริง ซึ่งโดยความละเอียดแล้ว ความทุกข์ มีทั้งทุกข์กายที่เป็นผลของกรรมที่เคยทำอกุศลกรรมและให้ผล มีควาทุกข์กาย เจ็บปวด เป็นต้น และทุกข์ใจที่เป็นอกุศลจิต เป็นโทสะ เพราะฉะนั้น ความทุกข์ใจเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยกิเลสจึงมีได้ และทุกข์ใจที่เป็นโทสะ สาเหตุก็มาจากความยินดีติดข้อง หากไม่มีโลภะความติดข้องแล้ว ย่อมจะไม่ทุกข์ใจใดๆ เลย เพราะฉะนั้น เมื่อยังติดข้อง พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสที่น่าพอใจ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ใจ เมื่อไม่ได้สิ่งที่ติดข้องปรารถนา หรือ ได้แล้วต้องพลัดพรากไป เป็นต้น ผู้ที่เพลิดเพลินย่อมมีทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลิน ติดข้อง ย่อมไม่ทุกข์ สมดังที่พระพุทธเจ้า ตรัสกับเทวดาว่า

[๒๖๘] กกุธเทวบุตร กราบทูลว่า ข้าแต่ภิกษุ พระองค์ไม่มีทุกข์บ้างหรือ ความเพลิดเพลินไม่มีบ้างหรือ ความเบื่อหน่ายไม่ครอบงำพระองค์ ผู้ประทับนั่ง แต่พระองค์เดียวบ้างหรือ.

[๒๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้อันคนบูชา เราไม่ทุกข์เลย และความเพลิดเพลินก็ไม่มี อนึ่ง ความเบื่อหน่าย ก็ไม่ครอบงำเรา ผู้นั่งแต่ผู้เดียว.

[๒๗๐] กกุธเทวบุตรทูลถามว่า ข้าแต่ภิกษุ ทำไมพระองค์จึงไม่มีทุกข์ ทำไมความเพลิดเพลินจึงไม่มี ทำไมความเบื่อหน่าย จึงไม่ครอบงำพระองค์ ผู้นั่งแต่ผู้เดียว.

[๒๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์ ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ผู้มีอายุ


ดังนั้น ความทุกข์มีได้ เพราะอาศัยความยินดี เพลิดเพลิน ติดข้อง ครับ ผู้ที่ไม่มีกิเลสไม่ติดข้องเลย ย่อมไม่ทุกข์ใจโดยประการทั้งปวง และที่สำคัญทีสุด ที่ยังมีความทุกข์ใจ มีกิเลส มีความติดข้อง เพราะมีความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อมีอวิชชาก็ยังเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสได้เป็นธรรมมดา ดังนั้น สำหรับปุถุชนที่มากไปด้วยความไม่รู้ ย่อมจะเกิดความทุกข์ใจเป็นธรรมดา เพียงแต่ว่า หนทางการดับกิเลสนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะห้ามไม่ให้กิเลส หรือ ความทุกข์ใจไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมกิเลส ความทุกข์ใจก็เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา หนทางที่ถูกต้อง คือ เข้าใจสิ่งที่เกิดแล้ว ในขณะนั้น ขณะที่ทุกข์ใจ ขณะที่เงินหาย คืออะไร ที่เป็นความจริงขณะนั้น เพราะสำคัญผิดว่า มีเราที่เงินหาย มีเราที่ทุกข์ใจ แท้จริงแล้ว มีแต่ธรรมที่เป็นไปในแต่ละขณะ ไม่ใช่เรา หนทางที่ถูก คือ การรู้ว่า ขณะที่ทุกข์ใจก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งกว่าจะรู้ได้เช่นนั้น ก็จะต้องเริ่มจาการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ในหนทางที่ถูกต้องในเรื่องของสภาพธรรมว่า ธรรมคืออะไรเป็นเบื้องต้น ก็จะค่อยๆ ละกิเลสเป็นลำดับ โดยละกิเลส คือ ความยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคลก่อน ครับ

ขออนุโมทนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

ทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจน ย่อมกระทบผัสสะ ทั้งคนพาล ทั้งนักปราชญ์ ก็กระทบผัสสะ เหมือนกัน แต่คนพาล ย่อมนอนหวาดอยู่ เพราะความที่ตนเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์ อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะเหตุนั้นแล ปัญญาจึงประเสริฐกว่าทรัพย์ ปัญญาเป็นเหตุถึงที่สุดในโลกนี้ได้ คนเป็นอันมากทำบาปกรรมเพราะความหลงในภพน้อยภพใหญ่ เพราะไม่มีปัญญา เครื่องให้ถึงที่สุด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ใฝ่รู้
วันที่ 19 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 19 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เป็นธรรมดาของชีวิตคฤหัสถ์ ที่จะต้องมีการประกอบอาชีพ มีเงิน เพื่อจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตเป็นไปอย่างไม่เดือดร้อนลำบาก ซึ่งจะแตกต่างไปจากชีวิตของบรรพชิตซึ่งเป็นเพศที่สละทุกสิ่งทุกอย่าง มุ่งสู่เพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองอย่างสิ้นเชิง ถ้าจะกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว สุขจริงๆ ไม่ได้อยู่ที่เงินทอง แต่อยู่ที่ขณะจิตที่เป็นกุศล ขณะนั้นไม่เดือดร้อน ไม่กระวนกระวาย เพราะบางคนแม้จะมีเงินมากก็ทุกข์มาก ต้องคอยรักษา ความต้องการยังไม่พอก็แสวงหาต่อไป ไม่รู้จักจบจักสิ้น และอีกบุคคลหนึ่ง แม้จะมีเงินมาก ก็ไม่ทุกข์ได้เพราะรู้จักใช้สอยในทางที่เป็นประโยชน์ ในทางที่เป็นกุศล เป็นการเพิ่มพูนกุศล ขัดเกลากิเลสของตนเอง ก็มีเหมือนกันอย่างเช่น ตัวอย่างของพระราชา เศรษฐี ในสมัยพุทธกาล ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีการให้ทาน เจริญกุศลประการต่างๆ ตามฐานะของตนๆ แต่ถ้าจะกล่าวโดยสูงสุดแล้ว ผู้ที่ไม่มีทุกข์เลย คือ พระอรหันต์ นี้กล่าวถึงทุกข์ใจ เพราะดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้นแล้ว แต่ถ้าทุกข์กายเป็นผลของอกุศลกรรม ตราบใดที่ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ก็ยังมีโอกาสที่ทุกข์กายจะเกิดขึ้นได้

ชีวิตในสังสารวัฏฏ์สำหรับผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ยังต้องดำเนินต่อไป เป็นไป เมื่อเกิดมาแล้ว ได้เป็นมนุษย์ซึ่งได้อย่างยากแสนยาก ก็จะต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด มีกิจหน้าที่อะไรก็จะต้องทำในหน้าที่นั้นๆ และที่สำคัญที่สุดเป็นคนดีและศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ น้อมประพฤติในสิ่งที่สมควร ประกอบอาชีพที่สุจริต แสวงหาโภคทรัพย์ในทางที่ถูกที่ควร ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 19 มี.ค. 2556

ถ้าติดอะไรก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนรัก พ่อ แม่ เพื่อน เงินทอง ถ้ามีเงินแล้วทำเงินหาย คนส่วนมากก็ต้องเสียใจ เสียดาย เป็นทุกข์ เป็นของธรรมดา แต่คนมีปัญญาไม่ทุกข์ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เข้าใจ
วันที่ 19 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณ และกราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 19 มี.ค. 2556
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tookta
วันที่ 19 มี.ค. 2556

คิดว่าถ้าเรามีเงินก็ควรที่จะใช้เงินในทางที่เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด (เราขอยกตัวอย่างนะผู้หญิงส่วนใหญที่มีเงิน มักจะหมดไปกับเครืองสำอางค์ต่างๆ และเครื่องแต่งตัวต่างๆ ซึ่งมันก็แพง แต่เราคิดว่าเขาน่าจะนำเงินนั้นมาใช้ในสิ่งที่จำเป็น และ แบ่งเงินที่เหลือนั้นมาช่วยเหลือผู้อื่นที่เขาเดือดร้อน หรือ ด้อยโอกาส ซึ่งมันก็จะทำให้เรามีความสุขก็จะทำให้เราเป็นคนที่สวยไปเอง)

เราควรจะแบ่งเงินที่เราหามาได้เป็น

1 ใช้ในชีวิตประจำวัน

2 เก็บออม

3 สำรองไว้เพื่อมีเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้

4 แบ่งไว้ให้ทานบ้าง (แต่ก็จัดสรรให้ดีอย่าทำให้ตัวเองต้องเดือดร้อน)

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
thorn
วันที่ 20 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"......โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ ๘ ประการเป็นไฉน คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ...... ......พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ....... ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ความเสื่อมลาภ ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ความเสื่อมลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ความเสื่อมลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา. ยศ..... ความเสื่อมยศ... นินทา... สรรเสริญ... สุข..... ทุกข์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ความเสื่อมลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ยศ... แม้ความเสื่อมยศ... แม้นินทา... แม้สรรเสริญ... แม้สุข... แม้ทุกข์ ย่อมครอบงำจิตของเขาได้ เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ ย่อมยินดีในยศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์ เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้ ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่ม่พ้นไปจากทุกข์."

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 21 มี.ค. 2556

...เงินได้จากการทำอาชีพในคนทั่วไปที่ไม่ชราหรือพิการสามารถประกอบอาชีพได้..จำนวนของเงินที่ได้รับ..พอใจหรือไม่...ส่วนใหญ่ขึ้นกับกิเลสมากกว่าความจำเป็นในชีวิต ไม่มีเงินทำกุศลได้ไหม..ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐..ที่ต้องใช้เงินมีข้อเดียวคือการให้ทาน เงินอาจซื้อความพอใจในวัตถุกามได้แต่ไม่สามารถซื้อหาปัญญาได้และสิ่งที่ดับทุกข์ได้คือปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
jaturong
วันที่ 21 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
rrebs10576
วันที่ 21 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
orawan.c
วันที่ 17 พ.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ