ฉันเหล้าเป็นยา

 
maximus
วันที่  30 ม.ค. 2556
หมายเลข  22415
อ่าน  18,035

เคยได้ยินว่าพระฉันเหล้าเป็นยาได้ จริงหรือไม่ครับ หากจริง ถ้ามีพระกำลังฉันสุราอยู่ เมื่อถามก็บอกว่าฉันเป็นยา ในทางปกครองสงฆ์จะพิจารณาอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ


Tag  สุรา  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในพระวินัยปิฎก อันเป็นสิกขาบทสำหรับพระภิกษุ คือ คฤหัสถ์ประกอบอาหารด้วยการใส่น้ำเมาเพียงเล็กน้อยเพื่ออบกลิ่นแกง หรือ ใส่น้ำเมาเพียงเล็กน้อยลงในน้ำต้มเนื้อ ถวายแด่พระภิกษุ พระ ภิกษุฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ หรือ ในอีกกรณีหนึ่ง คือ คฤหัสถ์เจียวน้ำมันกับน้ำเมา เพื่อเป็นยาระงับลม ถวายแด่พระภิกษุ พระภิกษุฉันได้ ไม่เป็นอาบัติในน้ำมันนั้น ที่ไม่ได้เจือน้ำเมาจนเกินไป แต่ถ้าในน้ำมันที่เจือน้ำเมาจัดไป มากเกินไป จนมีสีมีกลิ่นและรสแห่งน้ำเมาปรากฏ เป็นอาบัติสำหรับพระภิกษุผู้ฉัน ดังนั้น ถ้าฉันสุราเลย ที่มีสี มีกลิ่น และ อ้างว่า เพื่อเป็นยา ต้องอาบัติแน่นอน ครับ ไม่สมควรกับพระภิกษุ

ขอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
maximus
วันที่ 30 ม.ค. 2556

ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ

แล้วถ้าเป็นยาดองเหล้าละครับ (ที่เขามีขายเป็นโหลๆ ) เพราะมันต้องได้กลิ่นเหล้าแน่ๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2556

เรียน ความเห็นที่ 2 ครับ

ไม่ได้ครับ เพราะ มีสี และ มีกลิ่น และ สุราก็ไม่สมควรกับพระภิกษุ การฉันยาควรเป็นอย่างอื่นที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ แต่ไม่ใช่สุรา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นิรมิต
วันที่ 30 ม.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
daris
วันที่ 30 ม.ค. 2556

ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมครับ

คือสงสัยว่า "ข้าวหมาก" ก็จัดเป็นของมึนเมาใช่มั๊ยครับ เพราะมีกลิ่นของสุรา ถ้าคฤหัสถ์รับประทานก็ผิดศีลข้อ ๕ ใช่มั๊ยครับ

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2556

ถูกต้อง ครับ ข้าวหมากเป็นของหมัก ทำให้มึนเมาได้ ผิดศีล ๕ ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 31 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เอริน
วันที่ 31 ม.ค. 2556

ขออนุญาตสอบถาม อ้างอิงจากข้อความที่ 5 นะคะ หนูไปใ่ส่บาตรตอนเช้าเคยเห็นคุณป้าท่านหนึ่ง ซื้อข้าวหมากมาใส่บาตรพระ อันนี้ก็ไม่สมควรใช่ไหมคะ ได้ยินคุณป้าท่านนั้นพูดกับคนที่มาใส่บาตรด้วยกันว่า ก็ไม่ผิดเป็นขนม ไม่ทราบว่าอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 31 ม.ค. 2556

เรียน ความเห็นที่ 8 ครับ

ไม่เหมาะสม ครับ เป็นอาหารที่หมัก ทำให้เกิดการมึนเมาได้ ดังนั้น ไม่ไ้ด้หมายความว่า ขนมทุกอย่างควรถวาย ขนมใดที่ทำให้มึนเมา เป็นของหมัก เช่น ข้าวหมาก ไม่สมควรถวายกับพระภิกษุ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เอริน
วันที่ 31 ม.ค. 2556

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 31 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งใด ถูก คือ ถูก สิ่งใด ผิด คือ ผิด การรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็สามารถกระทำได้ โดยการที่ไม่ต้องพึ่งน้ำเมา พระภิกษุที่ท่านเข้าใจพระธรรมวินัยและมีความเคารพอย่างยิ่งในพระธรรมคำสอนก็จะไม่กระทำในสิ่งที่ผิด มีแต่จะกระำทำในสิ่งที่ถูกต้อง คล้อยตามพระธรรมวินัยเท่านั้น การรักษาตามสิกขา บทต่างๆ ก็เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้จิตใจเดือดร้อนในภายหลัง และสำหรับคฤหัสถ์ที่เข้า ใจพระธรรมวินัย ก็จะสามารถกระทำในสิ่งที่ไม่เป็นเหตุพระภิกษุท่านต้องอาบัติได้ ดังนั้น การศึกษาพรธรรมวินัยให้เข้าใจ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 31 ม.ค. 2556

คฤหัสถ์ที่รักษาศีล ๕ ดื่มเหล้าก็ผิดศีลข้อ ๕ แล้ว เพศบรรพชิตเป็นเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ และ ต้องรักษาพระวินัย ๒๒๗ ข้อ เพราะฉะนั้น พระดื่มเหล้าผิดศีลเป็นอาบัติ ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ เช่น พระภิกษุรูปหนึ่ง มีฤทธิ์ สามารถปราบนาคได้ แต่พอดื่มเหล้าเข้าไป ก็นอนไม่ได้สติ ไม่เคารพแต่แม้พระพุทธเจ้าเลย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เซจาน้อย
วันที่ 31 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 12 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Kimieng
วันที่ 3 ก.ค. 2564

ศีลข้อที่ 5 มีที่มาอย่างไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ก.ค. 2564

เรียน ความเห็น 15 ครับ

การดื่มสุรา เป็นหนทางแห่งความเสื่อม เป็นที่ตั้งให้เกิดความประมาท เป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรมประการต่างๆ ได้ อันเนื่องมาจากความเมาเป็นเหตุ สามารถก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ ทำให้เสียชื่อเสียง ทำให้เป็นผู้ไม่ละอาย รวมถึงทำให้เสียทรัพย์ด้วย

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่


ศีล ๕ เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ก.ค. 2564

ข้อความจากพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร

แสดงไว้ว่า ศีล ๕ ได้แก่ .-

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์)

๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้)

๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี (เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)

๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ)

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี (เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ก.ค. 2564

สำหรับพระภิกษุ การดื่มสุราและเมรัย เปน อาบัติปาจิตตีย

ที่มา เรื่องพระสาคตะ [สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑]

สิกขาบทวิภังค

[๕๗๖] นี้ชื่อวา สุรา ไดแกสุราที่ทําดวยแปง สุราที่ทําดวยขนม สุราที่ทําดวยขาวสุกสุราที่หมักสาเหลา สุราที่ผสมดวยเครื่องปรุง

ที่ชื่อ เมรัย ไดแกน้ําดองดอกไม น้ําดองผลไม น้ําดองน้ําผึ้ง น้ําดองน้ําออยงบ น้ําดองที่ผสมดวยเครื่องปรุง

คําวา ดื่ม คือ ดื่มโดยที่สุดแมดวยปลายหญาคา ตองอาบัติปาจิตตีย.

บทภาชนีย

ติกปาจิตตีย

[๕๗๗] น้ําเมา ภิกษุสําคัญวาน้ําเมา ดื่ม ตองอาบัติปาจิตตีย น้ําเมา ภิกษุสงสัย ดื่มตองอาบัติปาจิตตีย

น้ําเมา ภิกษุสําคัญวาไมใชน้ําเมา ดื่ม ตองอาบัติปาจิตตีย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ