การแยกความแตกต่างของสภาพธรรมที่เป็นวิบากจิตกับชวนวิถีจิต

 
อิสริยา
วันที่  14 ก.ย. 2555
หมายเลข  21734
อ่าน  1,346

กราบเรียนท่านผู้รู้

การแยกความแตกต่างของสภาพธรรมที่เป็นวิบากจิตกับชวนวิถีจิต ต้องมีปัญญาขั้นไหนถึงจะสามารถแยกความแตกต่างได้คะ

ขอบคุณมากค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิบากจิต คือ สภาพธรรมที่เป็นผลของกรรม ที่เป็นจิตชาติวิบาก ซึ่ง วิบากจิตที่เกิดในชีวิตประจำวัน คือ จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้กระทบสัมผัส และ ขณะที่เกิด คือปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และ จุติจิต ทั้งหมดนี้เป็นวิบากจิต ครับ

ชวนวิถีจิต คือ ขณะที่เป็น กุศลจิต หรือ อกุศลจิต ที่เกิดขึ้น ๗ ขณะจิต เช่น ขณะที่โกรธ ขณะนั้นก็มีโทสมูลจิตเกิดขึ้น ๗ ขณะ ทางชวนวิถีจิต เป็นต้น

ซึ่งการจะรู้ ความแตกต่างระหว่าง วิบากจิต และ ชวนวิถีจิต จะต้องเป็นปัญญาระดับสูงมาก ที่ไม่ใช่เพียง การเริ่มเจริญสติปัฏฐาน คือ การระลึกรู้ลักษณะ ของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ แต่ต้องเป็นปัญญา ของผู้มีปัญญาที่รู้ได้ละเอียด รู้ได้เร็ว จึงจะสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง วิบากจิต กับ ชวนจิต ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็ต้องเริ่มจากปัญญาขั้นต้นจากการฟังให้เข้าใจเป็นสำคัญก่อน ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อิสริยา
วันที่ 15 ก.ย. 2555

ขออนุโมทนาและกราบขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งสำคัญ คือ ความเข้าใจถูก เห็นถูก ซึ่งชีวิตประจำวันที่ดำเนินไปนั้น ก็ไม่พ้นไปจาก วิบากจิต กับ กุศลจิต และอกุศลจิต ไม่พ้นเลย เกิดขึ้น เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย แต่ก็ไม่เคยรู้เลยว่าเป็นธรรม เห็นก็เป็นเราเห็น ได้ยินก็เป็นเราได้ยิน เป็นต้น

แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นธรรมแต่ละขณะๆ ที่เกิดขึ้นเป็นไป ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้เลยว่า ขณะใดเป็น วิบาก ซึ่งเป็นผลของกรรม และขณะไหนที่เป็น เหตุ คือ กรรม

พระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ดีแล้วเท่านั้น ที่จะเป็นไป เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก เป็นไปเพื่อละคลายความเห็นผิด และความไม่รู้ ที่เคยสะสมมาอย่างยาวนานในสังสารวัฏฏ์

ธรรม มีจริงทุกขณะ ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน ที่ควรแสวงหา คือ ความเข้าใจ ว่า ความเข้าใจถูก เห็นถูก ในสภาพธรรมที่มีจริงนั้น จะเกิดมีขึ้นได้อย่างไร ดังนั้น จึงต้องกลับมาที่การฟังพระธรรมให้เข้าใจ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ประสาน
วันที่ 15 ก.ย. 2555

ธัมมะมีจริงทุกขณะ ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ที่ควรแสวงหา คือ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี แล้วความเข้าใจถูก ความเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริงนั้น จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุ ตามปัจจัย ตามการสะสม ไม่ใช่เพราะเรา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khundong
วันที่ 19 ก.ย. 2555

วิบาก ตามที่ได้ศึกษา ไม่ได้คิดเองครับ

วิบาก เป็นผล

ชวนจิต เป็นเหตุ

วิบาก เป็นผล

ชวนจิต เป็นเหตุ

สร้างเหตุปัจจัยอะไร ก็ได้ผลอย่างนั้น ตามเหตุและผล

หยุดสร้างเหตุ ผลก็หยุด (แต่บังคับบัญชาไม่ได้เลย) หยุดเหตุได้ โดยการอบรม ฟังให้เข้าใจทีละน้อยๆ (จริงๆ ) เหมือนช่างศิลป์ วาดภาพไม่มีที่สิ้นสุด วิจิตรสุดจะบรรยาย

ขอถามท่านต่อครับ ว่าอารมณ์ของวิบากจิต กับ อารมณ์ของชวนจิต เป็นอย่างไร ช่วยอธิบายตัวอย่างประกอบด้วยครับ เช่นขณะเห็นสิ่งไม่น่าพอใจ เป็นวิบาก มีอารมณ์เกิดขึ้นแน่นอนครับ แต่เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี จิตเกิดกับทุกขเวทนาเจตสิก (เวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวงเป็นสัพจิตสาธารณเจตสิก) เป็นทุกข์ทางกายเท่านั้น แต่ ... โทมนัสเวทนาเกิดต่อทางใจ เกิดร่วมกับชวนจิต ซึ่งเป็นเหตุใหม่ เพื่อสะสมสันดาน สร้างกรรมใหม่เป็นอุปนิสัย (สันดาน) ต่อไปอีกในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด

แต่ทั้ง วิบาก กุศล อกุศล กิริยา ทั้งสี่ ตามนัยของชาติของจิด ก็เป็นอนัตตาขนาดผู้ที่เป็นอริยเจ้าทั้งหลาย ยังไม่ขาดการอบรมฟังธรรมอยู่เสมอ เพื่อให้มีสติเจตสิกและปัญญาเจตสิก เป็นปัจจัยให้เกิดระลึกบ่อยขึ้น มากขึ้น เรื่อยๆ ในชีวิตประจำวันครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 19 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ค่อยๆ สะสมปัญญาด้วยการฟังพระธรรม พิจารณาให้เกิดความเข้าใจ ไปทีละน้อยๆ เหมือนน้ำหยดใส่หม้อดินทีละหยดจนเต็ม"

"ไม่ต้องไปคิดที่จะทำ จะแสวงหาทางลัด เพราะธรรมไม่มีตัวตน"

"มีแต่สภาพธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ บุคคล"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของอ.ผเดิม, อ.คำปั่นและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khundong
วันที่ 23 ก.ย. 2555
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 21734 ความคิดเห็นที่ 5 โดย khundong

วิบาก ตามที่ได้ศึกษา ไม่ได้คิดเองครับ

วิบาก เป็นผล

ชวนจิต เป็นเหตุ

วิบาก เป็นผล

ชวนจิต เป็นเหตุ

สร้างเหตุปัจจัยอะไร ก็ได้ผลอย่างนั้น ตามเหตุและผล หยุดสร้างเหตุ ผลก็หยุด (แต่บังคับบัญชาไม่ได้เลย) หยุดเหตุได้ โดยการอบรม ฟังให้เข้าใจทีละน้อยๆ (จริงๆ ) เหมือนช่างศิลป์วาดภาพไม่มีที่สิ้นสุด วิจิตรสุดจะบรรยาย

ขอถามท่านต่อครับว่า อารมณ์ของ วิบากจิต กับอารมณ์ของ ชวนจิตเป็นอย่างไรช่วยอธิบายตัวอย่างประกอบด้วยครับ เช่น ขณะเห็นสิ่งไม่น่าพอใจเป็นวิบาก มีอารมณ์เกิดขึ้นแน่นอนครับ แต่เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี จิตเกิดกับทุกขเวทนาเจตสิก (เวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวงเป็นสัพจิตสาธารณเจตสิก) เป็นทุกข์ทางกายเท่านั้น แต่ ... โทมนัสเวทนาเกิดต่อทางใจเกิดร่วมกับชวนจิต ซึ่งเป็นเหตุใหม่ เพื่อสะสมสันดาน สร้างกรรมใหม่ เป็นอุปนิสัย (สันดาน) ต่อไปอีกในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด

แต่ทั้ง วิบาก กุศล อกุศล กิริยา ทั้งสี่ ตามนัยของชาติของจิด ก็เป็นอนัตตา ขนาดผู้ที่เป็นอริยเจ้าทั้งหลาย ยังไม่ขาดจากการอบรม ฟังธรรมอยู่เสมอ เพื่อให้มีสติเจตสิก และปัญญาเจตสิกเป็นปัจจัยให้เกิดระลึกบ่อยขึ้น มากขึ้น เรื่อยๆ ในชีวิตประจำวันครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 26 ก.ย. 2555

เรียนความเห็นที่ 7 ครับ

อารมณ์ของวิบากจิต และ อารมณ์ของชวนจิต บางนัยก็เป็นอารมณ์เดียวกัน บางนัย ก็มีอารมณ์ต่างกัน เพราะ วิบากมีหลายชนิด หลายอย่างครับ

ถ้าเป็นวิบากที่เป็น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส วิถีจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ขณะที่เห็น ต้องมีสีเป็นอารมณ์ และ จิตอื่นๆ ก็เกิดต่อ และ ชวนจิตก็เกิดต่อ ทางปัญจทวาร ๗ ขณะ ซึ่งจะต้องมีอารมณ์เดียวกับ จิตเห็น นั่นคือ สี หรือ สิ่งที่ปรากฏทางตา ซึ่ง ตลอดวิถีทางปัญจทวาร ก็ต้องมี สี เป็นอารมณ์เดียวกัน ครับ

แต่ ขณะที่ภวังคจิตเกิด ซึ่งเป็นวิบากจิต มีอารมณ์ของชาติก่อน ไม่ได้มีอารมณ์เดียวกับ ชวนจิตในขณะนี้ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ