ควรเริ่มจากตรงไหนดีคะ

 
wheretostart
วันที่  16 ก.ย. 2555
หมายเลข  21739
อ่าน  1,540

ก่อนอื่นต้องขออภัยด้วยนะคะถ้ากระทู้นี้ผิดกฎ พอดีว่าหากฎไม่เจอคะ เลยไม่ทราบว่า สามารถตั้งกระทู้ทำนองนี้ได้หรือไม่ แต่เมื่ออ่านกระทู้ต่างๆ แล้ว รู้สึกว่าเว็บไซต์นี้ รวมธรรมะดีๆ ไว้มาก เลยอยากจะเรียนปรึกษาท่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายนะคะ

ตอนนี้รู้สึกว่าจิตใจตัวเองฟุ้งซ่านมากเลยค่ะ และจะเป็นมากเวลาที่อ่านหนังสือ ซึ่งแต่เดิม เคยมีสมาธิตั้งมั่น อ่านอะไรก็จำได้ แต่ตอนนี้เวลาอ่านหนังสือ จิตกลับไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้และส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเพื่อน เช่น กลัวว่า เพื่อนคนนี้จะโกรธเราไหม เพื่อนคนนี้จะไม่ชอบการกระทำของเรารึเปล่า เพื่อนคนนั้น จะเอาเราไปนินทาไหม ทั้งๆ ที่เราก็ไม่ได้ทำอะไรผิดนะคะ

มากกว่านั้นคือ ตัวเองกลับไม่รู้สึกเป็นตัวเองเลยคะ พยายามจะปรับการกระทำของตัวเองให้เป็นที่พอใจของทุกคน ถึงแม้จะทราบว่า เราคงทำให้ทุกคนพอใจไม่ได้ แต่จิตก็ไม่เชื่อฟังเลยคะ เอาแต่ฟุ้งซ่านอยู่แต่เรื่องแบบนี้ ... ไม่รู้ว่าส่วนหนึ่ง อาจเกิดจากกรรมเก่าด้วยหรือเปล่าก็ไม่ทราบค่ะ คือตัวเองเป็นคนที่ค่อนข้างขี้งกอยู่มาก แต่เดี๋ยวนี้ก็พยายามปรับปรุงนะคะ แต่พอเราปรับปรุงแล้ว เวลาที่ช่วยเหลือใครไม่ได้จริงๆ ก็กลับเก็บมาคิดอีกว่า เขาจะคิดว่าเราแกล้งช่วยไม่ได้รึเปล่า??

พอเริ่มรู้สึกว่าจิตตัวเองฟุ้งซ่าน ก็เริ่มฝึกหัดทำสมาธิค่ะ แต่กลับได้ผลน้อยมาก หรือแทบจะไม่ได้ผลเลย

แบบนี้ไม่ทราบว่าควรจะเริ่มที่ตรงไหนดีคะ เริ่มตรงที่ทำสมาธินี่ถูกแล้วหรือเปล่าคะ ขอชี้แนะด้วยนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้ามากๆ เลยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่ถูกต้อง ควรเริ่มจากความเข้าใจถูก ขั้นการฟังเป็นสำคัญ หากเรายังไม่มีความเข้าใจถูกขั้นการฟัง จะไปปฏิบัติ จะไปทำสมาธิ ก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรกิเลสได้เลย เพราะ ความไม่รู้ ไม่สามารถจะละกิเลสได้ แต่กลับเพิ่มกิเลสมากขึ้น เพราะฉะนั้น ควรกลับมาสู่ ความเข้าใจเบื้องต้น คือ การฟัง การศึกษาพระธรรม เพราะ ในสมัยพุทธกาล สาวกทั้งหลาย ก็เริ่มจากการฟัง การศึกษาพระธรรม โดยไม่ไปทำอะไรที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ มีการนั่งสมาธิ เป็นต้น ครับ

สิ่งที่เรามักลืม คือ ความเข้าใจ แต่สิ่งที่เราไม่ลืม คือ ความอยากได้ผล คือ คลายทุกข์ แต่ไม่รู้จักตัวทุกข์ และ ไม่รู้หนทางดับทุกข์ที่ถูกต้อง ว่าคืออย่างไร ซึ่งจะรู้ได้ก็ด้วยการฟัง การศึกษาพระธรรมเป็นสำคัญ

เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปทำสมาธิ เพราะทำ ก็เพิ่มความไม่รู้มากขึ้น แต่กลับมาสู่หนทางที่ถูก คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมไปเรื่อยๆ โดยเริ่มจากปัญญาขั้นต้นว่า ธรรม คือ อะไร และ ฟังพระธรรมส่วนต่างๆ ก็จะทำให้ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้น ทีละน้อย แต่ใช้เวลา เพราะ สะสมความไม่รู้มามาก และ สะสมปัญญามาน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่จะละคลายกิเลส จึงต้องใช้เวลายาวนาน นับชาติไม่ถ้วน เพราะฉะนั้น ก็ยังมีความทุกข์ในเรื่องเพื่อน ในเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะต้องประสบพบเจอเป็นธรรมดา เพียงแต่ว่า ผู้ที่แสวงหาพระธรรม แสวงหา ทางพ้นทุกข์ ก็อยู่กับความทุกข์ พร้อมๆ กับการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

เริ่มต้นศึกษาธรรมอย่างไรดี

สำหรับผู้เริ่มต้น

แด่ ... ผู้เริ่มต้น

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ

จะเริ่มต้นศึกษาธรรมะอย่างไร

ศึกษาพระธรรมเพื่อเข้าใจอะไร

ธรรมะ ปรมัตถธรรม อภิธรรม

ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีจริง

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 17 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เริ่มต้น จากการฟังพระธรรมให้เข้าใจ ไม่ควรไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ด้วยความไม่เข้าใจ เพราะถ้าทำอะไรก็ตามด้วยความไม่รู้ ด้วยความไม่เข้าใจแล้ว ผลคือ ไม่ได้อะไรเลย นอกจากสะสมความไม่รู้และความเห็นผิดมากยิ่งขึ้น จนยากที่จะถอยกลับออกมาได้

พุทธศาสนิกชน จะมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งได้ ก็ด้วยการฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยความละเอียด รอบคอบ ไม่ประมาทพระธรรมว่า ง่าย

ปัญญาจะเจริญขึ้น ก็มาจากการสะสมไปทีละเล็กทีละน้อย ขาดการฟังพระธรรมไม่ได้เลย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 17 ก.ย. 2555

ความรู้ขั้นการฟังไม่สามารถละกิเลสได้ นอกจากเจริญสติปัฏฐาน จึงจะละกิเลสได้ตามลำดับ ส่วนสมาธิไม่ได้ละกิเลส สมาธิมี ๒ อย่าง คือ สัมมาสมาธิ และ มิจฉาสมาธิ

ถ้าเจริญผิด ไม่เจริญดีกว่า เพราะมีโทษมาก ทำให้ไม่ออกจากสังสารวัฏฏ์ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นิรมิต
วันที่ 17 ก.ย. 2555

กราบอนุโมทนา อ.ผเดิม และ อ.คำปั่น ด้วยครับ

ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยนะครับ

แต่ก่อนผมก็เคยมีอาการฟุ้งซ่านคล้ายๆ คุณ wheretostart แต่ของผมนี้เป็นหนักกว่ามาก เรียกได้ว่า เป็นประมาณอาการประสาทเลยทีเดียว คือ กลัวโน่นกลัวนี่ กลัวสิ่งไม่ดีทั้งหลายจะเกิดขึ้นกับเรา กลัวไปหมด ฟุ้งซ่านได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่ได้รู้เลยว่า เพราะยึดมั่นถือมั่น (เป็นโลภะ) ทุกๆ อย่างรอบๆ ตัวไว้มากนั่นเอง จึงเกิดความกลัวว่าจะต้องจาก เกิดทุกข์ ทั้งหลาย (เป็นโทสะ)

โดยที่เพราะไม่รู้ว่าสภาพธรรมะทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวตน เกิดดับ และเป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้แต่จิตเราเองนี้ ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย คือการสั่งสมอุปนิสัยอย่างนั้นๆ ที่จะเป็นคนที่ฟุ้งซ่านมาก เป็นคนที่เจ้าอารมณ์ เป็นคนที่น้อยใจ อะไรต่างๆ กันไป ควบคุมไม่ได้เลย เพราะสั่งสมกิเลสแบบนั้นๆ มานาน และไม่เคยทราบเหตุที่จะดับกิเลสอย่างนั้นๆ

ผมถึงกับมีอาการหลงผิด หลงกระทำ การกระทำที่ไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผลเลย คือพูดง่ายๆ ว่า เพราะจิตฟุ้งซ่านกังวลไปกับเรื่องต่างๆ มาก จนเกิดอาการหลอกตัวเอง ด้วยการกระทำไร้เหตุผลต่างๆ นานา ถึงขนาดที่ว่า จะก้าวขาออกจาบ้าน ต้องก้าวเท้านี้ก่อน จะลงบันได ก็ต้องเลือกเท้าก้าวก่อน หรือแม้แต่เดินๆ ไปได้สักพัก จิตก็คิดว่า ต้องเดินถอยหลังไปก่อนเท่านี้ๆ ก้าว แล้วค่อยเดินมาใหม่ ไม่อย่างนั้นเพื่อนจะเกลียดเรา ฯลฯ อะไรทำนองนี้

ยิ่งนับวัน ก็มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะจิตผมยึดมั่นถือมั่นไว้มากกว่าคนทั่วไป รวมถึงคาดหวังว่าเหตุการณ์ต่างๆ ต้องเป็นอย่างนี้ๆ คือ ยึดทุกอย่าง ทั้งรูปร่างหน้าตา ทรัพย์สินเงินทอง (ที่ไม่ค่อยจะมี) เหตุการณ์ต่างๆ ยึดทุกอย่างจริงๆ มีอะไรก็ยึดหมด ถึงขนาดที่ว่า แม้แต่เศษกระดาษสกปรกๆ ก็ไม่อยากทิ้ง ด้วยเหตุผลว่า มันอยู่กับเรามาแล้วตั้ง ๑ วัน ... พูดง่ายๆ ว่า ไม่ต้องการจะจากอะไรไปเลย พอจากอะไรที่รัก หรือประสบเหตุไม่เป็นที่พอใจทีนึง ก็ถึงกับกระสับกระส่าย ทนไม่ได้ ไม่เป็นสุขเลยแม้แต่เวลาเดียว

จนได้พบพระธรรม เปรียบเสมือนยาศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาจิตของผมให้กลับคืนสู่คำว่าปรกติแบบคนทั่วไป (ยังไม่ปรกติในทางธรรม เพราะยังมีอกุศลจิตเกิดได้มาก) ทำให้ใช้ชีวิตปรกติได้ง่ายขึ้น สุขขึ้น ไม่ฟุ้งซ่าน ไร้สาระแบบเก่า ซึ่งต้องอาศัยการฟังพระธรรมมาก การเข้าใจพระธรรม และน้อมเอามาขจัดกิเลสออกจากจิต เพราะ ทุกข์ทั้งหลายมีเหตุมาจากกิเลสทั้งสิ้น (คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั่นเอง)

เพราะติดข้องมาก เมื่อสิ่งที่ติดข้องไม่เป็นไปตามที่ปรารถนาก็เลยเกิดทุกข์ พอเกิดแล้ว เพราะไม่รู้ว่า ทุกข์เกิดจากความติดข้อง ก็เกิดความไม่รู้ คิดว่า ต้องทำให้สิ่งที่ติดข้องนั้น เป็นไปตามที่ปรารถนา จึงจะไม่ทุกข์ ก็แสวงหาทางต่างๆ ที่จะทำให้สิ่งที่ติดข้องนั่นเป็นไปอย่างปรารถนาหรือไม่เสื่อมไม่หายไป ก็มีการเชื่อการปฏิบัติผิดๆ ต่างๆ นานา ด้วยความไม่รู้นั่นเอง

ต้องเริ่มจากความเข้าใจก่อนว่า สิ่งทั้งหลายเป็นสภาพธรรมะ และสภาพธรรมะทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ที่จะสามารถบังคับบัญชาให้เป็นไป ตามที่ โลภะต้องการได้ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย แล้วเมื่อหมดเหตุปัจจัยนั้นก็ดับสิ้นไป ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่มีตัวตนที่จะบังคับบัญชาได้เลย คือ เป็นหลักพระไตรลักษณ์ หรืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


- การกลัวที่ว่าเพื่อนจะคิดไม่ดี จะไม่พอใจ จะขุ่นเคือง จะนินทาอย่างนั้นอย่างนี้กับเราหรือเปล่า ขณะนั้นจิตก็เป็นอกุศล เป็นโทสะ เพราะใจเป็นทุกข์

ทั้งนี้ เหตุเพราะอะไร เพราะโลภะติดข้อง หวัง ปรารถนาที่จะให้เพื่อนไม่เป็นอย่างนั้น อาจ จะปรารถนาให้เพื่อนชอบเรา ให้เพื่อนชื่นชมเรา หรือให้เพื่อนคิดสิ่งที่ดีๆ กับเรา นั่นคือโลภะ ติดข้องในอาการอย่างนี้ของเพื่อน แต่พอไม่รู้ว่า เพื่อนคิดกับเราแบบที่เราต้องการหรือไม่ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้จริงๆ ด้วยซ้ำว่า เพื่อนคิดไม่ดีกับเราจริงหรือเปล่า ก็เกิดทุกข์เพราะกลัว กังวลได้แล้ว

นี่คือความน่ากลัวของอกุศลจิต ที่เป็นไปตามการสะสมมา เพราะขณะนี้ ยังไม่ทราบเลย ว่าเพื่อนคิดอย่างนั้นจริงๆ ไหม ก็ทุกข์เสียแล้ว เพราะติดข้อง เพราะอาศัยคิดเรื่องเพื่อน บ่อยๆ คิดมากๆ ก็เลยเกิดการกลัวขึ้น กลัวนี้ก็ไม่ได้เกิดจากเพื่อน หรืออะไรเลย เกิดจาก โลภะในจิตของเราเอง ที่อยากให้เพื่อนคิดอย่างนั้นอย่างนี้กับเรา

ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เพื่อนเองก็มีจิตของเขาที่สั่งสมต่างๆ กันมา บางคนอาจจะสั่งสมมาที่จะเป็นคนชอบนินทา ไม่มีเรื่องอะไร ก็กุเรื่องนินทาขึ้นมาได้ หรือบางคนอาจจะสั่งสมมาที่จะคิดมาก แบบคุณ wheretostart ก็ได้ หรือบางคน อาจจะสั่งสมมา ที่จะโกรธมาก ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเล็กน้อยก็โกรธ เพราะฉะนั้น เพื่อนๆ เอง ก็มีอุปนิสัยต่างๆ กัน และเป็นไปตามกิเลสของตนๆ เราจะไปบังคับเขาให้เป็นอย่างที่ต้องการไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้น เราต้องรักษาจิตของเราเองนั่นแหละ ไม่ให้ทุกข์ ด้วยการเข้าใจว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา คือควบคุมไม่ได้ เมื่อเห็นอย่างนั้น ก็ค่อยๆ คลายความติดข้อง ในสิ่งต่างๆ เพราะเห็นแล้วว่าติด แล้วก็เป็นโทษ เพราะโลภะมีลักษณะอาการคือ ติดข้อง พอใจ ในสิ่งต่างๆ และเมื่อไม่ไ่ด้ดั่งต้องการ ก็ทุกข์

ฉะนั้นสำคัญที่จิตเรา จิตเรามีกุศลจิตที่คิดจะช่วยเพื่อน คิดจะให้เพื่อนเป็นสุขใช่ไหม ถ้าจิตเราเป็นอย่างนั้น แล้วมีการกระทำต่างๆ ที่เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่เพื่อน เห็นอกเห็นใจเพื่อน ช่วยเพื่อน เท่าที่กำลังของเรา สามารถจะช่วยได้แล้ว ก็ชื่อว่า ได้ทำหน้าที่ของเพื่อนที่ดีแล้ว อะไรที่มันนอกเหนือจากนี้จริงๆ ก็เกินกว่าที่เราจะสามารถ เพื่อนเอง ก็เป็นไปตามกรรมและการสั่งสมอุปนิสัยของตนๆ ในเมื่อจิตของเราเป็นกุศลจริงๆ ไม่ได้คิดเอาเปรียบ ไม่ได้กระทำตน ให้เพื่อนเดือดร้อนด้วยเจตนาอยากให้เขาเดือดร้อน (คือบางที ก็อาจจะมีเจตนาดี แต่ทำให้เพื่อนเดือดร้อน ก็ชื่อว่าเจตนาดี) ก็ไม่ต้องไปกังวลใดๆ ว่า เพื่อนจะคิดอะไร ยังไงกับเรา สำคัญที่เราทำด้วยความเมตตา ทำด้วยเจตนาดี ไม่ได้มีเจตนาร้ายกับเพื่อนเลย เพื่อนจะคิดอย่างไร ก็ล้วนแต่ตามการสั่งสมของเพื่อนคนนั้นๆ เราบังคับให้เขาคิดอย่างนี้ๆ ตามเราไม่ได้

เมื่อเราทำด้วยเจตนาดี เขาจะว่าอะไรก็ไม่ควรน้อมเอามาใส่ใจ ไม่ควรน้อมเอามาน้อยใจ เพราะขณะที่น้อยใจ เสียใจ ไม่ชอบ เป็นทุกข์ เราจะต้องเป็นทุกข์ไปทำไม ไม่ใช่เรื่องของเราที่จะต้องทุกข์เลย ทุกข์ ไม่ใช่ประโยชน์จริงๆ ไม่มีประโยชน์อะไรเลยในความทุกข์ ทุกข์ ไม่ว่าจะทุกข์ เพราะเรื่องอะไรก็ตาม (แม้แต่เมื่อเราทำผิด แล้วเป็นทุกข์ เพราะการกระทำ บาป ความผิดนั้น ขณะนั้นทุกข์ของเราตอนนั้นที่บางคนคิดว่ามันดี เพราะเป็นเหมือนการยอมรับผิด จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ขณะที่ทุกข์นั้นก็เป็นโทษ เพราะทุกข์ไม่ช่วยให้เหตุการณ์ ที่ทำไปแล้ว กลับคืนมาได้ จึงควรที่จะน้อมจิต ให้เป็นกุศล เห็นเหตุการณ์ผิดพลาดนั้น เป็นสติเครื่องเตือนใจว่า การกระทำบาปเช่นนี้จะต้องไม่มีกับเราอีก แล้วมุ่งกระทำความดี ส่วนอะไรล่วงไปแล้ว ก็ไม่ควรเอามาใส่ใจให้เป็นทุกข์ เพราะไม่เป็นประโยชน์จริงๆ )

ทุกข์เป็นแต่โทษ ควรที่จะเจริญจิตให้เป็นกุศลมากกว่า อาจจะด้วยการเจริญเมตตาก็ได้ อย่างเช่น เมตตาเพื่อนๆ ปรารถนาให้เขาเป็นสุข แม้แต่ตนเอง ก็เมตตาจิตตนว่า ทุกข์อยู่ ไปเพื่ออะไร ก็ให้จิตเป็นสุข

สุดท้ายนี้ ควรที่จะ เจริญสติปัฏฐาน ระลึกสภาพธรรมะแต่ละอย่าง ให้เห็นตามความเป็นจริงๆ จริงๆ ว่าไม่ใช่ ตัวตน สัตว์ บุคคล เป็นสิ่งที่เกิดดับ ทุกข์ก็เกิดดับ พอทุกข์เกิด ก็ระลึกเห็นชัดว่าตอนนี้กำลังทุกข์ ก็จะสลัดทุกข์ออกไปได้ด้วยสติ เพราะทราบว่า ทุกข์ไม่ใช่ประโยชน์ ทุกข์เป็นแต่โทษ แม้โลภะ โมหะเอง ก็ไม่ใช่ประโยชน์ พอระลึกได้ ก็เปลี่ยนจิตเป็นกุศล ก็เป็นสุข กระทำกรรมต่างๆ ด้วยกุศลจิต ก็จะเป็นการเกื้อกูลทั้งตนเอง และผู้อื่น และก็ไม่มีทุกข์ใดจะเกิดได้ เพราะกาย วาจา ใจ เป็นสุจริต

ทั้งนี้ไม่ควรทิ้งพระธรรม ต้องศึกษาพระธรรม เจริญสติปัฏฐาน เพราะถ้าปัญญาไม่มั่นคงในพระธรรม สติไม่มั่นคงในการระลึกอกุศลและสภาพธรรมทั้งหลาย ก็ไม่วายจะต้องทุกข์อีก แล้วก็ทุกข์เรื่อยๆ เพราะอะไร เพราะสติไม่เกิด กุศลจิตไม่เกิด ปัญญาไม่เกิดเห็นโทษของอกุศล ก็เลยมัวเมาไปกับอกุศลอีกตามเดิม

สำคัญที่สติ ต้องเกิดระลึกสภาพธรรมะ และปัญญาต้องเกิดทราบจริงๆ ว่า ขณะใดเป็นอกุศลจิต ขณะใดที่ติดข้อง ขณะใดที่ไม่รู้ สงสัย คิดไม่ออก ขณะใดที่ ทุกข์ โกรธ ขุ่นเคือง ขณะเหล่านั้นไม่ใช่ประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ ต้องเห็นโทษของอกุศลจริงๆ ที่เป็นโทษ เพราะขัดขวางการเกิดของกุศล ขัดขวางกุศลกรรม และขณะที่เป็นอกุศลย่อมเป็นเหตุปัจจัยนำมาซึ่งทุกข์ จิตก็จะค่อยๆ น้อมไปในกุศล ค่อยๆ ละอกุศล ด้วยกำลังของสติ และปัญญา

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Pissanu
วันที่ 18 ก.ย. 2555

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 21739 ความคิดเห็นที่ 4 โดย นิรมิต

กราบอนุโมทนา อ.ผเดิม และ อ.คำปั่น ด้วยครับ

ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยนะครับ

แต่ก่อนผมก็เคยมีอาการฟุ้งซ่านคล้ายๆ คุณ wheretostart แต่ของผมนี้เป็นหนักกว่ามาก เรียกได้ว่าเป็นประมาทอาการประสาทเลยทีเดียว คือ กลัวโน่นกลัวนี่กลัวสิ่งไม่ดีทั้งหลายจะเกิดขึ้นกับเรา กลัวไปหมด ฟุ้งซ่านได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่ได้รู้เลยว่าเพราะยึดมั่นถือมั่น (เป็นโลภะ) ทุกๆ อย่างรอบๆ ตัวไว้มากนั่นเอง จึงเกิดความกลัวว่าจะต้องจาก เกิดทุกข์ทั้งหลาย (เป็นโทสะ)

โดยที่เพราะไม่รู้ว่าสภาพธรรมะทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวตน เกิดดับ และเป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้แต่จิตเราเองนี้ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย คือการสั่งสมอุปนิสัยอย่างนั้นๆ ที่จะเป็นคนที่ฟุ้งซ่านมาก เป็นคนที่เจ้าอารมณ์ เป็นคนที่น้อยใจ อะไรต่างๆ กันไป ควบคุมไม่ได้เลย เพราะสั่งสมกิเลสแบบนั้นๆ มานาน และไม่เคยทราบเหตุที่จะดับกิเลสอย่างนั้นๆ

ผมถึงกับมีอาการหลงผิด หลงกระทำการกระทำที่ไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผลเลย คือพูดง่ายๆ ว่าเพราะจิตฟุ้งซ่านกังวลไปกับเรื่องต่างๆ มาก จนเกิดอาการหลอกตัวเองด้วยการกระทำไร้เหตุผลต่างๆ นาๆ ถึงขนาดที่ว่า จะก้าวขาออกจาบ้าน ต้องก้าวเท้านี้ก่อน จะลงบันได ก็ต้องเลือกเท้าก้าวก่อน หรือแม้แต่เดินๆ ไปได้สักพัก จิตก็คิดว่า ต้องเดินถอยหลังไปก่อนเท่านี้ๆ ก้าว แล้วค่อยเดินมาใหม่ ไม่อย่างนั้นเพื่อนจะเกลียดเรา ฯลฯ อะไรทำนองนี้

ยิ่งนับวันก็มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะจิตผมยึดมั่นถือมั่นไว้มากกว่าคนทั่วไป รวมถึงคาดหวังว่าเหตุการณ์ต่างๆ ต้องเป็นอย่างนี้ๆ คือยึดทุกอย่าง ทั้งรูปร่างหน้าตาทรัพย์สินเงินทอง (ที่ไม่ค่อยจะมี) เหตุการณ์ต่างๆ ยึดทุกอย่างจริงๆ มีอะไรก็ยึดหมด ถึงขนาดที่ว่า แม้แต่เศษกระดาษสกปรกๆ ก็ไม่อยากทิ้ง ด้วยเหตุผลว่ามันอยู่กับเรามาแล้วตั้ง ๑ วัน ...

พูดง่ายๆ ว่า ไม่ต้องการจะจากอะไรไปเลย พอจากอะไรที่รัก หรือประสบเหตุไม่เป็นที่พอใจทีนึงก็ถึงกับกระสับกระส่าย ทนไม่ได้ ไม่เป็นสุขเลยแม้แต่เวลาเดียว

จนได้พบพระธรรม เปรียบเสมือนยาศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาจิตของผมให้กลับคืนสู่คำว่าปรกติแบบคนทั่วไป (ยังไม่ปรกติในทางธรรม เพราะยังมีอกุศลจิตเกิดได้มาก) ทำให้ใช้ชีวิตปรกติได้ง่ายขึ้น สุขขึ้น ไม่ฟุ้งซ่านไร้สาระแบบเก่า ซึ่งต้องอาศัยการฟังพระธรรมมาก การเข้าใจพระธรรม และน้อมเอามาขจัดกิเลสออกจากจิต เพราะทุกข์ทั้งหลายมีเหตุมาจากกิเลสทั้งสิ้น (คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั่นเอง)

เพราะติดข้องมาก เมื่อสิ่งที่ติดข้องไม่เป็นไปตามที่ปราถนา ก็เลยเกิดทุกข์ พอเกิดแล้ว เพราะไม่รู้ว่าทุกข์เกิดจากความติดข้อง ก็เกิดความไม่รู้ คิดว่าต้องทำให้สิ่งที่ติดข้องนั้นเป็นไปตามที่ปราถนาจึงจะไม่ทุกข์ ก็แสวงหาทางต่างๆ ที่จะทำให้สิ่งที่ติดข้องนั่นเป็นไปอย่างปราถนาหรือไม่เสื่อมไม่หายไป ก็มีการเชื่อการปฏิบัติผิดๆ ต่างๆ นาๆ ด้วยความไม่รู้นั่นเอง

ต้องเริ่มจากความเข้าใจก่อนว่า สิ่งทั้งหลายเป็นสภาพธรรมะ และสภาพธรรมะทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ที่จะสามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่โลภะต้องการได้ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย แล้วเมื่อหมดเหตุปัจจัยนั้นก็ดับสิ้นไป ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีตัวตนที่จะบังคับบัญชาได้เลย คือเป็นหลักพระไตรลักษณ์ หรืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


การกลัวที่ว่าเพื่อนจะคิดไม่ดี จะไม่พอใจ จะขุ่นเคือง จะนินทาอย่างนั้นอย่างนี้กับเราหรือเปล่า ขณะนั้นจิตก็เป็นอกุศล เป็นโทสะ เพราะใจเป็นทุกข์

ทั้งนี้เหตุเพราะอะไร เพราะโลภะติดข้อง หวัง ปราถนาที่จะให้เพื่อนไม่เป็นอย่างนั้น อาจจะปราถนาให้เพื่อนชอบเรา ให้เพื่อนชื่นชมเรา หรือให้เพื่อนคิดสิ่งที่ดีๆ กับเรา นั่นคือโลภะติดข้องในอาการอย่างนี้ของเพื่อน แต่พอไม่รู้ว่าเพื่อนคิดกับเราแบบที่เราต้องการหรือไม่ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้จริงๆ ด้วยซ้ำว่าเพื่อนคิดไม่ดีกับเราจริงหรือเปล่า ก็เกิดทุกข์เพราะกลัว-กังวลได้แล้ว

นี่คือความน่ากลัวของอกุศลจิต ที่เป็นไปตามการสะสมมา เพราะขณะนี้ยังไม่ทราบเลยว่าเพื่อนคิดอย่างนั้นจริงๆ ไหม ก็ทุกข์เสียแล้ว เพราะติดข้อง เพราะอาศัยคิดเรื่องเพื่อนบ่อยๆ คิดมากๆ ก็เลยเกิดการกลัวขึ้น กลัวนี้ก็ไม่ได้เกิดจากเพื่อนหรืออะไรเลย เกิดจากโลถะในจิตของเราเอง ที่อยากให้เพื่อนคิดอย่างนั้นอย่างนี้กับเรา

ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เพื่อนเองก็มีจิตของเขาที่สั่งสมต่างๆ กันมา บางคนอาจจะสั่งสมมาที่จะเป็นคนชอบนินทา ไม่มีเรื่องอะไรก็กุเรื่องนินทาขึ้นมาได้ หรือบางคนอาจจะสั่งสมมาที่จะคิดมาก แบบคุณ wheretostart ก็ได้ หรือบางคนอาจจะสั่งสมมาที่จะโกรธมาก ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเล็กน้อยก็โกรธ เพราะฉะนั้นเพื่อนๆ เองก็มีอุปนิสัยต่างๆ กัน และเป็นไปตามกิเลสของตนๆ เราจะไปบังคับเขาให้เป็นอย่างที่ต้องการไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาจิตของเราเองนั่นแหละ ไม่ให้ทุกข์ ด้วยการเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นอนัตตา คือควบคุมไม่ได้ เมื่อเห็นอย่างนั้นก็ค่อยๆ คลายความติดข้องในสิ่งต่างๆ เพราะเห็นแล้วว่าติดแล้วก็เป็นโทษ เพราะโลภะมีลักษณะอาการคือ ติดข้อง พอใจ ในสิ่งต่างๆ และเมื่อไมไ่ด้ดั่งต้องการ ก็ทุกข์

ฉะนั้นสำคัญที่จิตเรา จิตเรามีกุศลจิตที่คิดจะช่วยเพื่อน คิดจะให้เพื่อนเป็นสุขใช่ไหม ถ้าจิตเราเป็นอย่างนั้น แล้วมีการกระทำต่างๆ ที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เพื่อน เห็นอกเห็นใจเพื่อน ช่วยเพื่อนเท่าที่กำลังของเราสามารถจะช่วยได้แล้ว ก็ชื่อว่าได้ทำหน้าที่ของเพื่อนที่ดีแล้ว อะไรที่มันนอกเหนือจากนี้จริงๆ ก็เกินกว่าที่เราจะสามารถ เพื่อนเองก็เป็นไปตามกรรมและการสั่งสมอุปนิสัยของตนๆ ในเมื่อจิตของเราเป็นกุศลจริงๆ ไม่ได้คิดเอาเปรียบ ไม่ได้กระทำตนให้เพื่อนเดือดร้อนด้วยเจตนาอยากให้เขาเดือดร้อน (คือบางทีก็อาจจะมีเจตนาดี แต่ทำให้เพื่อนเดือดร้อน ก็ชื่อว่าเจตนาดี) ก็ไม่ต้องไปกังวลใดๆ ว่าเพื่อนจะคิดอะไรยังไงกับเรา สำคัญที่เราทำด้วยความเมตตา ทำด้วยเจตนาดี ไม่ได้มีเจตนาร้ายกับเพื่อนเลย เพื่อนจะคิดอย่างไร ก็ล้วนแต่ตามการสั่งสมของเพื่อนคนนั้นๆ เราบังคบัให้เขาคิดอย่างนี้ๆ ตามเราไม่ได้

เมื่อเราทำด้วยเจตนาดี เขาจะว่าอะไรก็ไม่ควรน้อมเอามาใส่ใจ ไม่ควรน้อมเอามาน้อยใจ เพราะขณะที่น้อยใจ เสียใจ ไม่ชอบ เป็นทุกข์ เราจะต้องเป็นทุกข์ไปทำไม ไม่ใช่เรื่องของเราที่จะต้องทุกข์เลย ทุกข์ไม่ใช่ประโยชน์จริงๆ ไม่มีประโยชน์อะไรเลยในความทุกข์ ทุกข์ไม่ว่าจะทุกข์เพราะเรื่องอะไรก็ตาม (แม้แต่เมื่อเราทำผิด แล้วเป็นทุกข์เพราะการกระทำบาปความผิดนั้น ขณะนั้นทุกข์ของเราตอนนั้นที่บางคนคิดว่ามันดี เพราะเป็นเหมือนการยอมรับผิด จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ขณะที่ทุกข์นั้นก็เป็นโทษ เพราะทุกข์ไม่ช่วยให้เหตุการที่ทำไปแล้วกลับคืนมาได้ จึงควรที่จะน้อมจิตให้เป็นกุศล เห็นเหตุการผิดพลาดนั้นเป็นสติเครื่องเตือนใจว่า การกระทำบาปเช่นนี้จะต้องไม่มีกับเราอีก แล้วมุ่งกระทำความดี ส่วนอะไรล่วงไปแล้วก็ไม่ควรเอามาใส่ใจให้เป็นทุกข์ เพราะไม่เป็นประโยชน์จริงๆ )

ทุกข์เป็นแต่โทษ ควรที่จะเจริญจิตให้เป็นกุศลมากกว่า อาจจะด้วยการเจริญเมตตาก็ได้ อย่างเช่นเมตตาเพื่อนๆ ปราถนาให้เขาเป็นสุข แม้แต่ตนเอง ก็เมตตาจิตตนว่าทุกข์อยู่ไปเพื่ออะไร ก็ให้จิตเป็นสุข

สุดท้ายนี้ ควรที่จะเจริญสติปัฏฐานระลึกสภาพธรรมะแต่ละอย่างให้เห็นตามความเป็นจริงๆ จริงๆ ว่าไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เป็นสิ่งเกิดดับ ทุกข์ก็เกิดดับ พอทุกข์เกิด ก็ระลึกเห็นชัดว่าตอนนี้กำลังทุกข์ ก็จะสลัดทุกข์ออกไปได้ด้วยสติ เพราะทราบว่าทุกข์ไม่ใช่ประโยชน์ ทุกข์เป็นแต่โทษ แม้โลภะ โมหะเอง ก็ไม่ใช่ประโยชน์ พอระลึกได้ ก็เปลี่ยนจิตเป็นกุศล ก็เป็นสุข กระทำกรรมต่างๆ ด้วยกุศลจิตก็จะเป็นการเกื้อกูลทั้งตนเองและผู้อื่น และก็ไม่มีทุกข์ใดจะเกิดได้ เพราะกาย วาจา ใจ เป็นสุจริต

ทั้งนี้ ไม่ควรทิ้งพระธรรม ต้องศึกษาพระธรรม เจริญสติปัฏฐาน เพราะถ้าปัญญาไม่มั่นคงในพระธรรม สติไม่มั่นคงในการระลึกอกุศลและสภาพธรรมทั้งหลาย ก็ไม่วายจะต้องทุกข์อีก แล้วก็ทุกข์เรื่อยๆ เพราะอะไร เพราะสติไม่เกิด กุศลจิตไม่เกิด ปัญญาไม่เกิดเห็นโทษของอกุศล ก็เลยมัวเมาไปกับอกุศลอีกตามเดิม

สำคัญที่สติต้องเกิดระลึกสภาพธรรมะ และปัญญาต้องเกิดทราบจริงๆ ว่า ขณะใดเป็นอกุศลจิต ขณะใดที่ติดข้อง ขณะใดที่ไม่รู้ สงสัย คิดไม่ออก ขณะใดที่ทุกข์ โกรธ ขุ่นเคือง ขณะเหล่านั้นไม่ใช่ประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ ต้องเห็นโทษของอกุศลจริงๆ ที่เป็นโทษเพราะขัดขวางการเกิดของกุศล ขัดขวางกุศลกรรม และขณะที่เป็นอกุศลย่อมเป็นเหตุปัจจัยนำมาซึ่งทุกข์ จิตก็จะค่อยๆ น้อมไปในกุศล ค่อยๆ ละอกุศล ด้วยกำลังสติ และปัญญา

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

ขออนุญาตนำความเห็นนี้ไปแชร์ในเฟซบุ๊กนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
นิรมิต
วันที่ 18 ก.ย. 2555

ยินดีและขออนุโมทนาสาธุคุณ Pissanu ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaturong
วันที่ 19 ก.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 19 ก.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"เริ่มต้น จากการฟังพระธรรมให้เข้าใจ ไม่ควรไปทำอะไรด้วยความไม่รู้"

"หากเรายังไม่มีความเข้าใจถูกขั้นการฟัง จะไปปฏิบัติ จะไปทำสมาธิ

ก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรกิเลสได้เลย เพราะ ความไม่รู้ ไม่สามารถจะละกิเลสได้"

"ปัญญาเท่านั้นที่จะละกิเลสได้"

"ปัญญาจะเจริญขึั้นได้ ก็มาจากการสะสมไปทีละเล็กทีละน้อย

จะขาดการฟังพระธรรม ไม่ได้เลย ครับ"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของอ.ผเดิม, อ.คำปั่นและทุกๆ ท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ