กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น

 
pirmsombat
วันที่  6 ก.ค. 2555
หมายเลข  21360
อ่าน  1,084

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากพระสุตตันตปิฎก

[๔๑๒] บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา

มีสติทุกเมื่อ

ไม่สำคัญว่าเสมอเขา

ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา

ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขาในโลก

กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น


ข้อความบางตอนจาการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

อุเบกขาบารมี

ความเป็นผู้วางเฉย ไม่หวั่นไหว ในสัตว์ ในสังขารทั้งหลาย และ ในโลกธรรมทั้งหลายทั้ง

ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา

ถ้าเป็นไปได้นี่สบายจริงๆ สงบจริงๆ ไม่หวั่นไหวเลย เพราะว่าปัจจุบันนี้ที่ มีความทุกข์

เพราะหวั่นไหว

แต่ถ้ามีใจที่มั่นคงในเรื่องของกรรมจะเป็นผู้ที่ไม่หวั่นไหวได้

และสำหรับผู้ที่เจริญอุเบกขาบารมีนั้น ไม่สนใจในโทษผิดของผู้นั้น

ในอรรถกถาใช้คำว่าในโทษผิดของผู้นั้น

คือผู้ที่ทำความผิดนั้นๆ บุคคลนั้น

ผู้ที่เจริญ อุเบกขาบารมี ไม่สนใจในโทษผิดของผู้นั้น

เป็นผู้วางเฉย ไม่เดือดร้อน เพราะรู้ว่า

ทุกคนมีกรรมเป็นของๆ ตน


ข้อความบางตอนจาการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

มัชฌิมาปฏิปทา

ต้องเป็นกุศลจิตที่เกิดพร้อมสติสัมปชัญญะ

ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมแล้วเป็นกลาง

คือรู้ตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรมในขณะนั้น

จึงจะเป็นมัชฌิมาสติปัฏฐานซึ่งก็คือสติปัฏฐานนั่นเอง


ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นในวันหนึ่งๆ

ก็ควรจะพิจารณาว่า มีมานะ มากน้อยแค่ไหน และ ในขณะไหนบ้าง

เพราะว่าถ้าไม่รู้ว่าขณะใดเป็นมานะ ก็ไม่ละมานะ ในขณะนั้น

ไม่เห็นโทษ ก็ไม่ละ

ทีนี้ทำอย่างไรจึงจะเห็นได้ว่า ขณะนี้มากแล้ว จึงได้ปรากฏเพราะว่า ปกติประจำวัน ถ้าไม่สังเกตนะคะ ก็ไม่สามารถจะรู้ได้

ข้อความในปรมัตถทีปนีอรรถกถา ขุททก อิติวุตตกะ อรรถกถา มานสูตร

ข้อ ๑๘๔ มีข้อความว่า

ที่จะรู้ตัวว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน ก็คือมานะทั้งหมด

มีการยกตนและข่มผู้อื่น เป็นนิมิตคือเป็นสภาพที่ปรากฏให้รู้ได้ เป็นเหตุให้ไม่ทำการ

กราบไหว้ ต้อนรับ คือ อัญชลีกรรม และ สามีจิกรรมเป็นต้น ในท่านผู้อยู่ในฐานะที่ควร

เคารพ เป็นเหตุให้ถึงความประมาทโดยความมัวเมาในชาติเป็นต้น

ซึ่งสภาพธรรมที่ตรงข้ามกับมานะ ก็คือในขณะที่จิตอ่อนน้อมในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้ง

หลาย ความรู้สึกในขณะนั้นดุจคนจัณฑาล เข้าไปสู่ราชสภา

เคยเป็นคนสำคัญมาก เวลาที่มานะเกิด ขณะใด ที่มานะไม่เกิดและมีความอ่อนน้อมแทนมานะ ความรู้สึกในขณะนั้น ดุจคนจัณฑาล เข้าไปสู่ราชสภา

ท่านผู้ฟัง การมีมานะ บางทีเราทราบจากคนอื่นได้ไหม เรามีมานะ คนอื่นเขามีปฏิกิริยาตอบโต้เรามา อย่างนั้น จะถึอว่าเป็นผลของวิบากกรรม ที่เราได้ทำมาได้ไหมครับ

ท่านอาจารย์ วิบาก หมายความถึงสภาพธรรมที่รู้สิ่งที่ปรากฏ ทางตา ... ทางกาย เห็น ได้ยิน ... รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ที่ไม่น่าพอใจ ขณะใด ขณะนั้นก็เป็นอกุศลวิบาก ถ้าเป็นสิ่งที่น่าพอใจ ขณะนั้นก็เป็นกุศลวิบาก

เพราะฉะนั้น ก็พอที่จะรู้จักตัวเองได้ ขณะใด ซึ่งไม่มีการกราบไหว้ ไม่มีการต้อนรับ ผู้ที่อยู่ในฐานะที่ควรแก่การที่จะต้อนรับ หรือ กราบไหว้ ในขณะนั้น ก็รู้ได้ว่า สภาพจิตในขณะนั้นรู้สึกตัวขึ้นมาทันที ก็พอที่จะรู้ถึง ความกระด้างของจิตในขณะนั้น ถ้าเป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ก็จะรู้ได้เลยค่ะ ว่าขณะนั้นเป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วชื่อว่า "มานะ" เป็นสิ่งที่ดี หรือ ไม่ดีคะ ต้องเห็นว่าเป็นโทษจริงๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 6 ก.ค. 2555

เป็นอุเบกขาระดับสูงจริงๆ ครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kinder
วันที่ 6 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 6 ก.ค. 2555

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทางและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 6 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ