ศรัทธามั่นคงเป็นอย่างไร? [จวมานสูตร]

 
wittawat
วันที่  1 ก.ค. 2555
หมายเลข  21323
อ่าน  2,266

ศรัทธามั่นคงเป็นอย่างไร?

ศรัทธาตั้งมั่นเพียงใด จะน้อย หรือมาก หรือไม่หวั่นไหว แทรกลงในจิตสันดาน ก็คือ มั่นคงมาก ที่จะไม่มีการว่างเว้นหรือหยุดขาดตอน ผู้ที่รู้ได้ ก็คือ ตนเอง เช่น การได้เกิดเป็นมนุษย์ ผู้ที่ได้สะสมศรัทธามาแล้ว ก็ได้มีโอกาสฟังธรรม และมีโอกาสที่ศรัทธาจะมั่นคงยิ่งขึ้น ถ้าศรัทธาที่จะฟังธรรมคงอยู่ มั่นคงไม่ขาดหายก็มีโอกาสที่ทำให้ศรัทธานั้นมั่นคงขึ้นได้เรื่อยๆ

อ่านข้อความเตือนสติ ทั้งหมดจากจวมาน สูตร..ข้อความเตือนสติเรื่องจวมานสูตร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 2 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 2 ก.ค. 2555

ขอบพระคุณและอนุโมทนาครับ

ขออนุญาตเรียนสอบถามว่า จะตรวจสอบศรัทธาว่ามั่นคงเพียงใดได้อย่างไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 2 ก.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

จะเห็นศรัทธาที่มั่นคง เป็นสัทธินทรียฺ์ที่มีกำลังมาก มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง คือ เมื่อบรรลุเป็นพระโสดาบัน ครับ นั่น คือ มีศรัทธาที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง แล้ว ประกอบด้วยองค์คุณ ๔ ประการ ที่เรียว่า โสดาปัตติยังคะ คือ การคบสัตบุรุษ๑ การฟังธรรม๑ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม๑ จนถึงการบรรลุธรรม เป็นการแสดงถึง เมื่อศรัทธามั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อบรรลุเป็นพระโสดาบัน ครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

๘.ทัฏฐัพพสูตร ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ

[๘๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[๘๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมไหนเล่า. ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๔] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมไหนเล่า. ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมนี้.

แต่ ถ้าเป็นการแสดงลักษณะของผู้ที่มีศรัทธา ที่มีในชีวิตประจำวัน แต่ไม่ได้เป็นการแสดงว่า มีศรัทธาที่มั่นคง นะครับ ลักษณะของผู้มีศรัทธา มี 3 อย่าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓- หน้าที่ 192

๒. ฐานสูตร ว่าด้วยลักษณะผู้มีศรัทธา ๓ ประการ

[๔๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส พึงรู้ได้ด้วยสถาน๓ สถาน๓ คืออะไร คือ เป็นผู้ใคร่ในการเห็นผู้มีศีลทั้งหลาย๑ เป็นผู้ใคร่เพื่อจะฟังธรรม๑ มีใจปราศจากมลทิน คือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว มีมืออันล้างไว้ (คอยจะหยิบของให้ทาน) ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ พอใจในการให้และการแบ่งปัน๑ ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส พึงรู้ได้ด้วยสถาน ๓ นี้แล
ผู้ใดใคร่ในการเห็นผู้มีศีล ปรารถนาจะฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทินคือความตระหนี่เสียได้ ผู้นั้นชื่อว่า ผู้มีศรัทธา.

จบฐานสูตรที่ ๒

เครืองทดสอบ ที่ดีที่สุด คือ ปัญญา เมื่อมีปัญญา ศรัทธาก็เจริญขึ้น ตามปัญญา และเมื่อถึงความเป็นพระโสดาบัน ก็เป็นการแสดงถึงความมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงของศรัทธาในพระรัตนตรัยส่วนผู้ที่จะถึงความเป็นผู้มีศรัทธาที่บริบูรณ์ สูงสุดไม่ใช่พระโสดาบัน แต่ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์ ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้มีศรัทธาบริบูรณ์ ไม่หวั่นไหว โดยประการทั้งปวงครับ ดังนั้นการจะถึงความเป็นพระอรหันต์ ก็ต้องเริ่มจากการศึกษา อบรมปัญญาเบื้องต้น ครับ ถึงจะถึงความเป็นผู้มีศรัทธาบริบูรณ์ คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้า ๒๒๖

แม้บุคคล ๔ จำพวกคือ ปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีชื่อว่า ผู้ไม่มีศรัทธา ในบททั้งหลายว่า อสฺสทฺโธ เป็นต้น. จริงอยู่ ปุถุชนชื่อว่าไม่มีศรัทธา เพราะยังไม่ถึงศรัทธาของพระโสดาบัน. พระโสดาบัน... ของพระสกทาคามี. พระสกทาคามี... ของพระอนาคามี. พระอนาคามีชื่อว่าไม่มีศรัทธา เพราะยังไม่ถึงศรัทธาของพระอรหันต์.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 2 ก.ค. 2555

ชัดเจนมากครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 2 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"ถ้าศรัทธาที่จะฟังธรรมคงอยู่ มั่นคงไม่ขาดหาย ก็มีโอกาสที่ทำให้ศรัทธานั้นมั่นคงขึ้นได้เรื่อยๆ "

เพราะเป็นผู้เห็นประโยชน์ของพระธรรม จึงฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ละคลายความเห็นผิด ละคลายความสงสัย และกิเลสประการอื่นๆ ศรัทธาก็จะมั่นคงยิ่งขึ้นคล้อยตามความเข้าใจที่เจริญขึ้น ถ้าไม่เริ่มต้นที่การฟังพระธรรมเลย ย่อมไม่มีทางที่ศรัทธาจะเจริญมั่นคงขึ้นได้ ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณวิทวัต (และทีมงานประมวลธรรมจากการถอดเทปการสนทนาพระสูตร) และทุกๆ ท่าน ด้วยครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 2 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"โดยการฟังพระธรรมจนกว่าจะเข้าใจเพิ่มขึ้นๆ ๆ ๆ " เมื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น ศรัทธาก็มั่นคงเพิ่มขึ้นครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณวิทวัต (และทีมงานประมวลธรรมจากการถอดเทปการสนทนาพระสูตร) และทุกๆ ท่าน ด้วยครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผิน
วันที่ 4 ก.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
หลานตาจอน
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 5 ก.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ