การทำบุญด้วยการไปไถ่ชีวิตโคและกระบือ ตามความเชื่อในพุทธศาสนา

 
kinder
วันที่  30 เม.ย. 2555
หมายเลข  21048
อ่าน  13,122

ขอทราบความเห็นครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บุญ คือ สภาพจิตที่ดีงาม ที่ชำระล้างสันดาน คือ จากกิเลสทั้งหลาย ดังนั้น ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้น เป็นบุญ ซึ่ง บุญ ที่เป็นกุศล มีหลายประการคือ มี ๑๐ ประการที่เป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ

พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนที่พุทธเจ้าทรงแสดงที่ทรงสรรเสริญ การเจริญกุศลทุกๆ ประการ ทั้งการให้ทาน รักษาศีล การเจริญวิปัสสนา

การไถ่ชีวิต โค กระบือ เป็นการให้ชีวิตกับสัตว์ ให้รอดพ้นจากความตายในขณะนั้น ดังนั้น ตามที่กล่าวไปแล้วครับว่า บุญ ก็คือ จิตที่ดีงาม ดังนั้น ขณะที่คิดช่วยเหลือให้สัตว์นั้นพ้นจากทุกข์ ให้ชีวิตเขา ขณะนั้นก็เป็นกุศลจิต เป็นบุญ จึงไม่ได้จำกัดเพียงโค กระบือ เท่านั้น สัตว์ทั้งหลาย ก็ควรให้อภัย ให้ความไม่น่ากลัว และช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้ มีการให้ชีวิตกับ โค กระบือ ก็เป็นสิ่งที่สมควร ครับ

แต่กุศล ที่เป็นบุญก็มีหลายระดับ ตามความคิด ตามการสะสม ผู้ที่มีความเข้าใจพระธรรม ย่อมไม่ละเลยการเจริญกุศลทุกๆ ประการ ทั้งการให้ทาน ที่เป้นวัตถุ การให้ชีวิตเป็นทาน การรักษาศีลและมีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมด้วย และเมื่อมีความเข้าใจพระธรรม ก็ทำด้วยความเห็นถูก ที่ไม่ใช่เพราะอยากได้บุญ อยากพ้นเคราะห์จึงไปไถ่ชีวิต โค กระบือ ที่สำคัญ ผู้มีปัญญาย่อมพิจารณาว่า สถานที่ใด เหมาะสมหรือไม่ ที่จะให้มีการจัดสถานที่ ไถ่ชีวิต โค กระบือ เช่น การจัดสถานที่ในวัด เพื่อให้รายได้เข้าวัด อย่างนี้ไม่สมควร ก็ไม่ควรทำ และผู้ที่จะทำ คือ ไถ่ชีวิต โค กระบือในวัด นั้น ควรทำหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาให้เหมาะสม แต่ในความเป็นจริง หากจะทำกุศล ไถ่ชีวิตโค กระบือ ก็สามารถไปทำที่โรงค้าเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นสถานที่เหมาะสม และ ไม่เป็นการทำให้ วัดนั้น เปลี่ยนจุดประสงค์ไปในทางอื่นด้วยครับ

กุศลทุกอย่างควรเจริญ แต่ควรพิจารณาด้วยปัญญา และ ช่วยเท่าที่ช่วยได้ แต่ไม่มีการจะช่วยอะไรที่ประเสริฐกว่าการให้ ธรรม ความเข้าใจพระธรรม เพราะ ความเข้าใจพระธรรมของบุคคลอื่นที่เกิดขึ้น ย่อมทำให้สามารถดับกิเลส ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เหตุให้ต้องมีการเกิด เมื่อเกิด ก็ต้องตาย แต่ อริยมรรค เป็นหนทางแห่งความไม่ตาย เพราะ สามารถดับกิเลสไม่เกิดอีกเลย ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
intra
วันที่ 1 พ.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 1 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บุญหรือกุศลนั้นอยู่ที่สภาพจิต สภาพจิตที่ดีงาม เกิดขึ้นในขณะใดก็เป็นบุญ เป็นกุศลแล้ว ในขณะนั้น สำหรับผู้ที่เห็นคุณของกุศล เห็นโทษของอกุศล ท่านก็จะไม่ละเลยโอกาสของการเจริญขึ้นของกุศลธรรม เป็นโอกาสที่จะปล่อยสัตว์ ก็ปล่อย ซึ่งเป็นการให้ชีวิตเป็นทาน เป็นการช่วยเหลือสัตว์ให้พ้นจากการจองจำ ให้ความเป็นอิสระ ทำให้สัตว์ได้พ้นจากความเดือดร้อนในขณะนั้น เป็นความปรารถนาดีที่มีต่อสัตว์ เป็นกุศลจิต เมื่อกุศลจิตเกิดขึ้น ก็ช่วยเหลือทันที ปล่อยทันที เท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะ ถ้ากุศลจิตไม่เกิดแล้ว ก็จะเป็นโอกาสให้อกุศลจิตเกิด ซึ่งอกุศลนี้ไม่มีประโยชน์เลยแม้แต่นิดเดียว เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว กุศลธรรม เป็นธรรมที่ควรอบรมเจริญในชีวิตประจำวัน ส่วนอกุศลธรรม ควรละเว้นให้ห่างไกล ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 1 พ.ค. 2555

การรักษาศีล ๕ เป็นมหาทาน สูงยิ่งกว่าการให้วัตถุทาน เพราะเป็นการให้ความสุข ความไม่เบียดเบียนใคร ไม่มีภัยกับคนอื่น และการช่วยเหลือชีวิตสัตว์อื่นทุกชนิดไม่ให้ถูกฆ่าเป็นความดี แต่การให้ธรรมทานประเสริฐที่สุด เพราะทำให้เขามีปัญญาและสามารถสะสมไปในภพหน้าและภพต่อๆ ไป ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kinder
วันที่ 1 พ.ค. 2555

กราบขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 1 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

"การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 1 พ.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ