อธิบายวิจิกิจฉา

 
pirmsombat
วันที่  28 ม.ค. 2555
หมายเลข  20454
อ่าน  2,626

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 751

......................................

อธิบายวิจิกิจฉา

วิจิกิจฉาย่อมเกิดขึ้นได้ โดยไม่มนสิการในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่

ตั้งแห่งวิจิกิจฉา. ที่ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา ก็ได้แก่วิจิกิจฉานั่น

เอง เพราะเป็นเหตุแห่งความสงสัย. เมื่อเรายังอโยนิโสมนสิการในวิจิกิจฉา

นั้นให้เป็นไปมากครั้งเข้า วิจิกิจฉาย่อมเกิดขึ้น.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย และการทำ

ให้มากในธรรมนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) เพื่อให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ก็การละวิจิกิจฉาแม้นั้น ย่อมมีได้ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรม

ทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ

ธรรมที่ควรส้องเสพและไม่ควรส้องเสพ ธรรมที่เลวและประณีต ธรรม

ที่มีส่วนคล้ายกับธรรมคำและธรรมขาว การทำไว้ในใจโดยแยบคาย และ

การทำให้มากในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) เพื่อไม่ให้

๑. ปาฐะว่า อิเมหิ ปน ฉหิ ธมฺเมหิ ปหีนสฺส อุทฺธจฺจสฺส อรหติตมคุเคน ฯลฯ ปชานาติ.

ฉบับพม่าเป็น อิเมหิ ปน ฉหิ ธมฺเมหิ ปหีเน อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺเจ อุทธฺจฺจ ฯลฯ ปชานาติ

แปลตามฉบับพม่า.

วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.๑

ละวิจิกิจฉาด้วยธรรม อย่าง

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง ๖ อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉาคือ

ความเป็นพหูสูต ความเป็นผู้สอบถาม ความเป็นผู้รู้ปกติใน

พระวินัย ความเป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ ความเป็นผู้มีกัลยาณ-

มิตร การกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ .

อธิบายว่า เธอแม้เรียน นิกาย ๑ บ้าง ฯลฯ ๕ นิกายบ้าง

ทั้งโดยพระบาลี ทั้งโดยอรรถกถา ย่อมละวิจิกิจฉาได้แม้ด้วยพาหุสัจจะ.

ผู้มากด้วยการสอบถามโดยการปรารภพระรัตนตรัยก็ดี ผู้มีความชำนาญ

ช่ำชองในพระวินัยก็ดี ผู้มากไปด้วยอธิโมกข์ กล่าวคือมีศรัทธามั่นคงใน

พระรัตนตรัยก็ดี ผู้คบหากัลยาณมิตร ผู้เป็นสัทธาวิมุติเช่นพระวักกลิเถระ

ก็ดี ย่อมละวิจิกิจฉาได้ด้วยพาหุสัจจะ.

ในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนการนั่งเป็นต้น เธอย่อมละวิจิกิจฉาได้

แม้ด้วยถ้อยคำที่เป็นสัปปายะเกี่ยวกับคุณของพระรัตนตรัย. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ธรรม ๖ อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อละ

วิจิกิจฉา ก็พระโยคาวจรย่อมทราบชัดว่า วิจิกิจฉาที่ละได้ด้วยธรรม ๖

อย่าง เหล่านี้จะไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป เพราะโสดาปัตติมรรค


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิจิกิจฉา มีลักษณะที่สงสัย ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ในเรื่องของสภาพธรรม มี

ความคิดเห็นเป็น ๒ อย่าง อุปมาเหมือนทาง ๒ แพร่ง เช่น พระพุทธพระธรรม พระ

สงฆ์ มีคุณจริงหรือไม่ นรก สวรรค์ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ บาปบุญมีจริงหรือไม่ และ

ผลของบาปบุญให้ผลได้จริงหรือไม่ วิจิกิจฉาเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตประเภทโมหมูลจิต

วิจิกิจฉาสัมปยุตต์เพียงดวงเดียวเท่านั้น

วิจิกิจฉา โดยทั่วไป จึงมุ่งหมายถึง ความลังเลสงสัย ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระ

สงฆ์ในสิกขา สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีต สงสัยในขันธ์ที่เป็นอนาคต สงสัยในขันธ์ที่เป็น

อดีตและอนาคต สงสัยในปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นจึงมุ่งหมายถึง ความลังสงสัยในเรื่อง

สภาพธรรมด้วยเป็นสำคัญ แต่ถ้าสงสัยในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น เรื่องราวทางโลก ที่ไม่เกี่ยว

กับสภาพธรรม เช่น สงสัยว่า 4 บวก 5 เป็นเท่าไหร่ ความสงสัยนี้ไม่ใช่วิจิกิจฉาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...วิจิกิจฉา ๘ อย่าง

ซึ่ง ผู้ที่จะละ ความลังเลสงสัยจนหมดสิ้น คือ พระโสดาบัน แต่ก่อนจะถึงความเป็น

พระโสดาบัน ก็อาศัย พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และปัญญาที่เจริญขึ้น ก็

ค่อยๆ ละ ความลังเล สงสัยได้ ทีละเล็กละน้อย

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมที่จะค่อยๆ ละความลังเลสงสัย

ด้วยธรรม 6 ประการดังนี้

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

ธรรมสำหรับละวิจิกิจฉา

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) คือ ๑ .ความสดับมาก ๒. การสอบถาม ๓. ความชำนาญในวินัย ๔. ความมากด้วย

ความน้อมใจเชื่อ ๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.

ความสดับมาก...เพราะเป็นผู้ฟังพระธรรมมากด้วยความเข้าใจในพระธรรม เมื่อมีความ

เข้าใจพระธรรมมากขึ้น เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม เป็นธรรมดาย่อมค่อยๆ ละคลายความ

ไม่เชื่อ ความสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรมได้ เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมจึงเป็นเหตุ

ปัจจัยหนึ่งที่จะละคลายความสงสัยเสียได้

การสอบถาม...เมื่อไม่เข้าใจ ก็สอบถามและเมื่อได้เข้าใจในคำตอบ ปัญญาเจริญขึ้น

จึงละคลายความสงสัยในสิ่งที่ถามและในพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้

ความชำนาญในวินัย.....เพราะเข้าใจถึงเหตุและผลของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงตาม

ความเป็นจริงในส่วนอื่นๆ ย่อมละคลายความสงสัยเสียได้

ความน้อมใจเชื่อ..หมายถึงน้อมใจด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม เมื่อมีศรัทธา

ย่อมละคลายความสงสัยเสียได้

ความมีกัลยาณมิตร...เพราะอาศัยผู้ที่ความรู้ ความเข้าใจพระธรรมและที่สำคัญคือ

เป็นผู้มีคุณธรรมย่อมสามารถเกื้อกูลบุคคลนั้นได้ ทำให้ละคลายความสงสัยได้

การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.......การสนทนาพูดคุยถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้า

สนทนาในคุณพระรัตนตรัยย่อมทำให้เกิดศรัทธา เกิดความเข้าใจในพระธรรมย่อมละ

คลายความสงสัยในพระรัตนตรัยได้ครับ

ขออนุโมทนาคุณหมอและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 28 ม.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอและอาจารย์ผเดิมครับ

ผมขออนุญาตเรียนสอบถามเพิ่มเติมอีกสักนิดนะครับว่า

"ความน้อมใจเชื่อ" มีความหมายอย่างไร เนื่องจาก ผู้ศึกษาอาจมีความ

เห็นหลายประเภท เช่น เชื่อง่าย เชื่อยาก ไปจนถึง หัวชนฝา พอเถียงไม่ได้ก็ขอลา เป็นต้น

อย่างไร จึงจะเป็นความน้อมใจเชื่อที่ตรงตามพุทธพจน์นี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 28 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

ความน้อมใจเชื่อ เป็นลักษณะของศรัทธา ไม่มีตัวเราที่จะน้อม แต่เมมื่อมีศรัทธา

เกิดขึ้น ก็น้อมไปที่เชื่อ คือ มีศระัทธาในสิ่งนั้น เช่น น้อมในเชื่อไปในพระพุทธเจ้า

พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่ง การน้อมใจเชื่อ ด้วยศรัทธา ก็เพราะมีปัญญาเกิดขึ้น รู้ความจริง

ขณะที่ปัญญาเกิด รู้ความจริงก็ทำให้ศรัทธา ความน้อมใจเชื่อเกิดขึ้นด้วยในขณะั้นั้น

และก็ทำให้ศรัทธามั่นคงมากขึ้น น้อมใจเชื่อ อันเกิดจากปัญญา มีกำลังมากขึ้น จนถึง

ความมั่นคง ไม่หวั่นไหว ที่เป็นการน้อมใจเชื่อไม่เปลี่ยนแปลงในพระรัตนตรัย เมื่อถึง

ความเป็นพระโสดาบันครับ ซึ่งก็ต้องอาศัยปัญญา เป็นสำคัญ

ส่วน การเชื่อง่าย เชื่อยาก ไปจนถึง หัวชนฝา พอเถียงไม่ได้ก็ขอลา ความเชื่อ ที่

เป็นคำกลาง ก็สามารถใช้กับฝ่ายอกุศลก็ได้ เช่น ผู้ที่มีความเห็นผิด ก็เชื่อ เลื่อมใส

ในสิ่งที่ผิด นั่่นก็คือ โลภมูลจิตที่ประกอบด้วยทิฏฐิเจตสิก เป็นความเชื่อด้วยความเห็น

ผิดนั่นเองครับ ซึ่ง เชื่อง่ายด้วยอกุศล เพราะขาดการพิจารณาด้วยปัญญา จึงเชื่อง่าย

เชื่อยาก หัวชนฝาด้วยอกุศล เพราะด้วยมานะ และความเห็นผิด

ส่วนเชื่อ น้อมใจเชื่อ ด้วยศรัทธา อันเกิดจากปะัญญา ความเห็นถูก ก็เพราะ

พิจารณาตามความเป็นจริงอย่างถูกต้องแล้ว จึงเชื่อ นี่ก็แสดงถึงความแตกต่างกัน

ของการเชื่อ น้อมใจเชือ่ในลักษณะต่างๆ ครับ

ดังนั้นการน้อมใจเชื่อที่ตรงตามพระพุทธพจน์และเป็นการน้อมใจเชือที่ถูกต้อง คือ

น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ที่เป็นกุศลและประกอบด้วยปัญญา อันมีปัญญาเป็นพื้นฐาน

จึงเชื่อเพราะเห็นถูกตามความเป็นจริงครับ ขออนุโมทนาคุณผู้ร่วมเดินทาง ที่ร่วม

สนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 28 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคล ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม ก็ยังมีอยู่ ความลังเลสงสัย เป็นกิเลสที่กางกั้นไม่ให้กุศลจิตเกิด คือ เป็นนิวรณ์ หรือกล่าวได้ว่า อกุศลทุกประเภทเป็นนิวรณ์ ก็ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดขึ้น นั้น กุศล เกิดไม่ได้เลย และหนทางที่จะเป็นไปเพื่อละคลายความสงสัยรวมไปถึงกิเลสอกุศลธรรมประการต่างๆ ด้วย นั้น คือ การอบรมเจริญปัญญา เพราะขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจ ขณะนั้น ก็ละคลายความสงสัย ละคลายความไม่รู้ แล้ว จนกว่าจะดับได้อย่างหมดสิ้น เมื่อถึงความเป็นพระอริยบุคคล การเป็นพระอริยบุคคลได้นั้น ก็ต้องดำเินินตามทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ คือ การอบรมเจริญปัญญา จะขาดปัญญา ไม่ได้เลย ครับ ...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 29 ม.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิม และอาจาย์คำปัน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
kinder
วันที่ 29 ม.ค. 2555
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ