ความติดข้อง

 
วิริยะ
วันที่  15 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20177
อ่าน  2,137

เรียนถาม

ขอยกตัวอย่างเลยนะคะ อย่างเช่น คนที่ชอบปลูกต้นไม้มาก ชอบไปตลาดขายต้นไม้เพื่อซื้อพันธุ์ไม้มาปลูกและชอบดูแลต้นไม้ ชอบอยู่บ้านอ่านหนังสือ ทำงานฝีมือเปรียบเทียบกับ คนที่ชอบไปตามสถานบันเทิง ชอบซื้อของเดินดูของตามห้างสรรพสินค้า ชอบสถานที่หรูๆ อยากทราบว่า ความติดข้อง ของคนสองคนมีความแตกต่างกันหรือไม่ ในทางโลก บุคคลแรกน่าจะดูดีกว่า ไม่ทราบว่า ทางธรรมจะอธิบายอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โลภะ เป็นสภาพที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ติดข้องต้องการ โลภะ ไม่ว่าเกิดขึ้นกับใครก็เป็นสภาพธรรมที่ติดข้องต้องการ และโลภะติดข้องทุกอย่าง เว้นเพียงแต่โลกุตตรธรรม ดังนั้น โลภะก็มีกำลังของโลภะ แตกต่างกันไป โลภะที่เกิดขึ้นบางครั้งก็มีกำลังอ่อน บางครั้งก็มีกำลังมาก ดังนั้น เราคงไม่พูดถึงเหตุการณ์ แต่เมื่อไหร่ที่ชอบมากติดข้องมาก ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ใดก็ตามครับ ดังนั้น การดูภายนอกไม่สามารถตัดสินได้ครับว่าขณะไหนเป็นโลภะที่มีกำลัง ไม่มีกำลังครับ ต้องเป็นขณะจิตในขณะนั้นจริงๆ แต่โลภะที่มีกำลังมากที่สุด คือโลภะที่มีความเห็นผิด โสมนัสและมีกำลัง ดังนั้น ความเห็นผิดจึงน่ากลัว มีกำลังมากครับ เมื่อเกิดร่วมกับโลภมูลจิตครับ

ดังนั้น เราคงดูเหตุการณ์ต่างๆ รวมๆ ไม่ได้ ต้องทีละขณะจิตของแต่ละบุคคลครับ ชอบงานบ้านอาจจะมีกำลังมากกว่าก็ได้ครับ ต้องเป็นสติปัฏฐานระลึกลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โลภะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอกุศลธรรม ไม่ว่าจะเกิดกับใครก็เป็นอกุศลธรรมไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะเป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะลักษณะของโลภะ คือความติดข้อง ยินดีพอใจ ยึดติดในอารมณ์ ในเมื่อโลภะเป็นอกุศลธรรม จึงเป็นสิ่งที่ดีไม่ได้ อกุศลธรรมจะมากหรือน้อย ก็ไม่ดีทั้งนั้น

โลภะ เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน แล้วแต่ว่าจะเป็นโลภะที่ติดข้องยินดีพอใจในสิ่งที่ตนมี ที่ตนหามาได้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (ชอบธรรม) ที่ไม่ทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อนโดยการกระทำทุจริต หรือจะเป็นโลภะที่มีกำลังกล้าจนกระทั่งสามารถที่จะล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น แต่ถึงอย่างไก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นความติดข้องในระดับใด ย่อมเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งนั้น เพราะเป็นอกุศลธรรม, อกุศลธรรม เป็นโทษ เป็นภัย ไม่นำประโยชน์สุขใดๆ มาให้เลยแม้แต่น้อย

บุคคลผู้ที่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อดทนที่จะศึกษา อดทนที่จะฟังพระธรรมเท่านั้น จึงจะเห็นประโยชน์ของปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว การที่จะลดละคลายกิเลส มีโลภะ เป็นต้นนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ระลึกถึงกิเลสของตนเอง โดยที่ค่อยๆ ขัดเกลากิเลสเพราะเห็นโทษของกิเลส แล้วกิเลสทั้งหลายก็จะค่อยๆ คลายลง กุศลทั้งหลายก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นตามระดับขั้นของปัญญา ดังนั้น การที่จะลดละคลายกิเลสอกุศลได้ จึงมีหนทางเดียวเท่านั้น คืออบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงครับ.

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pat_jesty
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

การตัดสินในทางโลก และทางธรรมดูจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แสดงว่าตัดสินจากที่เห็นเพียงภายนอกไม่ได้

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 16 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 16 ธ.ค. 2554

โลภะพร้อมที่จะเกิดแทรกได้ตลอดเวลา บางคนไม่ติดในเสียง แต่ติดในรูป บางคนไม่ติดในรูปแต่ติดในรส หรือบางคนไม่ติดในรส แต่ติดในกลิ่น ฯลฯ ทุกคนก็แต่ละหนึ่ง แต่ละชีวิต ตามการสะสม ไม่เหมือนกัน แต่ที่สำคัญคือให้รู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ เกิดแล้ว ดับแล้ว ไม่ใช่บุคคล ตัวตน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
หลานตาจอน
วันที่ 21 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 14 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
jaturong
วันที่ 14 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
swanjariya
วันที่ 14 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ประสาน
วันที่ 28 ต.ค. 2560

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ