รับอาหารไม่เกินขอบบาตร

 
daris
วันที่  8 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20115
อ่าน  4,197

ขออธิบาย ครับ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ลึกซึ้ง ขออธิบายตามกำลัง ความเข้าใจครับ สำหรับการ รับอาหารบิณฑบาตของพระภิกษุ ผู้เป็นเพศขัดเกลาอย่างยิ่ง ทุกอย่างก็ต้อง เหมาะสมสมควร โดยมีเหตุและผลในการรับครับ อย่างเช่น ในกรณีที่พระภิกษุ รับอาหารเกินประมาณไป ก็ไม่สมควรกับเพศพระภิกษุ แต่ถ้าการรับนั้นคือ ภิกษุรูปนั้น รับเต็ม ๓ บาตรก็ต้องมีเหตุครับ คือ มีเจตนาไปให้พระภิกษุสงฆ์ที่ในวิหาร แต่ไม่ใช่ เพื่อคนอื่นที่อาศัยในวัด เช่น เด็กวัด ถ้าคิดอย่างนี้ก็ไมได้ครับ ต้องกับพระภิกษุทั้ง หลายในวัด และถ้ามีผู้นิมนต์ ปวารณา ถ้าจะรับมากก็ได้ แต่ในอรรถกถา ก็แสดงครับ ว่า ควรรับพอประมาณครับ และภาชนะที่จะใส่ แบ่งไปที่วิหาร (ที่จะถ่ายของกัน)

ในเสขิยวัตร ท่านแสดงว่าเป็นบาตรครับ เช่น ภิกษุนำบาตรมาสองใบ รับเต็ม ๒ บาตร และก็ส่งบาตรกลับไปที่วิหารให้กับพระภิกษุทั้งหลายครับ ดังนั้นพระท่านรับได้ แต่ ต้องมีเหตุอันสมควร และไม่รับมากเกินไป ถ้าเห็นว่า ของท่านจะล้นบาตร เรามี อาหาร ก็อย่าใส่ให้ท่านล้นบาตร เพราะต้องเสมอขอบบาตร และถ้าเห็นว่า พระท่านมี ของถ่ายถุง เยอะมากมาย ก็ไม่ควรใส่ครับเพราะอาจทำให้ท่านต้องอาบัติได้ เพราะใน อรรถกถาก็ได้แสดงว่า แม้เขามีศรัทธาก็ควรรับพอประมาณครับ ทางที่ดี ก็ควรไปที่ ต้นซอย หรือซอยอื่น หรือถวายกับพระภิกษุหรือ สามเณรก็ได้ ที่ยังมีของน้อยอยู่ ครับ ไม่เช่นนั้น พระภกษุที่ไม่ได้ประพฤติตามพระธรรมวินัย ก็อาจจะอ้างได้ว่าเพื่อ รักษาศรัทธา แต่รับเกินประมาณเกินไป โดยไม่มีเหตุคือ เพื่อพระภิกษุทั้งหลาย ก็จะ ย่ำยีพระธรรมวินัยและทำให้พระศาสนาเสื่อมเร็วและตัวท่านเองก็ต้องอาบัติได้โดยไม่ รู้ตัวครับ การกระทำทุกอย่าง ควรมีเหตุ (รับอาหาร 2- 3บาตรเพื่อเพื่อภิกษุทั้ง หลาย) และต้องเหมาะสมครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อาจารย์ประเชิญที่ช่วยอธิบายให้เข้าใจในประเด็นนี้ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ในพระไตรปิฏกมีแสดงไว้ เช่น พระสารีบุตรไปบิณฑบาตมาก็แบ่งอาหารให้ สุขสามเณร ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
daris
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์ผเดิม อาจารย์ประเชิญ และ อาจารย์วรรณี ที่กรุณา อธิบายให้ความกระจ่างครับ ต่อไปผมจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสม

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

แล้วกรณีตักบาตรเทโวโรหนะในเทศกาลออกพรรษา จะว่ากระไร?

ในเทศกาลดังกล่าว ผู้คนไปชุมนุมตักบาตรที่วัดกันล้นหลาม พระภิกษุสามเณรต้องรับแล้วถ่ายบาตรมากกว่า ๒ - ๓ บาตรไปหลายเท่า จะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงถูกต้องตามพระธรรมวินัย?

กระผมเชื่อว่า ในคัมภีร์ (ถ้าศึกษาให้ทั่วถึง) คงจะมีเหตุการณืที่ปรากฏว่า ผู้คนนำ

อาหารไปถวายพระภิกษุอย่างล้นหลามล้นเหลือ ถ้าบรรจุลงในบาตรก็คงเกิน ๓ บาตรไปเป็นอันมาก กรณีเช่นนั้น พระภิกษุท่านปฏิบัติอย่างไร หรือมีพระพุทธานุญาตให้ปฏิบัติอย่างไรเป็นเรื่องที่น่าจะค้นคว้ามาเผยแพร่เป็นความรู้และเป็นทางออกของเหตุการณ์ตามที่ท่านผู้ถามได้ถามมา

ในคัมภีร์ มีเรื่องเล่าในทำนองที่ว่า บางคนมีศรัทธาจะถวานทาน แต่ไม่มีไทยธรรม (ของที่จะถวาย) บางเวลามีไทยธรรม แต่ไม่มีปฏิคาหก (ผู้รับ) บางคนไทยธรรมก็มี ปฏิคาหกก็มายืนที่ประตูบ้าน แต่ไม่มีศรัทธา ตามปัญหาที่ถามนี้ มีพร้อมทุกประการแล้ว ทั้งศรัทธาไทยธรรม ปฏิคาหก แต่มาติดขัด ทำบุญถวายทานไม่ได้เพราะมีสิกขาบทบัญญัติไว้ คือไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย กระผมเชื่อว่า พระพุทธองค์คงไม่มีเจตนาบัญญัติสิกขาบทอันเป็นเหตุปิดกั้นทางบุญของพุทธมามกะเป็นแน่ หน้าที่ของพวกเราคือช่วยกันศึกษาให้เข้าใจชัดเจนว่า ทางปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องนี้ น่าจะทำอย่างนี้ หรือ ควรจะทำอย่างนั้น แต่ยังไม่ควรด่วนสรุปแบบตัดหนทางว่า อย่าทำ ไม่ต้องทำ ห้ามทำ ด้วยเหตุผลเพียงเพราะมีสิกขาบทบัญญัติไว้

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 6 ครับ

ประเพณีที่กล่าวมา ก็มีมาในรุ่นหลังครับ พระภิกษุที่ประพฤติตามพระธรรมวินัยจริงๆ ท่านรับตามสมควร ดังเช่น ข้อความที่ท่านผู้ถามยกมา ที่ว่า บางเวลามีไทยธรรม แต่ ไม่มีปฏิคาหก (ผู้รับ) บางคนไทยธรรมก็มี ปฏิคาหกก็มา ยืนที่ประตูบ้าน แต่ไม่มีศรัทธาซึ่ง ข้อความก็แสดงว่า หากผู้ให้มีศรัทธามาก และไทยธรรมของที่จะถวายก็มีมาก ผู้รับ คือ พระภิกษุ ควรเป็นผู้รับพอประมาณ แต่ถ้าจะรับ เพื่อให้พระภิกษุทั้งหลายก็ควรครับ ไม่ใช่พระองค์ไม่อนุญาตไม่ให้รับมาก แต่ต้องมีเหตุตามสมควรครับ พระธรรมจึงสมบูรณ์ ทั้งอรรถ ธรรม ตามเหตุและผล ซึ่งในยุคปัจจุบันก็เป็นช่วงเวลาที่พระศาสนาเสื่อมไปมาก เพราะขาดความเข้าใจและไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ประเพณี หรือ การกระทำ ต่างๆ ก็เปลี่ยนไป ตามความเข้าใจที่ไม่ละเอียดได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เพศบรรพชิต เป็นเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ซึ่งจะต้องขัดเกลากิเลสของตนเองเป็นอย่างยิ่งซึ่งถ้าได้ศึกษาพระธรรมวินัยและมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติด้วยความจริงใจ ย่อมจะเกิดผลดีต่อตัวท่านเองที่จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการได้ถือเพศเป็นบรรชิต และยังเป็นเหตุให้คฤหัสถ์ผู้พบเห็นในกิริยาอาการ ความประพฤติต่างๆ อันสมควรแก่ความเป็นบรรพชิต เกิดกุศลจิตอนุโมทนา หรือ เกิดความเลื่อมใส ได้ด้วย แม้แต่ในเรื่องของการบิณฑบาต ซึ่งตามพระวินัยบัญญัติ พระภิกษุจะต้องรับอาหารบิณฑบาตแต่พอประมาณ คือ รับพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้วันหนึ่งคืนหนึ่ง เท่านั้น ไม่ควรรับเกินขอบบาตร เพราะถ้ารับเกินขอบบาตร นอกจากสะสมความเป็นผู้มักมากด้วยแล้ว ยังเป็นอาบัติมีโทษทางพระวินัย ด้วย ซึ่งจะประมาทไม่ได้เลยทีเดียว พระวินัยบัญญัติทั้งหมดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ ล้วนเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสทั้งสิ้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pat_jesty
วันที่ 8 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 9 ธ.ค. 2554

ก็คงจะต้องตั้งคำถามใหม่ คือถามแทนท่านผู้ตั้งกระทู้นี้ว่า

1. ในหมู่บ้านนั้นมีผู้มีศรัทธาเตรียมของใส่บาตรไว้แทบทุกบ้าน ทุกเช้า

2. มีพระภิกษุเข้าไปบิณฑบาตรูปเดียวหรือสองรูปเท่านั้น รับแค่ไม่กี่บ้านก็ล้น บาตรต้องถ่ายจนครบ 3 บาตรไปแล้วตั้งแต่ต้นซอย

3. ยังเหลือบ้านที่ยังรอใส่บาตรอีกนับ 10 บ้าน (และเป็นเช่นนี้ทุกวัน)

4. ขอคำแนะนำว่า บ้านอีกนับ 10 บ้านนั้น ควรปฏิบัติอย่างไรครับจึงจะได้ ใส่บาตรตามที่มีศรัทธา

(กรุณาอย่าแนะนำว่า ให้เอาไทยธรรมที่เตรียมไว้นั้นรับประทานเสียเอง หรือถ้า ยังมีอุตสาหะในการใส่บาตรอยู่อีก ก็ให้เดินออกจากหมู่บ้านไปใส่บาตรที่วัด หรือที่หมู่ บ้านอื่นหรือไปเที่ยวตระเวนหาพระภิกษุที่บิณฑบาต แล้วถามท่านว่าท่านรับเต็ม 3 บาตรแล้วหรือยัง ฯลฯ เพราะในชีวิตประจำวัน ย่อมไม่สะดวกที่จะกระทำเช่นนั้น ได้ ขอคำแนะนำที่ปฏิบัติได้จริง คือทำให้คนในหมู่บ้านนั้นมีโอกาสใส่บาตรได้ทุกวัน จริงๆ และไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยด้วย - กระผมเชื่อว่านี่คือความประสงค์ของท่านผู้ที่ ตั้งกระทู้นี้)

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
be-myself
วันที่ 9 ธ.ค. 2554

ถ้าพระภิกษุถือมาบาตรเดียว ท่านสามารถถ่ายอาหารลงในถุงแล้วใช้บาตรเดิมในการ บิณฑบาตอีกได้มั้ยครับ จะถือว่าผิดพระวินัยมั้ยครับ (ถ้าได้) อีกข้อนะครับ เราจะทราบได้อย่างไรว่าท่านรับไม่เกินสามรอบ เพราะบางครั้ง (ผมคาดเดานะครับ) พระบางรูปอาจจะรับบิณฑบาตยังไม่ทันเต็มบาตรก็ถ่ายโอนใส่ถุงแล้วครับ เรียนถามท่านผู้รู้ด้วยนะครับ

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
prachern.s
วันที่ 10 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 10, 11 ครับ

ขอเรียนโดยสรุปนะครับว่า ตามหลักพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ทรงแนะนำ แก่พระสาวกทั้งหลายให้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ และ รู้จักประมาณในการรับและการ บริโภคปัจจัยสี่ โดยนัยพระสูตรมีหลายพระสูตร โดยนัยของพระวินัยก็ทรงบัญญัติ สิกขาบทหลายสิกขาบท โดยเฉพาะในเสขิยวัตรสิกขาบท การรับอาหารบิณฑบาตร ต้องไม่เกินขอบบาตร การรับมากกว่านั้นก็แสดงให้เห็นกำลังของกิเลสที่น่ารังเกลียด จึงเป็นอาบัติ ดังนั้นการถ่ายอาหารใส่ย่ามใส่ถุงจึงไม่สมควร พระอริยสาวกท่านจะไม่ กระทำเช่นนั้น ผู้ที่กระทำเช่นนั้นไม่ใช่พระอริยสาวกผู้เคารพต่อพระวินัยแน่นอน อนึ่ง เมื่อพระท่านรับอาหารพอเพียงหรือเต็มบาตรแล้ว การปฏิเสธไม่รับอาหารไม่มีอาบัติ แต่ถ้ายังขืนรับอีกผิดพระวินัย เป็นอาบัติ เว้นไว้แต่รับเพื่อภิกษุอื่นโดยนำบาตรอีกใบ หนึ่งมารับ และคฤหัสถ์ผู้ต้องการบุญ ก็ควรให้เป็นไปตามพระวินัยของสงฆ์ด้วยถ้า ท่านไม่รับอาหาร เราก็ควรหาเวลาช่องทางอื่นๆ ก็ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
wannee.s
วันที่ 10 ธ.ค. 2554

ไม่ว่าจะเป็นเพศบรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย รู้จักประมาณในการรับ และ การบริโภค ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
daris
วันที่ 10 ธ.ค. 2554

ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์นาวาเอกทองย้อย อาจารย์ประเชิญ และอาจารย์วรรณีครับ

ขอเรียนถามอาจารย์ประเชิญเพื่อความกระจ่างอีกสักเล็กน้อยครับว่า หากพระภิกษุท่านไม่ได้รับอาหารเกินเพราะโลภ แต่จำเป็นต้องรับเกินเพราะไม่ต้องการให้ศรัทธาของผู้ที่รอใส่บาตรนั้นเสียไป เช่นนี้ถือเป็นอาบัติหรือไม่ครับ?

เพราะเหตุที่ถามในประเด็นนี้คือ กังวลที่สุดว่าจะมีส่วนทำให้พระท่านอาบัติ ไม่ได้กลัวว่าตัวผมเองจะไม่ได้บุญเพราะไม่ได้ใส่บาตร เพราะบุญกิริยาวัตถุมีถึง 10 เราไม่ได้ใส่บาตรเราก็ทำบุญอื่นได้

(และจริงๆ แล้ว ไม่มีเราที่จะ "ได้บุญ" หรือ "ไม่ได้บุญ" มีแต่จิต-เจตสิก ที่เป็นกุศล หรือ อกุศล เท่านั้น)

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 11 ธ.ค. 2554

ขออนุญาตร่วมสนทนานะครับ

ในความเห็นผมคิดว่า พระภิกษุไม่ว่าสมัยใดต้องเป็นผู้ตรงมากและต้องปฏิบัติตามพระ วินัยอย่างเคร่งครัด การอนุเคราะห์ผู้อื่น แม้จะด้วยความเมตตา (แต่ส่วนใหญ่จะเกรงใจ) แต่หากผิดพระวินัยเสียแล้ว ย่อมเศร้าหมองและเป็นเหตุให้อกุศลอื่นเกิดขึ้นตามมาอย่าง แน่นอน

ส่วนคฤหัสถ์ก็ต้องมีความเข้าใจในวินัยของพระภิกษุพอสมควร จึงจะอำนวยให้พระภิกษุ ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยได้ถูกต้อง อาจารย์คำปั่นและอาจารย์ผเดิมเคยกล่าวบ่อยๆ ว่า ในยุคสมัยปัจจุบัน กาลไม่เอื้ออำนวย ในการดำรงเพศบรรพชิต ปัญหาเรื่องการใส่บาตรนี้ก็เช่นกัน จึงต้องเริ่มต้นด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องตามพระวินัย ของทั้งพระภิกษุและคฤหัสถ์ เมื่อท่านบิณฑบาตรพอสมควรแล้ว ท่านก็กลับ คฤหัสถ์ก็ต้องเข้าใจ หากมีศรัทธาจริงๆ จะนิมนต์ท่านเป็นการเฉพาะก็ได้ ซึ่งในสมัยพุทธกาลก็ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ แต่ปัจจุบันคฤหัสถ์ยังไม่ได้รับการศึกษาพระวินัยโดยละเอียด จึงนิยมถือความสะดวก ของตนเองเป็นสำคัญ มุ่งหวังที่จะทำบุญได้บุญเพื่อตนเองเป็นใหญ่ โดยเฉพาะหาก เป็นการทำบุญง่ายๆ หากไม่สะดวกก็ไม่ทำ (ทั้งๆ ที่บุญมีอีกหลายประเภท) หลงลืม ว่าควรเกื้อกูลพระศาสนาให้เหมาะสมอย่างไร

ก็ไม่ใช่เรื่องใส่บาตรเพียงเรื่องเดียวนะครับ ยังมีอีกหลายๆ เรื่อง ที่คฤหัสถ์ยังขาดความ เข้าใจ ขาดความละเอียดรอบคอบ เลยกลายเป็นการฝืนกฎระเบียบตามพระวินัยไป หลายเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ก็อ้างเหตุว่าเป็นไปตามยุคตามสมัย ตามความสะดวกปัจจุบัน ซึ่งหากพิจารณาให้ดีแล้ว เป็นโลภเหตุเสียส่วนใหญ่เลยทีเดียว เพราะหากเป็นศรัทธา จริงๆ แล้ว ย่อมต้องเคารพและไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบพระวินัยแม้แต่นิดเดียว เพราะเข้าใจ ได้ดีว่าพระวินัยมีเหตุมีผลเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสอย่างแท้จริง

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
prachern.s
วันที่ 16 ธ.ค. 2554

เรียน คุณ daris ครับ

ตามหลักของพระวินัยในข้อนี้ ท่านไม่ได้ยกเว้นครับ แม้แต่ภิกษุป่วย หรือถ้ารับเกิน ขอบบาตรเพื่อภิกษุอื่น ก็เป็นอาบัติ สมดังสิกขาบทในพระบาลี และอรรถกถา ว่า อันภิกษุพึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับ บิณฑบาตจนล้น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร

ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติ แล.

ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

ข้อความบางตอนจากอรรถกถา...

ภิกษุอาพาธไม่มีมาในอนาปัตติวารในสิกขาบทนี้

เพราะฉะนั้นโภชนะที่ทำให้เป็นยอดดุจสถูป (ที่รับล้นบาตร) ไม่ควรแม้แก่ภิกษุอาพาธ. จะรับประเคนพร่ำเพรื่อในภาชนะทั่วไป ก็ไม่ควร. แต่โภชนะที่รับประเคนไว้แล้ว จะรับ ประเคนใหม่ให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงฉัน ควรอยู่ฉะนี้แล

อนึ่ง การรับอาหารมากเกินไป ไม่ใช่การรักษาศรัทธาของทายก แต่เป็นการกระทำที่ ไม่เคารพพระธรรมวินัย และพระศาสดา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
daris
วันที่ 18 ธ.ค. 2554

ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ประเชิญและคุณผู้ร่วมเดินทางที่ช่วยให้ความเข้าใจที่ถูกต้องครับ ต่อไปจะได้ปฏิบัติถูก ขอกราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ