ในคำว่า

 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่  30 ก.ย. 2554
หมายเลข  19820
อ่าน  1,301

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงครับ

มีเรื่องกราบรบกวน สอบถามครับ แต่ถามแทนน้องนะครับ โดยที่มาของคำถาม อ้างถึงประโยคส่วนล่างนี้ครับ

น้องโอ๋

ตามที่พระอาจารย์-----ที่พวกเราร่วมทอดกฐินในการสร้างพระปิกพลอยมาทุกๆ ปี ท่าน

ได้ฝากซองกฐิน ของวัด มาให้พี่ประมาณ 100 ซอง ซึ่งพี่จะแจกน้องๆ ทางนี้สำหรับที่

วังศาลา พี่จะขอรบกวนให้โอ๋ ช่วยบอกบุญต่อกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่วังศาลาหน่อย

ได้ไม๊จ๊ะ พี่ว่าจะฝากไปประมาณ 20 ซองพอไม๊คะ ถ้าเหลือก็ส่งคืนพี่หรือ ต้องการ

มากกว่านี้ ก็แจ้งได้นะคะ รบกวนย้ำนิดนึงนะคะ ว่าพลอยในซองขอให้อธิษฐานแล้ว

ใส่ซองคืนมาด้วยค่ะ เพราะจะรวบรรวมนำไปติดองค์พระต่อไป ถ้ารวบรวมแล้วฝากพี่

เจี๊ยบส่งคืนพี่ประมาณกลางเดือนก็ได้ค่ะ พี่จะได้โอนเงินและส่งพลอยคืนพระอาจารย์

ต่อไปค่ะ ขออนุโมทนากับทุกท่านด้วยนะคะ

พี่ยุ้ย

คำถามมีดังนี้ครับ

๑ พระภิกษุ ฝากซองเพื่อให้โยมทำบุญ (บริจาคทรัพย์) คงไม่ใช่กิจของท่าน ส่วน

ผู้เป็นพุทธศาสนิกชนควรดำรงตนอย่างไร เพื่อให้สมควรทั้งสองฝ่าย

๒ พลอยในซองให้อธิษฐาน นำติดองค์พระ (คำว่าอธิษฐาน อธิษฐานอย่างไร เพื่อ

อะไร ผลคืออะไร คำนี้กับคนทั่วไปนี้ได้หรือไม่ครับ)

๓ ซองที่ได้รับมาในฤดู กฐิน หรือ ผ้าป่า ดูจะมากมาย ใจของผู้แจกซอง และ ผู้รับซอง ก็

จะมีความเกรงใจ และ บางทีอาจจะไม่รื่นเริงเท่าไร แต่ในสังคมเราคงต้องดำรงไป แต่

การจะปรับใจ ให้มีความอาจหาญที่จะสละทรัพย์เพื่อพุทธศาสนานั้น ไปด้วยได้

อย่างไร * * ทราบว่าไม่มีวิธีสำเร็จรูป หรือ สูตร ทำใจ * * ผมเข้าใจว่าต้องสะสมการฟัง

ธรรม เพื่อความเป็นไปของสภาพธรรมที่จะเกิดไปในทางดี ใช่หรือไม่ครับ

๔ .....มีสมุดบัญชีเงินรับฝากเงิน ฟังแล้วจะเป็นนัยของการยินดีเงินและทองหรือไม่ครับ

(ผม ถามเพื่อให้น้องเค้าเข้าใจและเผื่อน้องมีการสนทนาในกลุ่มของน้องเองนะครับ)

กราบอาจารย์ทุกท่าน และ ระลึกถึงพระคุณอาจารย์ทุกท่านเสมอ

ขอความสุขกาย ใจ จงมีแด่อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องในมูลนิธิฯ ทุกท่านครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ก่อนอื่นต้องเข้าใจเรื่องกฐินให้ถูกต้องก่อนนะครับ เรื่องของกฐินเป็นเรื่องที่ละเอียดและพระภิกษุและคฤหัสถ์ควรปฏิบัติอย่างถูกต้องใน

เรื่องของกฐินด้วยการศึกษาพระธรรมทีวินัย เพื่อเป็นการดำรงรักษาพระศาสนาไว้ครับ

คำว่า กฐิน มี ๒ ความหมาย คือ กฐินเป็นชื่อไม้สะดึงสำหรับขึงผ้าให้ตึงเป็น

อุปกรณ์ที่ช่วยในการเย็บผ้า และ กฐินตามพระวินัยหมายถึงผ้า ซึ่งเป็นผ้าสำหรับครอง

ของพระภิกษุ เป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในบรรดา ๓ ผืน

กฐิน เป็นการทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ที่มาของกฐินนั้น คือพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงปรารภภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป ซึ่งมีความประสงค์จะมาเข้าเผ้าพระผู้

มีพระภาคเจ้าที่วิหารพระเชตวัน ตอนนั้นจวนเข้าสู่ช่วงเข้าพรรษา ไม่สามารถเดิน

ทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี ก็เลยอยู่จำพรรษาตามพระวินัย ณ เมือง

สาเกต เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านเหล่านั้นก็เดินทางต่อทันที ในช่วงนั้นฝนยังไม่หมด

ทำให้จีวรเปียกชุ่มด้วยน้ำ เกิดความลำบาก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภในเรื่องนี้

จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้ว ทำการกรานกฐิน เพื่อเปลี่ยน

ผ้าในช่วงจีวรกาล ระยะเวลา ในการถวายกฐินนั้น มีระยะเวลา ๑ เดือน คือ หลังออก

พรรษาแล้ว ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2554

จะเห็นนะครับว่า เรื่อง กฐินเป็นเรื่องของผ้าเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเงินทองเลย เพราะ

เหตุว่า เงินทองเป็นสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ คือ สิ่งไม่เหมาะสมกับเพศบรรพชิตครับ

กฐิน เป็นสังฆกรรมของพระภิกษุทั้งหลาย โดย บริษัททั้ง 4 หรือ แม้แต่เทวดา ก็ถวาย

ผ้ากับสงฆ์และก็มีการทำกรานกฐิน โดยเป็นวินัยของสงฆ์ครับ

ดังนั้นการแจกซองกฐิน จึงไม่ถูกต้องตามกฐินในพระธรรมวินัย ทีเป็นเรื่องของการ

ถวายผ้ากับพระภิกษุเท่านั้นครับ ไม่มีเงินและทองมาร่วมด้วย ไม่มีบริวารกฐินที่เป็นเงิน

ทองเลยครับ และการสร้างศาสนาวัตถุ ก็ไม่ควรนำกฐินมาเกี่ยวข้องเพราะกฐินเป็น

เรื่องของผ้าเท่านั้น ดังนั้นถ้าจะให้สร้างศาสนาวัตถุ ก็บอกไปโดยตรงว่า ร่วมเรี่ยไรกัน

สร้างศาสนาวัตถุ แต่ไม่ใช่นำเอาเรื่องกฐิน มาปนโดยการเรี่ยไรเงิน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ

กฐินและไม่ตรงเลยครับ ดังนั้นเมื่อคฤหัสถ์มีการเรี่ยไรด้วยการอ้างกฐินก็เท่ากับมีความ

เข้าใจผิดในพระธรรม พระศาสนาก็เสื่อมไปเรื่อยๆ เพราะผิดพระวินัยที่พระองค์บัญญัติ

ไว้นั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2554
๑ พระภิกษุ ฝากซองเพื่อให้โยมทำบุญ (บริจาคทรัพย์) คงไม่ใช่กิจของท่าน ส่วน ผู้เป็นพุทธศาสนิกชนควรดำรงตนอย่างไร เพื่อให้สมควรทั้งสองฝ่าย กฐินไม่เกี่ยวกับเรื่องของเงินและทอง และการที่ภิกษุเรี่ยไรเงินทองก็เป็นอาบัติ เป็นสิ่ง ที่ทำลายพระศาสนา เพราะเงินทองไม่สมควรกับพระภิษุครับ กฐินจึงเป็นเรื่องของผ้า เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการสร้างศาสนวัตถุโดยการอ้างกฐินได้เลยครับ พุทธศาสนานิกชน เมื่อพบเหตุการณ์นี้ก็ควรปฏิเสธ ซองที่พระท่านแจก ไม่รับและปฏิเสธไป ความเกรงใจ ไม่ควรกระทำกับสิ่งที่ผิด เป็นอกุศล จึงไม่ควรเกรงใจกับสิ่งทีเ่ป็นอกุศลเลยครับ การปฏิเสธ ย่อมรักษาพระศาสนา และรักษษตัวพระภิกษุไม่ให้ท่านอาบัติมากขึ้นและยังรักษาตนที่จะเป็น ผู้ไม่ตรงด้วยครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2554

๒ พลอยในซองให้อธิษฐาน นำติดองค์พระ (คำว่าอธิษฐาน อธิษฐานอย่างไร เพื่อ

อะไร ผลคืออะไร คำนี้กับคนทั่วไปนี้ได้หรือไม่ครับ)

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ความเห็นโดยอาจารย์คำปั่น เรื่องอธิษฐานครับ

ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง ตรง เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น คำว่า อธิษฐานในภาษาไทยที่เข้าใจกันนั้น หมายถึง การขอ แต่ตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว หมายถึง ความตั้งใจมั่น ซึ่งเป็นความตั้งใจมั่น ไม่หวั่นไหว ในการที่จะ

สะสมคุณความดีประการต่างๆ เพราะเห็นโทษของอกุศล และเห็นคุณของกุศลธรรมด้วยปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้นจากการฟัง การศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องของกุศลทั้งหมด และเป็นไปในการสละกิเลสทั้งสิ้น เพราะเหตุว่าจิตใจของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นอกุศลทั้งนั้น ถูกอกุศลกลุ้มรุมจิตใจอยู่เกือบจะตลอดเวลา เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่มีความตั้งใจมั่น ก็เป็นผู้ที่รู้ตัวว่ามีกิเลสมาก มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ที่ได้สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งจะต้องอาศัยความตั้งใจมั่นจริงๆ ในการเจริญกุศลประการต่างๆ เพื่อขัดเกลากิเลส มิฉะนั้นแล้วก็พลาดให้กับอกุศลทุกที อธิษฐาน ซึ่งเป็นความตั้งใจมั่นในการเจริญกุศล จึงเป็นปัจจัยให้กุศลเกิดขึ้นและสำเร็จได้ เป็นบารมี (ความดี) ที่ควรอบรมเจริญให้มีขึ้นในชีวิตประจำวันแต่ถ้าเป็นขออยากได้ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด นั้น เป็นอกุศลจิตที่ประกอบด้วยโลภะ ความติดข้องต้องการ ไม่ใช่อธิษฐานในพระพุทธศาสนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2554

๓ ซองที่ได้รับมาในฤดู กฐิน หรือ ผ้าป่า ดูจะมากมาย ใจของผู้แจกซอง และ ผู้รับซอง ก็

จะมีความเกรงใจ และ บางทีอาจจะไม่รื่นเริงเท่าไร แต่ในสังคมเราคงต้องดำรงไป แต่

การจะปรับใจ ให้มีความอาจหาญที่จะสละทรัพย์เพื่อพุทธศาสนานั้น ไปด้วยได้อย่างไร * * ทราบว่าไม่มีวิธีสำเร็จรูป หรือ สูตร ทำใจ * * ผมเข้าใจว่าต้องสะสมการฟังธรรม เพื่อ

ความเป็นไปของสภาพธรรมที่จะเกิดไปในทางดี ใช่หรือไม่ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

สำคัญที่ปัญญา เมื่อมีปัญญา ย่อมไม่เกรงใจกับสิ่งที่ผิด ที่ไม่ตรงในพระธรรม ดังนั้นจึง

ไม่ใช่เรื่องสั่งหรือไม่สั่งให้ทำหรือไม่ทำ แต่พูดตามความถูกต้องว่า เรื่องเรี่ยไรเงิน โดย

การอ้วงกฐินและผ้าป่าไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยและไม่ใช่เรื่องการศาสนาวัตถุโดยการ

อ้างกฐินและผ้าป่าครับ เมื่อไหร่ที่ปัญญาเจริญขึ้น ความเป็นผู้ตรงและไม่เกรงใจใน

อกุศลก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับครับ ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรมต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------

๔ .....มีสมุดบัญชีเงินรับฝากเงิน ฟังแล้วจะเป็นนัยของการยินดีเงินและทองหรือไม่ครับ

(ผม ถามเพื่อให้น้องเค้าเข้าใจและเผื่อน้องมีการสนทนาในกลุ่มของน้องเองนะครับ)

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

พระมีสมุดบัญชี รับเงินและทองไม่ไ่ด้ครับ โดยเป็นชื่อตน เพราะเป็นผู้ที่ยังยินดีในเงิน

และทอง เป็นอาบัติครับ พระภิกษุต้องเป็นผู้ที่สละอาคารบ้านเรือน ทุกอย่างแล้ว การ

ยินดีเงินและทอง หรือ มีสมุดบัญชีผิดพระวินัยครับ จึงไม่สมควรสนับสนุนในกรณีเรื่อง

ต่างๆ ที่เป็นการเรี่ยไรครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่พุทธศาสนิกชน หรือ ชาวพุทธ จะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะถ้าได้ฟัง ได้ศึกษา ด้วยความละเอียด มีการพิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ฟัง ได้ศึกษา พิจารณาในความเป็นเหตุเป็นผลของธรรม ก็จะทำให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามพระธรรม เมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ทั้งผู้ที่เป็นบรรพชิต และ ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ ก็จะมีความประพฤติที่คล้อยตามพระธรรม (คล้อยไปตามความเข้าใจที่เจริญขึ้น) ไม่กระทำในสิ่งที่ผิด ที่ไม่ถูกต้องตามพระธรรม จะเห็นได้ว่า พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง นั้น ทั้งหมดทั้งปวง เป็นไปเพื่อละกิเลส (ไม่ใช่เป็นไปเพื่อเพิ่มกิเลส) เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรรม ซึ่งถ้าได้ศึกษาไปตามลำดับแล้ว ก็จะรู้ได้ว่า อะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง อะไร คือ สิ่งที่ผิด-ไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เมื่อได้เข้าใจแล้วว่า อะไรผิด อะไรถูก ก็พร้อมที่จะสละการกระทำที่ผิด ที่ไม่ตรง แล้วน้อมประพฤติแต่สิ่งที่ถูกต้อง เท่านั้น แม้แต่ในเรื่องกฐิน ก็ดี ผ้าป่า ก็ดี ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเงินโดยประการทั้งปวง ถ้าหากคฤหัสถ์มีความประสงค์จะสร้างถาวรวัตถุถวายไว้ในพระพุทธศาสนา เช่น พระอุโสบถ ศาลา เป็นต้น ก็สามารถร่วมใจกันบริจาคเงิน แล้วสร้างถวายได้เลย โดยที่ไม่เกี่ยวกับกฐิน หรือ ผ้าป่า และที่สำคัญผู้ที่เป็นพระภิกษุจะต้องไม่รับเงินรับทอง เพราะการรับเงินรับทอง ไม่ว่าจะรับเพื่อตน หรือ รับเพื่อสิ่งอื่น ก็เป็นอาบัติทั้งนั้น มีโทษสำหรับผู้รับโดยส่วนเดียว ส่วนคฤหัสถ์ผู้ถวาย ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฉลาดในการให้ทาน เพราะการให้เงินทอง เป็นเหตุให้พระภิกษุท่านต้องอาบัติ เพราะฉะนั้นแล้ว เรื่องเงิน ไม่ควรแก่เพศบรรพชิตโดยประการทั้งปวง ในวัดหนึ่งๆ ก็ควรที่จะมีไวยาวัจกร (คฤหัสถ์ผู้ขวนขวายในสิ่งที่เป็นประโยชน์) ดูแลเรื่องนี้โดยตรง โดยที่ไม่เกี่ยวกับพระภิกษุ เพศบรรพชิต เป็นเพศที่จะต้องขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง ถ้ามีการรับเงินรับทอง ก็ไม่ต่างอะไรกับคฤหัสถ์ที่ยังยุงเกี่ยวกับเงินทอง และการประพฤติผิดพระวินัย ได้ชื่อว่า ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ด้วยพระองค์เอง เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาอันจะเป็นไปเพื่่อการขัดเกลากิเลสของผู้นั้น อีกทั้งการประพฤติผิดพระวินัย ก็ยังเป็นโทษเป็นภัยแก่ผู้ที่ประพฤติผิดอีกด้วย ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี ก็มีแต่จะคร่าไปสู่อบายภูมิเท่านั้นจริงๆ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ปุ้ม
วันที่ 1 ต.ค. 2554

ชื่นใจยิ่งนัก ปิติเกิดที่มีผู้เห็นตรงตามพระวินัยขอรับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nong
วันที่ 2 ต.ค. 2554

ชัดเจนค่ะ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 3 ต.ค. 2554

* * * -------------------------------- * * *

กราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ และ อนุโมทนากุศลจิตที่เกิดขึ้นทุกดวงครับ

* * * ------------------------------------ * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
BuddhaPutri
วันที่ 4 ต.ค. 2554

แจ่มแจ้งยิ่งนัก

ขอร่วมยินดีในบุญที่ท่านทั้งหลายได้ไขความให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย

สาธุ _/|\_

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ