ผู้รู้พระไตรปิฎกทั้งหมด แต่ไม่สำเร็จอรหันต์ ติดตรงไหน

 
บ้านดอย
วันที่  29 ก.ย. 2554
หมายเลข  19817
อ่าน  1,997

ผู้ที่สามารถอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้า 84000 พระธรรมขันธ์ ได้ทั้งหมด แต่ยังไม่สามารถดับกิเลสได้ ติดตรงไหนเหรอครับ ในเมื่อรู้คำสอนทั้งหมดแล้ว


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 29 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ควรเข้าใจความจริงครับว่า คำว่ารู้ ที่เป็นปัญญานั้น การรู้ ที่เป็นปัญญามีหลายระดับ ซึ่ง ปัญญามีแตกต่างกันหลายระดับ ทั้งเป็นเพียงปัญญาขั้นการฟัง รู้เรื่องราวของธรรม จน สามารถทรงจำและรอบรู้ในพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด ซึ่งในสมัยพุทธกาลเรียกว่า ผู้ที่ทรง พระไตรปิฎก เป็นพหูสูต แต่การรู้ด้วยปัญญาขั้นการฟัง การศึกษาและรอบรู้ในพระไตรปิฎก นั้นที่เป็นปริยัติ ปัญญาเพียงขั้นนั้นไม่สามารถดับกิเลสไ ด้ เหตุผลเพราะแม้จะรู้ชื่อ เรื่องราว ในพระไตรปิฎก แต่พระธรรมทีเป็นพระไตรปิฎกนั้น จุดประสงค์เพื่อเข้าใจความจริงของ สภาพธรรมที่มีในขณะนี้ เพราะธรรมที่พะรพุทธเจ้าทรงแสดง แปดหมือนสี่พันพระธรรมขันธ์ ก็มาจากสภาพธรรมที่มีจริงนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น พระไตรปิฎกแสดงเรื่องสภาพธรรมที่เป็นตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แสดงถึงความจริงและแสดงว่าสภาพธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง เป็น ทุุกข์และเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่เรา ผู้ที่ศึกษาพระรรม รอบรู้ในพระไตรปิฎกก็ สามารถเข้าใจ ขั้นเหตุผล ขั้นเรื่องราวว่าเป็นจริงอย่างนั้น แต่ก็ยังไม่สามารถประจักษ์ตัวจริง ของสภาพธรรมที่เป็น ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจในขณะนี้ว่าไม่เที่ยง และยังไม่เห็นเป็น เพียงสภาพธรรม แต่ก็ยังเห็นเป็นสัตว์ บุคคล นี่ก็แสดงว่า ปัญญาขั้นการฟัง ความรู้เพียง เรื่องราว ที่สามารถรอบรู้พระไตรปิฎก ยังไม่สามารถประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 29 ก.ย. 2554

ดังนั้นจึง มีปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ (การบรรลุ) แต่ก็เพราะอาศัยการศึกษาธรรมในพระ ไตรปิฎก ถึงแม้จะยังไม่ถึงปฏิบัติที่รู้ความจริง แต่การศึกษาธรรมที่ถูกต้อง ย่อมน้อมไปสู่ การรู้ความจริงของสภาพธรรมได้ ที่เป็นปฏิบัติและเมื่อถึงปฏิบัติแล้ว เมื่อปฏิบัติบ่อยๆ คือ ปัญญารู้ความจริงของสภาพธรรมบ่อยๆ ก็ย่อมนำไปสู่ปฏิเวธ การบรรลุธรรมได้ครับ เพราะ อาศัยการศึกษาปริยัติที่ถูกต้อง ย่อมน้อมไปสู่ปฏิบัติและนำไปสู่ ปฏิเวธการบรรลุธรรม การ บรรลุธรรมจึงปราศจาการศึกษาพระธรรมในพระไตรปิฎกไมได้เลย แต่ไม่ใช่ว่า เมื่อศึกษา พระธรรม รอบรู้เรื่องราวพระไตรปิฎกแล้ว จะดับกิเลสได้ทันที เพราะต้องน้อมไปสู่การปฏฺบัติ และถึงจะถึงการบรรลุได้ครับ ปัญญาจึงต้องค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ การู้คำสอนของพระพุทธเจ้าโดยชื่อ กับการรู้ตัวจริงของสภาพธรรมที่พระองค์แสดงใน ขณะนี้ จึงเป็นปัญญาที่แตกต่างกันครับ ดังนั้นความเป็นพหูสูต การเป้นผู้รอบรู้ สดับฟังมาก ด้วยเพียงขั้นเรื่องราว กับ พหูสูตที่เป็นผู้ฟังมาก รอบรู้มากด้วยปัญญาที่ดับกิเลสได้จึงต่าง กัน แต่เพราะอาศัยการศึกษาพระธรรมย่อมสามารถนำไปสู่การดับกิเลสได้ครับ ซึ่ง ผู้ที่รู้คำ สอนทั้งหมดแล้วจริง คือ ผู้ที่รู้ตัวจริงของสภาพธรรมและถึงการดับกิเลสเป็นพระอรหันต์ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 29 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การศึกษาตามหลักคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ต้องเป็นไปตามลำดับ กล่าวคือ ผู้ศึกษาต้องฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ก่อน ซึ่งเป็นการศึกษาในขั้นของปริยัติ (ปริยัติ หมายถึง การรอบรู้ในพระธรรมคำสอน) เมื่อฟังเข้าใจแล้วจึงน้อมประพฤติปฏิบัติตามคำสอน (ซึ่งไม่มีตัวตนที่ปฏิบัติ แต่เป็นธรรมปฏิบัติหน้าที่ของธรรม คือ สติและปัญญาเกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ) เมื่อปฏิบัติตามคำสอนจึงจะมีผลคือการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมละกิเลสได้ตามลำดับขั้น (เป็นขั้นปฏิเวธ คือ การแทงตลอด การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม) ปฏิเวธจะมีไม่ได้ถ้าไม่มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง และการปฏิบัติอย่างถูกต้องจะมีไม่ได้ถ้าไม่มีการศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างถูกต้อง ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ ต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตรงกัน แยกกันไม่ได้ เลย ปัญญาที่ได้มา ที่ได้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ที่สามารถประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมนั้น ล้วนเป็นเพราะได้อาศัยฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมในขั้นของปริยัติ ทั้งนั้น เพราะปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูก ต้องเริ่มที่การฟังพระธรรมในแนวทางที่ถูกต้อง เท่านั้น โดยที่ไม่เพียงแค่ฟัง แต่ต้องฟังเพื่อที่จะได้ประพฤติปฏิบัติตามด้วย

อีกประการหนึ่งที่ควรพิจารณา คือ ถ้าเป็นผู้ตั้งจิตไว้ผิดในการศึกษาแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ได้ประโยชน์จากพระธรรม เพราะเป็นการศึกษาที่เป็นไปเพื่อเพิ่มกิเลสให้กับตนเอง หวังลาภ สักการะ สรรเสริญ ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกและสามารถบอกสอนผู้อื่นได้ด้วย แต่ก็เป็นการจำเรื่องราว จำพยัญชนะ ไม่ได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องเมื่อไม่มีความเข้าใจตั้งแต่ขั้นต้นแล้ว การที่จะดำเนินไปถึงซึ่งการดับกิเลส ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นแล้ว การศึกษา ไม่ว่าจะมากหรือน้อย แต่ถ้าเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ย่อมเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะการที่จะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพระธรรม ต้องเคยสะสมเหตุที่ดีมาแล้วในอดีต เคยได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญามาแล้ว เมื่อปัญญาเจริญสมบูรณ์พร้อม ก็สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ได้ เพราะเข้าใจถึงตัวจริงของสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง อย่างเช่น ท่านพระสารีบุตร (เมื่อครั้งที่ยังเป็นอุปติสสปริพาชก) ได้ฟังธรรมเพียงสั้นๆ จากพระอัสสชิ ก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระพาหิยะทารุจิริยะ ได้ฟังพระธรรม จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงประโยคสั้นๆ ก็ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถึงความเป็นพระอรหันต์ได้ เป็นต้น และประการที่สำคัญ พระไตรปิฎก ล้วนเป็นข้อความธรรมเพื่อให้ผู้ที่ศึกษาได้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ทั้งนั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ศึกษา ซึ่งจะทำให้ได้สะสมปัญญาความเข้าใจถูก เห็นถูก ต่อไป ดังนั้น จุดประสงค์ที่ถูกต้องในการศึกษา คือ เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง เท่านั้น เพราะพระธรรม เป็นการละตั้งแต่ต้น จริงๆ ละความเห็นผิด ละความติดข้องต้องการ และ ละอกุศลธรรมทั้งปวง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pat_jesty
วันที่ 29 ก.ย. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Pigmy
วันที่ 30 ก.ย. 2554

ขออนุญาตแสดงความเห็นนะครับ

ตราบใดที่ยังอยู่ในฐานะผู้ศึกษา (ผู้สดับ) ก็ยังต้องศึกษาต่อไปครับ หากคาดหวังผล ว่า รู้เรื่องราวในพระไตรปิฎกทั้งหมดแล้วจะบรรลุธรรมในชาติเดียว ก็เป็นการตั้งต้นที่ผิด ตั้งแต่แรก เพราะการศึกษาพระธรรม ก็เพียงเพื่อเข้าใจ เป็นเหตุที่จะไปสู่ผลที่ดี แต่ถ้า เหตุไม่ถูกแล้ว ก็อาจจะเข้าใจผิดว่าตนเองบรรลุธรรมได้เร็ว หรือเข้าใจผิดว่า ไม่ต้อง ศึกษา ก็บรรลุได้ ซึ่งมีให้เห็นทั่วไป ในยุคที่พระสัทธรรมเริ่มเสื่อมสูญ และผู้คนเริ่มดู หมิ่นการศึกษาพระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 30 ก.ย. 2554

ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ เช่น ท่านโปฐิละ ท่านเป็นผู้ทรงพระไตรปิฏก แต่ ท่านไม่น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ท่านมีมานะความสำคัญตนว่าเป็น ผู้รู้ ก็เป็นเครื่องกั้นทำใ้ห้ท่านไม่บรรลุ แต่ภายหลังท่านสำนึกผิด ได้ให้สามเณร ชี้แนะ ภายหลังท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ที่สำคัญตราบใดที่ยังมีกิเลส คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ก็เ็ป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า กั้นมรรค ผล นิพพาน ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 30 ก.ย. 2554

กระทู้นี้ทำให้ผมเข้าใจที่ท่านอาจารย์สุจินต์มักกล่าวเตือนสติอยู่เสมอๆ ว่า "อย่าเพิ่งไปไหนไกล" มากขึ้นทีเดียวครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 30 ก.ย. 2554

ในภัพพสูตร. กล่าวว่าธรรมะ 6 ประการ แม้ฟังสัทธรรมก็จะเป็นผู้ไม่ก้าวลงสู่ ความแน่นอน ความเห็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่ กรรม กิเลส วิบาก ศรัทธา ฉันทะ ปัญญาทราม

คลิกฟัง...

ธรรมเครื่องกั้นการบรรลุธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 23 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ