พระรับเงิน

 
samroang69
วันที่  23 ก.ย. 2554
หมายเลข  19786
อ่าน  3,446

พระรับเงินผิดวินัยนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทุกวันนี้พระก็ผิดอยู่เป็นจำนวนมาก หรือโดยส่วนมากจะรับเงิน มีพระผู้รู้บางท่านบอกว่า ถ้าผิดนิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ บ่อยๆ มีโทษมากกว่าปาราชิกเพียงครั้งเดียว คือยาวนานกว่าครับ แล้วทุกวันนี้พระก็มีความจำเป็นต้องใช้เงินกันด้วย แล้วจะทำกันอย่างไรดี ช่วยตอบหน่อยนะครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 23 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบนมัสการพระคุณเจ้า ครับ

พระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อการกำจัดกิเลสที่แต่ละบุคคลได้สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ แต่ถ้าไม่ได้ศึกษา ไม่ได้เข้าใจถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยแล้ว โอกาสที่จะกระทำผิด ก็ย่อมจะมีได้ หรือ ในอีกกรณีหนึ่ง คือ ทั้งๆ ที่รู้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามพระธรรมวินัย แต่ก็มีเจตนาที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นๆ เพราะกำลังของกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัวต่ออกุศล นั่นเอง

สำหรับเงินและทองนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควรแก่เพศพระภิกษุโดยประการทั้งปวง เป็นเครื่องเศร้าหมองของบรรพชิตจริงๆ ทำให้เกิดความติดข้อง เป็นห่วงกังวล และไม่ต่างอะไรกับคฤหัสถ์ เพราะพระภิกษุรับเงินและทองไม่ได้ เป็นอาบัติ ไม่ว่าจะรับเพื่อตน หรือ เพื่อสิ่งอื่น เช่น สร้างกุฏิ สร้างพระอุโบสถ เป็นต้น ก็เป็นอาบัติ ถ้ารับเมื่อใด ไม่ว่ากรณีใดๆ ล้วนไม่พ้นจากอาบัติ ชีวิตพระภิกษุ เป็นชีวิตที่ขัดเกลาเป็นอย่างยิ่ง เงินทองไม่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ

พระภิกษุผู้ที่ไม่ละอาย ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรมวินัย ก็มีการล่วงสิกขาบทต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือ การรับเงินรับทอง การรับเงินรับทองเป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ การที่จะแสดงอาบัติข้อนี้ ให้ตนเองเป็นผู้พ้นจากอาบัติได้ ต้องมีการสละให้ถูกต้องตามพระวินัยเสียก่อน แล้วจึงจะแสดงอาบัติตก แต่ถ้าไม่ทำการสละเลย แล้วแสดงอาบัติ ก็ไม่พ้นจากอาบัติ เป็นผู้มีอาบัติติดตัวเป็นอันตรายมากในเพศบรรพชิต เพศบรรพชิตต้องเคารพพระธรรมวินัย ถ้าต้องการเงิน ต้องการใช้เงิน ไม่ต้องบวช เพราะจุดประสงค์ที่แท้จริงในการบวช ก็เพื่อขัดเกลากิเลส เท่านั้น ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นเลย ครับ

อาบัติหนักที่สุด คือ อาบัติปาราชิก เมื่อต้องเข้าแล้ว ขาดความเป็นพระภิกษุทันที แต่ก็ไม่ใช่อาบัติกองอื่นๆ จะไม่มีโทษ ย่อมมีโทษด้วยกันทั้งนั้น มีโทษในขณะที่ต้องแล้ว ไม่ทำการออกจากอาบัติตามพระวินัย เพราะอาบัติที่ไม่ได้กระทำคืนนั้น เป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรคผล นิพพาน และ ถ้าหากว่ามรณภาพไปในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ก็เป็นผู้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เท่านั้น เป็นอันตรายมากทีเดียว ครับ

กราบนิมนต์พระคุณเจ้า คลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ถ้าบวชเป็นพระภิกษุแล้ว สมควรรับเงินหรือไม่ครับ

เหตุใดจึงมีพระวินัยบัญญัติไม่ให้พระรับเงินทอง

ภิกษุต้องอาบัติ ถ้าไม่ปลงต้องตกนรกหรือไม่

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 24 ก.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
samroang69
วันที่ 4 ต.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
lnwcat
วันที่ 30 ต.ค. 2554

... ภิกษุอีกรูปหนึ่งถูกทูตถามแล้ว โดยนัยก่อนนั่นแล เพราะไวยาวัจกร ไม่มี หรือเพราะไม่อยากจะจัดการ จึงกล่าวว่า พวกเรา ไม่มีกัปปิยการก และในขณะนั้นมีคนบางคนผ่านมา, ทูตจึงมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของเขา แล้วกล่าวว่า ท่านพึงรับเอาจีวรจากมือของผู้นี้เถิด แล้วไปเสีย, ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่าผู้อันทูตแสดงต่อหน้า.

ยังมีทูตอื่นอีกเข้าไปยังบ้านแล้ว มอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของผู้ใด ผู้หนึ่ง ที่ชอบพอกับตน แล้วมาบอก หรือวานผู้อื่นไปบอกโดยนัยก่อน นั่นแล หรือกล่าวว่า ผมจักให้ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือของคนชื่อ โน้น, ท่านพึงรับเอาจีวรเถิด ดังนี้ แล้วไปเสีย. ไวยาวัจกรที่ ๓ นี้ ชื่อว่า ผู้ที่ทูตแสดงไม่พร้อมหน้า ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ไวยาจักร ๔ จำพวก เหล่านี้ คือ ไวยาวัจกรที่ทูตแสดงต่อหน้าจำพวกหนึ่ง ไวยาวัจกรที่ทูตแสดงไม่พร้อมหน้า ๓ จำพวก ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ทูตแสดง. ในไวยาจักร ๔ จำพวกเหล่านี้ ภิกษุพึงปฏิบัติ โดยนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน เมณฑกสิกขาบทนั่นแล.

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่

พวกมนุษย์ที่มีศรัทธาเลื่อมใส, มนุษย์เหล่านั้น ย่อมมอบหมายเงิน และทองไว้ในมือแห่งกัปปิยการกทั้งหลายสั่งว่า พวกท่านจงจัดของที่ควรถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า ด้วยเงินและทองนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ยินดี สิ่งของซึ่งเป็นกัปปิยะจากเงินและทองนั้น, ภิกษุทั้งหลาย ! แต่เราหากล่าวไม่เลยว่า ภิกษุพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน โดยปริยายไรๆ .

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 862

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
lnwcat
วันที่ 30 ต.ค. 2554

สุภาพบุรุษหรือสตรี เมื่อศรัทธาจะถวายเงินทองแก่พระภิกษุหรือสามเณรต้องมอบให้แก่ไวยาจักร (ผู้ที่รับทำกิจของท่าน) และแจ้งให้ท่านทราบ อย่ามอบให้ในมือหรือในย่าม หรือในบาตรของท่าน เป็นต้น

(จีวรวรรค ข้อ ๑๐-โกสิยวรรค ข้อ ๘)

บุรุษผู้เป็นไวยาจักร เมื่อรับเงินทองของพระรูปใดไว้เท่าไร ต้องจัดสิ่งของที่พระต้องการถวายพระรูปนั้น ในราคาเท่าเงินทองที่ตนรับไว้นั้น ในเวลาที่ท่านขอ ถ้าเงินทองมาก พระขอของน้อย ก็จ่ายเท่าที่ท่านต้องการ เก็บส่วนที่เหลือไว้จ่ายคราวต่อไป

(จีวรวรรค ข้อ ๑๐)

วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบ

รวบรวมและเรียบเรียงโดย

พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก ป.ธ. ๙)

วัดบวรนิเวศวิหาร

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เซจาน้อย
วันที่ 1 พ.ย. 2554

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 2 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เซจาน้อย
วันที่ 31 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
kullawat
วันที่ 14 มิ.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Jarunee.A
วันที่ 3 ก.พ. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ