สัตว์เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง

 
pirmsombat
วันที่  20 ก.ย. 2554
หมายเลข  19762
อ่าน  1,779

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 345

.................................

สัตว์เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง

บทว่า จิตฺตสงฺกิเลสา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลายแม้อาบน้ำดีแล้ว

ก็ชื่อว่าเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมองนั่นแล แต่ว่าแม้ร่างกายจะ

สกปรกก็ชื่อว่าผ่องแผ้วได้เพราะจิตผ่องแผ้ว.

ด้วยเหตุนั้น โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาพระคุณ

อันยิ่งใหญ่มิได้ตรัสไว้ว่า เมื่อรูปเศร้าหมอง สัตว์

ทั้งหลายจึงชื่อว่า เศร้าหมอง เมื่อรูปบริสุทธิ์ สัตว์

ทั้งหลายจึงชื่อว่า บริสุทธิ์.

(แต่) พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหา

พระคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า

เมื่อจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าเศร้าหมอง

เมื่อจิตบริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าบริสุทธิ์ด้วย.

บทว่า จรณํ นาม จิตฺตํ ได้แก่ วิจรณจิต (ภาพเขียน) .

พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิชื่อว่า สังขา มีอยู่ พวกเขาให้สร้างแผ่นผ้าแล้ว

ให้ช่างเขียนภาพแสดงสมบัติ และวิบัติ นานัปการ โดยเป็นสวรรค์ เป็น

นรก ลงในแผ่นภาพนั้น แสดง (ถึงผลของกรรม) ว่า ทำกรรมนี้แล้ว

จะได้รับผลนี้ ทำกรรมนี้แล้ว จะได้รับผลนี้ ถือเอาจิตรกรรมนั้นเที่ยวไป๑.

บทว่า จิตฺเตเนว จินฺติตํ ความว่า ชื่อว่า อันจิตรกร (ช่างเขียน)

ให้สวยงามแล้วด้วยจิต เพราะคิดแล้วจึงเขียน๒.

บทว่า จิตฺตญฺเญว จิตฺตตรํ ความว่า จิตที่แสวงหาอุบายของ

จิตนั้น วิจิตรกว่าจิตที่ชื่อว่า จรณะแม้นั้น.

บทว่า ติรจฺฉานคตา ปาณา จิตฺเตเนว จินฺติตา ความว่า สัตว์

ทั้งหลายเหล่านั้นวิจิตรแล้ว๓ เพราะจิตที่เป็นเหตุให้ทำกรรมนั่นเอง.

ก็สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ มีนกกระจอกและนกกระทาเป็นต้น ที่จะชื่อว่า

ประมวลเอาจิตที่เป็นเหตุให้ทำกรรมนั้นมาโดยคิดว่า เราทั้งหลายจัก

วิจิตรอย่างนี้ไม่มีเลย. กรรมต่างหากชักนำไปสู่กำเนิด. การที่สัตว์

เหล่านั้นสวยงาม ก็โดยมีกำเนิดเป็นมูล. จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายที่เข้าถึง

กำเนิดแล้ว ย่อมวิจิตรเหมือนกับสัตว์ที่เกิดอยู่ในกำเนิดนั้นๆ บัณฑิต

พึงทราบว่า ความวิจิตรสำเร็จมาแต่กำเนิด กำเนิดสำเร็จมาแต่กรรม

ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้

...........................................

บทว่า รชโก ได้แก่ ช่างที่เขียนรูปด้วยสี ลงในวัตถุทั้งหลาย

ก็ช่างนั้น (ถ้า) ไม่ฉลาด ก็จะเขียนรูปได้ไม่น่าพอใจ (แต่ถ้า) ฉลาด

ก็เขียนรูปได้ น่าพอใจ สวยน่าดูฉันใด. ปุถุชนก็เป็นอย่างนั้นแหละ

คือย่อมยังรูปที่ผิดปกติอันเว้นจากคุณสมบัติ

มีความถึงพร้อมด้วยจักษุเป็นต้น

ให้เกิดขึ้นด้วยอกุศลจิต หรือด้วยกุศลจิตที่เป็นญาณวิปปยุต

ย่อมยังรูปที่สวยงามอันถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ

มีความถึงพร้อมด้วยจักษุเป็นต้น

ให้เกิดขึ้นด้วยกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุต.

จบ อรรถกถาคัททูลสูตรที่ ๒


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สภาพธรรมที่เศร้าหมอง คือ สภาพธรรมที่เป็นกิเลส คือ เจตสิกฝ่ายไม่ดี มีโลภเจตสิก

โทสเจตสิก โมหเจตสิก เป็นต้น รูปเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร รูปไม่สามารถทำให้สัตว์

หรือบุคคลต่างๆ เศร้าหมองได้ เพราะคำว่าสัตว์ หรือ บุคคลต่างๆ ก็คือ จิตแต่ละขณะที

เกิดขึ้นและดับไป รูปเป็นเพียงอารมณ์ของจิตเท่านั้น แต่สภาพธรรมที่ประกอบกับจิต

ที่เมื่อจิตเกิดขึ้น จะต้องเกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ คือ เจตสิก ดังนั้นจิตเป็นเพียงสภาพรู้ ยัง

บริสุทธิ์อยู่ ต่อเมื่อมีเจตสิกที่เป็นฝ่ายไม่ดี เกิดร่วมด้วย จิตนั้นจึงเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น

คำว่าสัตว์เศร้าหมองก็เพราะจิตเศร้าหมองก็คือ จิตเศร้าหมองเพราะเจตสิกฝ่ายไม่ดี มี

โลภะ โทสะ เป็นต้น เกิดร่วมด้วยกับจิตทำให้จิตเศร้าหมอง สัตว์นั้นที่บัญญัติสมมติขึ้น

จากการเกิดขึ้นของจิต เจตสิก จึงเศร้าหมองนั่นเองครับ ส่วนรูป ไม่สามารถทำจิตเศร้า

หมองได้ เพราะไมได้เป็นสภาพธรรมทีเกิดร่วมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต ดังเช่น

เจตสิกครับ แม้รูปร่างจะไม่ดี แต่จิตใจดี ประกอบด้วยโสภณธรรม คุณความดีต่างๆ รูป

ของบุคคลนั้นก็ไม่เป็นประมาณ เพราะจิตใจดี จิตใจประกอบด้วยปัญญาและเป็นจิตใจ

ปราศจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง จึงชื่อว่า สัตว์นั้นบริสุทธิ์เพราะจิตบริสุทธิ์นั่นเองครับ

ส่วนแม้บุคคลนั้นจะมีรูปร่างที่ดี มีรูปดี แต่จิตมากไปด้วยกิเลส อกุศลธรรมากมาย รูปนั้น

จึงไม่สามารถทำให้ผู้นั้นบริสุทธิ์ได้เพราะจิตนั้นเศร้าหมองด้วยกิเลสที่เกิดขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 20 ก.ย. 2554

ซึ่งในความเป็นจริง ในชีวิตประจำวันนั้น การจะเลื่อมใส บุคคลใด จึงไม่ควรถือรูปเป็น

ประมาณ ถือชื่อเสียง ลาภ สักการะเป็นประมาณ ถือการแต่งกายเป็นประมาณและแม้

เพียงกิริยาภายนอก แต่ควรถือ ธรรมเป็นประมาณ นั่นคือ คุณธรรมภายในของบุคคลนั้น

ที่บริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมองเพราะมีปัญญาและคุณความดีประการต่างๆ นั่นเอง แต่ธรรมเป็น

เรื่องอนัตตา ผู้ที่ตรงจึงไม่ยึดถือด้วยความอคติ ด้วยความรัก ความไม่ชอบ แต่ควรยึด

ถือด้วยธรรมเป็นประมาณ การใช้ชีวิตประจำวันก็จะเป็นผู้ตรงตามปัญญาที่ตัดสินด้วย

คุณธรรมเป็นสำคัญนั่นเองครับ ดังนั้นสัตว์จะดี จะบริสุทธิ์ จะเศร้าหมอง ไม่บริสุทธ์ ไม่

ใช่เพราะรูป ไม่ใช่เพราะชื่อเสียง ไม่ใช่เพราะลาภ สักการะ และเหตุอื่นๆ นอกจากคุณ

ความดีทีเกิดขึ้นในจิตใจ หรือ ความไม่ดีทีเกิดขึ้นในจิตใจ ซึ่งสัตว์จะค่อยๆ บริสุทธิ์ได้

ด้วยการอบรมปัญญา ศึกษาพระธรรม ก็จะค่อยๆ ละความเศร้าหมองคือกิเลสไปทีละ

น้อย จนบริสุทธิ์จากกิเลสครับ

ขออนุโมทนคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 20 ก.ย. 2554

สัตว์ทั้งหลายวิจิตร เพราะกำเนิดวิจิตร

กำเนิดวิจิตร เพราะการกระทำวิจิตร

การกระทำวิจิตร เพราะตัณหาวิจิตร

ตัณหาวิจิตร เพราะสัญญาวิจิตร

สัญญาวิจิตร เพราะจิตวิจิตร.....

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 20 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขออนุญาต ร่วมสนทนา ด้วยครับ จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ เท่านั้น [อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้] โดยสภาพของจิตแล้ว เป็น ปัณฑระ คือ ขาว แต่ที่จะเป็นจิตที่เศร้าหมอง (เป็นอกุศล) หรือ ผ่องใส (เป็นกุศล) นั้นขึ้นอยู่กับสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต คือ เจตสิก เป็นสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจิต มีโลภะ เกิดร่วมด้วย ก็เป็นอกุศลจิต เป็นจิตที่เศร้าหมองแล้ว เพราะกิเลสได้แก่ อกุศลเจตสิกประการต่างๆ นั้น เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต ในทางตรงกันข้าม ถ้าเจตสิกฝ่ายดี มี ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ เป็นต้น เกิดร่วมกับจิต ก็ทำให้จิตนั้น ผ่องใส เป็นกุศล ไม่เศร้าหมอง เลย เมื่อจิตเศร้าหมองด้วยกิเลส สะสมจนกระทั่งมีกำลังมากขึ้นๆ ย่อมเป็นเหตุให้กระทำในสิ่งที่ไม่ดี เป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ ได้ สิ่งร้ายๆ ที่เกิดขึ้นจะมาจากไหน ถ้าไม่ใช่เพราะกิเลส บุคคลที่ทำแต่สิ่งไม่ดี ไม่ได้ทำความดีอะไรไว้เลย เป็นผู้ประมาทมัวเมา ย่อมเสื่อมจากประโยชน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เมื่อตายไปย่อมมีโอกาสไปเกิดในอบายภูมิสูงมาก ประตูอบายเปิดรอคอยอยู่แล้ว แต่ถ้า จิต ไม่-เศร้าหมอง ไม่ถูกกิเลสครอบงำ ความประพฤติเป็นไปทางกาย วาจา และ ใจ ย่อมเป็นไปในทางที่ดียิ่งขึ้น ขณะที่มีชีวิตอยู่ก็ไม่เดือดร้อน (ไม่เดือดร้อนเพราะอกุศล) เมื่อละจากโลกนี้แล้ว ย่อมไปสู่สุคติ เหตุ ย่อมสมควรแก่ผล การฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญาให้มากขึ้น นี้แหละ จะเป็นที่พึ่่งที่แท้จริงสำหรับชีวิต เมื่อปัญญาเจริญขึ้นไปตามลำดับ ย่อมจะช่วยบรรเทาจิตที่เศร้าหมองให้ลดน้อยลง พราะสภาพธรรมที่ดีงาม ย่อมคล้อยไปตามความเข้าใจพระธรรม จนกว่าจะดับเครื่องเศร้าหมองของจิตได้ เมื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ สูงสุด คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์, บุคคลผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรมเท่านั้น ที่จะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากพระธรรม ซึงไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นอย่างนี้ เพราะธรรมไม่ได้สาธารณะกับทุกคนจริงๆ ความเข้าใจพระธรรม จำกัดไว้เฉพาะผู้ที่เห็นประโยชน์ มีศรัทธา ที่จะฟัง ที่จะศึกษาพระธรรม เพื่อความใจอย่างถูกต้อง เท่านั้น ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pirmsombat
วันที่ 20 ก.ย. 2554

ขอบคุณและอนุโมทนาคุณเผดิม คุณคำปั่น คุณเมตตาและทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 20 ก.ย. 2554

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหา

พระคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า เมื่อจิตเศร้าหมอง

สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าเศร้าหมอง เมื่อจิตบริสุทธิ์

สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าบริสุทธิ์ด้วย

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ และทุกๆ ท่านด้วยค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 20 ก.ย. 2554

ดังนั้นสัตว์จะดี จะบริสุทธิ์ จะเศร้าหมอง ไม่บริสุทธ์

ไม่ใช่เพราะรูป ไม่ใช่เพราะชื่อเสียง

ไม่ใช่เพราะลาภ สักการะ และเหตุอื่นๆ

นอกจากคุณความดีทีเกิดขึ้นในจิตใจ หรือ ความไม่ดีทีเกิดขึ้นในจิตใจ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pat_jesty
วันที่ 20 ก.ย. 2554
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เมตตา
วันที่ 21 ก.ย. 2554

ข้อความในปรมัตถทีปนี อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน อธิบายว่า

ความสะอาดด้วยน้ำอันเป็นตัวทำกิริยา มีการผุดขึ้น เป็นต้น ไม่ชื่อว่า เป็นความบริสุทธิ์

ของสัตว์ เพราะเหตุไร เพราะชนเป็นอันมากอาบน้ำนี้ เพราะถ้าชื่อว่า ความบริสุทธิ์จาก

บาปจะพึงมี เพราะการลงน้ำเป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วไซร้ ชนเป็นอันมากก็จะพากันอาบ

น้ำนี้ คือ คนผู้ทำกรรมชั่ว มีมาตุฆาตเป็นต้น และสัตว์อื่น มีโคกระบือ เป็นต้น ชั้นที่สุด

ปลาและเต่า ก็จะพากันอาบน้ำนี้ คน และสัตว์ทั้งหมดนั้นก็จะพลอยบริสุทธิ์จากบาปไป

ด้วย แต่ข้อนั้นหาเป็นอย่างนั้นไม่ เพราะเหตุไร เพราะการอาบน้ำ ไม่เป็นปฏิปักษ์แห่ง

เหตุแห่งบาป ก็สิ่งใดทำสิ่งใดให้พินาศไปได้ สิ่งนั้นก็เป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งนั้น เหมือน

แสงสว่างเป็นปฏิปักษ์ต่อความมืด และวิชชาเป็นปฏิปักษ์ต่ออวิชชา การอาบน้ำ

หาเป็นปฏิปักษ์ต่อบาปเช่นนั้นไม่

...ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ