การเรียนนักษัตรของภิกษุผู้อยู่ป่า

 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่  27 ส.ค. 2554
หมายเลข  19588
อ่าน  2,542

ตามที่ได้มีกล่าวไว้ในพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ อารัญญกวัตร ข้อ ๔๒๙ ว่า

"พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร.... พึงเรียนทางนักษัตรทั้งสิ้นหรือบางส่วนไว้...."

ทำให้มีความเข้าใจไปได้ว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เรียนฤกษ์ยามหรือโหราศาสตร์ (เกี่ยวกับนักษัตร) ได้ เป็นกรณียกเว้นสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า

แต่ผมได้อ่านหนังสือของท่านผู้รู้ท่านหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือเรื่องศรัทธากับปัญญาในพุทธศาสนา ความตอนหนึ่งว่า

คราวหนึ่ง ภิกษุอยู่ในป่า มีพวกโจรมาถามฤกษ์ยาม แล้วพระไม่รู้ พวกโจรก็ตีเอา ว่าเป็นพระได้อย่างไร ไม่รู้ฤกษ์ยาม อันนี้มีในพระวินัยจริง แต่เป็นการตีความผิด โดยเนื้อความแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น คำว่า "ภิกษุผู้อยู่ป่า ควรเรียนนักขัตบท" ในบาลีใช้คำว่า "นักขัตบท" (นกฺขตฺตปทานิ อุคฺคเหตพฺพานิ สกลานิวา เอกเทสานิวา – จากพระไตรปิฎก เล่ม ๗ ข้อ ๔๒๙) คำว่า นักขัตบท ไม่ได้หมายถึงฤกษ์ยาม แต่หมายเพียงวัน เดือน ปี เท่านั้น ให้ภิกษุรู้วัน เดือน ปี เมื่อเขามาถามว่า วันอะไร เดือนอะไร ปีอะไร ก็ให้รู้ ไม่ใช่เป็นฤกษ์ดียามดีอะไร

คำว่า "นกฺขตฺตปทานิ อุคฺคเหตพฺพานิ" พึงเรียนนักขตบท แต่ผู้เลื่อมใสโหราศาสตร์ก็โยงเข้าไปหาโหราศาสตร์ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เรียนโหราศาสตร์โดยอันนี้ ความจริงที่โจรมาถาม ไม่ได้ถามวันเดือนปีอย่างเดียว ถามเรื่องนำ้ใช้ พระก็ไม่มี ถามเรื่องอาหารที่จะกิน พระบอกไม่มี ถามเรื่องไม้สีไฟ พระบอกไม่มี ถามเรื่องอาบนำ้ พระบอกไม่มี ถามเรื่องทิศว่าจะไปทางทิศไหน พระบอกไม่รู้ ถามวันเดือนปี ก็ไม่รู้ โจรคิดว่าพวกนี้ไม่ใช่พระแท้ เป็นพระปลอม ไม่รู้อะไรสักอย่าง ก็เลยตีเอา

ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ท่านจึงทรงอนุญาตอารัญญิกวัตรสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่าว่าควรจะทำอย่างไร มีรายละเอียด ไม่ใช่เรื่องเดียว ตั้งต้นตั้งแต่ว่าตื่นแต่เช้าให้ทำอะไร ไปบิณฑบาตกลับมาทำอะไร บอกไว้หมดในพระวินัย เพราะฉะนั้นผู้เลื่อมใสโหราศาสตร์แล้วโยงตรงนี้ไป จึงเป็นการโยงที่ไม่ถูกต้อง"

ดังนั้น ในพระวินัยบทนี้จึงควรพิจารณาอย่างละเอียดด้วยเหตุและผลว่า พระพุทธองค์ทรงอนุญาตเรื่องการเรียนนักษัตรหรือนักขัตบท แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องของฤกษ์ยามหรือโหราศาสตร์ ดังที่มีท่านผู้รู้ได้วินิจฉัยไว้ หรือไม่อย่างไร ครับ เพราะมีกล่าวไว้ว่า โหราศาสตร์ เป็นเดรัจฉานวิชา

หากการเรียน นักษัตร หรือ นักขัตบท ไม่ใช่โหราศาสตร์แล้ว แม้ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรย่อมเรียนโหราศาสตร์ไม่ได้และขัดต่อพระวินัย ใช่ไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ที่คุณผู้ร่วมเดินทาง ได้กล่าวไว้ว่า นักกษัตร คือ การเรียนวัน เดือน ก็มีเหตุผลบ้างครับ

เชิญคลิกอ่านที่นีครับ... ข้อปฏิบัติภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

ซึ่งสำหรับความคิดเห็นส่วนตัวนั้น ในสมัยพุทธกาล เขานับวัน เดือน โดยใช้พระจันทร์

และดวงดาวในการนับ เป็นจันทรคติและดาวนักกษัตร คือ ดาวเคราะห์ต่างๆ ที่โคจร

เช่น ดาวประจำเมือง ดาวศุกร์ หรือดาวต่างๆ ที่เสวยฤกษ์ต่างๆ ก็เป็นนักษัตรนั้นครับ ซึ่ง

ชาวเมือง เวลาจะมีงาน มหรสพ ก็จะมีการเล่นนักกษัตร ตามฤกษ์ หรือ ตามดวงดาวที่มา

โคจรเวลานี้ ก็เป็นอันว่าถึงประพณีนี้ ก็มีการละเล่นกัน ก็แล้วแต่ประเพณีใด ถือฤกษ์

นักษัตรใดครับ และแม้พระพุทะองค์ เมื่อจะประกาศพระธรรมจักร เมื่อเวลาจะกล่าวถึง

เวลานั้นก็กล่าวว่า เป็นฤกษ์เสวยอาสาหะ มีดาวนักกษัตรเดือนอาสาฬหะนั่นเอง ดังนั้น

ช่วงเดือน 8 ที่เป็นวันอาสาฬหะ ก็จะมีดาวเคราะห์ (นักษัตร) ที่มีดวงดาว เรียงตัวอย่าง

นั้นทำให้รู้ว่าเป็นเดือน 8 และเสวยฤกษ์อาสาฬหะ ดังนั้น นักษัตร ที่เป็นดวงดาวในสมัย

นั้นจึงเป็นกาีรบอกเวลา ช่วงเวลาที่ผู้คนสมัยนั้นกำหนด ซึ่งใช้พระจันทร์ทีเ่ป็นจันทรคติ

และดวงดาวที่เป็นนักษัตร กำหนดเวลาในการทำกิจการ การงาน รวมทั้งกำหนดการละ

เล่น ที่เรียกว่า เล่นนักษัตรด้วยครับ

ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อมีเหตุคือ โจรทุบตีพระภิกษุ เพราะพระภิกษุที่อยู่ในป่า ไม่รู้เรื่องดวง

ดาว ไม่ใช่สำหรับพยากรณ์ ดูดวงอย่างที่เราเข้าใจนะครับ คือ ไม่รู้เวลา ดวงดาวว่าเป็น

อย่างไรตอนนี้ เมื่อไม่ทราบ โจรถาม โจรก็ไม่รู้เวลา ซึ่งโจรก็ต้องปล้นในเวลาเหมาะสม

อาจจะเป็นในงานเล่นนักษัตรที่ชาวเมืองเล่นกัน เมื่อไม่รู้ก็โกรธได้ และทุบตี เป็นต้น

เพราะไม่รู้เรื่องเวลา ไม่มีน้ำดื่ม อื่นๆ ดังนั้นการเรียนนักษัตรของพระภิกษุ จึงเป็นการ

เรียนให้รู้เวลา ที่คนในมัยนั้น ใช้พระจันทร์และดวงดาวในการกำหนดเวลาและทำ

กิจการงานนั่นเองครับ และเพราะเหตุเกิดเรื่อง พระองค์จึงให้เรียน ดวงดาวเพื่อให้รู้

เวลา ใครถามจะได้รู้ และไม่ถูกโจรทุบตีอีกครับ

ส่วนการเรียนดวงดาว ทีเ่ป็นการพยากรณ์นั้น ไม่ใช่กิจของพระแน่นอน และไม่ใช่ให้

เรียนด้วยจุดประสงค์นั้นครับ และแม้เรียนดวงดาวก็ไม่ใช่ว่าพระทุกรูปจะเรียนได้ ต้อง

เป็นพระที่อยู่ป่าเป็นวัตรครับ และการเรียนดวงดาวเพื่อรู้เวลา ไม่ใช่จุดประสงค์อื่นครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 27 ส.ค. 2554

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 552

สา. ดูก่อนน้องหญิง ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาดูพื้นที่ สมณพราหมณ์

เหล่านี้เรียกว่า ก้มหน้าฉัน ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาดูดาว

นักษัตร สมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า แหงนหน้าฉัน

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 27 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระบัญญัติแต่ละข้อ ในแต่ละส่วนนั้น ทรงบัญญัติโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหมด ล้วนมีเหตุมีเค้ามูล ว่า ทรงบัญญัติด้วยเหตุผลอะไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อให้พระภิกษุจะได้ศึกษาและสำรวมตาม สิ่งใดที่จะเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนขึ้นซึ่งอกุศลธรรมประการต่างๆ ให้มากขึ้น นั้น ไม่ใช่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้แต่ในเรื่องของการที่พระภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ควรจะมีความรู้ในเรื่องของวัน เวลา ดวงดาวนักษัตร รวมไปถึงทิศทางต่างๆ นั้น ด้วย พระองค์ก็ทรงบัญญัติไว้ เพื่อประโยชน์ในกรณีที่ถูกผู้อื่นถาม ก็จะสามารถบอกได้ตามความเป็นจริง ซึ่งไม่ได้ขัดกับพระธรรมวินัยแต่อย่างใด เพราะไม่ได้เป็นไปเพื่อการทำนายทายทัก หรือ เป็นโหราศาสตร์ อันเป็นดิรัจฉานวิชา (วิชาที่ขวางทางสวรรค์และนิพพาน) เพราะ้ถ้าเป็นไปเพื่อสิ่งเหล่านี้ มีแต่จะำทำให้กิเลสเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น ไม่ได้ขัดเกลากิเลสอย่างอย่างใด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว เพศบรรพชิต จะต้องเป็นเพศที่มีความจริงใจในการขัดเกลากิเลส เป็นอย่างมากทีเดียว ซึ่งถ้าศึกษาพระธรรมวินัยไม่ละเอียดรอบคอบ ก็ย่อมจะทำให้เข้าใจผิดและปฏิับัติผิด ได้ ดังนั้น ประโยชน์จึงอยู่ที่การศึกษาและมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านผู้ร่วมเดินทาง,คุณผเดิม และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 28 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมและอาจารย์คำปั่น

ที่ให้ความกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pat_jesty
วันที่ 29 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ