ภิกษุฉันลาบดิบซึ้งเป็นอาหารอีสานต้องอาบัติอะไรหมวดไหน .

 
สุภกิจฺโจ
วันที่  27 ส.ค. 2554
หมายเลข  19585
อ่าน  23,503

ภิกษุฉันเนื้อดิบหรือลาบดิบต้องอาบัติอะไร จะเป็นผลต่อการปฏิบัติไหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ภิกษุ ไม่ควรรับ หรือ ฉันเนื้อดิบ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฎครับ เว้นไว้แต่ว่า ภิกษุนั้นป่วยเพราะผีเข้าสิง ฉันเนื้อดิบ หรือ เลือด ไม่ต้องอาบัติ เพราะท่านป่วย เพราะอมนุษย์นั้นต้องการกินเนื้อ ไม่ใช่ตัวพระภิกษุมีความประสงค์ฉันเนื้อ จึงไม่ต้องอาบัติครับ

สัตตปัพพบุพพสิกขา และ บุพพสิกขาวรรณนา - หน้าที่ 313

จักกล่าวในมังสกถา

ข้อหนึ่ง อย่ารับเนื้อปลาดิบ ข้อหนึ่ง อย่าฉันเนื้อปลาดิบ ถ้ารับ ถ้าฉัน ต้องทุกกฏ

ด้วยอรรถกถาจารย์ ท่านอาศัยคำในพระสูตรว่า อามกมสปฏิคฺคหณา และอาศัยพุทธานุญาตว่า อนุ ฯ เป ฯอมนุสฺสิกาพาเธน อามกมส ขาทิตุ ปิวิตุ อามกโลหิต. ดังนี้ห้ามไว้

ความในพระสูตรและพุทธานุญาตว่า ภิกษุย่อมเป็นผู้เว้นจากการรับเนื้อดิบ ว่าเราผู้ตถาคตอนุญาตให้ภิกษุอันอมนุษย์เข้าสิงกาย ฉันเนื้อดิบก็ได้ ดื่มกินโลหิตดิบก็ได้ เพราะคำสั่ง ๒ นี้ อาบัตินี้ชื่อว่า บาลีมุตตกทุกกฏ

สำหรับการที่พระภิกษุล่วงอาบัติ และล่วงอาบัติทั้งๆ ที่รู้อยู่และไม่เห็นโทษของอาบัตินั้น ย่อมทำให้มีโทษต่อการบรรลุธรรมได้ และกาเรจริญขึ้นของกุศลประการต่างๆ ก็มีไม่ไ่ด้ เพราะเป็นผู้ไ่ม่เห็นโทษในอาบัติ และไม่ทำคืนอันสมควรด้วยการเห็นโทษ เมื่ออาบัตินั้นยังอยู่ ก็ทำให้ไม่เจริญในพระธรรมวินัย และทำให้ตกไปในความดี ตกไปในอบายภูมิและตกไปในสังสารวัฏฏ์ ด้วยครับ จึงเป็นอันตรายต่อการประพฤติธรรมสำหรับพระภิกษุที่ไม่เห็นโทษและก้าวล่วงโดยไใม่เห็นโทษในอาบัตินั้นครับ

ขออนุโมทนาอาจารย์ประเชิญที่ให้รายละเอียดให้เข้าใจด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
miran
วันที่ 28 ส.ค. 2554

ขอเสริมหน่อยนะครับ

อาหารประเภท ลาบ ก้อย ปลาดิบ เนื้อดิบ ลาบเลือด หลู้ น้ำตก ซกเล็ก กุ้งเต้น ก้อยไข่มดแดง แหนมดิบ หอยแครงลวก หอยดอก ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม น้ำพริกปลาร้าสับ และน้ำพริกกะปิ เป็นต้น ก็ไม่สมควรรับนะครับ บางท่านอาจกล่าวว่า ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม น้ำพริกปลาร้าสับ และน้ำพริกกะปิ หมักจนสุกแล้ว แก้ว่า ท่านให้สุกด้วยไฟครับ ดังนั้น ฆราวาสควรปรุงให้สุกก่อนจึงควรนำไปถวายพระนะครับ และข้อเพิ่มในส่วนที่ทรงอนุญาตไว้ดังนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์

เล่ม ๒ - หน้าที่ 574

ฝ่ายภิกษุเห็นผลไม้ มีผลมะม่วงเป็นต้นที่หล่นในป่า ตั้งใจว่า เราจักให้แก่สามเณร แล้วนำมาให้ ควรอยู่ ภิกษุเห็นเนื้อเดนแห่งสีหะ เป็นต้น คิดว่า เราจักให้แก่สามเณร รับประเคนก็ตาม ไม่ได้รับประเคนก็ตาม นำมาให้ควรอยู่. ก็ถ้าอาจจะชำระวิตกให้หมดจดได้ แม้จะขบฉันอาหารที่ได้มาจากเนื้อเป็นเดนสีหะเป็นต้นนั้น ก็ควร. ไม่ต้องโทษเพราะรับประเคนเนื้อดิบเป็นปัจจัยและไม่ต้องโทษเพราะของอุคคหิตก์เป็นปัจจัยเลย. และพระพุทธองค์ทรงอนุญาตการรับประเคนเนื้อดิบไว้ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองในเพราะอาพาธเช่นนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อดิบเลือดสดในเพราะอาพาธอันเกิดแต่อมนุษย์เข้าสิง และทรงห้ามไว้โดย สามัญว่า ภิกษุย่อมเป็นผู้งดเว้นจากการรับเนื้อดิบโดยแท้ (สารัตถฎีกา.๓/๒๙๙)

ขอขอบคุณที่ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สุภกิจฺโจ
วันที่ 28 ส.ค. 2554

ขอขอบคุณมากๆ ครับที่ให้ความรู้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 29 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ ในภาคใด ถ้าฉันอาหารดิบ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีเว้น ในขณะที่ต้องอาบัติ ได้ชื่อว่า เป็นผู้มีโทษ ตราบใดที่ยังไม่ได้กระทำคืนซึ่งเป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตามพระวินัย ด้วยการปลงอาบัติ [เพราะอาบัติทุกกฏ สามารถพ้นได้ ด้วยการแสดงอาบัติต่อหน้าพระภิกษุด้วยกัน ด้วยความจริงใจว่า จะสำรวมระวัง ไม่กระทำในสิ่งที่ไ่ม่ถูกต้อง อย่างนี้อีก] ก็จะเป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรค ผล นิพพาน ทำให้เป็นผู้ไม่มีความเจริญในพระธรรมวินัย และถ้ามรณภาพลงในขณะที่ยังไม่ได้ปลงอาบัติ ย่อมเป็นผู้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ซึ่งจะเ็ป็นผู้ประมาทไม่ได้เลยทีเดียว ไม่พึงเห็นว่าเป็นสิ่งเล็กน้อย เพราะเหตุว่า พระภิกษุ ซึ่งเป็นเพศที่สูงกว่าเพศคฤหัสถ์ ก็ตกนรกได้ ครับ.

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Anusak
วันที่ 16 พ.ย. 2563

ข้อความที่แสดงข้างบนนี้แจ่มชัดแล้ว

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ