สังสารวัฏฏ์ ... อุปมาการหมุนวนของลูกข่าง

 
เมตตา
วันที่  3 ก.ค. 2554
หมายเลข  18671
อ่าน  1,823

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ หน้า ๕๐๒

บทว่า วฏฺฏมนุกฺขิปํ คือ ขว้างลูกข่าง ที่มีชื่อว่า วัฏฏะ เพราะหยุดหมุน ขณะขว้างลงไป อธิบายว่า เล่นลูกข่าง.


ธรรม หมายถึงสิ่งที่มีจริง ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา ก็เพื่อ ให้พุทธบริษัทมีความเข้าใจถูก ความเห็นถูกในลักษณะสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏตาม ความเป็นจริง ทุกๆ ขณะของชีวิตที่ดำเนินไปก็ไม่พ้นจากธรรมะ มีเห็น ได้ยิน ... และคิด นึก ทุกอย่างเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน ขณะเห็นเกิดขึ้นเห็น มีเราในขณะเห็นหรือเปล่า? สภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ในชี วิตประจำวันก็ไม่พ้นไปจากจิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต) และรูป (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย) ซึ่งเกิดดับสืบต่ออย่างไม่ขาดสาย แต่ละขณะเป็นสังสารวัฏฏ์ "สังสารวัฏฏ์ คือ ทุกๆ ขณะจิตที่เกิดขึ้น เห็นขณะนี้เกิดขึ้นเห็น เพราะมีเหตุปัจจัยให้เห็นเกิดขึ้น

เห็นขณะนี้ ก็เป็นสังสารวัฏฏ์ วัฏฏะคือ การหมุนวน สภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก เกิดดับสืบต่อ กัน ทำให้เห็นว่าเหมือนไม่ดับ อุปมาเหมือนกับ การหมุนวนของลูกข่าง ที่ทำให้เห็น ว่าเหมือนหยุดนิ่ง เห็นเป็นรูปลูกข่างแต่แท้ที่จริงแล้ว มีการหมุนวนอยู่ตลอดเวลา แต่ หมุนเป็นไปอย่างรวดเร็ว สภาพธรรม เกิดดับเร็วยิ่งกว่านั้น ทำให้เห็นเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นสิ่งของต่างๆ ที่เที่ยง ซึ่งจะต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญาเท่านั้น จึง จะรู้ธรรมตามความเป็นจริงได้ ไม่เข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มได้ที่ ...

พระอรหันต์สิ้นสุดการเดินทางในสังสารวัฏฏ์ [คาถาธรรมบท]

ถ้าไม่มีญานจริยา ก็พ้นจากสังสารวัฏฏ์ไม่ได้

ขออนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 3 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาพี่เมตตา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Maimii
วันที่ 3 ก.ค. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Jans
วันที่ 3 ก.ค. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาพี่เมตตาคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 3 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาพี่เมตตา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 4 ก.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 4 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ