วิปัสสนากรรมฐาน กับ เจริญสติปัฏฐาน เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?

 
ลุงหมาน
วันที่  1 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18465
อ่าน  7,535

คำถามนี้ถ้าถามไม่ถูกต้องหรืออาจไปซ้ำกับคำถามที่มีผู้เคยถามไปแล้ว

ก็ต้องขออภัยนะครับ

สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน จะเห็นเป็นธรรมที่ยกมาแสดงเปรียบเทียบจนเห็น

ได้ว่าเป็นของคู่กันในลักษณะที่ต่างกัน

สติสัมปชัญญะ กับ สติปัฏฐาน

สติสัมปชัญญะ คือ การรู้ตัวทั่วพร้อม (หมายถึงอย่างไรและรู้ได้อย่างสติปัฏฐานได้หรือ

เปล่า) หรือแตกต่างกับสติปัฏฐานอย่างไร (แยก สติ+ปัฏฐาน ด้วยครับ)

สติปัฏฐาน คือ การเอาสติไปตั้งที่ฐาน ๔ มี กาย เวทนา จิต ธรรม เห็นสภาพธรรมตาม

ความเป็นจริงที่ปรากฏในขณะนั้น (จะกำหนดฐานใดฐานหนึ่ง หรือจะต้องพิจารณาทั้ง ๔

ฐานไปด้วยในคราวเดียวพร้อมๆ กัน หรือตามแต่ถนัดตามแต่จริตของตน)

ทีนี้คำว่าวิปัสสนากรรมฐานจะไปตรงกับคำว่า เจริญสติปัฏฐานได้หรือเปล่า โดยการ

ปฏิบัติ หรือแตกต่างกันยังไง ขอความกระจ่างในธรรมด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สติสัมปชัญญะ กับ สติปัฏฐาน

สติสัมปชัญญะ คือ การรู้ตัวทั่วพร้อม (หมายถึงอย่างไรและรู้ได้อย่างสติปัฏฐานได้หรือ

เปล่า) หรือแตกต่างกับสติปัฏฐานอย่างไร (แยก สติ+ปัฏฐาน ด้วยครับ) -----------------------------------------------------------------------------

สติ เป็นเจตสิกฝ่ายดี เป็นสภพาธรรมที่ทำหน้าที่ระลึก เกิดกับกุศลจิตทุกประเภท

สัมปชัญญะ เป็นปัญญา รู้ตามความเป็นจริงในสภาพธรรม เมื่อใช้คำว่าสติและ

สัมปชัญญะ คู่กัน จึงเป็นเรื่องของการอบรมปัญญาที่เป็นไปในสมถภาวนาและ

วิปัสสนาภาวนา ซึ่งสติสัมปชัญญะที่เป็นไปในการเจริญวิปัสสนา ก็คือ การเจริญสติ

ปัฏฐาน 4 นั่นเองครับ

สติปัฏฐาน สติและสัมปชัญญะ (ปัญญา) ที่ระลึกรู้ความจริงขอสภาพธรรมที่มีจริง

ในขณะนี้ สติเป็นตัวระลึกลักษณะของสภาพธรรม สัมปชัญญะ ทำหน้าที่รู้ตามความ

เป็นจริงที่เป็นปัญญารู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ดังนั้นขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นมีทั้ง

สติและสัมปชัญญะครับ ซึ่งสติ กับ ปัฏฐาน สติทำหน้าที่ระลึก เป็นตัวสติ ปัฏฐาน

หมายถึง ที่ตั้ง ที่ตั้งของตัวสตินั่นเอง แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐาน ไม่ได้หมายถึงตัวสติ

เท่านั้น รวมทั้งสภาพธรรมฝ่ายดีอื่นๆ คือ ปัญญา (สัมปชัญญะ) และสภาพธรรมฝ่ายดี

อื่นๆ ด้วยครับ

ดังนั้นสติสัมปชัญญะ ก็คือ สติและปัญญา ปัญญารู้ตัว ไม่ใช่รู้ว่าทำอะไรนะครับ

รู้สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีสภาพธรรม เช่น เห็น ได้ยิน

แข็ง รู้ในสภาพธรรมในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา จึงเป็นสติ สัมปชัญญะครับ ดังนั้น

เมื่อกล่าวถึงสติปัฏฐาน ก็ชือ่ว่ากล่าวถึงสติสัมปชัญญะด้วย เพราะ สติปัฏฐาน ขาด สติ

และปัญญา (สัมปชัญญะ) ไมได้เลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

สติปัฏฐาน คือ การเอาสติไปตั้งที่ฐาน ๔ มี กาย เวทนา จิต ธรรม เห็นสภาพธรรมตาม

ความเป็นจริงที่ปรากฏในขณะนั้น (จะกำหนดฐานใดฐานหนึ่ง หรือจะต้องพิจารณาทั้ง ๔

ฐานไปด้วยในคราวเดียวพร้อมๆ กัน หรือตามแต่ถนัดตามแต่จริตของตน)

-------------------------------------------------------------------------

ควรเข้าใจความจริงเบื้องต้นครับว่า สติและปัญญา (สัมปชัญญะ) เป็นธรรม เมื่อเป็น

ธรรม ธรรมเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ สติและปัญญาก็เป็นธรรม จึงบังคับบัญชา

ไม่ได้ ไม่มีเราที่จะไปพยายามเอาสติและปัญญา ไปรู้หมวดนั้น หมวดนี้ ตามใจชอบ

แล้วแต่ว่าสติจะเกิดที่ไหน รู้สภาพธรรมอะไรครับ เห็นขณะนี้ เลือกไม่ได้เลยที่จะเห็น

อะไร โกรธ ไม่รู้ว่าจะเกิดเมื่อไหร่และจะโกรธอะไร สติและปัญญาที่เป็นสติปัฏฐานก็

เช่นกัน ไม่รู้เลยว่าจะเกิดระลึกอะไร สภาพธรรมใด ก็แล้วแต่สติว่าจะรู้อะไรในขณะนั้น

ครับ แสดงถึงความเป็อนัตตา แต่ถ้าจะพยายามเอาสติไปรู้ที่หมวดนั้น หมวดนี้แสดง

ถึงความต้องการ ที่อยากจะรู้ แต่ไม่เข้าใจความเป็นอนัตตาและเหตุให้เกิดสติปัฏฐาน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

เหตุให้เกิดสติปัฏฐานคือการฟังพระธรรม ด้วยปัญญาและความจำที่มั่นคงว่าธรรม

คืออะไร ธรรมคือขณะนี้ เข้าใจเรื่องงสภาพธรรม เมื่อมีเหตุปัจจัยสติปัฏฐานก็เกิด

ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม หมวดใด หมวดหนึ่งหรือสภาพธรรมใด สภาพธรรม

หนึ่งก็ได้ครับ ขอให้เริ่มจากความเข้าใจถูกกับคำว่า อนัตตาครับ และธรรมต้องมีเหตุ

จึงเกิดได้ครับ เมื่อเราเข้าใจคำว่าอนัตตา เป็นธรรม ธรรมทำหน้าที่ จึงไม่มีเราต้องไป

ทำสติ เอาสติไปทำ เพราะเป็นหน้าที่ของธรรม รู้ก็คือรู้ ไม่รู้ก็คือไม่รู้ เพียงแต่อย่าหลง

ทางเท่านั้นเองครับ ฟังพระธรรมในเรื่องสภาพธรรมต่อไป จนสติและปัญญาเกิดเอง

เป็นหน้าที่ของธรรมครับ ต้องอดทนเพราะเป็นเรื่องของปัญญาซึ่งยากครับ

ดังนั้น เรารู้หรือไม่ว่าเราจริตอะไร ไม่รู้เลย แต่ขณะที่สติเกิด โดยที่ไม่มีตัวตนบังคับ

ไปเลือหมวดใด ก็แสดงให้เห็นถึงสภาพธรรมที่ระลึกเป็นไปในหมวดนั้นที่มีจริตประเภท

นั้นในหมวดนั้นครับ ดังนั้นถ้าไม่มีความเข้าใจถูกตั้งแต่ต้น แต่อ้างคำว่าจริต ว่าถูกกับ

จริตนี้ ชอบแบบนี้ก็จะไม่มีทางถึงหรือเข้าใจความจริงได้ครับ ดังนั้นไม่ต้องทำอะไร

ธรรมทำหน้าที่เองฟังพระธรรม ปัญญาเจริญขึ้นเมื่อไหร่ สติเกิดก็ย่อมเป็นไปในหมวด

ใดหมวดหนึ่งอันเหมาะสมกับจริตนั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

ทีนี้คำว่าวิปัสสนากรรมฐานจะไปตรงกับคำว่า เจริญสติปัฏฐานได้หรือเปล่า โดยการ

ปฏิบัติ หรือแตกต่างกันยังไง ขอความกระจ่างในธรรมด้วยครับ

----------------------------------------------------------------------------

วิปัสสนา กับ สติปัฏฐาน บางนัยก็แสดงเหมือนกัน คือเป็นการอบรมปัญญารู้

ลักษณะของสภาพธรรมทีมีจริงในขณะนี้ จึงเป็นเรื่องของการอบรมปัญญาเพื่อดับ

กิเลสนั่นเอง ส่วนบางนัยก็แสดงถึงความต่างกันของระดับปัญญา เช่น สติปัฏฐาน

เป็นปัญญาระดับต้นที่ค่อยๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรม ส่วน วิปัสสนาที่เป็นปัญญา

ระดับวิปัสสนาญาณ แสดงถึงปัญญาะรดับสูงที่แทงตลอดสภาพธรรม ประจักษ์แจ้ง

โดยความเป็นามธรรมและรูปธรรม และวิปัสสนาญาณก็มีหลายขั้น ทั้งเห็นการเกิดดับ

ของสภาพธรรม เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

ดังนั้นเพราะอาศัยสติปัฏฐาน เกิดขึ้นเนืองๆ บ่อยๆ ย่อมเป็นปัจจัยให้ถึงปัญญาระดับ

วิปัสสนาญาณและเมื่อวิปัสสนาญาณเจริญขึ้นเป็นลำดับขั้นไป ก็ย่อมถึงการดับกิเลส

ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลครับ ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว สติปัฏฐานและวิปัสสนาก็ต่างกัน

เพียงพยัญชนะ แต่อรรถ ความหมายก็เหมือนกันคือการอบรมปัญญาเพื่อรู้ลักษณะของ

สภาพธรรมตามความเป็นจริงครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ........... วิปัสสนากับสติปัฏฐาน

สำคัญที่สุดคือก่อนจะเข้าใจสติปัฏฐาน เข้าใจวิปัสสนา จะต้องเริ่มจากพื้นฐาน

เข้าใจก่อนครับว่าธรรมคืออะไร ไม่เช่นนั้นเราก็ไปหาธรรมผิดๆ หนทางที่ผิด เริ่มจาก

ปัญญาขั้นการฟังให้เข้าใจก่อน เมื่อเริ่มถูก ก็ค่อยๆ ถูกไปตามลำดับครับ เข้าใจความ

เป็นอนัตตา ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ แม้สติและปัญญาจะบังคับให้เกิดที่นั่นที่นี่ไม่ได้

แต่ค่อยๆ อบรมเหตุของสติและปัญญาคือการฟังพระธรรมครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ลุงหมาน
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

ขอบคุณครับฟังดูแล้วก็ยากอยู่นะครับ บางครั้งเราอ่านทั่วๆ ไปบางทีเหมือนจะเข้าใจ แต่พอ

มาอ่านที่ อ. ตอบนั้นก็ต้องเข้าใจไปอีกอย่างนึ่ง เพราะที่เราเข้าใจนั้นมันไม่ใช่อย่างที่เรา

เข้าใจน่ะครับ คงจะต้องย้อนกลับเข้ามาอ่านบ่อยๆ มาทำความเข้าใจอีกมาก และขอความ

รบกวนจาก อ.ว่ามีอะไรที่จะเพิ่มเติมอีกนอกจากคำถามที่ถามอยู่นี้ช่วยแนะนำด้วยครับ

ขอให้ อาจารย์เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ลุงหมาน
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
SOAMUSA
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านเจ้าของกระทู้และท่านอาจารย์ผู้ตอบค่ะ

ขอเรียนถามว่า การเกิดสติอย่างต่อเนื่องนั้น ต้องอาศัยความเพียรด้วย ใช่หรือไม่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 11

ควรเข้าใจครับว่า วิริยเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภทอยู่แล้ว ดังนั้นเหตุให้เกิดสติ

และปัญญาก็คือการฟังพระธรรม ดังนั้น ขณะที่ฟังพระธรรม มีวิริยเจตสิกเกิดแล้วครับ

ไม่ต้องไปทำความเพียร เพราะวิริยเจตสิกเกิดกับจิตเกือบทุกประเภท ดังนั้นเมื่อเรา

เข้าใจดังนี้แล้วก็อบรมเหตุ คือ ฟังพระธรรม ไม่ต้องมีความพยายามที่จะเพียร เพราะ

เพียรอยู่แล้วทุกขณะ จะเพียรไปในกุศล หรือ อกุศลเท่านั้นครับ ที่สำคัญจะต้องเข้าใจ

ความเป็นอนัตตาของสติ คือ สติไม่ได้เกิดตามใจชอบ แต่มีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นครับ

ดังนั้นถ้ามีความต้องการ อยากให้สติเกิดบ่อย ความต้องการนั้นไม่ใช่เหตุให้เกิดสติ

พยายามทำความเพียรให้สติเกิดบ่อยก็ไม่ใช่เหตุให้เกิดสติ แต่การฟังพระธรรม ปัญญา

เจริญขึ้น ขณะนั้นมีความเพียรแล้ว เป็นเหตุให้เกิดสติครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ลุงหมาน
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

เข้ามาอ่านทำความเข้าใจ มีอะไรเพิ่มเติม ในสิ่งที่ควรรู้ เชิญครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
วินิจ
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

จากคห.12,ขอเรียนถามเสริมอ.เผดิมด้วยครับ...

กรุณาขยายความ"โพชฌงค์7" (องค์แห่งการบรรลุธรรม) 3ข้อแรก,"สติ"นำ,"ธัมมวิจัย"

ตาม,"วิริยะ"ปิดท้าย,ตกลงตรงนี้คืออย่างไรครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 14 ครับ

โพชฌงค์ 7 ซึ่งเป็นคุณธรรมระดับสูงมากครับ ดังนั้นก่อนจะถึงโพชฌงค์ จะต้องอบรม

เจริญสติปัฏฐานจนชำนาญ จนบริบูรณ์และก่อนจะถึงสติปัฏฐานก็จะต้องมีการอบรม

ฟังพระธรรมากครับ ดังนั้นโพชฌงค์ 7 จึงเป็นเรื่องที่ไกลเพราะปัญญายังน้อยมากครับ

ไม่ใช่ว่าจะอบรมโพชฌงค์ 7 ได้ทันที ซึ่ง องค์ของโพชฌงค์ เมื่อขณะที่โพชฌงค์เกิด ก็

มีทั้งสติ ทั้งธัมมวิจยะ (ปัญญา) และมีวิริยะเกิดพร้อมกันอยู่แล้วครับ ไม่ต้องไปทำ

สภาพธรรมไหนอะไรก่อนหลัง เพียงแต่ว่าอบรมเหตุคือการฟังพระธรรม เมื่อถึงเวลานั้น

ก็จะถึงการรู้ความจริงของสภาพธรรมเอง โดยที่สภาพธรรมนั้นเกิดพร้อมกันทั้ง วิริยะ

ปัญญาและสติครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
SOAMUSA
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

ดิฉันขอรบกวนถามเรื่อง อธิบดีค่ะ วีริยะเป็นอธิบดี คือ มีความเพียรอย่างแรงกล้าเกิดขึ้น

แล้ว ฉันทะ จิต ปัญญา ก็ต้องคล้อยตามวีริยะไป ในอารมณ์นั้นๆ ถ้าวีริยะตัวนี้เกิดขึ้นจาก

อะไรเป็นเหตุ ให้วีริยะแรงกล้าค่ะ

ขอความกรุณาอธิบายให้เข้าใจด้วยค่ะ เพื่่อเป็นพื้นฐานในการเรียนขั้นต่อไปค่ะ

กราบขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
wannee.s
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

กุศลบางอย่าง เช่น การฟังธรรม บางครั้งก็มีฉันทะเป็นใหญ่ บางครั้งก็ต้องมีวิริยะ

เป็นใหญ่ แล้วแต่บางโอกาส บางขณะ ตามการสะสมของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน

แม้แต่พระโพธิสัตว์ บางพระองค์ก็มากด้วยปัญญา บางพระองค์ก็มากด้วยศรัทธา

บางพระองค์ก็มากด้วยวิริยะ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
SOAMUSA
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านผู้ตอบทุกท่านค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ ทำให้เข้าใจเรื่องอธิบดีได้ดียิ่งขึ้น

พระอภิธรรม นึกมาเป็นชีวิตจริงไม่ได้ อ่านมาแล้วนึกไม่ออกค่ะ

ว่าธรรมะนี้เช่นเรื่องอะไรบ้างค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
orawan.c
วันที่ 20 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
pamali
วันที่ 22 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ