วิบากหรือการสะสม

 
franky_friday
วันที่  14 เม.ย. 2554
หมายเลข  18204
อ่าน  2,970

เพราะเหตุใดคนที่พูดจาหยาบคายอยู่เป็นนิตย์ เรียกได้ว่าถ้าพูดเมื่อไรก็จะติดคำหยาบ-คายออกมาด้วย ไม่มาก่อนหน้าก็จะมาหลังจากประเด็นที่ต้องการสื่อสารอยู่เสมอ จึงมักชอบหรือสรรหาอาหารที่บูดเน่ามารับประทาน เช่น รับประทานอาหารที่เสียแล้ว หรือนำปลาที่ตายจนส่งกลิ่นเหม็นเน่าแล้วมาปรุงอาหาร เป็นต้น เหล่านี้เรียกได้ว่าเป็นวิบากของผู้ที่ชอบพูดจาหยาบคาย หรือเป็นการสะสมมาเพราะความชอบคะ

กราบอนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จิตเป็นสภาพธรรมที่สะสม สะสมกิเลส สั่งสมอุปนิสัย เมื่อสภาพธรรมสิ่งใดเกิดบ่อยก็ จะสะสมอยู่ในจิตทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีอุปนิสัยอย่างนั้น เมื่อเป็นผู้เกิดความโกรธบ่อยก็ทำให้สะสมทำให้เป็นผู้มีอุปนิสัยในการโกรธบ่อยๆ เป็นผู้มักโกรธนั่นเอง เพราะฉะนั้น สิ่งๆ ต่างที่เกิดขึ้นในการแสดงออกทางกาย วาจาจึงไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ แต่เป็นไป ตามการสะสมในอดีต สำหรับตัวอย่างในเรื่องของมักจะพูดคำหยาบคาย นั่นก็เป็น เพราะการสะสม สะสมในอดีตมาที่เคยพูดไม่เพราะ เคยพูดหยาบคายบ่อยๆ ปัจจุบันก็ยัง พูดในสิ่งนั้นอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่แสดงออกมาในปัจจุบันนั่นแสดงถึงการสั่งสมในอดีตของบุคคลนั้นว่าเป็นอย่างไรครับ

การมักพูดคำหยาบจึงไม่ใช่เรื่องของวิบากที่เป็นผลของกรรม แต่เป็นเรื่องของการ สั่งสมมาในอดีตที่เป็นอกุศลในการพูดคำหยาบบ่อยๆ ปัจจุบันจึงเป็นผู้มีอุปนิสัยอย่างนั้นดังตัวอย่างในพระไตรปิฎกที่พระเถระรูปหนึ่ง ชื่อปิลินทวัจฉะ เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านก็ยังกล่าวเรียกบุคคลอื่นด้วยคำว่าคนถ่อย เพราะในอดีตท่านเคยเกิด เป็นพราหมณ์มา 500 ชาติและก็เป็นผู้กล่าววาจาอย่างนี้คือคนถ่อยมาจนชินอันเป็นการ สั่งสมมาของท่าน จึงทำให้ปัจจุบันแม้ท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วท่านก็ยังกล่าววาจา ว่าคนถ่อยเมื่อเรียกผู้อื่น จึงแสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องของการสะสมมาแต่ไม่ใช่เรื่องของ วิบากครับ แต่จิตของท่านที่กล่าวว่าคนถ่อยไม่หยาบเลยเพราะไม่ใช่อกุศลจิตที่กล่าว ไม่มีเจตนาว่า จึงไม่ใช่คำหยาบเพราะคำหยาบคายสำคัญที่จิตคือมีจิตมุ่งว่าคนนั้นจึง เป็นคำหยาบคาย แม้คำนั้นจะดูไพเราะทางโลกแต่ก็เป็นคำหยาบแล้วเพราะจิตเป็น อกุศลเจตนาว่าผู้อื่นครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.....

วาจาเพราะการสะสม [พระปิลินทวัจฉเถระ]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 14 เม.ย. 2554

ส่วนในกรณีเรื่องมักนำของที่เป็นอาหารบูดเน่ามารับประทานก็เป็นเพราะการสะสมด้วย เช่นกัน เพราะการชอบในสิ่งที่ใดสิ่งหนึ่งจะมีไมได้เลย ถ้าไม่มีจิต ไม่มีโลภะที่ชอบในสิ่ง ใดสิ่งหนึ่งในอดีต เมื่อชอบสิ่งนั้นบ่อยๆ หรือมีความชอบที่มีกำลังในสิ่งนั้นในอดีตก็ย่อม เป็นปัจจัยให้ชอบในสิ่งนั้นจนถึงปัจจุบัน มีเรื่องอาหารที่บูดที่ไม่ดี เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็น เรื่องของการสะสมมาทั้งสิ้นที่เป็นกุศลบ้างหรืออกุศลครับ

แต่อีกนัยหนึ่งเพราะผลของกรรมในอดีตที่เป็นวิบากที่เป็นบาปกรรมที่มีกำลังจึงทำให้ เมื่อกรรมให้ผลย่อมทำให้ปรารถนาที่จะรับประทานอาหารไม่ดีได้ ดังเช่นในเรื่องของ ท่านพระชัมพุกเถระที่ท่านก่อนจะบวชท่านยินดีในการทานอุจจาระ อันเป็นผลมาจาก กรรมที่ท่านเคยว่าพระอรหันต์ในชาติก่อนๆ ว่าให้ท่านทานอุจจาระ เพราะกรรมนั้นเอง ที่มีกำลัง เมื่อให้ผลย่อมทำให้ตัวท่านได้รับสิ่งที่ไม่ดีคือการทานสิ่งที่ไม่สมควรครับ เพราะฉะนั้นเราจะต้องแยกว่าขณะไหนเป็นผลของกรรมคือขณะที่เห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้ม รส รู้สิ่งกระทบสัมผัส ขณะไหนเป็นการสะสม คือขณะที่เป็นกุศลจิตและอกุศลจิตครับ เมื่อเข้าใจความจริงอย่างนี้ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงและเห็นประโยชน์ของกุศลและเห็น โทษของอกุศลเพิ่มขึ้นครับ

ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ....

โทษของการด่าพระอรหันต์ [ชัมพุกาชีวก]

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 14 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เมื่อได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ก็จะเข้าใจได้ว่าชีวิตที่ดำเนินไปนั้น ขณะใดบ้างที่ เป็นวิบากจิต ซึ่งเป็นผลของกรรม เป็นนามธรรมเท่านั้น (ได้แก่ เป็นวิบากจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) ขณะใดเป็นเหตุ คือ เป็นการสะสมทั้งที่เป็นกุศล และ เป็นอกุศล บ้าง กุศลและอกุศลในขณะนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่เคยสะสมกุศลและอกุศลประการนั้นมาในอดีต การกล่าวคำหยาบ โดยปกติ เป็นไปด้วยอำนาจของอกุศล เมื่อกล่าวอย่างกว้างๆ แล้วขณะใดที่จิตไม่ได้เป็นไปทาน ศีล การอบรมความสงบของจิต และ การอบรมเจริญปัญญาแล้ว นอกจากนั้น เป็นอกุศลทั้งหมด หลังเห็น หลังได้ยิน หลังได้กลิ่นเป็นต้น อกุศลเกิดขึ้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นไปตามการสะสมของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นแต่ละหนึ่งจริงๆ การกล่าววาจาหยาบก็เช่นเดียวกัน ตราบใดที่ยังไม่สามารถดับได้ ก็ยังมีเหตุปัจจัยให้กล่าววาจาหยาบออกมาได้ เพราะผู้ที่จะดับการกล่าววาจาหยาบคายได้อย่างเด็ดขาด ต้องถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามี ตามข้อความในอรรถกถา ปเจตนสูตร ที่ว่า [เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๔๕

อกุศลกรรมบถ ๖ ข้อเหล่านั้น คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน มิจฉาจาร มุสาวาทปิสุณาวาจา มิจฉาทิฏฐิ พระอริยบุคค ย่อมละได้ ด้วยโสดาปัตติมรรค,สองอย่างคือ ผรุสวาจา และ พยาบาท จะละได้ด้วยอนาคามิมรรค สองอย่าง คืออภิชฌา สัมผัปปลาปะ จะละได้ด้วยอรหัตมรรค.

วาจาหยาบ เพราะจิตใจหยาบ เนื่องจากเป็นอกุศลจิต แม้จะเป็นวาจาที่ดูไพเราะแต่เจตนาร้าย มุ่งร้ายต่อผู้อื่น ก็เป็นวาจาหยาบ เพราะฉะนั้น การได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ก็จะทำให้เห็นโทษของอกุศลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน แม้ว่าจะยังไม่สามารถดับได้อย่างเด็ดขาด แต่ก็สามารถขัดเกลาได้ในชีวิตประจำวัน มีความละอาย และความเกรงกลัวที่จะถอยกลับจากอกุศลประการนั้นๆ ได้ การชอบหรือไม่ชอบ ไม่ใช่ผลของกรรม แต่เป็นผลมาจากการสะสม สะสมมาที่จะชอบติดข้องพอใจในสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือ ไม่พอใจในสิ่งนั้นสิ่งนี้ ซึ่งก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงในชีิวิตประจำวัน ไม่ใช่เราที่ชอบหรือไม่ชอบ แต่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิมและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ups
วันที่ 14 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
franky_friday
วันที่ 15 เม.ย. 2554
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เผดิม คุณกำปั่น และขออนุโมทนาด้วยค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 15 เม.ย. 2554

ในสมัยพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อกปิละ เป็นผู้ทรงพระไตรปิฏก ชอบด่าพระภิกษุที่มีศีล ท่านตายไปเกิดในนรก และในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ท่าน ก็มาเกิดเป็นปลาตัวใหญ่มีสีเหมือนทอง พออ้าปากก็ส่งกลิ่นเหม็นมาก ท่านทรงพระไตร- ปิฏกทำให้ท่านมีสีเหมือนทอง แต่ท่านติดในลาภสักการะ ทำให้ท่านด่าว่าภิกษุที่มีศีล ผลของกรรมที่ท่านด่าภิกษุที่มีศีลทำให้ท่านปากเหม็นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chaiyut
วันที่ 15 เม.ย. 2554

การพูดคำหยาบคายของผู้อื่น ที่จะเป็นประโยชน์อย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นบทเรียนสอนตัวเราเองว่า เราไม่ชอบอย่างไร คนอื่นก็ไม่ชอบอย่างนั้นเหมือนกัน ทุกคนรักสุขเกลียดทุกข์ ถ้าเรารักสุข ก็ควรปรารถนาสุขให้เกิดแก่บุคคลอื่นด้วย ไม่ควรปรารถนาทุกข์ให้เกิดแก่ใครๆ เมื่อเข้าใจอย่างนี้ เมตตาย่อมเกิด ระงับการโต้ตอบคำหยาบด้วยคำหยาบ มีการสงบเวร ให้อภัย และเลิกใส่ใจโทษผิดของผู้อื่น กุศลทุกขั้นเป็นสิ่งที่

ควรเจริญเพราะกุศลเป็นสภาพที่เกื้อกูล เหมือนน้ำดับไฟ ไม่ประทุษร้าย ไม่เบียด-เบียน และช่วยรักษาประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายไว้ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
intira2501
วันที่ 16 เม.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ต.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ