ทำไมกิเลสไม่เป็นอินทรีย์

 
จักรกฤษณ์
วันที่  6 เม.ย. 2554
หมายเลข  18147
อ่าน  1,507

ตามพระสูตรท่านอธิบายว่า

"ที่ชื่อว่าอินทรีย์ มีอรรถว่า เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นใหญ่มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้วมีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้วมีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่ประกาศแล้วและมีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เสพแล้ว มี ๒๒ ประเภท ด้วยกัน"

แต่ทำไม กิเลส ซึ่งมี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็มีความเป็นใหญ่ มีกำลัง

เป็นต้นเหตุแห่งวัฎฎะ กล่าวถึง กิเลส กรรม วิบาก

แต่ท่านมิได้กล่าวว่า เป็นอินทรีย์ ด้วยเหตุใดครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 6 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อินทรีย์ ๒๒ มีดังนี้

จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปริสินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์

มนินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญาตัญญัส

สามีตินทรีย์ (ปัญญาที่เกิดร่วมกับโสตาปัตติมัคคจิต) อัญญินทรีย์ (ปัญญาที่เกิดร่วม

กับโสตาปัตติผลจิต ถึง อรหัตตมัคคจิต) อัญญาตาวินทรีย์ (ปัญญาที่เกิดร่วมกับอรหัต

ตผลจิต)

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 6 เม.ย. 2554

ก่อนอื่นขอให้เรียนให้ทราบในเรื่องของความหมายของอินทรีย์ซึ่งมีหลายนัยก่อนนะครับ

อินทรีย์หมายถึงความเป็นใหญ่ในสภาพธรรมนั้น

อินทรีย์หมายถึงครอบงำซึ่งสภาพธรรมอื่น

อินทรีย์หมายถึงความเป็นใหญ่อันทำให้สภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วยคล้อยตามไป

อินทรีย์หมายถึงอันผู้เป็นใหญ่คือพระพุทธเจ้าเสพแล้วด้วยความเป็นอารมณ์

อินทรีย์หมายถึงอันผู้เป็นใหญ่คือพระพุทธเจ้ารู้แจ้งแล้ว

อินทรีย์หมายถึงอันผู้เป็นใหญ่คือพระพุทธเจ้าทำให้เจริญแล้ว

เพราะฉะนั้นสภาพธรรมใดที่เป็นใหญ่โดยสภาพธรรมนั้นและครอบงำสภาพธรรมอื่นได้

และทำให้สภาพธรรมอื่นคล้อยตามตนไปเป็นอินทรีย์

อินทรีย์ 22 ยกตัวอย่าง เช่น มนินทรีย์ จิตย่อมเป็นใหญ่ในการรู้ รู้อารมณ์ เป็นใหญ่

กว่าสภาพธรรมอื่นในการรู้อารมณ์ แม้กิเลสที่เป็นเจตสิกจะรู้อารมณ์แต่ก็ไมได้เป็นใหญ่

กว่าจิตในการรู้อารมณ์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 6 เม.ย. 2554

เมื่อปัญญา (ปัญญินทรีย์) รู้ความเป็นจริงเกิดขึ้น ย่อมทำให้สภาพธรรมฝ่ายดีต่างๆ

คล้อยตามไปทั้ง ศรัทธา วิริย สติ สมาธิ ปัญญา โสภณธรรมประการต่างๆ รวมทั้ง

ปัญญาที่เป็นปัญญินทรีย์ ย่อมเป็นอินทรีย์ด้วยหมายถึงการครอบงำสภาพธรรมอื่นคือ

ครอบงำความไม่รู้ อวิชชาเพราะปัญญารู้ตามความเป็นจริงและสามารถครอบงำกิลส

ประการต่างๆ จนสามารถดับกิเลสประการต่างๆ ได้ด้วยอินทรีย์ประการหลังๆ ที่เป็นใหญ่

ในการดับกิเลสและดับกิเลสครับ ต่างจากอกุศลไม่สามารถครอบงำปัญญาได้ และไม่

สามารถทำให้สหชาตธรรมอื่นๆ คล้อยตามได้เพราะไม่มีกำลังและไมได้เป็นใหญ่เหมือน

อินทรีย์บางประการในอินทรีย์ 22 อวิชชาไม่เป็นใหญ่เพราะไม่สามารถครอบงำปัญญา

ได้จริงๆ ต่่างจากปัญญา แม้จะสะสมอวิชชาและกิเลสอื่นๆ มามากเท่าใด ปัญญาก็เป็น

อินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งความจริงและสามารถครอบงำความไม่รู้ได้จริงจนสามารถ

ดับความไม่รู้จนหมดสิ้นครับ ต่างกับอวิชชาและกิเลสอื่นๆ จะมีมากเท่าใดก็ไม่สามารถ

ครอบงำปัญญาได้จริงๆ ครับ เพราะฉะนั้นกิเลสประการต่างๆ จึงไม่เป็นอินทรีย์ ความ

เข้าใจเรื่องความเป็นใหญ่ จึงหมายถึง เมื่อเป็นใหญ่เพราะครอบงำธรรมที่เป็นปฏิปักษ์

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 601

ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่กล่าวคือครอบงำ เพราะครอบงำความ

ไม่มีศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่านและความหลง.

-อินทรีย์หมายถึงอันผู้เป็นใหญ่คือพระพุทธเจ้าทำให้เจริญแล้ว มีสัทธินทรีย์ (ศรัทธา)

วิริยินทรีย์ วิริยะ สมาธินทรีย์ สตินทรีย์ (สติ) และปัญญินทรีย์ (ปัญญา) เป็นต้นพระองค์

ทรงเสพ ทรงเจริญธรรมเหล่านี้ พระองค์ไม่ทรงเจริญ กิเลสประการต่างๆ กิเลสประการ

ต่างๆ จึงไม่เป็นอินทรีย์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 6 เม.ย. 2554

การอธิบายในเรื่องอินทรีย์จึงเป็นไปตามนัยต่างๆ ตามพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรง

แสดง ประโยชน์ของการเข้าใจอินทรีย์คือไม่ใช่เรื่องของชื่อแต่ขณะนี้มีอินทรีย์ที่ปรากฎ

ในชีวิตประจำวัน ควรเข้าใจความจริงว่าอินทรีย์ก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา รู้ว่า จักขุนทรีย์

โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์

โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ มนินทรีย์เป็นธรรมไม่ใช่เรา และเมื่อเข้าใจความจริง

อย่างนี้ เมื่อปัญญาเจริญขึ้น สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

ก็เจริญตามจนถึงการสามารถดับกิเลสเป็นลำดับถึงอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

(ปัญญาที่เกิดร่วมกับโสตาปัตติมัคคจิต) ถึงอัญญินทรีย์ (ปัญญาที่เกิดร่วมกับโสตาปัตติ

ผลจิต ถึง อรหัตตมัคคจิต) และสุดท้ายก็ถึง อัญญาตาวินทรีย์ (ปัญญาที่เกิดร่วมกับอร-

หัตตผลจิต) จนถึงการดับกิเลสได้หมด เพราะฉะนั้นสำคัญที่สุดคือฟังด้วยความเข้าใจว่า

ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เราสนใจศึกษากึคือความจริงในขณะนี้ ที่เป็นธรรมไม่ใช่เรา เมื่อเข้าใจ

อย่างนี้ก็จะสามารถเข้าใจความจริงของอินทรีย์ได้อย่างถูกต้อง เพราะอินทรีย์เป็นธรรม

ไม่ใช่เรา ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 6 เม.ย. 2554

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

อินทรีย์ [ปฏิสัมภิทามรรค]

เหตุใดสภาพธรรมบางอย่างจึงไม่จัดเป็นอินทรีย์?

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 6 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ทรงแสดงไปตามความเป็นจริงตามลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ แม้แต่ในเรื่องอินทรีย์ ๒๒ ก็เช่นเดียวกัน เป็นพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์ ทรงตรัสรู้ตามความเป็นจริง และทรงแสดง เพื่อความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงของผู้ที่ศึกษา สภาพธรรมที่เป็นกิเลส ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า กิเลส เป็นนามธรรม (คือเป็น อกุศลเจตสิก มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น) ซึ่งไม่ใช่จิต แต่เกิดร่วมกับจิต กล่าวคือ เกิดร่วมกับอกุศลจิต จะเกิดร่วมกับจิตประเภทอื่นไม่ได้ ซึ่งเมื่อว่าโดยความเป็นใหญ่แล้ว จิตเท่านั้นที่เป็นใหญ่ เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ ไม่ใช่อกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย สำหรับผู้ที่อบรมเจริญปัญญาถึงขั้นรู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ กิเลสทั้งหลายก็ถูกดับได้ตามลำดับมรรค กล่าวคือ ความเห็นผิด ความลังเลสังสัย ความริษยา ความตระหนี่ เป็นกิเลสที่ถูกดับด้วย โสตาปัตติมรรคจิต, โทสะดับได้ด้วยอนาคามิมรรคจิต, มานะ (ความสำคัญตน) อหิริกะ (ความไม่ละอาย) อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัว) อวิชชา (ความไม่รู้) มิทธะ (ความซบเซา) และ อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ดับได้ด้วยอรหัตตมรรคจิต ที่เกิดขึ้นประหารกิเลสเหล่านี้ ได้กิเลส ไม่ได้เป็นใหญ่อะไรเลย ไม่สามารถครอบงำทำอะไรกับสภาพธรรมฝ่ายดีเหล่านี้ได้ แต่ธรรมฝ่ายดีเหล่านี้ สามารถดับกิเลสได้ แต่ละคนแต่ละท่านก็มีกิเลสมากด้วยกันทั้งนั้น เพราะสะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ (ถ้าเป็นรูปธรรม ก็ไม่มีที่เก็บ) หนทางเดียวเท่านั้น ที่จะเป็นไปเพื่อขัดเกลาละคลายกิเลสและสามารถดับได้ในที่สุด คือ การอบรมเจริญปัญญา ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ประโยชน์สูงสุดของการศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจตามความเป็นจริง อินทรีย์ ก็ไม่พ้นไปจากธรรมในชีวิตประจำวัน มีตา หู จมูก ลิ้น กาย มีจิต มีความรู้สึกประการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสามารถศึกษาและเข้าใจตามความเป็นจริงได้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณจักรกฤษณ์, คุณผเดิม และ ทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 6 เม.ย. 2554

เข้าใจมากขึ้นแล้วครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์เผดิมและอาจารย์คำปันมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 7 เม.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chaiyut
วันที่ 7 เม.ย. 2554

กิเลสทำให้สัตว์โลกอยู่ในวัฏฏะ สะสมมามาก แต่ไม่เป็นอินทรีย์ เพราะดับได้ด้วยปัญญาขั้นโลกุตตระ พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยโลกุตตรปัญญาของพระองค์เอง ทรงดับกิเลสและกองทุกข์ในวัฏฏะได้โดยสิ้นเชิงทรงถึงความเป็นผู้เย็นสนิท หลุดจากเครื่องข้อง พ้นบ่วงมาร ไม่ติดในภพ มีชาติเป็นที่สุด ไม่มีกิจเพื่อการเกิดเป็นอย่างนี้อีกต่อไป

ถ้ากิเลสเป็นอินทรีย์ ก็จะไม่มีพระพุทธองค์และพระอริยสาวกได้เลย แต่เพราะปัญญาที่ดับกิเลสได้ เป็นใหญ่กว่ากิเลสทั้งหลาย กิเลสจึงไม่สามารถที่จะเป็นอินทรีย์แม้ว่าจะมีการสะสมมามากในสังสารวัฏฏ์ก็ตาม

ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงแสดงพระธรรมตลอด ๔๕ พรรษา อนุเคราะห์เกื้อกูลธรรมะแม้ในส่วนที่เป็นอินทรีย์ ให้สาวกศึกษาเพื่อเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริงที่ทรงแสดงไว้ตามลำดับ จนกว่าจะเกิดปัญญารู้ตรงสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ว่าสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรานั้นจะเป็นอินทรีย์ หรือ ไม่ใช่อินทรีย์ก็ตามครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pat_jesty
วันที่ 7 เม.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
bsomsuda
วันที่ 8 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ