อภิธรรมในชีวิต [28] โลภะ มีหลายระดับขั้น

 
พุทธรักษา
วันที่  26 ก.พ. 2554
หมายเลข  17951
อ่าน  1,020

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บางครั้ง โลภะ แปลว่า "ต้องการ" หรือ "ความอยาก" โลภะ แปลได้หลายอย่าง เพราะเหตุว่าโลภะ มีหลายระดับขั้นมี โลภะ ขั้นหยาบ ขั้นกลาง และ ขั้นละเอียด คนส่วนมาก รู้ว่า เป็นโลภะ ก็ต่อเมื่อ เป็น โลภะที่แรงกล้าแต่ ไม่รู้ เมื่อเป็น โลภะที่ไม่รุนแรง เราอาจจะรู้ ว่า เป็นโลภะ เมื่ออยากจะรับประทานอาหารที่อร่อยมากๆ ฯลฯ เรามีความผูกพัน ยึดมั่น ในบุคคล และ เป็นทุกข์ เมื่อผู้เป็นที่รักตายจากไป เมื่อนั้น เราก็จะรู้ ว่า "ความผูกพัน" เป็นเหตุให้เกิด "ความทุกข์" ฯ

โลภะมีหลายระดับขั้น โดยมาก เราไม่รู้ว่าเรามีโลภะจิต เกิด-ดับอย่างรวดเร็ว และเราอาจจะไม่รู้ ว่า โลภะเกิดขึ้น ขณะที่สภาพธรรมปรากฏ ทางทวารหนึ่งทวารใด โดยเฉพาะ เมื่อเป็น "โลภะที่ไม่แรงกล้า" ไม่ถึงขั้นที่เป็นราคะ หรือ ตัณหา ขณะที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ปรากฏขณะนั้น โลภะ ย่อมเกิดขึ้น

วันหนึ่งๆ โลภะเกิดขึ้น นับครั้งไม้ถ้วน โลภะ เกิดขึ้น เมื่อมี "เหตุปัจจัย" ให้เกิดโลภะ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ในพระสูตร หลายพระสูตร พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดง เรื่อง "โลภะ" ทรงชี้ "โทษของโลภะ" และ "หนทาง-ที่จะสละโลภะ"

ในพระสูตรหลายพระสูตร เรียก "อารมณ์ที่ดี" ซึ่งรู้ได้ ทางทวารนั้นๆ ว่า "กามคุณ ๕" ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ภาค ๑ มหาทุกขักขันธสูตรมีข้อความว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคฯ ทรงประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันเขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็น "คุณของกามทั้งหลาย"

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย "กามคุณ ๕ ประการ" นี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือรูป ที่พึงรู้แจ้ง ด้วย จักษุ น่าปรารถนา น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียง ที่พึงรู้แจ้ง ด้วย โสตะ ฯ กลิ่น ที่พึงรู้แจ้งด้วย ฆานะ ฯ รส ที่พึงรู้แจ้งด้วย ชิวหา ฯ โผฏฐัพพะ ที่พึงรู้แจ้งด้วย กาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งของความกำหนัด

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย "กามคุณ ๕ ประการ" เหล่านี้แล ความสุข ความโสมนัส ใดเล่า อาศัย กามคุณ ๕ เหล่านี้ เกิดขึ้น นี้ เป็น "คุณของกามทั้งหลาย" ฯ "ความเพลิดเพลินยินดี ใน "กามคุณ ๕" ไม่ใช่ "ความสุขที่แท้จริง"

ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคฯ อาจคิดว่า "ความยึดมั่น-ผูกพัน" เป็นกุศล โดยเฉพาะ เมื่อ ความยึดมั่น-ผูกพัน นั้น เกิดร่วมกับ "โสมนัสเวทนา" เขาอาจไม่รู้ "ความต่างกัน" ระหว่าง "ความติดข้อง" กับ "ความเมตตา" ซึ่งเป็น "สภาพธรรมที่ต่างกัน" จิต ที่เกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนา นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นกุศลจิต (เพราะว่า โสมนัสเวทนา เกิดกับกุศลจิต หรือ อกุศลจิต ก็ได้)

เมื่อ "เข้าใจ" เรื่อง อกุศลจิต และ กุศลจิต มากขึ้น และ มีการสังเกต "ลักษณะ-ที่ต่างกัน" ของจิต ๒ ประเภทนี้ก็จะ "เข้าใจ" ว่าโสมนัสเวทนา ซึ่งเกิดกับ โลภมูลจิต ต่างกับ โสมนัสเวทนา ซึ่งเกิดกับ กุศลจิต

เวทนา (ความรู้สึก) เป็น เจตสิกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง ขณะใดที่ อกุศล-จิต เกิดขึ้น เวทนา-เจตสิก ที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น ต้องเป็น อกุศล-เจตสิก ขณะใดที่ กุศล-จิต เกิดขึ้น เวทนา-เจตสิก ที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น ต้องเป็น กุศล-เจตสิก เราสามารถที่จะรู้ "ลักษณะ-ที่ต่างกัน" ของ โสมนัสเวทนา-ที่เกิดขึ้นได้ เช่น โสมนัสเวทนา ที่เกิดขึ้น เมื่อ "ชอบ" รูป-ที่สวยงาม หรือ เสียง-ที่ไพเราะ ซึ่ง ต่างกับ โสมนัสเวทนา ที่เกิดขึ้นเมื่อ "มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่" เป็นต้น


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prakaimuk.k
วันที่ 27 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 28 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chaiyut
วันที่ 28 ก.พ. 2554

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 2 มี.ค. 2554
อนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ